“TCEB”ดันถูกทางนวัตกรรมไมซ์วิถีใหม่ MICE WINNOVATION ปี’64ผนึกเทคสตาร์ตอัพปั๊มงานออนไลน์-จับคู่ธุรกิจพุ่ง152งาน
“TCEB”ดันถูกทางนวัตกรรมไมซ์วิถีใหม่ MICE WINNOVATION
ปี’64ผนึกเทคสตาร์ตอัพปั๊มงานออนไลน์-จับคู่ธุรกิจพุ่ง152งาน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TCEB #MiceWinnovation
นางจารุวรรณ สุวรรณศาสน์
ผู้อำนวยการฝ่าย MICE Intelligence และนวัตกรรม
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ(องค์การมหาชน) TCEB
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” นำโดยนางจารุวรรณ สุวรรณศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่าย MICE
Intelligence และนวัตกรรมทีเส็บ ร่วมกับพันธมิตร นายภาโรจน์ เด่นสกุล
กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ซิปอีเว้นท์ จำกัด และนายธนพงศ์
พานิชชอบ ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยิ้มเสมอ สตูดิโอ จำกัด
ร่วมกันแถลงข่าวเรื่อง “นวัตกรรมขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์วิถีใหม่”
ท่ามกลางสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทีเส็บยังคงเดินหน้า “MICE
Winnovation”
โครงการส่งเสริมนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่สามารถช่วยขยายตลาดการจัดงานไมซ์รูปแบบเสมือนจริง
(Virtual) และไฮบริดอีเวนต์
ได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสบความสำเร็จ สามารถต่อยอดการจัดงานออนไลน์เพิ่มปลายปี
2564 อีกไม่ต่ำกว่า 18 งาน
และเมื่อช่วงมีนาคม-กรกฎาคม 2564 ทำให้เกิดการจับคู่เจรจาธุรกิจไปได้ถึง
152 งาน
นางจารุวรรณ
สุวรรณศาสน์ ผู้อำนวยการฝ่าย MICE Intelligence และนวัตกรรมทีเส็บ
เปิดเผยว่า “แผนขับเคลื่อนไมซ์ด้วยนวัตกรรมทางเทคโนโลยี” มีเครื่องมือหลักคือ
1.MICE
Innovation Catalog เป็นปฏิทินรายเดือน
เพื่อเพิ่มความหลากหลายให้ผู้ประกอบการไมซ์สามารถเลือกใช้งานได้มากยิ่งขึ้น
2.แพลตฟอร์มที่มีนวัตกรรมด้านไมซ์ที่พร้อมให้บริการกว่า 70 นวัตกรรม จาก 50
บริษัท เข้าชมได้ทางเว็บไซต์ https://innocatalog.tceb.or.th
3. กลุ่มธุรกิจ Travel Tech ที่เป็นผู้ให้บริการนวัตกรรมทางเทคโนโลยีที่ได้รับการคัดเลือกจากโครงการ “MICE Winnovation” เข้าร่วมกับทีเส็บด้วย 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท เอด้าซอฟท์ จำกัด บริษัทเดย์เวิร์ค จำกัด บริษัท ซีที เอเซีย โรโบติกส์ จำกัด บริษัท ลูปส์ รีเสิร์ฟ ยัวร์ ไรด์ จำกัด บริษัท คิว คิว (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ซิปอีเว้นท์ จำกัด รวมทั้งมี บริษัท โพเชียเนียร์ เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการนวัตกรรมและเทคโนโลยี จากโครงการ “MICE Winnovation” ยังได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานนนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) 1.5 ล้านบาท
ผอ.จารุวรรณ กล่าวว่า ความสำเร็จของโครงการ “MICE Winnovation” จัดขึ้นช่วงมีนาคม-กรกฎาคม 2564 โดยมีเจรจาจับคู่ “ธุรกิจ” ระหว่าง “ผู้ประกอบการไมซ์” กับ “ผู้ให้บริการนวัตกรรมด้านไมซ์”มากถึง 152 คู่ กระทั่งสามารถพัฒนาแพลตฟอร์มใหม่ ๆ รองรับการจัดงานไมซ์ร่วมกันได้ อีกทั้งยังจับคู่ขอรับการสนับสนุนจากทีเส็บรวม 35 งาน ขณะนี้ผ่านการพิจารณาได้รับการสนับสนุนแล้วทั้งสิ้น 18 งาน ประกอบด้วย 1.การสนับสนุนเทคโนโลยีการจัดงานแบบ Virtual / Hybrid Event 15 งาน 2.สนับสนุนเทคโนโลยีบริหารจัดการผู้เข้าร่วมงาน หรือ Crowd Management Technology เพื่อเพิ่มความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ อีก 3 งาน
ปัจจุบันได้จัดไปแล้ว 2 งาน คือ งานแรก
การจัดประชุมใหญ่ไลออนส์สากลภาครวม 310 ประเทศไทย ครั้งที่ 55 เมื่อ 7-9 พฤษภาคม 2564
มีผู้เข้าร่วมงานออนไลน์จากทั่วประเทศ 2,318 คน กับ งานที่สอง Bangkok Projection Mapping
Competition 2021
: BPMC 2021 งานประกวดออกแบบสื่อภาพเคลื่อนไหว จัดเมื่อ 12-20 มิถุนายน 2564
มีผู้ชมงานผ่านไลฟ์สตรีมมิ่งบนเฟซบุ๊กร่วม 20,000 ราย ส่วนงานที่เหลือมีกำหนดทยอยจัดช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคม
2564
โดยจะจัดกิจกรรมผลักดันต่อยอดบูรณาการ
MICE For Innovation Tec & firm ในวันที่
16 สิงหาคม
และจะนำไปต่อยอดในงาน MICE TECNO MART วันที่
21 กันยายน 2564 ที่จะจัดการจับคู่ธุรกิจเพิ่มมากขึ้นต่อไป
โดยสรุปแล้วทีเส็บได้ทำให้เกิด MICE
INNOVATION พร้อมทั้งมีหน้าที่หาผู้ให้บริการนวัตกรรมมาเสริมสร้างทักษะให้ผู้ประกอบการช่วงวิกฤต
แล้วก็จะนำไปใช้ส่งเสริมกับเครือข่ายพันธมิตร และผู้จัดงาน
เชื่อมโยงความร่วมมือระหว่างผู้ประกอบการไมซ์และผู้ประกอบการเทคโนโลยี
อำนวยความสะดวกให้ทุกกลุ่มเกี่ยวข้อง 1.ทำงานร่วมกับเทคเฟิร์มเข้ามามากสุด 2.หาวิธีทำให้ไมซ์จัดงานได้ผลสำเร็จสูงสุดเบื้องต้น
4
ส่วน
ส่วนที่ 1 เพิ่มความรู้ด้านนวัตกรรมทางนวัตกรรมให้กับผู้ประกอบการไมซ์
เพื่อการเลือกใช้นวัตกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ
ตัวอย่าง กรณีของการจัดประชุมไลออนสากล ซึ่งมีคนร่วมหลายส่วนซึ่งเปิดใจมาเรียนรู้
ทีเส็บเชื่อมโยงการให้ความรู้เพื่อให้ผู้ประกอบการเข้าถึงงบประมาณต่อยอดเข้าถึงนวัตกรรม
ดังนั้นจึงต้องทำงานร่วมกับ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สวช./NIA) และ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
(DEPA) ปัจจุบันที่เส็บได้ทำ Open
Innovation Fund กับ
สวช.ด้วย
ส่วนที่ 2 ผลักดันเครื่องมือทางนวัตกรรมเพื่อต่อยอดและสร้างความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจไมซ์
ส่วนที่ 3 บูรณาการด้านงบประมาณในการสร้างนวัตกรรมร่วมกับภาคีพันธมิตรเพื่อให้เข้าถึงงบประมาณ
ส่วนที่ 4 ปรับการสนับสนุนให้สอดคล้องกับหลายระดับความพร้อมใช้เทคโนโลยีของผู้ประกอบการไมซ์
ทั้งนี้ทีเส็บได้จัดทำผลสำเร็จของการเชื่อมโยงผู้ซื้อกับผู้ขาย
ที่ใช้บริการแพลตฟอร์ม Thailand MICE CONNECT รวบรวมระหว่างวันที่ 14 พฤษภาคม – 1 กรกฎาคม 2564
มีผู้เข้าร่วม 10,201
ธุรกิจ ผู้ใช้ใหม่ 129,851 ราย การเข้าชม 603,656
เพจวิว และ 112,930 engagements
“นายภาโรจน์ เด่นสกุล”
กรรมการผู้จัดการและผู้ร่วมก่อตั้ง บริษัท ซิปอีเว้นท์ จำกัด กล่าวว่า
การนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีเข้ามาในตัวอย่างการจัดงาน Bangkok
Projection Mapping Competition 2021 : BPMC 2021 สิ่งบ่งชี้ยืนยันความสำเร็จคือ
การแสดงผลของคนจองเข้างานทำให้ผู้จัดงานสามารถนำข้อมูลมาวิเคราะห์ใช้ประโยชน์ต่อเนื่องได้
โดยมีช่องทางการเผยแพร่ Live, Live Facebook ควบคุมการถ่ายทอดสด การขาย
ทางด้านเอ็มซีก็ต้องเชี่ยวชาญด้านระบบกับอีเวนต์จริง ซึ่งมีภาพที่ปรากฎจริง โดยใช้
MAPPING และโดรน ผสมผสานกัน งานนี้ถือเป็น “จุดเริ่มต้น” ที่ดีของเมืองไทย
ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวข้องกับไมซ์สามารถนำไปขยาย
เพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมงานมากขึ้น โดยไม่จำกัดสถานที่และเวลา รวมทั้งทางผู้จัดงานนำไปใช้ต่อยอดได้
โดยทำให้เทคเฟิร์มไปจับคู่กับลูกค้านำนวัตกรรมสร้างงานให้เกิดขึ้นได้จริง
โดยสรุปแล้วพันธมิตรต่าง ๆ
สามารถเลือกใช้บริการเพราะเทคโนโลยีช่วยทำการตลาดไมซ์วิถีใหม่ได้จริง ๆ
ตัวอย่างการจัดงาน BPMC
2021
ได้จัดอีเวนต์แบบออนไลน์ทางทีเส็บมอบโอกาสที่ดีมากให้ทั้งบริษัท ซิปอีเวนต์
ในฐานะผู้พัฒนานวัตกรรม แล้วนำไปใช้งานอย่างแท้จริง โดยได้จับคู่กับ บริษัท
ยิ้มเสมอ ในฐานะผู้จัดงานอีเวนต์ ก็ได้ทดลองใช้และเข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ
เพื่อเปิดกว้างและไม่จำกัดผู้เข้าร่วมงานแค่เพียงแบบออฟไลน์ แต่ยังสามารถเข้าถึงคนทั่วโลกทางออนไลน์ได้อย่างไร้ข้อจำกัดนั่นเอง
ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยิ้มเสมอ สตูดิโอ จำกัด
นายธนพงศ์ พานิชชอบ
ผู้ร่วมก่อตั้งและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยิ้มเสมอ สตูดิโอ จำกัด กล่าวว่า โลกยุคปัจจุบันเป็นทั้ง Multimedia
Design, Interactive Design, Immersive Experience มุ่งเน้นนำเทคโนโลยีมาสร้างการมีส่วนร่วม
และประสบการณ์ที่ดีให้ผู้ร่วมงานถือเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีสำคัญของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
ที่เห็นความสำเร็จชัดเจนจากการจัดงาน BPMC 2021 ตอกย้ำให้เห็นถึง
1.ตลาดต่างประเทศสนใจ เพราะมีทีมผู้เข้าแข่งขันจากต่างประเทศมาร่วมด้วย
อนาคตจึงสนใจปักหมุดหมาย “สถานที่จัดงาน” กระจายจากกรุงเทพฯ ไปยัง ภูเก็ต
เชียงใหม่ และเมืองรอง และ2.เชื่อมโยงกับโปรแกรมต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น
เพื่อไปชมโปรแกรมทางนวัตกรรมต่อไป
บริษัท ยิ้มเสมอฯ
ในฐานะสตาร์ตอัพผู้พัฒนาเทคโนโลยี ตอนเกิดโควิด-19 ทำให้เห็นคนปรับตัวส่งผลให้นวัตกรรมต่างๆ
เข้ามามีอิทธิพลต่อการทำธุรกิจ
และยังได้เห็นเทรนด์การใช้ออนไลน์ทำกิจกรรมเสมือนจริงและใช้แพลตฟอร์มต่าง ๆ
มากขึ้น อนาคตสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งจากประโยชน์ของเทคโนโลยี
นอกจากจะพาคนผ่านวิกฤตไปได้แล้ว
ในช่วงสถานการณ์ปกติก็ยังจะเข้าไปช่วยได้โดยเฉพาะเรื่อง 1.การเพิ่มสเกลคนเข้าร่วมจากปกติหลักหมื่นเป็นหลักแสนคน 2.การเก็บข้อมูล 3.การต่อยอดการตลาด”
ล้วนเป็นอนาคตของไมซ์เมืองไทยที่พร้อมก้าวไปข้างหน้าอย่างมีทิศทาง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น