“ทอท.”มั่นใจบริหาร3สนามบิน“อุดร-บุรีรัมย์-กระบี่”วินวินทุกฝ่าย
ขานรับ“คมนาคม”เร่งลุยยกระดับไทยฮับการบินผงาดเหนือคู่แข่ง
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #ทอท #บริหาร3สนามบินวินวินทุกฝ่าย #ยกระดับไทยฮับการบินภูมิภาค
“ทอท.” ยันเชื่อมั่นเข้าบริหาร 3 สนามบินภูมิภาค “อุดรธานี-บุรีรัมย์-กระบี่”
วินวินทุกฝ่าย “ประเทศไทย” ได้สร้างความแข็งแกร่งฮับภูมิภาค ลดงบลงทุน
สร้างมาตรฐานเทคโนโลยีตามต้องการขององค์กรบินโลก TSA+EASA “ผู้โดยสารอินเตอร์”
มีเที่ยวบินตรงเซฟค่าภาษี PSC ส่วน “ทย.”มีเงินเข้ากองทุนหมุนไปพัฒนาสนามบินอื่นได้ต่อไป
ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ AOT/ทอท. เปิดเผยว่า ในการประชุมที่มี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่ากากระทรวงคมนาคม เป็นประธานเมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 การประชุมเพื่อติดตามผลการมอบสนามบินของกรมท่าอากาศยาน (ทย.) ให้ ทอท. 3 แห่ง ได้แก่ กระบี่ อุดรธานี และบุรีรัมย์ โดยมุ่งเน้นให้ “ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินแห่งภูมิภาค” หรือ Aviation Hub ต่อไป
ซึ่งการจะเป็น “ฮับการบิน” ได้นั้น จำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยหลักควบคู่กันไปโดยองค์รวม 4 เรื่อง คือ 1.ที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ 2.รูปแบบการก่อสร้าง 3.เทคโนโลยีที่จะนำมาใช้ 4.แผนการตลาดของผู้บริหารสนามบิน
นายนิตินัยขยายรายละเอียดว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยเป็นฮับการบินอยู่แล้ว ได้แก่ 1.ฮับทางภาคเหนือ คือ สนามบินเชียงใหม่ (ทชม.) 2.ฮับทางใต้ คือ สนามบินภูเก็ต (ทภก.) 3. ฮับภาคกลางคือ สนามบินดอนเมือง (ทดม.) และสนามบินสุวรรณภูมิ (ทสภ.)
ทั้ง 3 ฮับ 4 สนามบินดังกล่าว ปัจจุบันนอกจากจะเกิดความแออัดบนภาคพื้นแล้ว ยังแออัดบน “ห้วงอากาศ” ยากต่อการบริหารจัดการไม่แพ้กันด้วย จึงจำเป็นจะต้องเพิ่มขีดความสามารถในการบริหารห้วงอากาศที่ยังว่างอยู่ทาง “ภาคอีสาน”
ทอท. เล็งเห็นความเหมาะสมฮับการบินของประเทศเพิ่มเติมในภาคอีสาน 2 สนามบิน คือ
สนามบินแรก “อุดรธานี” ซึ่งมีศักยภาพเป็นประตูเมือง (Gateway) เชื่อมโยงการบินต่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
สนามบินที่สอง “บุรีรัมย์” ทางอีสานใต้ มีศักยภาพเป็นประตูเมืองเชื่อมโยงการบินต่อไปยังกัมพูชา
ดังนั้นทั้ง 2 สนามบินจึงเหมาะสมจะพัฒนายกระดับขึ้นเป็นฮับการบินตามนโยบายกระทรวงคมนาคมที่จะยกระดับประเทศไทยเป็นศูนย์กลางทางการบินในภูมิภาค
ขณะที่ “สนามบินกระบี่” มีศักยภาพที่จะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งการเป็นฮับการบินอีกแห่งทางภาคใต้ ภายใต้สถานการณ์ที่สนามบินภูเก็ต ต้องกลับมารองรับผู้โดยสารอีกครั้งหลังโควิด ขีดความสามารถเกินจะรองรับผู้โดยสารได้เกินปีละ 18 ล้านคน
ส่วนคุณสมบัติหลักของ ทอท.และทย.ในฐานะผู้บริหารฮับสนามบินของประเทศทั้ง 3 แห่ง 3 ภูมิภาคนั้น ดำเนินการภายใต้ “มาตรฐานความปลอดภัยเดียวกัน” โดยมี สำนักงานการบินพลเรือน (กพท.) กำกับดูแล ตรวจสอบและรับรองการปฏิบัติงานด้านบริหารจัดการสนามบินทุกแห่งให้อยู่ภายใต้มาตรฐานเดียวกัน
ดร.นิตินัย กล่าวว่า ขณะนี้ ทอท./AOT จึงน่าจะเป็นกำลังสำคัญของรัฐบาลในการยกระดับอุตสาหกรรมทางการบินของประเทศโดยมีได้เปรียบหลัก 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่ 1 -ทางด้านอุปทาน กล่าวคือ การเป็นสนามบินที่ทาง “สำนักงานความปลอดภัยด้านการขนส่งสหรัฐ หรือ TSA -Transportation Security Administration ของสหรัฐอเมริกา และสำนักงานความปลอดภัยด้านการบินยุโรป (EASA -European Aviation Safety Agency ยอมรับในมาตรฐานความปลอดภัยได้นั้น จำเป็นต้องมีเทคโนโลยีชั้นสูงที่หน่วยงานข้างต้นรับรอง
อาทิ เครื่องเอกซเรย์ที่ตรวจจับวัตถุระเบิด (Explosive Detection X-ray) เครื่องตรวจค้นร่างกาย (Body Scanner) เครื่องตรวจจับร่องร่อยวัตถุระเบิด (Explosive Trace Detection)
เทคโนโลยีเหล่านี้มีราคาสูงมาก หาก ทอท.เป็นผู้บริหารสนามบินระดับนานาชาติ
ก็จะเป็นการช่วยประหยัดงบประมาณได้จำนวนมหาศาลในการพัฒนาสนามบินต่าง ๆ
ซึ่งมีความจำเป็นในการต่อยอดจากปัจจุบัน
ประเด็นที่ 2-ทางด้านอุปสงค์ จากสถิติการเดินทางของผู้โดยสารของ
ทอท. สถิติปี 2562
(ก่อนเหตุการณ์วิกฤตการณ์ โควิด-19) ทอท.มีส่วนแบ่งการตลาดผู้โดยสารของทั้งหมดอยู๋ถึง
85 % ส่วนใหญ่เป็นผู้โดยสารต่างประเทศ จะมาเปลี่ยนเครื่อง (Transfer)
ที่สนามบินสุวรรณภูมิ (ทสภ.)และ/หรือดอนเมือง
(ทดม.) เพื่อต่อไปยังสนามบิน อุดรธานี กระบี่ และบุรีรัมย์
ดังนั้น หากต้องพัฒนาสนามบินข้างต้นนี้ให้ได้ตามมาตรฐานขององค์กรระดับโลกทั้ง TSA และ EASA นอกจากจะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ผู้โดยสารสามารถบินตรงไปยังสนามบินปลายทางแล้ว ยังจะเพิ่มรายได้ให้สนามบินปลายทางจากการเก็บค่าธรรมเนียมสนามบิน (Passenger Service Charge : PSC) บวกกับลดความแออัดบนน่านฟ้าในกรุงเทพฯ ได้อย่างมีนัยสำคัญ
ดร.นิตินัย กล่าวว่ามีเชื่อมั่นที่ ทอท.จะเข้าบริหารสนามบินครั้งนี้ทั้ง 3 แห่ง ทุกฝ่ายจะได้ประโยชน์ ดังต่อไปนี้
“ประเทศได้ประโยชน์” คือ 1.จะแก้ข้อจำกัดการพัฒนาอุตสาหกรรมทางการบินโดยเฉพาะข้อจำกัดด้านการจราจรบนน่านฟ้าในกรุงเทพฯ 2.ลดการใช้งบประมาณ
“ผู้โดยสารได้ประโยชน์” คือ 1.จะได้รับความสะดวกโดยมีเที่ยวบินตรงไปยังสนามบินปลายทาง และ 2.ผู้โดยสารที่จะบินไปต่างประเทศไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมสนามบิน (PSC) ซ้ำซ้อนเพราะเป็นการบินตรง ไม่ต้องบินมาต่อเครื่องบินที่กรุงเทพฯ ตามปกติจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมสนามบินอีกครั้งตามจริง
ส่วน “กรมท่าอากาศยาน” เองก็ไม่ได้เสียประโยชน์เพราะ ทอท. จะพิจารณาสนับสนุนเงินเข้ากองทุนให้จากขาดรายได้
เพื่อให้ ทย. มีเงินทุนเพียงพอนำไปพัฒนาสนามบินอื่นต่อไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น