TCEB”รุกทันควันหลังศบค.ปลดล็อกลุยจัดไมซ์ทั่วไทย1,000กลุ่ม งัด3COVID Freeคุม-ผู้จัดเข้ม5สเต็ป-จัดไมซ์ได้ไม่จำกัด1ม.ค.65
“TCEB”รุกทันควันหลังศบค.ปลดล็อกลุยจัดไมซ์ทั่วไทย1,000กลุ่ม
งัด3COVID Freeคุม-ผู้จัดเข้ม5สเต็ป-จัดไมซ์ได้ไม่จำกัด1ม.ค.65
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
#TCEB #MICE
“TCEB”เฮรับ ศบค.ปลดล็อกไมซ์ในประเทศ
โชว์ผลงานกระตุ้นตลาดจัดประชุมกระจายทั่วประเทศทันควัน ต.ค.-ธ.ค.นี้ 1,000 กลุ่ม สร้างเงิน สร้างงาน หมุนเวียน 250 ล้านบาท
ลุยขยายผลรวมตัวจัดไมซ์ได้ไม่จำกัด 1 ม.ค.65 เป็นต้นไป คุมใช้ 3 แนวปฏิบัติเข้ม-COVID
FREE “สิ่งแวดล้อม-ผู้จัด-ลูกค้า”
แนะนำทุกงานเร่งปรับตัวศึกษาวิธียื่นขอตามเกณฑ์ “ก่อน-ระหว่าง-หลัง” จัดงาน 5
ขั้นตอน “PLAN-SUMMIT-AGREE-IMPLEMENT-REPORT”
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า ทันทีที่ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) มีมติเห็นชอบตั้งแต่ 16 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมา ตามข้อเสนอของทีเส็บที่ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย กรมควบคุมโรค พร้อมพันธมิตรรวม 23 เครือข่าย เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมโรงแรมไทย (THA) สมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติ(ไทย)/TICA และอื่น ๆ เพื่อออกมาตรการผ่อนปรน “โครงการเปิดเมืองปลอดภัย ยกระดับการจัดงานไมซ์ด้วยมาตรฐาน” ปลดล็อกการจัดประชุม งานแสดงสินค้า งานอีเวนต์ต่าง ๆ งานเทศกาล และงานมหกรรม เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม ยึดหลักตามแนวคิด Smart Control Smart Living with COVID ของกระทรวงสาธารณสุข
โครงการนี้จะช่วยสร้างงานและกระจายรายได้สู่ชุมชนเป็นอย่างมากที่จเกิดขึ้นช่วงปลายปีนี้ ระหว่างตุลาคม-ธันวาคม 2564 คือ การประชุม 1,000 กลุ่ม ที่มีเดือนละ 50 คน/กลุ่ม สามารถสร้างผลทางเศรษฐกิจทางตรงกระจายตามภูมิภาคทั่วประเทศกว่า 250 ล้านบาท และเกิดประโยชน์ทางอ้อมในการฟื้นฟูด้านการเดินทางธุรกิจ และการท่องเที่ยวในประเทศต่อเนื่องได้ด้วย
ขณะนี้มีงานที่พร้อมจัดแล้ว คือ 1.งานแสดงสินค้า กระจายจัดตามพื้นที่หลัก กรุงเทพฯ 54
งาน นนทบุรี 32 งาน ต่างจังหวัดทั่วประเทศ 22 งาน ซึ่งจะช่วยให้ผู้จัดงาน
โรงแรม สถานที่จัดงาน การขนส่ง ร้านอาหาร ธุรกิจผู้ประกอบการต่างๆ
ทั้งในส่วนกลางกรุงเทพฯ และระดับท้องถิ่นชุมชน เกิดการจ้างงานสร้างรายได้กระจายในภูมิภาคทั่วประเทศ
ทีเส็บขอความร่วมมือผู้ประกอบการไมซ์ดำเนินการจัดงานตาม
‘แนวทางปฏิบัติการจัดงานไมซ์’ ภายใต้มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร
หรือ COVID Free Setting
ที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับทีเส็บได้กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด สามารถดาวน์โหลดข้อมูลได้ที่
https://hia.anamai.moph.go.th/th/handbook/2927#wow-book/”
หลังจาก ศบค. มีมติเห็นชอบข้อเสนอการปรับมาตรการผ่อนปรน “โครงการเปิดเมืองปลอดภัย
ยกระดับการจัดงานไมซ์ด้วยมาตรฐาน” ให้กลุ่มกิจการศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์ประชุม
หรือสถานที่จัดนิทรรศการ รวมถึงสถานที่ลักษณะเดียวกันในห้างสรรพสินค้าและโรงแรม
ปฏิบัติตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ COVID Free
Setting 7 ข้อ ดังนี้
1.จัดประชุม สัมมนา ได้จนถึงเวลา 22.00 น.
2.จำกัดจำนวนผู้เข้าร่วมไม่เกิน 500 คน (พิจารณาปรับเปลี่ยนตามสถานการณ์)
3.ให้ผู้เข้าร่วมสวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา
4.จัดให้มีช่วงเวลาพักเพื่อการระบายอากาศของห้องประชุม
5.จัดเตรียมอาหารแบบแยกเป็นชุด
6.เว้นระยะห่างไม่ให้แออัด
7.ดำเนินการตามแนวปฏิบัติที่กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับทีเส็บกำหนดอย่างเคร่งครัด
ทางผู้ประกอบการจะต้องตรวจสอบและปรับปรุงระบบหมุนเวียนอากาศ รวมทั้งการจัดสถานที่ให้เป็นไปตามมาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ COVID Free Setting ก่อนเปิดทำการด้วย ตลอดจนการจัดงานก็ต้องดำเนินการภายใต้มาตรการความปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ COVID Free Setting อย่างเคร่งครัด ควบคู่แนวทางปฏิบัติการจัดงานไมซ์ที่กำหนดไว้ 3 แนวทาง คือ
แนวทางที่ 1 แนวปฏิบัติด้านอนามัยสิ่งแวดล้อม
หรือ COVID FREE Environment ดูแลสุขอนามัยและความปลอดภัยในด้านความสะอาดของพื้นผิวจุดสัมผัสร่วมในทุกพื้นที่ของสถานที่จัดงาน
มีบริการจุดล้างมือหรือแอลกอฮอล์อย่างเพียงพอ บริการอาหารเครื่องดื่มแยกชุด
มีการคัดกรองผู้จัดงานและพนักงาน
มีการสื่อสารมาตรการแนวปฏิบัติให้ผู้เข้าร่วมงานและพนักงานทราบล่วงหน้าและสื่อสารระหว่างที่เข้าร่วมงาน
มีแผนการบริหารความเสี่ยง แผนเผชิญเหตุ มีการเว้นระยะห่างไม่น้อยกว่า 1 เมตร ลดความแออัดโดยจำกัดจำนวนคนต่อพื้นที่ 1 คน ต่อ 4 ตารางเมตร จำกัดเวลาประชุมไม่เกินช่วงละ 2 ชั่วโมง และดูแลการระบายอากาศของสถานที่จัดงาน
แนวทางที่ 2 แนวปฏิบัติด้านผู้ให้บริการ หรือ COVID FREE Personnel ผู้จัดงาน และสถานที่จัดงาน ต้องจัดให้พนักงานทุกคนได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ มีการคัดกรองความเสี่ยงและบันทึกประวัติทุกวัน โดยผู้จัดงานต้องตรวจแอนติเจน (Antigen Test Self-Test Kits: ATK) ก่อนวันจัดงานอย่างน้อย 72 ชั่วโมง พนักงานประจำสถานที่จัดงานควรตรวจแอนติเจนทุก 7 วัน งดรวมกลุ่มขณะปฏิบัติงานและระหว่างพัก กำหนดโซนการปฏิบัติงานและเลี่ยงการทำงานข้ามเขตหรือข้ามแผนก
แนวทางที่ 3 แนวปฏิบัติด้านผู้เข้าร่วมประชุม หรือ COVID FREE Customer ต้องตรวจสอบประวัติความเสี่ยง หลักฐานการรับวัคซีนครบตามเกณฑ์ และผู้เข้าร่วมงานต้องปฏิบัติยึดหลัก DMHTA อย่างเคร่งครัด ประกอบด้วย D-Distancing การเว้นระยะห่าง, M-Mask Wearing สวมหน้ากาก, H-Hand Washing ล้างมือบ่อยๆ, T-Testing Temperature ตรวจอุณหภูมิก่อนเข้างาน, และ A-Application เช็คอินโดยใช้แอปพลิเคชันไทยชนะ รวมถึงการประเมินอาการระหว่างและหลังการเข้าร่วมงานอย่างน้อย 14 วัน
มาตรการปลอดภัยสำหรับองค์กร หรือ COVID Free
Setting ดังกล่าวจำเป็นต้องลงทะเบียน และกำกับติดตามโดยผู้จัดงาน
สมาคมที่เกี่ยวข้อง และทีเส็บ
มาตรการดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้ตามสถานการณ์ในแต่ละพื้นที่ ดาวน์โหลดรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://covid19.anamai.moph.go.th/th/
นายจิรุตถ์กล่าวว่า ส่วนเรื่องการจัดกิจกรรมรวมกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่โรค “มาตรการเดิม”กำหนดการรวมกลุ่มตามระดับพื้นที่ ตั้งแต่พื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวดถึงเฝ้าระวัง คือ 25, 50, 100, 200, 500 คน ส่วน “ข้อเสนอปรับใหม่” ของ ศบค.ตั้งแต่วันที่ 16 ตุลาคม 2564 เป็นต้นมา อนุมัติปรับเพิ่มการรวมกลุ่มตามระดับพื้นที่ตั้งแต่พื้นที่ควบคุมสูงสุดเข้มงวดถึงเฝ้าระวังได้ตั้งแต่ 50, 100, 200, 300, 500 คน
ส่วนการ “กำกับดูแลการจัดงานหรือกิจกรรมไมซ์” จะเป็นหน้าที่ของผู้จัดงาน สมาคม และทีเส็บ ขณะนี้อยู่ภายใต้การกำกับติดตามของ “คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กรุงเทพมหานคร” โดยผู้จัดงานจะต้องทำการประเมินตนเองผ่านแพลตฟอร์ม Thai Stop COVID Plus และเลือกสถานที่จัดงานที่ผ่านมาตรฐาน SHA+ และ TMVS Plus 2HY เท่านั้น
อีกทั้งการจัดงานจะขึ้นอยู่กับความพร้อมของเมือง และพื้นที่เสี่ยง ซึ่งเป็นอำนาจของผู้ว่าราชการจังหวัด หน่วยงานหรือเขตที่รับผิดชอบอนุมัติจัดงานด้วย โดยผู้จัดงานต้องดำเนินการขออนุมัติการจัดงานด้วย 5 ขั้นตอน คือ
1. PLAN การวางแผนจัดงาน โดยอ้างอิงแนวทาง COVID Free Setting จัดทำแผนเผชิญเหตุ เลือกใช้สถานที่จัดงานที่ผ่านมาตรฐาน SHA+ และ TMVS Plus 2HY
2. SUMMIT เสนอแผนการจัดงานต่อคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด/กรุงเทพมหานคร เพื่อขอความเห็นชอบในการจัดงาน
3. AGREE คณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด/กรุงเทพมหานคร พิจารณาเห็นชอบต่อการจัดงานและให้คำแนะนำ หากมีการแก้ไข ผู้จัดงานต้องดำเนินการปรับแก้ไขตามคณะกรรมการฯ
4. IMPLEMENT ปฏิบัติตามแนวทาง COVID Free Setting และมีผู้กำกับปฏิบัติตามมาตรการทุกวัน โดยมีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข/คณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด/กรุงเทพมหานคร ทำการสุ่มกำกับการจัดงาน
5. REPORT นำส่งรายงานหลังการจัดงานให้กับคณะกรรมการควบคุมโรคจังหวัด/กรุงเทพมหานคร และเก็บข้อมูลผู้เข้าร่วมงานอย่างน้อย 14 วัน
นายจิรุตถ์ กล่าวว่า
ทีเส็บและภาคีเครือข่ายด้านไมซ์ยังเดินหน้าผลักดันข้อเสนอมาตรการผ่อนปรนการจัดงานไมซ์
ระยะต่อไปที่นำเสนอไปแล้ว กระทั่งมติที่ประชุม ศบค. เห็นชอบ ส่วนรายละเอียดมาตรการจะมีการหารืออีกครั้ง
เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์และไม่เป็นอุปสรรคต่อการจัดงานไมซ์
กำหนดจำนวนผู้เข้าร่วมประชุม การจัดงานแสดงสินค้า (ไม่มีการชิมอาหาร)
งานอีเวนต์ งานเทศกาล และงานมหกรรม ควบคู่กับมาตรฐานหลัก เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1
เมตร โดยเกณฑ์ควบคุมความหนาแน่น พิจารณาจากพื้นที่เปล่า
ไม่นับพื้นที่ส่วนแสดงสินค้าหรือเวทีไม่น้อยกว่า 1 คน ต่อ 4 ตารางเมตร
เสนอแบ่งช่วงเป็น 3 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ระหว่าง 1-30
พฤศจิกายน 2564 จัดการประชุมไม่เกิน 500 คน จัดงานแสดงสินค้า
(ไม่มีการชิมอาหาร) งานอีเวนต์ต่างๆ งานเทศกาลและงานมหกรรมมีผู้เข้าร่วมไม่เกิน 1,000 คน/รอบ
ระยะที่
2 ระหว่าง 1-31 ธันวาคม 2564 จัดการประชุมไม่เกิน 1,000 คน จัดงานแสดงสินค้า งานอีเวนต์ต่าง ๆ
งานเทศกาลและงานมหกรรม ไม่เกิน 1,000 คน/รอบ
ระยะที่ 3 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2565 เป็นต้นไป เปิดให้จัดได้ในทุกกิจกรรม จัดงานได้ตามเหมาะสม โดยจัดได้เต็มพื้นที่
100% เว้นระยะห่างอย่างน้อย 1 เมตร
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น