“TCEB”โชว์พลัง4ไมซ์ซิตี้“ขอนแก่น-พัทยา-เชียงใหม่-ภูเก็ต” “อีสาน3ซิตี้-พัทยามูฟออน+นีโอ-เหนือ43อุต-ใต้GEMMSS”
“TCEB”โชว์พลัง4ไมซ์ซิตี้“ขอนแก่น-พัทยา-เชียงใหม่-ภูเก็ต”
“อีสาน3ซิตี้-พัทยามูฟออน+นีโอ-เหนือ43อุต-ใต้GEMMSS”
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
#TCEB #ขอนแก่น3ซิตี้ #พัทยามูฟออนนีโอ
#เชียงใหม่ไมซ์43อุตสาหกรรม #ภูเก็ตGEMMSS
นางศุภวรรณ ตีระรัตน์
รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรม สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า ทีเส็บร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ
จัดทำมาตรฐานแนวทางปฏิบัติการจัดงาน ไว้ให้พร้อมเสนอที่ประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
(ศบค.) หลังปลดล็อกอุตสาหกรรมไมซ์
เพื่อเตรียมสร้างรายได้กระจายการจัดงานสู่ภูมิภาค Regional Economy เดินหน้าขับเคลื่อนเศรษฐกิจอย่างเต็มที่ โดยเน้นทำแผนฟื้นฟูตลาดให้กลับมาใหม่ด้วยเทคโนโลยีบวกกับไฮบริดออนไลน์ผ่านแคมเปญต่าง
ๆ ช่วยเหลือผู้ประกอบการกระตุ้นจัดงานไมซ์ในประเทศฟื้นอย่างรวดเร็ว ประกอบด้วย การฟื้นฟูไมซ์ตามแผนการตลาดดังนี้คือ
“ตลาดในประเทศ” จัดทำ 2 แคมเปญหลัก ได้แก่ แคมเปญแรก “ทั่วไทยภูมิใจช่วยชาติ :Domestic Convention Recovery Campaign” นำไฮบริดเทคโนโลยีออนไลน์เข้ามาใช้ ทีเส็บจะสนับสนุนโดยเฉพาะการจัดแสดงสินค้าหรือ Exihibitionสร้างรายได้ปีละ 3 แสนล้านบาท EMPower แบ่งเป็น 2 ส่วน 1.ขนาด S & M ขนาดเล็ก
และขนาดกลางเป็นไฮบริดเข้ามาด้วยกัน เน้นให้ภูมิภาคลุกขึ้นมาจัด สนับสนุนค่าเช่าฮอล์ การก่อสร้าง สนับสนุนจัดเอ็กซิบิชั่น
แคมเปญที่สอง “2 GO CAMPAIGN” จัดงานประชุมทั่วไทยปลอดภัย พร้อมก้าวไกลสู่สากล กระตุ้นการใช้ 2 Go คือ 1.Go Hybrid
Campaign ประชุมปลอดภัยได้ทุกสถานการณ์
โดยใช้เงินอุดหนุนให้ผู้ประกอบการจัดงานได้ในสถานการณ์โควิด วงเงิน 100,000
บาท/งาน จัดงานแบบ O2O 2.Go Global Campaign พัฒนาชาติด้วยเครือข่ายทุนทางปัญญาระดับสากล
สนับสนุนงานที่สามารถสร้างเครือข่ายผู้เข้าร่วมงานจาก 3 ประเทศขึ้นไป
มีผู้ร่วมงานไม่น้อยกว่า 30 คน
ทีเส็บพร้อมจะสนับสนุนเงินอุดหนุนเครือข่ายดังกล่าว 30,000 บาท/งาน
ส่วน
“ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า”เฟส 2 ได้ขยายเวลาขอสนับสนุนไปถึงสิ้นปีนี้ 31 ธันวาคม 2564 พร้อมกับปรับเงื่อนไขรูปแบบการจัดงาน โดยสามารถจัดภายในจังหวัดแล้วสามารถขอเงินสนับสนุนจากทีเส็บได้
ต่างจากเดิมกำหนดให้จัดนอกพื้นที่จึงจะได้เงินสนับสนุน เป็นการทำต่อเนื่องจาก
เฟสแรกที่มีคนเข้าร่วมกว่า 1,000 กลุ่ม
มีผู้จัดงานไมซ์ทั่วประเทศกว่า 60,000 คน ส่วนเฟส 2
ขณะที่ “ตลาดต่างประเทศ” กำลังเตรียมต้อนรับตลาดกลุ่มอินเซนทีฟจากอิสราเอล
2 กลุ่มแรก ช่วงตุลาคม
2564 และมกราคม 2565 โดย“ทีเส็บ”
ต้องการตอกย้ำถึงศักยภาพ MICE CITY 10 เมือง
ข้อดืคือ กระจายธุรกิจไปยังภูมิภาคต่าง ๆ และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน
ดึงงานระดับโลกมากระจายจัดให้เกิด Regional Economy เป็นการสร้าง
Build and Develop ทีเส็บพัฒนาศักยภาพของเมือง
สร้างเมืองคุณภาพรองรับงานต่าง ๆ ผลิตคน และให้การสนับสนุนจัดงาน ผู้ประมูลชิงงานมาจัดในไทย
หรือการประมูลนำ Specialize World Expo มาจัดที่ภูเก็ต
ไฮไลต์การุกตลาดไมซ์ต่างประเทศด้วยแคมเปญ
“BEST ALLIANCES CAMPAIGN :
รวมพลังพันธมิตรร่วมใจช่วยชาติ ในลักษณะ One Community ที่จะจัดทำร่วมกัน โดยมีทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
สภาหอการค้าต่างประเทศ สมาคมการจัดการของประเทศไทย สมาคมพีแม็ก
ทางทีเส็บเตรียมจัดสัมมนารายการใหญ่
งานแรก วันที่ 9 เดือน 9 ทางรอดของวิกฤต โดยมี ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ที่ปรึกษาเศรษฐกิจรัฐบาล
ขึ้นเวทีปาฐกถา งานที่ 2 จัดกิจกรรม THAI MICE
CONNECT สร้างเส้นทางใหม่ทั่วประเทศ เชิญชวนให้คนเข้าร่วมแข่งขันกว่า
100 ราย จะเปิดให้เข้าร่วมได้ในวันที่
15 กันยายน 2564 และ งานที่ 3 WINNOVATION
TECNO MART วันที่ 21 กันยายน 2564
@ขอนแก่นพัฒนาสู่3ซิตี้ “ไมซ์-สมาร์ต-ครีเอทีฟ”
นายสมศักดิ์ จังตระกุล
ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น ไมซ์ ซิตี้ ภาคอีสาน กล่าวว่า โควิดเป็นทั้ง Disrupt & Opputunity ขอนแก่นได้วางตำแหน่งเป็นจังหวัดเมืองศูนย์กลางทางการแพทย์ลุ่มแม่น้ำโขง
กำลังก้าวสู่การพัฒนาใหม่ 3 City “MICE-Smart-Creative“
เนื่องจากโควิด-19 มีผลให้ธุรกิจมีอุปสรรคหรือเหมือนโลกหยุดหมุน ขอนแก่นอาจแตกต่างจากจังหวัดอื่นเป็นไมซ์
ซิตี้ ตลาดหลักประชุม สัมมนา กลุ่มในประเทศเป็นหลัก อาจได้รับผลกระทบบ้าง
แต่ก็ได้พูดคุยกับเอกชนร่วมกันขับเคลื่อนแต่งเติมเป็นทั้ง Smart City และ Creative City ให้มีความพร้อมมากขึ้น
ระหว่างเหตุการณ์โควิด
ได้แบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ส่วน
ส่วนที่ 1 ฮาร์ดแวร์ “บ้านไผ่” เป็นจุดตัดของรถไฟความเร็วสูง
และเป็นไบโออีโคโนมี และศูนย์น้ำมันทางท่อ
จึงต้องเร่งวางโครงสร้างพื้นฐานทางถนนกับระบบราง
และทางอากาศที่รัฐบาลได้ขยายสนามบิน
ส่วนที่ 2 ซอฟท์แวร์ จับมือกับรัฐและเอกชน ใช้ศักยภาพความเป็น 3 City แบ่งเป็น อำเภอเมืองเป็นสมาร์ตซิตี้เดิม
และอำเภออื่นเป็นนิวสมาร์ตซิตี้ โดยได้รับการสนับสนุนจากทีเส็บทุกด้าน
กำลังพัฒนาต่อยอดด้าน 1.Global Geopark ทีเส็บสนับสนุน 2.เมืองโบราณ History Park พัฒนาเป็นเมืองมรดกโลก
อีกทั้งขอนแก่นได้อานิสงจากแคมเปญ “ประชุมเมืองไทย ปลอดภัยกว่า”
แม้ขอนแก่นจะเป็นพื้นที่สีแดงควบควมสูง ใช้ช่วงโลกหยุดหมุน
จัดระเบียบและพัฒนาศักยภาพเมืองขอนแก่น เป็นตัวอย่างให้เห็นความมุ่งมั่น
อีกส่วนมีคนเดินทางกลับภูมิลำเนาได้จัดเตรียมพื้นที่เกษตรทำเป็น “เกษตรประนีต”
หรือเกษตรกรรมคุณภาพสูง ยืนยันทุกมิติจะเดินหน้าไปด้วยกัน จะเป็นมิติน้อยหรือมากก็ตาม
ขอนแก่นพยายามติดต่อกับประเทศต่าง ๆ
เพื่อสร้างความเชื่อมั่น เช่น เกาหลีใต้ สิงคโปร์ (World
City) หรือยุโรป ทำ Business Forum แล้วยังมีสิ่งที่พยายามเคลื่อนต้วมากบ้างน้อยบ้าง
Handfill Festival ทำไดรว์อินมูวิวอล
ในโรงภาพยนตร์จะได้รับเครื่องตรวจ ATK ฟรีทุกคน
จัดกอลฟไทยแอลพีจีเอ 31 สิงหาคม -2 กันยายน
นี้
สำหรับการจัดกิจกรรมไมซ์
เตรียมออนไซต์รองรับการเปิดระเทศ เมื่อต่างชาติสามารถเดินทางเข้ามาได้
ขอนแก่นได้วัคซีน 25 % ของภาพรวม โดยศักยภาพการเป็นเมืองศูนย์กลางการแพทย์จึงได้ประชุม
สัมมนาย่อย ๆ ด้วย เช่น งาน 1.หัตถกรรมโลก มัดหมี่ ฟินาเล่ 2564
: ถักทอสายใยโลก 2.Food & Fair TEC 3.คณะกรรมการโรคติดต่อให้ซ้อมจัดประชุมขนาด 100-500 คน
เพื่ออนุมัติจัดแข่งขันฟุตบอลลีก ให้มีผู้ชม 25 % ประชุมร่วมกับเชียงใหม่ที่จะจัดประชุมเชิงวิชาการต่อไป
เป็นการเตรียมความพร้อมอยู่และสู้กับโควิด
เพื่อนำขอนแก่นกลับสู่ปกติได้ 100 % และหากรัฐบาลทำแผนฉีดวัคซีนเข็ม 1-2
ภายในตุลาคมนี้ขอนแก่นก็จะฉีดได้ตามเป้าหมาย
@“สนธยา คุณปลื้ม”เร่งเครื่องไมซ์“พัทยามูฟออน/นีโอพัทยา”
นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา
เปิดเผยว่า ไมซ์จะเป็นพลังขับเคลื่อนชาติ ขณะนี้พัทยาเตรียมโครงการ “PATTAYA MOVE ON” จะเริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2564 โดยมี “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” เป็นโมเดล นำร่องเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าพื้นที่เปิดเมืองพัทยาในส่วนแผ่นดิน
3 อำเภอ คือ พัทยา 54
ตารางกิโลเมตร เชื่อมกับ บางละมุง สัตหีบ มีประชากรพื้นที่และแฝงรวม
9 แสนคน กับ “เกาะล้าน”
เป็นพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยวบนเกาะ โดยแบ่งความรับผิดชอบกันดังนี้
“ภาครัฐ”
เมืองจะทำหน้าที่กำหนดเกณฑ์ต่าง ๆ
“ภาคเอกชน”
ต้องทำหน้าที่กำหนดแหล่งท่องเที่ยว ที่พัก ร้านอาหาร Seal Route กับ SOP นำมาเสนอ
“การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับเมืองพัทยา”
ดูแลด้านสิ่งอำนวยความสะดวก กับวัคซีนที่จะนำมากระจายฉีดให้ประชาชนในพื้นที่
ส่วน “เมืองพัทยา” รับผิดชอบกำหนดกรอบความเกี่ยวพันกันการพัฒนาเมืองไมซ์
3 เรื่อง 1.วัคซีน ขอนำมาฉีดประมาณ 1 ล้านโด๊ส แต่เนื่องจากพัทยาเป็นไข่แดง
ต้องดูพื้นที่รอบนอกต้องดำเนินการ ดูแลให้วัคซีนเขา เพื่อให้พื้นที่เราปลอดภัยด้วย
หากมีวัคซีนมา 100 % พัทยาจะแบ่งไว้ 35 % แบ่งให้พื้นที่รอบข้าง 65 % ส่วนผู้สูงอายุกับคนตั้งครรภ์ได้รับวัคซีนแล้วเกิน
90 % ภาคประชาชนทั่วไป มีวัคซีนกลาง 35 % ฉีดให้ประชาชนเกิน 30,000 คน แล้ว
พร้อมทั้งสั่งจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์อีก 50,000 โด๊ส
มาฉีดให้คนพัทยา ทำให้พัทยากับพื้นที่เป้าหมายสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้ในระดับอาจจะยังไม่ถึง
70 %
ส่วน “เกาะล้าน แซนด์บ็อกซ์”
ปิดเกาะล้านฉีดวัคซีนแล้ว 370 คน เกือบ 100 % ถือเป็นพื้นที่นำร่องของส่วนหนึ่งของ
PATTAYA MOVE ON นั่นเอง
2.สิ่งอำนวยความสะดวก เดินหน้าโครงสร้างพื้นฐาน ไมซ์ ซิตี้ มีศูนย์ประชุม
สวนนงนุช รอยัลคลิฟฟ์ และมีโดเมสติกไมซ์ จัดสัมมนาดูงานในชุมชนสร้างความเข้มแข็ง
นอกจากนั้นก็มีโครงสร้างพื้นฐานด้านท่องเที่ยวเปิดเมือง
3.โอกาสทางธุรกิจ ที่จะเกิดขึ้นในฐานะพัทยาเป็นเมืองหลักเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก
มีรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน อู่ตะเภา-สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง
“PATTAYA
MOVE ON” มีความพร้อมสุด
การเตรียมจัดกิจกรรมรองรับการเปิดประเทศ ในฐานะที่พัทยาเป็นเมืองหลักของเขตเศรษฐกิจพิเศษ EEC ทั้งรถไฟ สนามบิน เดินหน้าไปแล้ว
ก็ต้องมาดูถึงภายในเมืองพัทยาจะทำในส่วนการศึกษา 1.รถไฟรางเบา
ที่เหมาะสม เชื่อมต่อรถไฟฟ้าความเร็วสูง เพื่อรองรับการเติบโต
ขับเคลื่อนภายใต้ยุทธศาสตร์ NEO PATTAYA ซึ่งเดิมพัทยาพึ่งพาท่องเที่ยวถึง
70 % เมื่อ EEC เข้ามาแล้ว
เป้าหมายต่อเนื่องเกี่ยวกับ 1.ที่พักอาศัย 2.ศูนย์กลางธุรกิจในและต่างประเทศ หรือสถานที่ทำงานของคนทั่วโลก (nomad)
นโยบายการดูแลคุณภาพชีวิต เศรษฐกิจ สังคม
วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม การทำงานแบบบูรณาการ หากรัฐ-เอกชน-ประชาชน
ทำร่วมกันงานก็จะไปด้วยกัน
ส่วนการจัดไมซ์มีทั้งอินดอร์และเอาท์ดอร์
เอ็กซิบิชั่นออนบีช ปีนี้เดิมจะจัด Machain Art
Indoor Exhibition, Family Plan, Seminar World Lion, AirShow นอกจากนั้นจะเป็นการทำงานร่วมกันกับทางทีเส็บ
ตอนนี้ถึงจะมีโควิดก็ต้องเตรียมทั้ง
แผน งบประมาณ และการจัดงาน เมื่อปลดล็อกหรือผ่อนคลายท่องเที่ยว เริ่มจาก พัทยา
เฟสติวัล (แฮปปี้เบิร์ดเดย์ พัทยา) เติบโตมา 62 ปี เริ่มจากปี 2502 ทหารอเมริกาเดินทางมาพักผ่อน
เดือนมิถุนายน จะสร้างอีเวนต์ทุกปีเพื่อเฉลิมฉลอง ปีนี้มีงบประมาณทำงาน ลอยกระทง
งานพลุพัทยา พัทยาเคาน์ดาวน์ และปลายปีนี้ทำ คอฟฟี่เฟสติวัล
ทำกับชมรมคาเฟ่แอนด์บริสโทพัทยา ณ ชายหาดพัทยาแบบสบาย ๆ เชิญชวนมากินดื่มกาแฟ
สรุปปลายปี 2564 พัทยาจะจัดกิจกรรมมากมาย
และร่วมกับทีเส็บไปประมูลงานนานาชาติมาจัดในพัทยา
ซึ่งก่อนหน้านี้วางตำแหน่งเป็นเมืองท่องเที่ยว ท่องเที่ยวทำรายได้ปีละ 240,000
ล้านบาท จากต่างชาติ 10 ล้านคน คนไทย 5
ล้านคน แต่ต่อไป จะต้องวางตำแหน่งเพิ่มเติม เป็นเมืองพักอาศัย
ศูนย์กลางการทำงานของคนทั่วโลก บนพื้นฐานโครงสร้างพื้นฐาน วัฒนธรรม
แล้วดูการทำงานรัฐ เอกชน ประชาชน
เพื่อสร้างดีมานต์กับซัพพลายเดินหน้าควบคู่กันไปได้
พัทยาต้องเติบโตควบคู่ภายใต้การท่องเที่ยว
และให้ความสำคัญกับตลาดคนไทยซึ่งเป็น 1 ใน 3 ของพัทยา จึงต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกไว้รองรับ
โดยมีอาคารจอดรถ หรือสถานที่จอดเพราะคนไทยชอบขับรถเที่ยว หรือตลาด แหล่งท่องเที่ยว
โดยเฉพาะ “เกาะล้านแซนด์บ็อกซ์” รับทั้งตลาดคนไทยด้วย
เมื่อคนเกาะล้านฉีดวัคซีนแล้วเกือบร้อยเปอร์เซนต์ ส่วนบนฝั่งก็รองรับท่องเที่ยว
โดยมีทั้งการขับเคลื่อน สิ่งอำนวยความสะดวกโครงสร้างพื้นฐาน
ไมซ์ซิตี้รองรับท่องเที่ยวครบวงจรทั้งอินดอร์และเอาท์ดอร์
@เชียงใหม่จัดทัพ43อุตสาหกรรมดันไมซ์ฟื้นเศรษฐกิจ
นายอนุชา มีเกียรติชัยกุล
ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ โดยรวมจีดีพีของเชียงใหม่ 3 แสนล้านบาท มาจากไมซ์ 50,000 ล้านบาท
ที่เหลือมาจากท่องเที่ยว พอเจอโควิดก็ได้รับผลกระทบแต่เอกชนไม่ยอมแพ้
จะใช้เซกเตอร์อื่น ๆ คือ “ภาคการเกษตร” มีพื้นที่เพาะปลูกใหญ่อันดับสองของประเทศ
ทำแปรรูป เครื่องมือแพทย์ ดิจิทัล การศึกษา มีมหาวิทยาลัยกว่า 7 แห่ง และได้รับการยกย่องเป็นเมดิคัลฮับ มีมหาวิทยาลัยการแพทย์
และได้รับการยกย่องเป็นจังหวัดูแลสาธารณสุขดีสุดในอาเซียน
เป้าหมาย –
จะดูแลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเป็นหลักด้วย
ตามแผนจะต้องเปิดเมืองรับนักท่องเที่ยวต่างชาติทำ Charming
Chaingmai เริ่มวันที่ 1 ตุลาคม 2564 ปัจจุบันทำแผนพัฒนาเมือง 5 ปี ระหว่าง 2566-2570 เมืองแห่งความมั่งคั่ง นำ BCG กับนวัตกรรมเข้ามาใช้
ทางภาคเอกชน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา แล้วก็ใส่ MICE เข้าไปทุกส่วน
ทั้งการท่องเที่ยว เกษตร การค้าการลงทุน ต่อท่อเชื่อมกับไมซ์
มีกระบวนการของไมซ์เข้ามาเกี่ยวข้อง
ตอนเสนอโครงการทางสภาอุตสาหกรรมฯ
เสนอการจัดงานต่าง ๆ รวมไมซ์เข้าไปกว่า 10 โครงการ และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยกับภาคเหนือเตรียมจัด FDI EXPO 2022 จัด 2-6 กุมภาพันธ์
2566 มีสภาอุตสาหกรรมภาคเหนือ
และสถาบันการศึกษาอีกกว่า 20 แห่ง จัดต่อเนื่อง 5 วัน ที่ศูนย์ประชุมนานาชาติเชียงใหม่ ในพื้นที่กว่า 60,000 ตารางเมตร จะมีครบทั้ง 1.สภาอุตสาหกรรมทั่วประเทศ
จับคู่ธุรกิจกว่า 12,000 ราย 2.อินเซนทีฟเยี่ยมชมงาน
3.สัมมนาจะมีทางวิชาการหัวข้อ BCG Model,
biotechnology, climate change มีกระทรวงสำคัญทางเศรษฐกิจ
กับทีเส็บเข้าร่วมตลอดงาน
ส่วนเอ็กซิบิชั่นมาครบ 43 อุตสาหกรรม 11 เซกเตอร์ รวม SMEs
และภูมิภาคใน 17 จังหวัดภาคเหนือ
โดยมีเชียงใหม่เป็นเจ้าภาพ โดยมี “เอกชน” พร้อมเป็นหน่วยขับเคลื่อน “ภาคการผลิต”
การจัดกิจกรรมเตรียมพร้อมรับการเปิดเมือง
จะใช้ศักยภาพของเชียงใหม่เมืองศูนย์กลางภาคเหนือแห่งอาเซียน
มีเส้นทางบินเชื่อมเที่ยวบินระหว่างประเทศ 23 จุด และในประเทศอีก 12 จุด
มีการข้อตกลงความร่วมมือกับนานาประเทศ สามารถดำเนินการหลายอย่างให้เกิดกับภูมิภาค
โดยแบ่งภาคเหนือตอนบน1 ลำปาง/ลำพูน/แม่ฮ่องสอน และตอนบน 2
กกร.ประชุมวางแผนร่วมกันโดยมีไมซ์อยู่ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจ
และมีสภาอุตสาหกรรมภาค 17 จังหวัดภาคเหนือ โดยFDI
EXPO 2022 ทุกภาคส่วนจะมีโอกาสแสดงศักยภาพอย่างแน่นอน
@ภูเก็ตโชว์ยุทธศาสตร์“GEMMSS”แปลงทุกสถานที่ทำไมซ์
นายภูมิกิติ์ รักแต่งาม
นายกสมาคมธุรกิจท่องเที่ยวจังหวัดภูเก็ต กล่าวว่า
เศรษฐกิจศาลพระภูมิมีขาเดียวคือพึ่งพาการท่องเที่ยว
แตกต่างจังหวัดอื่นมีความได้เปรียบมากกว่าเพราะมีทั้งอุตสาหกรรม เกษตร พาณิชย์
โควิด-19
ทำให้ภูเก็ตเลือกได้ทางเดียวคือต้องนำท่องเที่ยวกลับมาให้เร็วที่สุดประกาศทำ
“ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” (แทนภูเก็ต เฟิร์ส ออกโทเบอร์) เริ่ม 1 กรกฎาคม 2564
เอกชนภูเก็ตขอ 1.วัคซีน เริ่ม 24 มีนาคม 2564 2.การสื่อสาร
จากนั้นทำให้เกิดความร่วมมือของรัฐ เอกชน ประชาชน ที่สอดประสานเป็นหนึ่งเดียวกัน โดยนำไมซ์สผนวกเข้าไปไว้กับทุกเรื่องได้
จึงมียุทธศาสตร์ใหม่เกิดขึ้นคือ “GEMMSS Strategy” คือ G- Gastronomy, E- Education, M- Marina, M- Medical, S-Sport City,
S-Smart City เพื่อต่อยอดเศรษฐกิจของภูเก็ตจากเดิมที่มีอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพียงอย่างเดียว
และทุกสาขาธุรกิจที่แตกออกมาจะมีกิจกรรมไมซ์เข้าไปผนวกเข้าอยู่ด้วย
ส่วนการเปิดเมืองรับการท่องเที่ยว
หลังจากภูเก็ตเคยมีรายได้จากท่องเที่ยวปีละ 720,000
ล้านบาท ปี 2563 รายได้หายไปกว่า 70 % จึงได้เสนอให้มอง “ภูเก็ตเป็นห้องประชุมนานาชาติขนาดใหญ่”
โดยดีไซน์ให้ชายหาด น้ำตก วิ่งเทรล ไปนั่งคุยในสวนทุเรียน
ใช้ทุกสถานที่เป็นสถานที่ประชุมได้ เป็นสเตเดี้ยม ห้องประชุมวิวสวยสุด
อีกทั้งยังมีคนเก่งหลากหลายอาชีพ นำความโดดเด่นของแต่ละส่วนมาประกอบเข้าด้วยกัน
“ภูเก็ต”
วางเป็นแนวทางไมซ์ของซึ่งได้รับการสนับสนุนจากทีเส็บ พร้อมจะผลักดันเป็น Worldclass MICE ให้ได้
เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันอย่างเข้มแข็งในอนาคตต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น