บมจ.การบินกรุงเทพฯหวังรายได้ปีขาลเข้าเป้า8.1พันล้านฟื้น40% ลุยบินทั่วไทย+อินเตอร์10จุด-โหมจัดแข่งฮาล์ฟมาราธอนปลุกทัวร์กีฬา
บมจ.การบินกรุงเทพฯหวังรายได้ปีขาลเข้าเป้า8.1พันล้านฟื้น40%
ลุยบินทั่วไทย+อินเตอร์10จุด-โหมจัดแข่งฮาล์ฟมาราธอนปลุกทัวร์กีฬา
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #การบินกรุงเทพ #บางกอกแอร์เวย์ส #อุตสาหกรรมการบินฟื้นปลายปี66
นายพุฒิพงศ์ ปราสาททองโอสถ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในฐานะเจ้าของสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส วางแผนการดำเนินธุรกิจปี 2565 ตั้งเป้ามีรายได้รวมกว่า 8,175 ล้านบาท ปริมาณเที่ยวบินกว่า 3.4 หมื่นเที่ยว และจำนวนผู้โดยสาร 2.6 ล้านคน มีอัตราการขนส่งผู้โดยสารเฉลี่ย 65% ราคาตั๋วโดยสารเฉลี่ย 3,100 บาท/เที่ยว โดยพร้อมกลับมาเปิดเส้นทางบินอีกครอบคลุมทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ และคาดการณ์อุตสาหกรรมการบินภาพทั้งในไทยและทั่วโลกรวมจะเริ่มฟื้นตัวได้ในปลายปี 2566 หรือต้นปี 2567
สำหรับปี 2565 คาดธุรกิจการบินจะฟื้นได้ประมาณ 40% หลังการฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้นกับมาตรการผ่อนคลายควบคุมการระบาดโควิด-19 ดังนั้นบางกอกแอร์เวย์สวางแผนปี 2565 จะบินเพิ่มอีกไม่ต่ำกว่า 10 เส้นทาง ได้แก่ วันที่ 27 มีนาคม 2565 บิน ไป-กลับ 1.กรุงเทพฯ-กระบี่
“ไตรมาส 3” เตรียมบิน 2.สมุย–เชียงใหม่ 3.สมุย-ฮ่องกง 4.กรุงเทพฯ-เสียมราฐ “ไตรมาส 4” เตรียมบิน 5.เชียงใหม่-กระบี่ (เที่ยวเดียว) 5.เชียงใหม่-ภูเก็ต (เที่ยวเดียว) 6.สมุย-กระบี่ 7.กรุงเทพฯ–ดานัง 8.กรุงเทพฯ - หลวงพระบาง 9.กรุงเทพฯ ย่างกุ้ง และ 10. กรุงเทพฯ– มัลดีฟส์
ทั้งนี้การกลับมาเปิดให้บริการเส้นทางบินต่าง ๆ
นั้น ต้องขึ้นอยู่กับความต้องการเดินทางของนักท่องเที่ยว
มาตรการการเดินทางของแต่ละประเทศ และการควบคุมสถานการณ์โควิด–19
ที่อาจยังไม่คลี่คลายก็เป็นได้
นายพฤติพงศ์ กล่าวว่า สถานการณ์ช่วงปีที่ผ่านมา ตั้งแต่พฤษภาคม 2564 โควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า ระบาดอีกครั้งกระทบเดินทางลดลงถึงเดือนสิงหาคม บางกอกแอร์เวย์สต้องใช้วิธีบินแบบ
sealed route เพื่อสนับสนุนนโยบายเปิดประเทศผ่านภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์และสมุยพลัส
กระทั่งรัฐบาลประกาศเปิดประเทศอีกครั้งช่วงพฤศจิกายน 2564 ผู้โดยสารเริ่มทยอยเพิ่มขึ้น
เมื่อปี 2564 “สมุย” ยังคงเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ทำรายได้จากผู้โดยสารอยู่ที่ 63% ของทั้งหมด ส่วนเส้นทางภายในประเทศอื่น ๆ ทำได้ 35% ขณะที่ กลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ กรุงเทพ-พนมเปญ เปิดบินเมื่อธันวาคม มีสัดส่วนรายได้ 2% ของรายได้ทั้งหมดปี 2564
ปัจจุบัน บมจ.การบินกรุงเทพ มีฝูงบินรวม 37 ลำ ภายในสิ้นปี 2565 จะบริหารจัดการให้เหลือทั้งสิ้น 30 ลำ โดยจะทยอยคืนเครื่องที่ครบสัญญา ได้แก่ 1.Airbus A320 รวม 5 ลำ 2.ขายเครื่องบิน ATR72-500 อีก 2 ลำ
อีกทั้งยังได้ยกระดับ “มาตรฐานด้านการซ่อมบำรุงเครื่องบิน” โดยได้รับ “ใบรับรองหน่วยซ่อม” ซึ่งผ่านการตรวจสอบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรฐาน ตามข้อกำหนดใหม่ของสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย โดยพัฒนาขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงอากาศยานแบบ Airbus และ ATR นระดับ Base Maintenance และ Line Maintenance ด้วย
ด้านนายอนวัช ลีละวัฒน์วัฒนา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่อาวุโสสายงานการเงินและบัญชี กล่าวว่า ปี 2564 บมจ.การบินกรุงเทพ 1.มีรายได้รวม 5,668.5 ล้านบาท ลดลง 44.5 % เมื่อเทียบกับปีdก่อน 2.ค่าใช้จ่ายรวม 8,145.1 ล้านบาท ลดลง 45.4 % 3.ขาดทุนสุทธิ 8,599.8 ล้านบาท โดยมีรายการ “ขาดทุนสุทธิ” จากการยกเลิกสัญญาเช่ากองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์สนามบินสมุย 5,434,7 ล้านบาท ส่วนผลขาดทุนจากการดำเนินงานปี 2564 มีเพียง 2,532.5 ล้านบาท ขาดทุนลดลง 22.2 %
โดยมีแผนการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายเรื่องสำคัญหลัก ๆ คือ 1.ลดจำนวนเครื่องบินเช่าดำเนินงานเมื่อหมดอายุสัญญา 5 ลำ 2.ปี 2565 ปรับเส้นทางบินให้ตรงกับความต้องการในการเดินทางเน้นเส้นทางบินเชื่อมต่อสนามบินสมุย ซึ่งได้ปรับลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับสนามบิน การจัดการด้านบุคลากรให้เหมาะสม การรักษาสภาพคล่องทางการเงิน การรักษาประสิทธิภาพยานพาหนะเพื่อลดค่าใช้จ่าย เช่น การบำรุงรักษา ตลอดจนการได้รับมาตรการช่วยเหลือจากภาครัฐ อาทิ ในด้านภาษี
ขณะที่ “ธุรกิจเกี่ยวข้องกับสนามบิน” ของ บมจ.การบินกรุงเทพฯ ปี 2564 ได้แก่
1.บริษัท ครัวการบินกรุงเทพ จำกัด มีรายได้ 119.5 ล้านบาท ลดลง 61 % เป็นผลมาจากเที่ยวบินในลดลงใน 2 สนามบิน คือสุวรรรณภูมิและภูเก็ต
2.บริษัท ภาคพื้นการบินกรุงเทพเวิลด์ไลด์ไฟล์ทเซอร์วิส จำกัด มีรายได้ 1,122.1 ล้านบาท ลดลง 18 % แต่สามารถบริหารจัดการค่าใช้จ่ายได้จึงมีกำไร 237 ล้านบาท
3.บริษัท ดับบลิวเอฟเอสพีจี คาร์โก้ จำกัด มีรายได้ 2,140.2 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 18 % จากปัจจัยอัตราการใช้บริการคลังสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้น
นายจุลิน กอเจริญ รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายขาย
และรักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ฝ่ายการตลาด บมจ.การบินกรุงเทพ กล่าวว่า ปี 2565 มีนโยบาย 5 เรื่อง ดังนี้ 1.กลยุทธ์การขายและการตลาด
เน้นเจาะนักเดินทางต่างประเทศควบคู่กับตลาดในประเทศ 2.บริหารช่องทางการจัดจำหน่ายและกลยุทธ์ด้านราคา
“ตลาดในประเทศ” ยังคงใช้ช่องทางหลักคือ website/mobile และ Customer Care Centre 1771 “ตลาดต่างประเทศ”
จะขายผ่าน Billing and Settlement Plan Agents หรือ BSP agents ในตลาดหลัก อาทิ ยุโรป
อเมริกา ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น จีน แอฟริกาใต้ และทั่วโลกอีกกว่า 20 ตลาด รวมถึงการขายผ่านเครือข่ายสายการบินพันธมิตรทั่วโลก
3.พัฒนาระบบต่างๆ รวมถึงความสำคัญของระบบการจ่ายเงิน 4.ให้ความสำคัญด้านรายได้เสริม 5.การสื่อสารการตลาดและการมีส่วนรวมของลูกค้า
โดยเน้นย้ำจุดแข็งของบางกอกแอร์เวย์ส ด้านความเป็นเลิศการให้บริการ
ปี 2565 จะเพิ่มช่องการขายตั๋วโดยสารเครื่องบินทาง API ผ่านโครงข่าย NDC และ metasearch เป็นหลัก เพราะเป็นโครงข่ายที่ช่วยให้บริษัทฯ
ขยายช่องทางการเข้าถึงลูกค้าได้ครอบคลุมทุกกลุ่มทุกที่ทุกเวลาทั่วโลก ช่องทาง API เชื่อมต่อการเข้าถึงข้อมูลของเรา ทำให้การขายผ่าน OTA เป็นเรื่องง่ายและลดต้นทุนได้ด้ย
ขณะนี้ OTA หลักเหล่านี้ได้เชื่อมต่อกับระบบสำรองที่นั่งของบางกอกแอร์เวย์สเรียบร้อยแล้วรวมถึง metasearch engine หลักทั้ง SkyScanner and Google
รวมถึง บมจ.การบินกรุงเทพ ยังคงตั้งใจให้ผลิตภัณฑ์และการบริการไปอยู่ในทุกที่ เพื่อให้ลูกค้าสามารถเลือกรับบริการได้ รวมถึงแอพพลิเคชั่น หรือ super APP ต่างๆ ตอนนี้เรากำลังเชื่อมต่อกับ Robinhood และพร้อมให้บริการจองตั๋วผ่านแอพพลิเคชั่นที่ผู้บริโภคใช้ในชีวิตประจำวันให้ครอบคลุมมากขึ้นต่อไป
สำหรับด้าน “สื่อสารการตลาด” ได้นำเสนอผ่านแคมเปญ “คิดถึง.......ให้ถึง” เพื่อกระตุ้นลูกค้าเดินทาง ซึ่งอาจจะไม่ได้มีโอกาสเดินทางช่วงสถานการณ์ที่ผ่านมาให้กลับมาเดินทางอีกครั้ง ควบคู่กับการทำกิจกรรมทางการตลาดตอกย้ำแบรนด์บางกอกแอร์เวย์สให้เป็นที่จดจำต่อเนื่องผ่านกิจกรรมต่าง ๆ
ปี 2565 ทำกิจกรรมไฮไลต์คือ
จัดการแข่งขันวิ่งฮาลฟ์มาราธอน บางกอกแอร์เวย์สบูทีคซีรี่ย์ 2022 เลือกจัดตามแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่บางกอกแอร์เวย์สบิน เช่น เกาะสมุย
ลำปาง ตราด พังงา และสุโขทัย เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวเชิงกีฬา
ทำให้เศรษฐกิจหมุนเวียนกระจายสู่ท้องถิ่นอย่างทั่วถึงนั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น