“แบงก์ชาติ”ชี้เป้าแนะป้องอนาคตไทยก้าวสู่“ยุคเหลื่อมล้ำ+ยากจน”หนัก “บพท.”ลุยแผนแก้จนฟื้น“เศรษฐกิจ+การศึกษา”สกัดตกงาน3.2ล้านคน
“แบงก์ชาติ”ชี้เป้าแนะป้องอนาคตไทยก้าวสู่“ยุคเหลื่อมล้ำ+ยากจน”หนัก
“บพท.”ลุยแผนแก้จนฟื้น“เศรษฐกิจ+การศึกษา”สกัดตกงาน3.2ล้านคน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
#บพท #แบงก์ชาติ #อนาคตประเทศไทยยุคเหลื่อมล้ำยากจนรุนแรง
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา
ผู้อำนวยการ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
นายจิตเกษม พรประพันธ์ ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย กล่าวในเวทีงานของ “หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่” (บพท.) ว่าขณะนี้ผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ต่อเนื่อง ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยมีแนวโน้มรุนแรงขึ้นทั้งทางเศรษฐกิจและการศึกษา จากข้อมูลไตรมาส 4 ปี 2564 พบมีผู้ว่างงานและเสมือนว่างงาน 3.2 ล้านคน ว่างงานเกินหนึ่งปี 1.6 แสนคน และไม่เคยมีงานทำ 2.7 แสนคน โดยยังไม่นับรวมแรงงานที่ย้ายถิ่นกลับต่างจังหวัดมากถึง 1.7 ล้านคน
สภาพการณ์ต่าง
ๆ เป็นปัจจัยกดดันให้อนาคตประเทศไทยมีแนวโน้มเกิดความเหลื่อมล้ำแนวโน้มรุนแรงมากขึ้น
หลัก ๆ นอกจากเรื่องหนี้ครัวเรือนจะขึ้นถึงระดับ 89.3% ของจีดีพี เมื่อสิ้นปี 2564โควิดยังทำให้มีความเสี่ยงทำให้นักเรียนจะหลุดออกจากระบบการศึกษาเพราะความยากจนมากถึง
1.9 ล้านคน
ส่วนโควิด-19
ยังคงเป็นปัญหาของโลก ถึงแม้รัฐบาลไทยจะเปิดรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศมากขึ้นทำให้ภาพรวมท่องเที่ยว
ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสำคัญของประเทศเริ่มฟื้นตัว แต่จนถึงปลายปี 2565จะสามารถฟื้นตัวเต็มที่ได้
ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายนโยบายโครงสร้างเศรษฐกิจ ธนาคารแห่งประเทศไทย
นายจิตเกษม กล่าวว่า การแก้ไขปัญหา แนวทางที่ 1 ควรดำเนินการแบบ “One Thailand” ในแต่ละพื้นที่ต้องบูรณาการทรัพยากร บุคลากรและความรู้ ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด โดยสร้างเป็นระบบการทำงานร่วมกันของภาครัฐ เอกชน และชุมชน
แนวทางที่ประเทศไทยจะต้องปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจและแรงงาน โดยใช้องค์ความรู้ท้องถิ่นมาเพิ่มศักยภาพของคน ส่งเสริมเศรษฐกิจผู้สูงวัย พัฒนาเศรษฐกิจใหม่บนฐานทุนทรัพยากร Bio-Circular-Green และการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งใน 4 ส่วน คือ ภาคการค้า อุตสาหกรรม เกษตร และท่องเที่ยว
ดร.กิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการ บพท. เปิดเผยว่า จากโครงสร้างปัญดังกล่าว ทางบพท.ตระหนักเป็นอย่างดีต่อความสำคัญที่จะพัฒนาและแก้ปัญหาจากพื้นที่ จึงร่วมกับสถาบันการศึกษาทั่วประเทศ 99 แห่ง ร่วมคิด ร่วมทำกับชุมชน จับมือกันแก้ปัญหาปัจจุบันพร้อมกับสร้างรากฐานเพื่อการพัฒนาในอนาคต
เนื่องจาก “ความเหลี่อมล้ำ” เป็นประเด็นปัญหาที่ฝังรากลึกในไทยมายาวนาน จึงต้องการแนวทางการแก้ไขแบบใหม่ให้ได้ผลกว่าเดิม นั่นคือการใช้ความรู้และการมีส่วนร่วมอย่างจริงจัง ซึ่ง บพท.ลงมือทำพิสูจน์ให้เห็นแล้วได้ผลน่าพอใจ เพราะมีการทำงานครอบคลุมทั้งระดับครัวเรือน ชุมชนและระดับเมือง ร่วมกัน
ตามที่
บพท. ได้เดินหน้าส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนาระดับพื้นที่ ยึดโยงกับยุทธศาสตร์สำคัญ
3 ด้าน คือ
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคนและกลไกจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนทางวัฒนธรรม
2.ยุทธศาสตร์พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้
บพท.
แสดงผลการดำเนินงานจากการร่วมกับสถาบันการศึกษา หน่วยราชการ และชุมชน พัฒนาเศรษฐกิจฐานรากทำให้ชุมชนเกิดความรู้และเข้มแข็ง
เกิดการพัฒนากลุ่มอาชีพได้มากถึง 5,600 กลุ่ม เป็นพื้นฐานเพื่อให้คนในแต่ละพื้นที่สามารถเริ่มต้นพัฒนาตนเองได้
มีความรู้ใหม่ และมีนวัตกร
หรือผู้นำท้องถิ่นที่จะทำให้ชุมชนของเขายั่งยืนต่อไปในอนาคต
รวมทั้ง บพท.จัดทำวิจัยสนับสนุนซึ่งเป็นเครื่องมือที่สามารถค้นพบคนยากจนที่หลุดจากระบบความช่วยเหลือของรัฐใน 20 จังหวัดกว่า 800,000 คน ในจำนวนนี้ได้รับความช่วยเหลือไปเรียบร้อยแล้วกว่า 600,000 คน
ขณะที่ “การพัฒนาในระดับเมือง” บพท. ได้ส่งเสริมให้เกิดการรวมตัวในพื้นที่ จัดตั้งเป็นบริษัทพัฒนาเมืองขึ้นแล้ว 19 แห่ง เพื่อใช้เป็น “กลไกการพัฒนา” ที่จะดึงทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมวางแนวทางอนาคตของตนเอง เกิดเมืองแห่งการเรียนรู้ 18 พื้นที่ และเกิดกลไกบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 61 กลไก
ดร.กิตติ ย้ำว่า จากประสบการณ์ของ บพท. พบว่าการเปลี่ยนแปลงที่ดีเกิดขึ้นได้จริง ๆ ถ้าเริ่มจากกระบวนการมองปัญหาและเริ่มการแก้ไขจากพื้นที่ของปัญหานั้น ๆ เพราะเจ้าของปัญหาลงมือทำเอง โดยมีความรู้และพี่เลี้ยงจากสถาบันการศึกษา
บพท.ได้วางแนวทางในอนาคตด้วยกลยุทธ์ “ต่อยอดกระบวนการทำงาน” ดังกล่าวให้ตอบความต้องการของประเทศมากยิ่งขึ้น เช่น ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อยกระดับสมุนไพรไทย งานวิจัยการสร้างเศรษฐกิจใหม่บนฐานทรัพยากรอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
โดย “ทุนวิจัยในอนาคต” จะมีความเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เชื่อมโยงการยกระดับชุมชนให้มาช่วยยกศักยภาพของประเทศ โดยเฉพาะในสาขาที่มีโอกาสสูง เช่น การที่ไทยเสียดุลนำเข้าผลิตภัณฑ์สมุนไพรนปีละ นับหมื่นล้านบาท ทั้งที่ไทยมีสมุนไพรอยู่ทั่วประเทศ ดังนั้นงานวิจัยจะเข้ามาช่วยชุมชน สังคมและประเทศต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น