ดร.ศุภชัย”ชี้ช่องให้ไทยใช้ไมซ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่ แนะเร่งยุทธศาสตร์เชื่อมโยงสร้างโอกาสทำเงินมหาศาล
“ดร.ศุภชัย”ชี้ช่องให้ไทยใช้ไมซ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจยุคใหม่
แนะเร่งยุทธศาสตร์เชื่อมโยงสร้างโอกาสทำเงินมหาศาล
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #สวท97 #TCEB #thailandmice #MICETALK2019
ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ อดีตผู้อำนวยการองค์การค้าโลก (WTO) และอดีตเลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา (UNTAD) ได้ขึ้นเวทีปาฐกถาในงาน MICE TALK 2019 หัวข้อ “Regional Connectivity : Thailand MICE’s Opputunity” โดยสำนักงานส่งเสริมการจัดปรุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เป็นเจ้าภาพ โดยได้เชิญชวนผู้ประกอบการเข้าร่วมรับฟังจากอุตสาหกรรมไมซ์ 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มเริ่มเข้าสู่ธุรกิจ 2.กลุ่มปฏิบัติการธุรกิจ 3.ผู้บริหารและเจ้าของธุรกิจ จำนวนรวมทั้งหมดกว่า 200 คน
ดร.ศุภชัย กล่าวภายหลังการปาฐกถาว่าภารกิจของ TCEB จะเป็นแรงขับเคลื่อนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีช่องทางการสร้างความสัมพันธ์กับนานาชาติจึงเป็นโอกาสที่จะใช้อุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศขยายรายได้จากการนำงานขนาดใหญ่ระดับโลกมาจัดในไทยประเทศ ทั้งทางด้านคอนเว็นชั่น การจัดประชุม การจัดนิทรรศการแสดงสินค้า เพราะสถิติไมซ์ไทยติดอันดับ 2 รองจากสิงคโปร์ มีแม่เหล็กหลายเรื่องสามารถดึงดูดความสนใจจากทั่วโลกกลุ่มไมซ์เข้ามายังไทยได้ อีกทั้งไมซ์สามารถทำรายได้ครั้งละมูลค่ามหาศาล ตัวอย่างในสาธารณรัฐประชาชนจีนมีปฏิทินจัดงานแสดงสินค้าขนาดใหญ่ประจำปีก็สร้างเงินเข้าประเทศเป็นจำนวนมาก
สำหรับประเทศไทยขณะนี้ถึงแม้เงินบาทจะแข็งค่าขึ้นบ้างแต่ก็นับเป็นเรื่องของ SAVE HEAVEN เพราะนั่นหมายถึงเป็นสัญลักษณ์ความแข็งแกร่งของประเทศที่นานาชาติเชื่อมั่นและไว้วางใจในด้านการเงินบาทของไทย
ดร.ศุภชัยย้ำว่าไมซ์ถือเป็นอุตสาหกรรมไมซ์สำคัญอย่างมากต่อการขับเคลื่อนรายได้เข้าสู่เศรษฐกิจประเทศด้วยการใช้การเชื่อมโยงความสัมพันธ์เป็นโอกาสด้วยการนำทางเทคโนโลยีซึ่งเป็นเครื่องมือสมัยใหม่สามารถเชื่อมความสัมพันธ์ของโลกเข้าด้วยกันได้มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ส่วนเนื้อหาการปาฐกถาบนเวทีโดยภาพรวม ดร.ศุภชัย ได้ฉายภาพให้ผู้ประกอบการที่เข้าร่วมรับฟังศึกษาถึงประวัติศาสตร์ความเป็นมาของโลกเชื่อมโยงกับการขับเคลื่อนประเทศไทย ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา สถานการณ์สงครามโลกทำให้ญี่ปุ่นผู้แพ้สงครามต้องต่อสู้ดิ้นเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาโดยเร็ว มาถึงวันนี้จีนกับสหรัฐอเมริกาเปิดสงครามการค้าระหว่างกัน ลักษณะโครงสร้างของปัญหามีความคล้ายคลึงกัน ต่างกันตรงเวลาเปลี่ยนและรูปแบบเปลี่ยน แต่เป้าหมายเหมือนกันคือเพื่อการสร้างกลไกป้องกันตนเอง ซึ่งไทยสามารถใช้ศักยภาพจากอุตสาหกรรมไมซ์ขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งได้ด้วยการยกระดับขีดความสามารถทางภาษาและสร้างความมั่นคงทางกลยุทธ์ในเชิงบวก
เพราะโดยสภาพแวดล้อมนั้นไทยอยู่ท่ามกลางวงล้อมของ connectivity หลากหลายมิติไม่ว่าจะเป็น ASEAN PLUS, Greated MEKHONG SUB REGION, CLMV หากสามารถสร้างความสัมพันธ์ที่ดีใช้ประโยชน์จากโอกาสให้เป็นก็ช่วยเศรษฐกิจแข็งแรงต่อไปได้อย่างมั่นคง
รวมถึงยังได้สะท้อนถึงความเป็นมาของไทยที่แจ้งเกิดเมกะโปรเจ็กต์ การพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษชายฝั่งทะเลตะวันออก : EASTERN SEABROAD เมื่อ 30 ปีก่อน จนกระทั่งถึงปัจจุบันต้องต่อยอดขยายเพิ่มด้วย EASTERN ECONOMIC CORRIDOR : EEC เพียงแต่อย่าปล่อยให้เวลาผ่านไป 5-7 ปีแล้ว การพูดถึงอุตสาหกรรม S-CURV ใน EEC อย่าทำเฉพาะคำพูดทางการตลาดเท่านั้น
หากแต่จะต้องกระตุ้นให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาปักลงทุนพัฒนาอย่างจริงจัง ตัวอย่าง โครงการความร่วมมือที่ทางกลุ่ม แอร์บัส ผู้ผลิตเครื่องบินพาณิชย์เบอร์ต้น ๆ ของโลกสนจะมาร่วมลงทุนกับการบินไทยยกระดับ EEC เป็นศูนย์กลางการบินครบวงจรระดับโลก ก็ต้องทำให้เกิดเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ ดร.ศุภชัยยังได้สะท้อนมุมมองถึงการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มต่าง ๆ ทั่วโลก
เพื่อสร้างโอกาสให้ไทยเป็นประเทศที่มีความแข็งแกร่งทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การผลิต การพัฒนาคุณภาพประชากร มีขีดความสามารถทัดเทียมกับนานาชาติเป็นประเทศผู้นำศูนย์กลางเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า การจัดงาน MICE TALK 2019 หัวข้อ “Regional Connectivity : Thailand MICE’s Opputunity” โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ศุภชัย พานิชภักดิ์ ครั้งนี้ ถือเป็นคุณูปการต่อผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมไมซ์ไทย โดยมีกลุ่มเพิ่งเริ่มเข้าสู่วงการ ผู้ปฏิบัติมายาวนาน และผู้บริหารกับเจ้าของกิจการ ได้เปิดโลกทัศน์เห็นภาพการเปลี่ยนแปลงใหญ่ ๆ
ในการจัดงาน MICE TALK 2018 เมื่อปีที่ผ่านมาตอนนี้เห็นผลชัดเจนว่าผู้ประกอบการที่เข้าร่วมรับฟังเปิดใจและตื่นตัวต้อนรับกับโลกยุคใหม่ในระบบดิจิตอล โดยเฉพาะทางด้านการเงินและการค้าสมัยใหม่ที่มีทั้งบล็อกเชน ฟินเทค และอื่น ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการค้าการทำตลาดออนไลน์ แล้วตอนนี้ TCEB ยังสามารถนำผลมาใช้ประโยชน์ในโครงการที่กำลังเกิดขึ้นคือ THAILAND MICE CONNECT 2019 เตรียมเปิดตัววันที่ 15 ตุลาคม 2562 โดยเปิดรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอีจากทั่วประเทศนำร่องขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไปด้วยกัน
ส่วนการหวังผลจากเวที MICE TALK 2019 เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562 นั้นมุ่งหวังที่จะทำให้เห็นถึงประโยชน์จากการใช้เครื่องมือ (equipment) กระตุ้นผู้ประกอบการไมซ์เกิดความตื่นตัวสร้างความสัมพันธ์และโอกาสทำให้อุตสาหกรรมเติบโตอย่างเข้มแข็ง เพราะถึงแม้ตอนนี้จีนกับสหรัฐอเมริกาจะประกาศสงครามการค้ากัน แต่ไมซ์จากตลาดจีนที่เดินทางเข้ามาไทยยังปกติ แต่ก็จะต้องประเมินในระยะยาวจะกระทบหรือไม่
ขณะที่ตลาดอเมริกาไทยเพิ่งเป็นเจ้าภาพจัดงาน SITE 2019 เสร็จสิ้นไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ ซึ่งยังคงสามารถส่วนแบ่งตลาดจัดนิทรรศการแสดงสินค้า กับ การประชุม อินเซ็นทีฟ คอนเว็นชั่น ไว้ได้ไม่ต่ำกว่า 20 % ดังนั้นจึงวางกลยุทธ์เชิงรุกโดยจะเปลี่ยนวิธีการทำตลาดหันไปเจาะไมซ์ในตลาดภูมิภาคเอเชีย
โดยเฉพาะ “จีน” ซึ่งเป็นลูกค้าไมซ์อันดับ 1 ของไทย จะหันไปลุยเจาะกลุ่มพรีเมียมในระดับคอร์ปอเรตติดท็อป 400-500 ควบคู่กับการรักษาฐานลูกค้ากลุ่มเดิมไว้ด้วย รวมทั้งวางแผนขยายการตั้งตัวแทนการตลาดเพิ่มในจีนจาก 1 เป็น 2 แห่ง คือปักกิ่งและเมืองขนาดใหญ่
ตลาดไมซ์ในอินเดียก็จะเน้นเจาะกลุ่มลูกค้าพรีเมียมคล้ายจีน และยังมีตลาดที่มาไทยติด 1 ใน 5 อย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และกลุ่มตลาดไมซ์ดาวรุ่งมาแรงจากประเทศในแถบ CLMV : กัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา เวียดนาม รวมถึง TCEB จะเดินหน้าบทบาทการทำหน้าที่เป็นหัวหอกขยาย Domestic MICE CITY ขยายจากปัจจุบัน 5 จังหวัด ไปให้ถึง 13 จังหวัด
TCEB จะเน้น 2 บทบาท ได้แก่ 1.การอบรมให้ความรู้บุคลากรที่ได้มาตรฐานเข้าสู่อุตสาหกรรมไมซ์ 2.เป็นที่ปรึกษานักลงทุนด้านการสร้างสถานที่ประชุม (venue) และกลุ่มผู้ผลิตการสร้างสรรค์ธีมงานไมซ์ เพื่อใช้เป็นแม่เหล็กดึงงานพรีเมี่ยมและงานคุณภาพหันมาเลือกไทยเป็นศูนย์กลางการจัดงานให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะในบริเวณ EEC ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากคุณสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา ได้จัดตั้งคณะกรรมการและทีมงานขึ้นมาผลักดันต่อยอด พัทยา ไมซ์ ซิตี้ อย่างเข้มข้นทั้งปัจจุบันและอนาคต
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น