“TCEB”“ไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ”โชว์แผนปี’65ชู3กลยุทธ์5ยุทธศาสตร์ “สภาพัฒน์”นำไมซ์ใส่แผนฉบับ13กระจายเงินสู่ภูมิภาคฟื้นเศรษฐกิจชาติ
“TCEB”“ไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ”โชว์แผนปี’65ชู3กลยุทธ์5ยุทธศาสตร์
“สภาพัฒน์”นำไมซ์ใส่แผนฉบับ13กระจายเงินสู่ภูมิภาคฟื้นเศรษฐกิจชาติ
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TCEB
นายจิรุตถ์
อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า ได้จัดงาน “ไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ” ออนไลน์ : Virtual Meeting เพื่อสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศร่วมกันทุกภาคส่วน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระจายรายได้และความเจริญสู่ชุมชน
ตลอดจนแสดงความพร้อมของเมืองไมซ์ซิตี้ในฐานะศูนย์กลางภูมิภาคในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย
ทีเส็บได้ใช้เวทีนี้นำเสนอ
“ทิศทางการส่งเสริมอุตสาหกรรมไมซ์ปี 2565” ให้หน่วยงานภาครัฐ
เอกชน และผู้ประกอบการไมซ์ ที่ลงทะเบียนเข้าร่วมกว่า 800 คน พร้อมทั้งมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้ข้อมูลและเสวนา
ปูพรมข้อมูลแผนแม่บทการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 13 และรายละเอียดความคืบหน้าเมืองไมซ์ หรือ MICE
CITY หลัก ๆ ของประเทศ
นำโดย นายวิโรจน์ นรารักษ์ รองเลขาธิการ
สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายสมศักดิ์ จังตระกูล ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น นายสนธยา
คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี นายอนุชา มีเกียรติชัยกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ นายภูมิกิตติ์
รักแต่งาม นายกสมาคมธุรกิจการท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต
นายจิรุตถ์กล่าว่า ทีเส็บจัดทำแผนขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ปี 2565 โดยได้ศึกษาแผนงานหลัก แผนงานย่อย แผนการจัดทำเศรษฐกิจสีเขียวแบบยั่งยืน BCG :Bio Circular Green ร่วมกับภาครัฐและเอกชน เร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมไมซ์ และเศรษฐกิจของประเทศให้พ้นจากวิกฤตต้องอาศัยทั้งความยืดหยุ่นและการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนอย่างเข้มแข็ง เพื่อนำพาอุตสาหกรรมไมซ์และเศรษฐกิจไทยให้ฟื้นกลับมาโดยเร็วที่สุด ด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ประกอบด้วย
กลยุทธ์ที่ 1 เสริมความแกร่งชาติ เร่งยกระดับเมืองไมซ์ หรือ MICE CITY 10 เมือง ทั้งด้านงาน กิจกรรม ส่งเสริมจัดนิทรรศการ ร่วมทำงานกับพันธมิต จัดทำโครงการ Empower Thai Exhibition หรือ EMTEX ขยายความร่วมมือระหว่างทีเส็บกับกระทรวงต่าง ๆและภาครัฐและเอกชนกว่า 10 หน่วยงาน เพื่อร่วมกันพัฒนาศักยภาพงานแสดงสินค้าในระดับท้องถิ่นก้าวสู่ระดับประเทศ
ตลอดจนการพัฒนางานเทศกาลท้องถิ่นภายใต้แนวคิด
Festival Economy ที่จะพัฒนางานต่อยอดสู่ระดับสากล 1 Ci ty : 1 License Event เช่น งานเทศกาล
“เกลือ-เมือง-เพชร หรือ Diamond of the Salt Festival ของจังหวัดเพชรบุรี, งานเทศกาล Huahin Hop Fest ของเมืองหัวหิน
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
กลยุทธ์ที่ 2
ช่วงชิงโอกาสระดับสากล ปี 2565
มีงานใหญ่ระดับนานาชาติหลายงานที่คนไทยจะร่วมกันเป็นเจ้าภาพ จึงได้จัดให้ปีจัดงานประชุม
2022
จัดทำตลาดเชิงรุกชิงความได้เปรียบ Thailand International Air Show 2022,
World Bank, ICCA จัดปี 2023 และจัดแพกเกจสนับสนุนต่างชาติมาไทย
รวมทั้งเพิ่มความเข้มข้นด้านการสื่อสารกระตุ้นและขับเคลื่อนองค์กรภาครัฐและเอกชนจัดประชุมสัมมนาและจัดกิจกรรมไมซ์ทั่วประเทศต่อเนื่อง
ผ่านแคมเปญการสื่อสาร “จัดงานไมซ์ทั่วไทย ภูมิใจช่วยชาติ” และสนับสนุนงบประมาณผ่านโครงการ
“ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า” ขณะนี้มีองค์กรและหน่วยงานได้รับการสนับสนุนแล้วกว่า
645 โครงการ และแสดงความสนใจจัดกว่า
1,000 งาน
กลยุทธ์ที่ 3
ยกระดับศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์ ทำร่วมกับองค์กรในและต่างประเทศ
พัฒนาหลักสูตรอบรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องการขับเคลื่อนไมซ์สู่สากลเท่าทันโลกหลังโควิด
และได้รับการพัฒนาบุคลากรไมซ์อาเซียน อีกทั้งยังได้พัฒนา Thai MICE CONNECT เข้าร่วมกว่า 10,000 ราย กับ ไมซ์แคตาล็อกร่วมกับบริษัทนวัตกรรมกว่า 50 บริษัท
มีแคมเปญต่าง ๆ สร้างงานอย่างมีประสิทธิภาพ
ทีเส็บได้ร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการไมซ์ และหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐในและต่างประเทศ
ทั้งในด้านการพัฒนาบุคลากร มาตรฐานสถานที่จัดงาน และการพัฒนาหลักสูตรอบรมต่าง ๆ
เพื่อให้ไมซ์ไทยก้าวทันความต้องการของโลกในยุคหลังโควิด เช่น การยกระดับมาตรฐานและส่งเสริม “การจัดงานไมซ์อย่างยั่งยืน” โดยนำแนวคิด BCG Model (Bio-Circular-Green Economy) ซึ่งเป็นนโยบายสำคัญของรัฐบาล
มาต่อยอดกับหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable
Development Goals)
ขณะเดียวกัน ส่งเสริมการใช้นวัตกรรมเทคโนโลยีและเครื่องมือแพลตฟอร์มดิจิทัลต่อเนื่อง
อาทิ แพลตฟอร์ม “Thai MICE Connect”
ที่มีข้อมูลผู้ประกอบการเข้าร่วมแล้วกว่าหมื่นรายทั่วประเทศ
ซึ่งจะเป็นตลาดออนไลน์ซื้อขายบริการด้านไมซ์ รองรับตลาดทั้งในและต่างประเทศ
ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงตลาดให้ผู้ประกอบการทุกขนาด
เรื่อยไปจนถึงทีเส็บจะขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์
ปี 2565 ภายใต้ 5 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1
ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมไมซ์ เข้ามาช่วยยกระดับความพร้อมของเมือง สร้างความสำเร็จดึงงานระดับโลก นานาชาติ
ที่เป็นเมกะอีเวนต์กระจายจัดในภูมิภาค
ยุทธศาสตร์ที่ 2
กระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจภูมิภาค
ด้วยการดึงงานใหญ่มาจัดในประเทศ
ยุทธศาสตร์ที่
3 ส่งเสริมภาพลักษณ์ไมซ์ไทย
เน้นสร้างความเชื่อมั่นภาพลักษณ์ไมซ์ไทยในระดับนานาชาติ ด้วย Hi Tech+Hygiene
สัมผัสได้ถึงความเป็นไทย
ยุทธศาสตร์ที่
4 เสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน
มุ่งสู่ความสำเร็จในการผลักดันพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมไมซ์
ยุทธศาสตร์ที่
5 พัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในองค์กร
มุ่งสู่ความสำเร็จในการเป็นผู้นำการบริหารจัดการองค์กร
ขณะที่ นายวิโรจน์ นรารักษ์ รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เปิดเผยว่า ทิศทางเศรษฐกิจเป็นความหวังของประเทศไทย “อนาคตประเทศไทย ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงระดับโลก : Global Mega Trends ซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี โครงสร้างประชากร การขยายตัว โดยมี 70 % ไปสู่สมาร์ต ซิตี้ กับสุขภาพจะมีอุตสาหกรรมเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น รวมถึงเทคต่าง ๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง
สภาพัฒน์วางแผนใช้
3 ยุทธศาสตร์สำคัญ ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 13 ระหว่างปี 2565-2570 ดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ยุทธศาสตร์ชาติและแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ภายใต้ 3 เรื่องหลัก คือ ความเชื่อมโยงของแผนต่าง ๆ บริบทการพัฒนาประเทศที่ต้องให้ความสำคัญ
ทิศทาง(ร่าง) แผนพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 2 นโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจและการกระจายรายได้สู่ภูมิภาค โดยมี MICE CITY รวมอยู่ด้วย ตามสถิติปี 2563 เศรษฐกิจหลักของโลกอย่าง อเมริกา ลบ 3-4 % ยุโรป ติดลบ 4.7 % จีนสามารถขยายตัวบวก 2-3 % ภาพรวมปี 2563 ทั่วโลกฟื้นตัวขยาย 6 % ปี 2564 จะมีโอกาสเติบโต 0.7-1.2 %
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ความสำคัญของอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการการขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ
ส่วนการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจในประเทศไทย
สภาพัฒน์มอง “โอกาส”เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันมีหลายอุตสาหกรรมเติบโตได้ มอง
“ความเสี่ยง” ภายใต้กรอบแนวคิด 2566-2570 เป็น 5 ปีหลังของยุทธศาสตร์ชาติ
เข้าสู่แผนพัฒนาเศรษฐกิจฉบับที่ 13 มี 5 เรื่อง
1.การปรับโครงสร้างภาคการผลตและบริการสูเศรษฐกิจนวัตกรรม 2.การพัฒนาคนสำหรับโลกยุคใหม่ 3.การมุ่งสู่งสังคมแห่งโอกาสและความเป็นธรรม
4.การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความยั่งยืน 5.การเสริมสร้างความสามารถของประเทศในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงและความเสี่ยงภายใต้บริบทโลกใหม่
โดยพุ่งเป้าทำเกี่ยวกับเศรษฐกิจสร้างคุณค่า สังคมเดินหน้าอย่างยั่งยืน มีทั้งหมด 12 เรื่อง
ตามเป้าหมาย
การกระจายรายได้ การขยายด้านการลงทุนในเขตเศรษฐกิจแต่ละภาค เช่น
ภาคเหนือเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ตะวันออก-กรีนและเชื่อมโยง BCG :Bio Circular Green
ขณะเดียวกันก็มีเป้าหมายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ ซึ่งมีความสำคัญในมิติต่าง ๆ คือ
มิติที่ 1 เน้นกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและค่าใช้จ่ายสูง จากผลศึกษาทีเส็บเอง ค่าใช้จ่ายของนักเดินทาง 3-5 เท่าของนักท่องเที่ยวทั่วไป
สร้างรายได้เข้าประเทศมากสุด อนาคตต้องการสร้างคุณค่าไม่ต้องการปริมาณคนมาก
ซึ่งได้ข้อมูลชัดเจน ก่อนโควิด สร้างรายได้กว่า 5 แสนล้านบาท
คิดเป็นกว่า 3 % ของจีดีพี
ภาครัฐเองต้องการนักเดินทางไมซ์ต่างประเทศ
มิติที่ 2 กระจายรายได้สู่ภูมิภาค
ลดความเหลื่อมล้ำเพราะท้องถิ่นมีรายได้มากขึ้น ขอนแก่น เชียงใหม่ พัทยา นครราชสีมา
สงขลา การกระจาย MICE CITY สนับสนุนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจภูมิภาคทั้งทางตรงและทางอ้อม
มิติที่ 3 กระจายรายได้สู่ธุรกิจอื่นอย่างกว้างขวาง ไปสู่การขนส่ง การค้า อุตสาหกรรม
ผลประโยชน์ที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ
ทางภาครัฐไม่ละเลยเรื่องผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นทั้งทางตรงและทางอ้อม
แลกเปลี่ยนสู่อาชีพต่าง ๆ
อนาคตทีเส็บจะเป็นหน่วยงานหลักขับเคลื่อนอนาคตของประเทศด้วยอุตสาหกรรมไมซ์
ทั้งนี้ทีเส็บสานต่อการจัดกิจกรรม “ไมซ์ไทยรวมใจสร้างชาติ”
เปิดนิทรรศการออนไลน์ (Virtual Exhibition) เตรียมเปิดให้เข้าชมตั้งแต่
15 กันยายน 2564 เป็นต้นไป สามารถดาวน์โหลดหนังสือ “ภูมิไทย” เส้นทางทรงคุณค่าของอุตสาหกรรมไมซ์
ที่ทีเส็บจัดทำร่วมกับกองทุนส่งเสริมการประชุมนานาชาติ สามารถเข้าชมนิทรรศการ
และดาวน์โหลดหนังสือได้ที่ www.thailandmiceday.businesseventsthailand.com
ทั้งนี้เพื่อสร้างการรับรู้ให้เข้าถึงความรู้เรื่องจุดกำเนิด การเดินทางของอุตสาหกรรมไมซ์ไทย
เพื่อสร้างแรงบันดาลใจและความภาคภูมิใจของทุกภาคส่วน
ที่ร่วมกันขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์อย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น