ครม.14ก.ย.64 อนุมัติ2เรื่องปลดล็อกวีซ่า4กลุ่ม-แก้ระเบียบถือครองที่ดิน หวังดึงเงินต่างชาติไหลเข้าไทย1ล้านล้าน
“ครม.”อัดฉีด2เรื่องใหม่ดึงต่างชาติหวังเงินไหลเข้าไทย1ล้านล้าน
ปลดล็อกวีซ่า4กลุ่มอยู่ไทยยาว-แก้ระเบียบถือครองที่ดิน/ทำงาน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #มติครม14กันยายน64
#ปลดล็อกวีซ่าต่างชาติ
นายธนกร วังบุญคงชนะ
โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผย มติที่ประชุมคณะรัฐมนตรี
(ครม.) วันอังคารที่ 14 กันยายน 2564
เห็นชอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ และการลงทุน ตั้งเป้าดึงกลุ่มคุณภาพสูงทั้งนักลงทุนและผู้พำนักระยะยาวเข้าประเทศไทย
เน้นชาวต่างชาติจำนวน 1 ล้าน เข้ามาใช้จ่ายเงินในระบบเศรษฐกิจ
5 ปีหน้า
ให้ได้ 1 ล้านล้านบาท ด้วย 2 มาตรการ
1.ออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว เป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ 1.ประชากรที่มีความมั่งคั่งสูง 2.กลุ่มผู้เกษียณอายุจากต่างประเทศ 3.กลุ่มที่ต้องการทำงานจากประเทศไทย 4.กลุ่มผู้มีทักษะเชี่ยวชาญพิเศษ
โดยการออกวีซ่าประเภทผู้พำนักระยะยาว (Long-term
resident visa) กำหนดวีซ่าประเภทใหม่ให้กลุ่มชาวต่างชาติที่มีศักยภาพสูง
ตามข้อยกเว้นและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ ยกเว้นให้ผู้ถือวีซ่าประเภท
ผู้พำนักอาศัยระยะยาวและวีซ่าประเภท Smart visa ทั้งหมดไม่ต้องมีหนังสือแจ้งให้พนักงานเจ้าหน้าที่ทราบหากอยู่ในประเทศเกิน
90 วัน
2.มาตรการแก้ไขกฎหมายหรือกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เช่น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการถือครองที่ดิน การบริหารจัดการการทำงานและอนุญาตให้คนต่างด้าวสามารถทำงานให้นายจ้างทั้งที่อยูในและนอกราชอาณาจักรได้ พร้อมยกเว้น 1.หลักเกณฑ์การกำหนดจ้างคนต่างด้าว 1 คน ต้องจ้างงานพนักงานคนไทยทำงานประจำ 4 คน 2.ยกเว้นภาษีประเภทต่าง ๆ และระเบียบวิธีปฏิบัติด้านการศุลกากร
ทั้งนี้ ครม.มอบหมายให้ สศช. ไปหารือกับทางสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กระทรวงการคลัง
เพื่อพิจารณาดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป
ตามที่ สศช. คาดระยะเวลาดำเนินการมาตรการภายใน 5 ปีงบประมาณ (2565-2569) จะช่วยเพิ่มจำนวนชาวต่างชาติที่พักอาศัยในไทย 1 ล้านคน เพิ่มปริมาณเงินใช้จ่ายในระบบเศรษฐกิจมูลค่า 1 ล้านล้านบาท เพิ่มการลงทุนในประเทศ 8 แสนล้านบาท สร้างรายได้จากการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้น 2.7 แสนล้านบาท จะทำให้ประเทศไทยมีบุคลากรที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ เพียงพอให้กับภาคธุรกิจที่รัฐบาลมุ่งส่งเสริมซึ่งสอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561-2580) ในประเด็นอุตสาหกรรมและบริการแห่งอนาคต และโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์และดิจิทัล
รวมทั้ง
ครม. เห็นชอบตามที่ สศช. เสนอการประเมินผลสัมฤทธิ์ภาพรวมโครงการทุกๆ
5 ปี
รวมทั้งสิทธิประโยชน์ด้านภาษีและการถือของที่ดินก็ให้สิ้นสุดหลังจากวันที่เริ่มบังคับใช้แล้ว
5 ปี รวมทั้งให้ประเมินมาตรการต่าง ๆ หากเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศก็สามารถพิจารณาขยายระยะเวลาการบังคับใช้ออกไปได้ตามความเหมาะสมต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น