ททท.งัดAMAZING G LINKดึงทั่วโลกสู่ชุมชนปี’61
พลิกโฉมสื่อสารการตลาดทำรายได้โตทุกพื้นที่
ก.ย.นี้ช้อปศุกร์หรรษาที่คิงเพาเวอร์ศรีวารีคุ้มสุด
ผู้ถือหุ้นเฮ“PBCGเครือบางจาก”แจกปันผล298ล้าน
พลเอกธนะศักดิ์พร้อมเปิดปีท่องเที่ยวยั่งยืน8ก.ย.
TCEBเปิดแผนปี’61ดึงกูรูโลกชี้เป้าตลาดไมซ์4ก.ย.
ทัว์เมืองอาหารใกล้กรุง6อำเภอในฉะเชิงเทรา
จ่อรื้อใหญ่ไทยสไมล์ลดขาดทุนรุกเช่าเหมาลำ
ผู้ว่าฯ ททท.นำทีมลดขยะท่องเที่ยวชายทะเล
แควนตัสผนึกเอมิเรตส์5ปีเพิ่มบริการบินทั่วโลก
สวัสดีวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2560 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz.ในรายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” (ฟังมือถือเลือก FM 97.0 อ่านใน www.facebook.com/penroongyaisamsaen ฟังทาง youtube พิมพ์ รวยด้วยข่าว 97.0-วัน/เดือน/ปี #gurutourza #thailandfest #AmazingThailand
ช่วงที่ 1 คุณธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษในรายการ กับแนวคิดใหม่ผ่าไซโลการทำงานในองค์กรเปิดสู่โลก “สื่อสารการตลาด”เชิงรุกเต็มรูปแบบในปี 2561 เดินหน้าเชื่อมโยงสินค้าท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่นสู่เวทีโลกด้วยกิจกรรมอินเตอร์ภาคสอง THE G LINK 2018
คุณธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผุ้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง เปิดเผยว่า การทำตลาดเชิงรุกบุกหนักในปี 2561 จะติดอาวุธทำโครงการ AMAZING G LINK 2018 โดยใช้ G หมายถึง Gastronomy เป็นหัวหอกเรื่องราวจากต้นทางของวัตถุดิบซึ่งยกมาไว้ในจาน “อาหารการกินแบบวิถีไทย” เป็นเครื่องจักรสำคัญเพิ่มรายได้กระจายตรงเข้าสู่ชุมชนอย่างเต็มที่
เดิมทีเดียวได้หารือกับผู้บริหารสำนักงาน ททท.ต่างประเทศในพื้นที่ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง 10 แห่ง ตั้งใจจะเพิ่มแนวรุกด้วยการต่อยอด “จังหวัดใหม่” ในการจับคู่ระหว่าง สำนักงาน ททท.ยุโรป กับ ททท.ในประเทศ ปีแรก 2560 ทำไว้ 10 จังหวัด เช่น ททท.ลอสแองเจลิส กับ ระนอง หรือ ททท.ตราด จะเพิ่มจันทบุรี เข้าไปด้วย แต่เมื่อประมวลผลแล้วใน 10 จังหวัดเดิมที่ทำไว้ ยังมีสินค้าท่องเที่ยวในชุมชนอีกหลายส่วนสามารถนำมาออกแบบเจาะตลาดต่างประเทศได้ในเชิงคุณค่าและมูลค่าควบคู่กันไป
ต่อมาจึงได้พลิกแนวคิดใหม่โดยหันมาแปลงโฉมเป็นโครงการ AMAZING G LINK 2018 เพราะเห็นถึง “ความแข็งแรงของอาหารการกิน” ดังนั้นคอนเทนต์หลักปี 2561 คือ Gastronomy เพราะนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินเพิ่มได้ง่ายและเร็วที่สุด ซึ่งอาจจะง่ายกว่าช้อปปิ้ง อีกทั้งอาหารยังเป็นเสน่ห์ที่เย้ายวนนักท่องเที่ยวมากกว่าหมวดสินค้าอื่น ๆ
วิธีการขับเคลื่อนโครงการ จะให้ ททท.ในประเทศแต่ละพื้นที่ทั้ง 10 จังหวัด สำรวจและคัดเลือก “อาหาร” ไฮไลต์จากนั้นก็ส่งให้ ททท.สำนักงานต่างประเทศโปรโมตต่อไป ตัวอย่าง ททท.นครศรีธรรมราช จับคู่กับ ททท.สต็อกโฮม สวีเดน หรือ ททท.เพชรบุรี กับ มอสโก รัสเซีย ต้องหาอาหารยอดนิยมที่มีความน่าสนใจมาเสนอขายได้ กำลังทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้นเพื่อคัดอาหารจานเด็ด ซึ่งจะสามารถบอกเรื่องราวของอาหารจานนั้น ๆ ที่บอกเล่าถึงประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ได้ชัดเจน
ขณะนี้กำลังให้คำจำกัดความเรื่อง GASTRONOMY ซึ่งถูกต้องตามความหมายในการสื่อสารของอาหารเป็นเรื่องราวได้ เพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไปไกลมากกว่าการรับรู้เท่านั้น แต่เพิ่มอยากรู้ลึกซึ้งลงรากให้เป็น Story Marketing เป็นหน้าที่ของฝ่ายสินค้าผูกเรื่องกำหนดเนื้อหาเพื่อให้ฝ่ายขายและการตลาดไปเสนอให้ถูกต้องแล้วฝ่ายสื่อสารการตลาดสื่อความหมายออกไปให้ตรงประเด็น ออกแบบเครื่องมือการอธิบายให้เข้าใจตรงกันทั้งกลุ่มคนไทยและทั่วโลก
คุณธเนศวร์อธิบายต่อถึงภารกิจใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 จะย้ายไปเป็น “รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท.” เตรียมโหมโรง “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 –ตุลาคม 2562
หัวใจหลักที่ได้รับคำแนะนำจากพลเอกธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลการท่องเที่ยว และผู้ใหญ่ในวงการ ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มการท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่องทุกเรื่อง แต่จำนวนและรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบันยังคง “กระจุกตัว” อยู่ในไม่กี่จังหวัดท่องเที่ยว
จึงเป็นภารกิจใหม่ “อันท้าทาย” ที่จะต้องรวมพลังทุกส่วน ในฐานะผู้นำสื่อสารการตลาด ททท.ทำให้ปมการกระจุกตัวให้เกิดการกระจายสู่ชุมชนท้องถิ่นเป็นรูปธรรมได้
ภารกิจใหม่ไฮไลต์ เรื่องแรก คือ “อาหารถิ่น” จะเป็นเสน่ห์ดึงนักท่องเที่ยว “กระจายตัวออกไป” ควักเงินออกมาใช้ ดังนั้นจึงต้องทำให้ทุกพื้นที่สร้างเนื้อหาอย่างชัดเจน โดย ททท.ท้องถิ่นต้องเฟ้นหาเครื่องมือผ่านช่องทางสื่อ ดิจิตอล ออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ให้ตรงถึงผู้รับอย่างชัดเจน หลายช่องทางต้องหาวิธีอย่างถูกต้อง
เรื่องที่ 2 ต้องเพิ่มศักยภาพสำนักงานททท.ทั่วโลก 27 แห่ง ให้เกิดการทำงานอย่างมีกลยุทธ์เชิงรุกด้วยประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะลักษณะการทำงานปัจจุบัน ททท.สำนักงานต่างประเทศจะเน้นในเรื่อง “ธุรกิจสู่ธุรกิจ” หรือ Business to Business จึงเป็นหน้าที่ต่อไปของฝ่ายสื่อสารการตลาดที่จะต้องไปเพิ่มเติมกลยุทธ์เชิงรุกผ่านเนื้องานให้ ททท.ต่างประเทศหันมาขยายหน้าที่ทำเรื่องการท่องเที่ยวสู่ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น แล้วบอกนักท่องเที่ยวทั่วโลกเข้าใจการเที่ยวเมืองไทยโดยตรงอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ละสำนักงานคงมองอยู่แล้วแต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องแผนและงบประมาณ จึง
ตัวอย่างที่ ททท.จัดงาน Thai Festival ในโตเกียว เป็นประจำปีละครั้ง จัดเพียง 2 วัน นำเรื่องราวของไทยไปบอกเล่าให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาร่วมจำนวนครั้งละนับแสนคนด้วยการนำเนื้อหาการท่องเที่ยวไปสร้างการรับรู้เข้าถึงนักท่องเที่ยวโดยตรง กิจกรรมดังกล่าวเป็นโมเดลการจัดงานที่สะท้อนถึง ศักยภาพ มาตรฐาน เนื้อหา ตอบโจทก์ ที่จะนำไป “กระจาย” เพื่อนำไปใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เมื่อเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่ 2561 ททท.จะนำโมเดลการจัดงาน ไทย เฟสติวัล ในโตเกียว นำร่องทดลองทำกับสำนักงาน 5 จังหวัด 5 ประเทศ จากนั้นก็จะเพิ่มความถี่เข้าไป ขณะที่บทบาทเดิมที่ ททท.แต่ละสำนักงานต่างประเทศทำอยู่กับภาคธุรกิจ ทั้งการขาย การส่งเสริมตลาด การสร้างโอกาสก็ทำต่อไป แต่งานสื่อสารการตลาดจะเข้าไปเสริมท้องถิ่นนั้น ๆ
พื้นที่ 5 เมืองหลักที่จะทดลองนำโมเดล Thai Festival ไปใช้ก็มี อเมริกา ออสเตรเลีย จีน ยุโรป ขณะนี้กำลังดูพื้นที่เหมาะสม เพราะจะทำให้ ททท.ในไทยและทั่วโลก กับสถานทูตและสำนักงานพาณิชย์ เสริมพลังร่วมมือกันทำได้ และ ททท.จะเป็นหน่วยประสานงาน ส่วนสื่อสารการตลาดจะไปเติมงบประมาณ คิดเนื้อหา การนำเสนอโครงการ ทำให้ทุกพื้นที่มีพลังใหม่เกิดขึ้น
เป็นกลยุทธ์ไปสู่ “บูรณาการทำงาน” กับทุกภาคส่วนได้จริง ไม่ได้เป็น “ไซโล” ซึ่งจะเป็นการผ่าระบบการทำงานข้ามหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในองค์กรและกับหน่วยงานภายนอก และจะต้องทลายลักษณะการทำงานแบบไซโลอันหมายถึงทำเฉพาะงานตามหน้าที่ในเฉพาะแผนกของ ททท.ให้ได้
ในขณะที่ ททท.เร่งทำการตลาดเชิงรุก แต่ในหน่วยงานรองรับโดยเฉพาะสนามบินนานาชาติ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเกินขีดความสามารถที่จะรองรับได้ในแต่ละสนามบินเข้าออกนั้น ททท.จะนำข้อมูลเสนอแนะจากผู้ใช้บริการทั้งจากนักเดินทาง นักท่องเที่ยว นักธุรกิจ ส่งไปถึงข้อดีข้อด้อยกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อร่วมกันทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการบทบาทการทำงานของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำโดยรัฐมนตรีว่าการฯ เห็นถึงกลไกได้พยายามที่จะเชื่อมต่อการบริหารจัดการขีดความสามารถทางด้านการรองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่ทั่วประเทศ เพราะการนำเสนอไม่ได้จำกัดอยู่แค่กิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดทั้งปีเท่านั้น แต่ยังเน้นเรื่องการเชื่อมต่อทุกภาคส่วน สร้างเนื้อหาการท่องเที่ยวอย่างมีมาตรฐานและประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมพร้อมรับกระแสการท่องเที่ยวในอนาคต
ตัวอย่างเช่น โครงการเจ้าบ้านที่ดีของรองนายกรัฐมนตรี ที่ลงลึกถึงท้องถิ่นเพื่อเตรียมระดับชุมชนต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่ฝ่ายสื่อสารการตลาดจะต้องนำมาบูรณาการทั้งสังคมเข้าใจไปด้วยกัน
การหยิบยก “สินค้าชุมชน” เพื่อเพิ่มรายได้และภาคการผลิต ททท.คงต้องโฟกัสมากขึ้น จากโครงการ THE LINK ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยชุมชนสร้างเนื้อหาสินค้า เพราะควบคุมได้ทั้งฝั่งดีมานต์และซัพพลาย แล้วสามารถบอกชุมชนให้ค้นหาเนื้อหา ศักยภาพ ของตนเอง รีดออกมา และที่สำคัญที่สุดต้องให้ท้องถิ่น เต็มที่ เต็มใจ พร้อมจะขายสินค้าของตนเองอย่างสง่างาม
เวทีการจัดการ “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2561” ซึ่ง ททท.จัดเป็นประจำช่วงเดือนมกราคม จะได้เห็นความพร้อมของชุมชนซึ่งพร้อมจะเข้าร่วมงาน แต่ไม่ใช่ ททท.ไปลากมาขายเพียงฝ่ายเดียว ภาพจากงานจะช่วยตอกย้ำให้เห็นชัดเวทีการจัดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยคือโอกาสของท้องถิ่น เพราะทุกปีร้านค้าผ้าไหมและอื่น ๆ ต้องนำสินค้ามาเติมตลอดเพราะขายดี แล้วรายได้ทั้งหมดก็ส่งถึงมือท้องถิ่นผู้ผลิตสินค้าจริง
บทบาทของ ททท.ยุคใหม่ไม่ใช่เพียงแค่นักขายหรือนักการตลาด หากแต่เป็น Matchmaker ทางการท่องเที่ยวที่จะให้ชุมชนมีเวทีนำเสนอขายสินค้า เพราะมีสำนักงานพื้นที่คอยให้คำแนะนำ สร้างพลังทางการท่องเที่ยวก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ฟังข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1 “ช้อปศุกร์หรรษาคิงเพาเวอร์ศรีวารีคุ้มสุดๆ”
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ผู้นำร้านค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) ประสบความสำเร็จในการจัดมหกรรม “ศุกร์หรรษา” จึงประกาศจัดต่อเนื่องคืนกำไรให้นักช็อประหว่างวันนี้ไปจนถึง 29 กันยายน 2560 เพื่อให้ช็อปอย่างจุใจ “เฉพาะวันศุกร์” ที่ คิง เพาเวอร์ ศรีวารี รับได้หลายต่อด้วยกันคือ
เริ่มจาก ต่อแรก เพียงแค่ลูกค้าคนไทย และสมาชิกคิง เพาเวอร์ ลงทะเบียนซื้อสินค้า ก็รับทันทีคูปองส่วนลดมูลค่า 800 บาท เมื่อซื้อ 2,500 บาทขึ้นไป/ ใบเสร็จรับเงิน
หรือต่อที่ 2 ตลอดทั้งวันเมื่อซื้อสินค้ารับทันทีส่วนลด 30% (เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการ) ครบ 28,000 บาทขึ้นไป (สุทธิ) รับทันที Gift Voucher 2,000 บาท คนละ 1 สิทธิ์ /วัน เพียงซื้อสินค้า
ส่วน Top Spender ประจำสัปดาห์เพียงมียอดซื้อสินค้าสูงสุดภายในวัน ตั้งแต่ 800,000 บาทขึ้นไป(สุทธิ) รับทันที Gift Voucher มูลค่า 50,000 บาท แจกสัปดาห์ละ 1 รางวัล ทางคิง เพาเวอร์ จะสรุปรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลทแล้วแจ้งกลับให้มารับภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2560
ทั้งนี้สินค้าแต่ละรายการที่จัดขึ้นนั้นมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป สามารถดูรายละเอียดเพิ่มที่ www.kingpower.com หรือคอลเซนเตอร์ 1631
ข่าวที่ 2 “ททท.-ราชประสงค์บูมอาหารปั๊มรายได้เพิ่ม30%”
นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง และสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ จัดงานเทศกาลอาหารนานาชาติประจำปี “Taste it all 2017 @Ratchaprasong” ระหว่างวันนี้ – 31 ตุลาคม 2560 โดยมุ่งเน้นคัดสรรวัตถุดิบชั้นดีจากแหล่งผลิตที่ดีที่สุดในประเทศไทยจากโครงการหลวง ภายใต้คอนเซ็ปต์ Pheasant festival หรือ เทศกาลไก่ฟ้า พร้อมกับเชิญเซเลบริตี้เชฟจากโรงแรมหรูใจกลางกรุงจาก 8 ห้องอาหาร มาร่วมปรุงแต่งซิกเนเจอร์เมนู ผสานศาสตร์สร้างความมหัศจรรย์แห่งรสชาติอันกลมกล่อมของ “เมนูไก่ฟ้า” ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
นายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ ได้ริเริ่มสร้างสรรค์เทศกาลอาหารนานาชาติ หรือ Taste it all @Ratchaprasong ปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตทางรายได้ไม่ต่ำกว่า 30% เพราะจัดต่อเนื่องมากว่า 14 ปี โดยมีโรงแรมและห้องอาหารชั้นนำเข้าร่วมสร้างสรรค์ซิกเนเจอร์เมนูและโปรโมชั่นต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งมีโรงแรม 7 แห่ง ร้านอาหารชั้นนำรวม 100 แห่ง กับธนาคารกสิกรไทย ร่วมกันทำโปรโมชั่นพิเศษ ส่งเสริมให้ย่านราชประสงค์ซึ่งเป็น “เดอะ เบสท์ ไดน์นิ่ง เดสติเนชั่นส์” เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวมาใช้บริการกินดื่มถึงวันละ 600,000 คน เพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ทั้งนี้ในปีงบประมาณปี 2561 ททท. ตั้งเป้ารายได้จากท่องเที่ยวจะเติบโต 8 % จึงได้เร่งขยายแนวรุกเพิ่มรายได้ผ่านวิถีการกินนำอาหารมาพัฒนาเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญและสร้างแรงดึงดูดต่อนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศ เป็นการต่อยอดกระแสด้านอาหารซึ่งเป็นหมวดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตสูงสุดผ่านกิจกรรมหรืองานเทศกาลด้านอาหารต่าง ๆ ตลอดทั้งปี
ข่าวที่ 3 “ลุ้นคลังหนุนท่องเที่ยว2หมื่นบาทลดหย่อนภาษีปี60”
พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้ามาตรการท่องเที่ยวเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีตามที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอผ่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ขณะนี้ตนมอบหมายให้นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไปหารือกับกระทรวงการคลัง ถึงการจัดทำรายละเอียดเรื่องที่จะให้นำค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปลายปี 2560
พลเอกธนะศักดิ์กล่าวว่า ได้แสดงความเห็นขอกระทรวงการคลังใช้วิธีลดหย่อนกับการท่องเที่ยวแบบเดียวกันกับปีที่ผ่านมา คือให้นักท่องเที่ยวนำค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเที่ยวในประเทศ 4 หมวดหลัก ได้แก่ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าซื้อของที่ระลึกร้านค้าชุมชน และค่าบริการบริษัทนำเที่ยว มาลดหย่อนภาษีได้เท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยเพิ่มวงเงินจาก 20,000 บาท แทนของเดิมให้แค่15,000 บาท
เพราะผลจากการหารือร่วมกันระหว่าง ททท.กับกระทรวงการคลังยังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอทั้งหมด และในทางปฏิบัติอาจทำได้จากหากจะต้องนำค่าใช้จ่ายจากการเดินทางท่องเที่ยวมาลดหย่อนภาษีแบบขั้นบันได 15,000-50,000 บาท
ข่าวที่ 4 “บีพีซีจีเครือบางจากจ่ายปันผลกว่า298ล้าน”
บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ในเครือ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD (Exclude Dividend) ในวันที่ 8 กันยายน 2560 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 22 กันยายน 2560
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 298.82 ล้านบาท
นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท สอดคล้องกับการขยายธุรกิจของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทมีความตั้งใจที่จะรักษาผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ”
ทั้งนี้ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 12 กันยายน 2560 ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ในวันที่ 13 กันยายน 2560 และกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 22 กันยายน 2560
โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมาย XD (Exclude Dividend) ในวันที่ 8 กันยายน 2560
ข่าวที่ 5 “รองนายกฯเปิดตัวปีท่องเที่ยวเก๋ไก๋ยั่งยืน8ก.ย.”
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า พร้อมจะประกาศ “ปีการท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน หรือ Amazing Thailand Tourism Year" ซึ่งเป็นแผนทั้งจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ และมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 1 มกราคม 2562 เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระดับชุมชนและประเทศของทั้งภาครัฐและเอกชนเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
โดยสะท้อนผ่านสถานการณ์การท่องเที่ยว 6 เดือนแรกปี 2560 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวมากถึง 17.32 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.4 % สร้างรายได้ 876,682.30 ล้านบาท 6.05 % ส่วนคนไทยเที่ยวในประเทศทั้งจำนวนและรายได้ก็เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย 8 % เช่นกัน
ช่วงเดือนสิงหาคม 2560 รัฐบาลได้ระดมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนนำร่อง จัดทำ “มหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน” 30 ชุมชน ร่วมกับผู้ประกอบการนำเที่ยว 30 บริษัท กระจายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว 8 เขต ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และในปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน ก็จะเพิ่มกิจกรรมเพื่อเพิ่มรายได้กระจายสู่ท้องถิ่นอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
ทั้งนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานว่า วันที่ 8 กันยายน 2560 นี้ พลเอกธนะศักดิ์ จะเป็นประธานแถลงข่าวเปิดโครงการ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน- Amazing Thailand Tourism Year”
ข่าวที่ 6 “TCEBโชว์แผนปี’61ดึงกูรูโลกแนะตลาดไมซ์4ก.ย.นี้”
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ “TCEB” เตรียมจัดแถลงแผนกลยุทธ์ตลาดไมซ์ของประเทศในปี 2561 ในวันที่ 4 กันยายน นี้ ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินีภายใต้ชื่อ “Thailand MICE 2018 and Beyond” พร้อมกับการจัดงาน Thailand MICE Forum 2017 และ MICE SYMPOSIUM โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเข้ามาให้ความรู้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการไมซ์ ของไทย
ตลอดการสัมมนาตั้งแต่ 09.00-16.00 น. ได้เชิญ ดร.แอนดริว สเตเปิ้ล ผู้อำนวยการ The Economist Corporate Network :ECN เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาถ่ายทอดข้อมูลในหัวข้อ Landscape of Business in Asia : TBC ดร.โจนาส ริดเดอร์เสตล (Dr.Jonas Ridderstale) นักเขียนหนังสือขายดีอันดับต้น ๆ และกูรูด้านการจัดการ จะมานำเสนอเกี่ยวกับ Fast Forward : Make your Organization fit for the Future
เรื่อยไปจนถึงการเชิญ Mr.David Passiak Co-Create the Future มาถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมการสื่อสารและการขับเคลื่อนอีเวนต์ทางธุรกิจ ในหัวข้อ How innovation build community and movement for business events และฟัง Clement Galzy หัวหน้าส่วนงานพัฒนาธุรกิจตลาดอเชียและโอเชเนีย จาก Amaury Sport Ogranization- organizer of Tour De France ในเรื่องเกี่ยวกับกุญแจแห่งความสำเร็จจากการใช้สปอร์ตอีเวนต์หลอมรวมความยิ่งใหญ่ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมไมซ์
สำหรับในช่วงค่ำคืนวันที่ 4 กันยายน นี้ ทีเส็บยังได้จัดงาน MICE AWARDS 2017 โดยนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ TCEB จะนำกล่าวพร้อมกันนี้ยังได้เชิญผู้นำแถวหน้าของหน่วยงานสำคัญ ๆ มาบรรยายเรื่อง “แรงงานบันดาลใจ สู่ความสำเร็จ จากรุ่นสู่รุ่น” โดยนายวินิจ สุรพงษ์ชัย ผู้ก่อตั้งและประธานการจัดงาน ADFEST กับนางสาววิลาวัณย์ สุรพงษ์ชัย ผู้อำนวยการจัดงาน ADFEST
ช่วงที่ 2 ชวนกันไปเที่ยวเมืองแห่งการกินที่ “ฉะเชิงเทรา” ด้วยเวลา 48 ชั่วโมง สามารถตะลอนเที่ยวได้ถึง 6 อำเภอ มีความสนุก สีสัน แตกต่างกัน จากนั้นก็มีเรื่อง 5 หลักปรับพฤติกรรมการกินมาฝาก และเดือนแห่งการจัดเทศกาลอาหารของโรงแรมทั่วไทย กระแสรื้อโครงสร้างใหญ่ไทยสไมล์เพื่อลดต้นทุนและภาระขาดทุน
@เที่ยวมุมใหม่เมืองอาหารฉะเชิงเทรา
เมืองแห่งสายน้ำ “ฉะเชิงเทรา” เป็นอีกสถานที่พักผ่อนใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวแห่ง “ศูนย์รวมแหล่งอาหารคาวและหวาน” ตั้งเรียงรายกระจายอยู่ทั่วชุมชนหลายแห่ง เกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวความสุขของนักเดินทางผู้ชื่นชอบการกิน หยั่งลึกถึงเข้า “รากวิถีวัฒนธรรมความเป็นอยู่เรียบง่าย” สืบทอดกันมานับร้อยปี ผ่านกระบวนการเพาะปลูกพืช ผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ จับสัตว์น้ำ มาสร้างสรรออกแบบเมนูแต่ละจานด้วยส่วนผสมลงตัวหลอมรวมการผลิต “อาหารเป็นยา” สะท้อนภาพได้ยิ่งใหญ่กว่าเพียงแค่เสพติดการ “รสชาติ” ความอร่อย ทว่าในอาหารทุกจานคือช่วงชีวิตหลายร้อยปีที่เลือดเนื้อของชุมชนความเป็นคนไทย
เมื่อได้ใช้เวลาภายใน 48 ชั่วโมง เดินทางไปสำรวจ 6 อำเภอ เพื่อท่องเที่ยว สไตล์แวะชิมริมทางในฉะเชิงเทรา
24 ชั่วโมงแรก ตะลอนทัวร์ 3 อำเภอ เริ่มต้นที่ “อำเภอพนมสารคาม” เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้ “สวนเมลอน TT Melon Farm” ของหนุ่ม “เต๋อ-ธัชพิชญ์ ไชยธีรานุวัฒศิริ” ผู้เป็นทั้ง Start up และ Smart Farmer มีฟาร์มติดถนนใหญ่แปลงปลูกเมล่อนโรงเรือนขนาด 11 ไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 10 ล้านบาท ได้คัดสรรพันธุ์ต้นตำรับญี่ปุ่น คิมูจิ บิวตี้กรีน บิวตี้ออเรนจ์ มาปลูกแล้วแปรรูปเป็นเมนูเมล่อนปั่นละเอียดดั่งปุยเมฆส่งกลิ่นหอมธรรมชาติ เพราะต้นทางนั้นต้องนำเนื้อเมลอนไปเข้าเครื่องอัดจนออกมาเป็น Dry Spray ปริมาณ 1 ผลได้ผงเมล่อนเพียง 100 กรัมเท่านั้น ส่วนสนนราคาขายเมล่อนปั่นเพียงแก้วละ 75 บาท แตกต่างจากการขายเป็นผล ๆ ละ 100-250 บาทขึ้นไป ส่วนที่ขายได้ราคาอยู่บ้างคือ “เมนูเมล่อนบองซู” ได้เทรนด์น้ำแข็งใสเกาหลีมาเป็นตัวช่วยทำให้วัยรุ่นนิยมสั่งรับประทาน
อาหารมื้อกลางวันขึ้นชื่อของชาวพนมสารคามคือ “ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ” กรรมวิธีการทำแยก 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นข้าวเกรียบปากหม้อไส้ต่าง ๆ ส่วนที่สองเป็นน้ำซุปกระดูกหมูชิ้นโตต้มตามสูตรโบราณ ระหว่างรับประทานจะต้องนำข้าวเกรียบปากหม้อใส่ลงในน้ำซุปหรือจะใช้น้ำซุปลาดลงเป็นข้าวเกรียบปากหม้อก็อร่อยเหมือนกัน
จากนั้นมุ่งหน้าตรงเข้า “อำเภอบางคล้า” ระหว่างทางแวะไปทักทาย “ป้าบุญมี-ย่าพูล” ผู้นำร้านวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปากน้ำโจ้โล้ ผู้สร้างตำนาน “หมี่กรอบ” ออกแบบเป็นแท่งกลมแห่งเดียวในโลก กับ “ขนมเปี๊ยะสูตรโบราณ” ทำให้ขนมบ้าน ๆ กลายเป็นของรับประทานสู่ตลาดอินเตอร์ เนื้อในหมี่ทุกเส้นมีสมุนไพรพืชสวนครัวแซกซึมอยู่ทุกอนูมีให้เลือกถึง 8 รส เช่นเดียวกับขนมเปี๊ยะทุกชิ้นก็เต็มไปด้วยน้ำใจของคนทำทุ่มเทใส่ลงไป ล่าสุดมีขนมเปี๊ยะไส้ฝอยทองเกรดพรีเมียมบรรจุด้วยแพกเกจจิ้งเรียบหรูสวยงาม
หมี่กรอบของป้าบุญมีและย่าพูลโด่งดังไปทั่วกระทั่งมียอดสั่งซื้อจากญี่ปุ่น จีน และอีกหลายประเทศ รวมทั้งกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ สั่งผลิตรสชาติพิเศษเฉพาะคือ “หมี่กรอบรสต้มยำกุ้ง” นำไปวางจำหน่ายในร้านค้าดิวตี้ฟรีสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ใกล้ ๆ กันก็มีสถานที่ท่องเที่ยว “วัดปากน้ำโจ้โล้” สีทองอร่ามติดแม่น้ำ และมีบริการนั่งเรือชมธรรมชาติ “รอบเกาะลัด” กลางลำน้ำบางปะกง เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำป่าต้นจาก ชาวบ้านสามารถจับมาบริโภคและจำหน่ายสร้างรายได้เลี้ยงชีพ รวมทั้งมีพระพิฆเนศสี่กร มีอนุสรณ์สถานพระสถูป
เจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และมีวัดโพธิ์บางคล้ามีค้างคาวแม่ไก่ออกอาหารยามโพล้เพล้
ก่อนตะวันลับขอบฟ้าในช่วงบ่าย 3 โมงกว่าตรงเข้า “อำเภอคลองเขื่อน” ตามไปดู “วิถีเกษตรชุมชนชาวตำบลคลองเขื่อน” ณ โรงแรม เดวารีสอร์ท ซึ่งนำศาสตร์พระราชามาออกให้เยาวชนและกลุ่มครอบครัวคนรุ่นใหม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีทั้งการดำนา ปลูกข้าว ทำซั้งปลาในแม่น้ำบางปะกง เรื่อยไปจนถึงการนั่งรถอีแต็กทัวร์สวนเกษตรชาวคลองเขื่อนราว 30 นาที ไฮไลต์คือ “สวนมะม่วงน้ำดอกไม้” เพราะที่นี่เป็นแหล่งปลูกใหญ่ที่ส่งขายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ก็มีสวนมะพร้าว สวนหมาก พืชเศรษฐกิจ และอื่น ๆ
รวมทั้งตามไปดุวิถีบ้าน ๆ “จับกุ้งแม่น้ำบางปะกง” น้ำหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัม นำมาย่างเสิร์ฟขายกิโลกรัมละ 700 บาทขึ้นไป ให้นักท่องเที่ยวชิมช่วงดินเนอร์มื้อค่ำอย่างเอร็ดอร่อย คู่กับเมนูสุขภาพทำจากพืชผักพื้นบ้านปลอดสารพิษที่ปลูกอยู่ทั่วรีสอร์ต
เข้าสู่ 48 ชั่วโมงแห่งการเดินทางในเช้าวันใหม่ เดินทางต่อไปยัง “อำเภอนาแปลงยาว” ลุยถนนดินแดงไปยัง “ฟาร์มปลากะพงษ์ยักษ์” ของ “คุณประโยชน์ โสรัจจกิจ” เป็นแห่งเดียวในเมืองไทยและในโลกที่เลี้ยงกะพงษ์ยักษ์ในบ่อดินกลางทุ่งโล่ง 300 ไร่ ทุ่มทุนไปแล้วหลายสิบล้านบาท เพื่อสร้างแหล่งอาหารแต่ละวันจะจับได้วันละ 3-4 ตัน แต่ละปีก็มีปลาชนิดนี้หมุนเวียนจำหน่าย 3,000-4,000 ตัน กระจายไปจำหน่ายตามที่ต่าง ๆ แบบเป็นตัวขนาด 1-2 กิโลกรัม และแร่เป็นชิ้นแพกแช่แข็ง กิโลกรัมละ 500 บาทขึ้นไป ป้อนให้ซูเปอร์มาร์เก็ตอย่าง ฟู้ดแลนด์ เดอะมอลล์ กรุ๊ป และร้านอาหารในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ไฮไลต์การดูฟาร์มปลากระพงษ์ยักษ์ คือ “กรรมวิธีทำให้ปลาตาย” จะใช้เหล็กแหลมเจาะเส้นประสาทปลาน้ำหนักหลายสิบกิโลกรัมเพื่อทำให้เลือดออกจากตัวจนหมดแล้วนำไปน็อกด้วยน้ำเย็น ถือเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เนื้อปลาสดไร้กลิ่นคาวและเก็บไว้ได้นาน ปัจจุบันปลากะพงษ์ยักษ์ถูกนำไปเป็นปรุงเป็นเมนูตามร้านอาหารและทำไส้ขนมปั้นขลิบขายอยู่ในร้านวิสาหกิจชุมชนของป้าบุญมี-ย่าพูล ด้วย
พอผ่าน “อำเภอเมือง” แวะไปดู “ตลาดพอใจ-ตลาดเกษตรปลอดภัย @ส.ป.ก.แปดริ้ว” เพิ่งเปิดช่วงเดือนสิงหาคมปีนี้ เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น บริเวณ ลานหน้าสำนักงาน ส.ป.ก.ฉะเชิงเทรา โดยมี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เป็นเจ้าภาพร่วมกับ ส.ป.ก.แปดริ้ว และ บริษัท โอสถสภา ร่วมกันส่งเสริมชุมชนทำเกษตรอินทรีย์และแปรรูปสินค้ามาจำหน่าย และมีบริการร้านอาหารปลอดภัย การจัดอมรมทำเกษตรฟรีแบบง่าย ๆ รวมอยู่ด้วย
“วิฑูรย์ อินทจันท์” ผู้จัดการโครงการฯ จาก สสส. อธิบายว่าโครงการตลาดปลอดภัยฯ เป็นการสร้างเครือข่าย “โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัย เพื่อสุขภาพ” ที่ สสส.เตรียมขยายพื้นที่ทั่วฉะเชิงเทราไปยังอีก 3 อำเภอ ทั้งที่แปลงนายาว คลองเขื่อน และบางคล้า
ส่งท้ายท่องเที่ยวเส้นทางตะลอนกินกันที่ “อำเภอบ้านโพธิ์” ที่ “มินิ มูราห์ ฟาร์ม” ศูนย์เรียนรู้ฟาร์มเลี้ยงควายพันธุ์มูราห์ที่นำน้ำนมมาแปรรูปทำอาหารคาว “พิซซ่าเตาถ่านหน้าชีสนมควาย-Mozzarella” และของหวาน เช่น “ไอศรีมนมควาย” นมสดควายบรรจุขวดแก้ว และผลิตภัณฑ์แปรรูปบำรุงผิวอีกหลายชนิด
“โอส-วรัญญู โทณะวณิก” คนรุ่นใหม่วัยสามสิบเศษเจ้าของฟาร์มแห่งนี้ เล่าว่าการเลือกมาเปิดฟาร์มควายมูราห์เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะต้องการชวนครอบครัวคนรุ่นใหม่พาลูกหลานมาย้อนชมวิถีไทย และได้ร่วมทำกิจกรรม D.I.Y อย่างทำไอศรีม ป้อนอาหารสัตว์ ทำพิซซ่า หรืออีกหลายอย่างในพื้นที่กว้างกว่า 30 ไร่ ใกล้กรุงเทพฯ
ช่วงวันธรรมดามีนักท่องเที่ยวแวะมาท่องเที่ยวราว 100-200 คน หากเป็นวันหยุดจะหนาแน่นประมาณ 200-300 ครอบครัว
ถ้ายังพอมีเวลาก็สามารถแวะไป “อำเภอบางปะกง” ทางผ่านกลับเข้ากรุงเทพฯ ไปดูฟาร์มเลี้ยงปลากะพงแบบกระชัง อยู่ติดแม่น้ำบางปะกงปลายทางสุดท้ายก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย
เป็นความสนุกแนวใหม่ “ท่องเที่ยววิถีการกินถึงแก่นวัฒนธรรมชุมชน” ตามคอนเซ็ปต์ Gastronomy Trip ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งแก่ชีวิต ซึ่งสามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 48 ชั่วโมง ใน 6 อำเภอ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
@5 หลักเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแผนงานรณรงค์รักษ์สุขภาพโดยแพทย์ร่วมกับสหวิชาชีพ แนะนำหลักปฏิบัติ 5 ประการ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
1. รู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว คือ ไม่จำเป็นจะร้องรับประทานอาหารในปริมาณเท่าๆ กันทุกมื้อ ทุกวัน เพราะในความเป็นจริงแล้วบางมื้ออาจมาก บางมื้ออาจน้อยก็ได้ แต่ในภาพรวมค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ได้จากอาหารทั้งสัปดาห์ต้องคงที่
2. กินอย่างฉลาด คือ อยากลองอะไรก็ได้ แต่ต้องรู้จักปริมาณ
3. เปลี่ยนนิสัยการบริโภคอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือเปลี่ยนนิสัยการรับประทานโดยการรู้จักเลือกอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเพียรพยายามทำวันละเล็กละน้อยค่อยเป็นค่อยไป อย่างสม่ำเสมอก็จะประสบผลสำเร็จได้
4. พยายามทำตัวให้ว่องไวกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกายทุกวัน ทำงานบ้าน เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เป็นต้น เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน
5. อร่อยกับอาหารแปลกใหม่ การมีโภชนาการดีไม่ได้หมายความว่าต้องงดอาหารอร่อย เราสามารถทดลองกับอาหารแปลกๆ ใหม่ๆ เพียงแต่ปรับสัดส่วนของอาหารก็สามารถเอร็ดอร่อยกับอาหารมากมายหลายชนิดได้
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก “โรงแรมทั่วไทยจัดเทศกาลอาหารชาติ”
@โรงแรมวีชวนชิมอาหารมิชาลินเขาแอลป์27-30ก.ย.
โรงแรม วี กรุงเทพฯ และ โรงแรม วี วิลล่า หัวหิน จัดดินเนอร์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ โดย “สเตฟาน บูคง” เชฟมิชลินสตาร์ระดับ 2 ดาว สุดยอดเชฟจากเทือกเขาแอลป์ฝรั่งเศส จะบินลัดฟ้ามารังสรรค์เมนูพิเศษเพียงแค่ 4 วันเท่านั้น ระหว่างวันที่ 27 - 29 กันยายน 2560 ที่ ห้องอาหารฝรั่งเศส La VIE – Creative French Cuisine ชั้น 11 โรงแรม วี กรุงเทพฯ เอ็มแกลเลอรี บาย โซฟิเทล และวันที่ 30 กันยายน 2560 ที่ห้องอาหาร Villazzo โรงแรม วี วิลล่า หัวหิน เพื่อโชว์ฝีมือการทำอาหารชั้นเลิศกับ 7 ซิกเนเจอร์เมนูเด่น ที่ โรงแรม วี กรุงเทพฯ โดยมีให้เลือกดังนี้
มื้อกลางวัน 1.แบบเซต 3 คอร์ส ราคา 3,000 บาท 2.แบบเซต 3 คอร์สจับคู่กับไวน์ชั้นเลิศ ราคา 4,500 บาท เริ่มเสิร์ฟเวลา 12.00 น.เป็นต้นไป
มื้อค่ำ 1.แบบเซต 7 คอร์ส ราคา 6,000 บาท 2.แบบเซต 7 คอร์สจับคู่กับไวน์ชั้นเลิศ ราคา 8,000 บาท เริ่มเสิร์ฟเวลา 19:00 น. เป็นต้นไป
สำหรับ สเตฟาน บูคง เป็นเชฟใหญ่ของภัตตาคารที่มีชื่อเสียงในโรงแรม เลอ ชาบิชู (Hotel Le Chabichou) ตั้งอยู่ใน กูร์เชอเวล (Courchevel) ซึ่งเป็นสกีรีสอร์ทที่หรูหรา เก่าแก่ที่สุดในเทือกเขาแอลป์
@ ฟินกับอาหารเซี่ยงไฮ้ที่คามิโอศรีราชา
โรงแรมคามิโอ เฮ้าส์, ศรีราชา จัดเต็ม ระหว่างวันนี้-วันที่ 1-30 กันยายน ตั้งแต่เวลา 11.00-24.00 น. กับ “เมนูอาหารเซี่ยงไฮ้ต้นตำรับ” ที่ ห้องอาหาร แทพเพสทรี ที่ได้คัดสรรเมนูขึ้นชื่อโดยเชฟมืออาชีพ อาทิ ไก่ทอดเซี่ยงไฮ้ และอีกหลากหลายเมนู ที่รอให้ทุกท่านมาลิ้มลองความอร่อย โทร 038-314-100 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.kameocollection.com
@ดิโอกุระฯชูเทศกาลอาหารเบญจมาศญี่ปุ่น
โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ จัดฉลองดอกเบญจมาศ เทศกาลสำคัญประจำปีของญี่ปุ่น ที่ห้องอาหาร ยามาซาโตะ (Yamazato) ด้วยเมนูอาหารชุดมื้อกลางวันและมื้อค่ำสุดพิเศษ ให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 -24 กันยายน 2560
เมนูอาหารชุดมื้อกลางวัน ที่เชฟฮิเงรุ ฮางิวาระ (Shigeru Hagiwara) หัวหน้าพ่อครัว (Master Chef) ได้ปรุงเป็นพิเศษสำหรับเทศกาลนี้เริ่มต้นด้วย เต้าหู้งาใส่แปะก๊วยและเนื้อปู ซุปใสใส่เกี๊ยวและกลีบดอกเบญจมาศ ปลาดิบชั้นดี 3 ชนิด (ปลาโบนิโต้ ปลาหมึก และปลาซัมมะ) ส่วนเมนูอาหารจานหลักเชฟนำปลาแมกเคอเรลไปย่างจนสุกได้ที่เสิร์ฟกับซอสเห็ด อีกจานหนึ่งเป็นปลาหวานตุ๋นรับประทานกับไข่ปลา เผือก ใบและดอกเบญจมาศ อีกทั้งยังมีเทมปุระกุ้ง ปลาบึกและผักนานาชนิด ที่จะให้บริการมาพร้อมกับข้าวอบเกาลัดญี่ปุ่น ปิดท้ายอาหารชุดมื้อกลางวันด้วย พายแอบเปิ้ล และผลไม้ตามฤดูกาล ราคาชุดละ 1,300++ บาท
“มื้อค่ำ” เชฟได้เตรียมอาหารชุดพิเศษ “ไคเซกิ” อาหารทุกจานจะถูกปรุงอย่างพิถีพิถัน และให้บริการตามแบบราชสำนักญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยอาหารญี่ปุ่นรสชาติต้นตำรับทั้งหมด 7 รายการ ได้แก่ หอยเชลล์ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ซุปใสลูกชิ้นปลาซาร์ดีนกับเห็ด ปลาดิบชั้นดี 4 ชนิด ได้แก่ ท้องปลาทูน่า ปลาซัมมะ ปลาหางเหลืองและหอยปีกนก ตามด้วยตับห่านราดซอสเห็ดญี่ปุ่นและอโวคาโด ในส่วนของอาหารจานหลัก เชฟได้เตรียมปลากระพงขาวย่าง เสิร์ฟพร้อม เกาลัด แปะก๊วย และหัวผักกาดดอง เทมปุระปูหิมะ ปลาบึก และผักนานาชนิด และเส้นหมี่ญี่ปุ่นน้ำหน้าเนื้อปลากระพง เสิร์ฟกับข้าวห่อสาหร่ายไส้ผักดอง ปิดท้ายไคเซกิชุดพิเศษนี้ด้วย พายแอบเปิ้ล และผลไม้ตามฤดูกาล ราคาชุดละ 4,500++ บาท
สำหรับเทศกาลดอกเบญจมาศ ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “คิคุ โนะ เซกกุ” ตรงกับวันที่ 9 เดือนกันยายนของทุกปี มีต้นกำเนิดจากแนวคิดที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและนำมาเชื่อมโยงกับวิถีการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ อีกทั้งคนญี่ปุ่นเชื่อว่าวันนี้เป็นวันดี เนื่องจากวันและเดือนตรงกับเลข 9 ซึ่งเป็นเลขมงคล อีกทั้งในช่วงเดือน 9 นี้ ดอกเบญจมาศ หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือดอกเก็กฮวย จะบานสะพรั่งสวยงามมากทั่วประเทศญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่นก็เชื่อว่าดอกเบญจมาศเป็นดอกไม้มงคลจึงได้นำกลีบดอกเบญจมาศมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำอาหาร และเครื่องดื่ม อีกทั้งในช่วงเทศกาลคิคุ โนะ เซกกุ ร้านค้าต่าง ๆ ก็จะทำขนมเป็นรูปดอกเบญจมาศเพื่อจำหน่าย เนื่องจากคนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานดอกเบญจมาศจะทำให้มีปัญญาที่หลักแหลมและอายุยืนนาน
ข่าวที่สอง “เตรียมรื้อใหญ่ไทยสไมล์-รุกเช่าเหมาเพิ่มรายได้”
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในปีงบประมาณ 2561 เตรียมปรับรื้อสายการบินไทยสไมล์ ซึ่งเป็นธุรกิจให้บริการบินในประเทศและอาเซียนโดยมีการบินไทยถือหุ้น 100 % เพื่อลดภาระขาดทุนและต้นทุนค่าใช้จ่ายลงให้ได้มากที่สุด
ขณะนี้มีนโยบายให้จัดระบบการบริหารจัดการโดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือบริการร่วมกับการบินไทย เช่นการขาย ครัวการบินผลิตอาหารเสิร์ฟแต่ละเที่ยว ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานบิน และจัดทำตารางบินร่วมในเส้นทางที่สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่จะต้องเชื่อมต่อเที่ยวบินภายในประเทศตามจังหวัดต่าง ๆ
รวมถึงยังอยู่ระหว่างเร่งให้ไทยสไมล์เร่งศึกษาเพื่อเพิ่มบริการเช่าเหมาลำ หรือ charter flight จะเริ่มผลักดันเป็นรูปธรรมในไตรมาส 4 ปี 2560 โดยหาตลาดเข้ามาในช่วงที่มีผู้โดยสารเบาบาง โดยทำเที่ยวบินเช่าเหมาลำเวลากลางคืน หรือช่วงที่ไม่มีตารางบินประจำแต่มีความต้องการเดินทางของผู้โดยสารสูง โดยเฉพาะการเจาะบริการขนส่งนักท่องเที่ยวจีนมายังไทย
ททท.นำทีมทำโปรเจ็กต์ลดขยะในท้องทะเลไทย
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะผู้บริหารบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มูลนิธิอีโคอัลฟ์ (ผู้ริเริ่มและดำเนินโครงการ UPCYCLING THE OCEANS, THAILAND ที่ประเทศสเปน ตั้งแต่ปี 2558) และผู้บริหารจากส่วนราชการนำโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้แทนทั้งภาครัฐและเอกชน ลงพื้นที่นำร่องทำเป็นตัวอย่างด้วยตนเองใน "โครงการ UPCYCLING THE OCEANS, THAILAND ณ เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ร่วมกันรณรงค์นักท่องเที่ยวร่วมจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะที่เกี่ยวเนื่องในรูปแบบที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม
แควนตัส-เอมิเรตส์ผนึกเครือข่ายบินต่อ5ปี
มร.อลัน จอยส์ ประธานกรรมการบริหารแควนตัสกรุ๊ป เปิดเผยว่า ได้สานต่อการทำเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจการบินกับเอมิเรตส์ร่วมกันอีก 5 ปี โดยแควนตัสเตรียมให้บริการทุกวัน “ซิดนีย์-ลอนดอน” ผ่านสิงคโปร์เริ่ม 25 มีนาคม 2561 เพิ่มผู้โดยสารในเอเชียเข้าสู่ออสเตรเลียและยุโรป โดยโดยใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้นในบางเที่ยวบินเป็น A380 และแควนตัสคาดจะเอื้อประโยชน์ในปีงบประมาณการเงิน 2561 กว่า 80 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือราว 2,040 ล้านบาท
เซอร์ทิม คลาร์ก ประธานสายการบินเอมิเรตส์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งจะส่งผลให้ทั้งสองสายการบินได้รับความสำเร็จด้วยการ เสนอทางเลือกที่เอื้อประโยชน์ให้กับลูกค้าด้วยสิทธิประโยชน์ครอบคลุมทั้งการใช้บริการเครือข่ายเส้นทางบิน ผลิตภัณฑ์และการบริการ และการเป็นสมาชิกสะสมคะแนน รวมถึงโอกาสการท่องเที่ยว การค้าในตลาด ซึ่งผู้โดยสารที่บินเข้าดูไบสามารถเชื่อมต่อเที่ยวบินเข้ายุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้
แควนตัสจะเริ่มให้บริการจองตั๋วโดยสารตั้งแต่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป ผู้โดยสารจะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้
พบกันเป็นประจำทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย FM97.0 MHz.
พลิกโฉมสื่อสารการตลาดทำรายได้โตทุกพื้นที่
ก.ย.นี้ช้อปศุกร์หรรษาที่คิงเพาเวอร์ศรีวารีคุ้มสุด
ผู้ถือหุ้นเฮ“PBCGเครือบางจาก”แจกปันผล298ล้าน
พลเอกธนะศักดิ์พร้อมเปิดปีท่องเที่ยวยั่งยืน8ก.ย.
TCEBเปิดแผนปี’61ดึงกูรูโลกชี้เป้าตลาดไมซ์4ก.ย.
ทัว์เมืองอาหารใกล้กรุง6อำเภอในฉะเชิงเทรา
จ่อรื้อใหญ่ไทยสไมล์ลดขาดทุนรุกเช่าเหมาลำ
ผู้ว่าฯ ททท.นำทีมลดขยะท่องเที่ยวชายทะเล
แควนตัสผนึกเอมิเรตส์5ปีเพิ่มบริการบินทั่วโลก
สวัสดีวันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน 2560 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz.ในรายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” (ฟังมือถือเลือก FM 97.0 อ่านใน www.facebook.com/penroongyaisamsaen ฟังทาง youtube พิมพ์ รวยด้วยข่าว 97.0-วัน/เดือน/ปี #gurutourza #thailandfest #AmazingThailand
ช่วงที่ 1 คุณธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) ให้สัมภาษณ์พิเศษในรายการ กับแนวคิดใหม่ผ่าไซโลการทำงานในองค์กรเปิดสู่โลก “สื่อสารการตลาด”เชิงรุกเต็มรูปแบบในปี 2561 เดินหน้าเชื่อมโยงสินค้าท่องเที่ยวชุมชนท้องถิ่นสู่เวทีโลกด้วยกิจกรรมอินเตอร์ภาคสอง THE G LINK 2018
ธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา และตะวันออกลาง ททท. |
คุณธเนศวร์ เพชรสุวรรณ รองผุ้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา และตะวันออกกลาง เปิดเผยว่า การทำตลาดเชิงรุกบุกหนักในปี 2561 จะติดอาวุธทำโครงการ AMAZING G LINK 2018 โดยใช้ G หมายถึง Gastronomy เป็นหัวหอกเรื่องราวจากต้นทางของวัตถุดิบซึ่งยกมาไว้ในจาน “อาหารการกินแบบวิถีไทย” เป็นเครื่องจักรสำคัญเพิ่มรายได้กระจายตรงเข้าสู่ชุมชนอย่างเต็มที่
เดิมทีเดียวได้หารือกับผู้บริหารสำนักงาน ททท.ต่างประเทศในพื้นที่ยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลาง 10 แห่ง ตั้งใจจะเพิ่มแนวรุกด้วยการต่อยอด “จังหวัดใหม่” ในการจับคู่ระหว่าง สำนักงาน ททท.ยุโรป กับ ททท.ในประเทศ ปีแรก 2560 ทำไว้ 10 จังหวัด เช่น ททท.ลอสแองเจลิส กับ ระนอง หรือ ททท.ตราด จะเพิ่มจันทบุรี เข้าไปด้วย แต่เมื่อประมวลผลแล้วใน 10 จังหวัดเดิมที่ทำไว้ ยังมีสินค้าท่องเที่ยวในชุมชนอีกหลายส่วนสามารถนำมาออกแบบเจาะตลาดต่างประเทศได้ในเชิงคุณค่าและมูลค่าควบคู่กันไป
ต่อมาจึงได้พลิกแนวคิดใหม่โดยหันมาแปลงโฉมเป็นโครงการ AMAZING G LINK 2018 เพราะเห็นถึง “ความแข็งแรงของอาหารการกิน” ดังนั้นคอนเทนต์หลักปี 2561 คือ Gastronomy เพราะนักท่องเที่ยวใช้จ่ายเงินเพิ่มได้ง่ายและเร็วที่สุด ซึ่งอาจจะง่ายกว่าช้อปปิ้ง อีกทั้งอาหารยังเป็นเสน่ห์ที่เย้ายวนนักท่องเที่ยวมากกว่าหมวดสินค้าอื่น ๆ
วิธีการขับเคลื่อนโครงการ จะให้ ททท.ในประเทศแต่ละพื้นที่ทั้ง 10 จังหวัด สำรวจและคัดเลือก “อาหาร” ไฮไลต์จากนั้นก็ส่งให้ ททท.สำนักงานต่างประเทศโปรโมตต่อไป ตัวอย่าง ททท.นครศรีธรรมราช จับคู่กับ ททท.สต็อกโฮม สวีเดน หรือ ททท.เพชรบุรี กับ มอสโก รัสเซีย ต้องหาอาหารยอดนิยมที่มีความน่าสนใจมาเสนอขายได้ กำลังทำงานร่วมกันอย่างเข้มข้นเพื่อคัดอาหารจานเด็ด ซึ่งจะสามารถบอกเรื่องราวของอาหารจานนั้น ๆ ที่บอกเล่าถึงประเทศไทยในมิติต่าง ๆ ได้ชัดเจน
ขณะนี้กำลังให้คำจำกัดความเรื่อง GASTRONOMY ซึ่งถูกต้องตามความหมายในการสื่อสารของอาหารเป็นเรื่องราวได้ เพราะพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเปลี่ยนไปไกลมากกว่าการรับรู้เท่านั้น แต่เพิ่มอยากรู้ลึกซึ้งลงรากให้เป็น Story Marketing เป็นหน้าที่ของฝ่ายสินค้าผูกเรื่องกำหนดเนื้อหาเพื่อให้ฝ่ายขายและการตลาดไปเสนอให้ถูกต้องแล้วฝ่ายสื่อสารการตลาดสื่อความหมายออกไปให้ตรงประเด็น ออกแบบเครื่องมือการอธิบายให้เข้าใจตรงกันทั้งกลุ่มคนไทยและทั่วโลก
คุณธเนศวร์อธิบายต่อถึงภารกิจใหม่ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 จะย้ายไปเป็น “รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด ททท.” เตรียมโหมโรง “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน” ระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 –ตุลาคม 2562
หัวใจหลักที่ได้รับคำแนะนำจากพลเอกธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลการท่องเที่ยว และผู้ใหญ่ในวงการ ซึ่งสนับสนุนแนวโน้มการท่องเที่ยวเติบโตต่อเนื่องทุกเรื่อง แต่จำนวนและรายได้ของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบันยังคง “กระจุกตัว” อยู่ในไม่กี่จังหวัดท่องเที่ยว
จึงเป็นภารกิจใหม่ “อันท้าทาย” ที่จะต้องรวมพลังทุกส่วน ในฐานะผู้นำสื่อสารการตลาด ททท.ทำให้ปมการกระจุกตัวให้เกิดการกระจายสู่ชุมชนท้องถิ่นเป็นรูปธรรมได้
ภารกิจใหม่ไฮไลต์ เรื่องแรก คือ “อาหารถิ่น” จะเป็นเสน่ห์ดึงนักท่องเที่ยว “กระจายตัวออกไป” ควักเงินออกมาใช้ ดังนั้นจึงต้องทำให้ทุกพื้นที่สร้างเนื้อหาอย่างชัดเจน โดย ททท.ท้องถิ่นต้องเฟ้นหาเครื่องมือผ่านช่องทางสื่อ ดิจิตอล ออนไลน์ โซเชียลมีเดีย ให้ตรงถึงผู้รับอย่างชัดเจน หลายช่องทางต้องหาวิธีอย่างถูกต้อง
เรื่องที่ 2 ต้องเพิ่มศักยภาพสำนักงานททท.ทั่วโลก 27 แห่ง ให้เกิดการทำงานอย่างมีกลยุทธ์เชิงรุกด้วยประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะลักษณะการทำงานปัจจุบัน ททท.สำนักงานต่างประเทศจะเน้นในเรื่อง “ธุรกิจสู่ธุรกิจ” หรือ Business to Business จึงเป็นหน้าที่ต่อไปของฝ่ายสื่อสารการตลาดที่จะต้องไปเพิ่มเติมกลยุทธ์เชิงรุกผ่านเนื้องานให้ ททท.ต่างประเทศหันมาขยายหน้าที่ทำเรื่องการท่องเที่ยวสู่ผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น แล้วบอกนักท่องเที่ยวทั่วโลกเข้าใจการเที่ยวเมืองไทยโดยตรงอย่างยิ่ง ซึ่งแต่ละสำนักงานคงมองอยู่แล้วแต่ด้วยข้อจำกัดเรื่องแผนและงบประมาณ จึง
ตัวอย่างที่ ททท.จัดงาน Thai Festival ในโตเกียว เป็นประจำปีละครั้ง จัดเพียง 2 วัน นำเรื่องราวของไทยไปบอกเล่าให้ชาวญี่ปุ่นเข้ามาร่วมจำนวนครั้งละนับแสนคนด้วยการนำเนื้อหาการท่องเที่ยวไปสร้างการรับรู้เข้าถึงนักท่องเที่ยวโดยตรง กิจกรรมดังกล่าวเป็นโมเดลการจัดงานที่สะท้อนถึง ศักยภาพ มาตรฐาน เนื้อหา ตอบโจทก์ ที่จะนำไป “กระจาย” เพื่อนำไปใช้กับพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก
ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2560 เมื่อเข้าสู่ปีงบประมาณใหม่ 2561 ททท.จะนำโมเดลการจัดงาน ไทย เฟสติวัล ในโตเกียว นำร่องทดลองทำกับสำนักงาน 5 จังหวัด 5 ประเทศ จากนั้นก็จะเพิ่มความถี่เข้าไป ขณะที่บทบาทเดิมที่ ททท.แต่ละสำนักงานต่างประเทศทำอยู่กับภาคธุรกิจ ทั้งการขาย การส่งเสริมตลาด การสร้างโอกาสก็ทำต่อไป แต่งานสื่อสารการตลาดจะเข้าไปเสริมท้องถิ่นนั้น ๆ
พื้นที่ 5 เมืองหลักที่จะทดลองนำโมเดล Thai Festival ไปใช้ก็มี อเมริกา ออสเตรเลีย จีน ยุโรป ขณะนี้กำลังดูพื้นที่เหมาะสม เพราะจะทำให้ ททท.ในไทยและทั่วโลก กับสถานทูตและสำนักงานพาณิชย์ เสริมพลังร่วมมือกันทำได้ และ ททท.จะเป็นหน่วยประสานงาน ส่วนสื่อสารการตลาดจะไปเติมงบประมาณ คิดเนื้อหา การนำเสนอโครงการ ทำให้ทุกพื้นที่มีพลังใหม่เกิดขึ้น
เป็นกลยุทธ์ไปสู่ “บูรณาการทำงาน” กับทุกภาคส่วนได้จริง ไม่ได้เป็น “ไซโล” ซึ่งจะเป็นการผ่าระบบการทำงานข้ามหน่วยงานอย่างมีประสิทธิภาพทั้งภายในองค์กรและกับหน่วยงานภายนอก และจะต้องทลายลักษณะการทำงานแบบไซโลอันหมายถึงทำเฉพาะงานตามหน้าที่ในเฉพาะแผนกของ ททท.ให้ได้
ในขณะที่ ททท.เร่งทำการตลาดเชิงรุก แต่ในหน่วยงานรองรับโดยเฉพาะสนามบินนานาชาติ ปัจจุบันมีผู้ใช้บริการเกินขีดความสามารถที่จะรองรับได้ในแต่ละสนามบินเข้าออกนั้น ททท.จะนำข้อมูลเสนอแนะจากผู้ใช้บริการทั้งจากนักเดินทาง นักท่องเที่ยว นักธุรกิจ ส่งไปถึงข้อดีข้อด้อยกับหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่อร่วมกันทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศเติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
จากการบทบาทการทำงานของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา นำโดยรัฐมนตรีว่าการฯ เห็นถึงกลไกได้พยายามที่จะเชื่อมต่อการบริหารจัดการขีดความสามารถทางด้านการรองรับนักท่องเที่ยวในพื้นที่ทั่วประเทศ เพราะการนำเสนอไม่ได้จำกัดอยู่แค่กิจกรรมการท่องเที่ยวตลอดทั้งปีเท่านั้น แต่ยังเน้นเรื่องการเชื่อมต่อทุกภาคส่วน สร้างเนื้อหาการท่องเที่ยวอย่างมีมาตรฐานและประสิทธิภาพ เพื่อเตรียมพร้อมรับกระแสการท่องเที่ยวในอนาคต
ตัวอย่างเช่น โครงการเจ้าบ้านที่ดีของรองนายกรัฐมนตรี ที่ลงลึกถึงท้องถิ่นเพื่อเตรียมระดับชุมชนต้อนรับนักท่องเที่ยว ที่ฝ่ายสื่อสารการตลาดจะต้องนำมาบูรณาการทั้งสังคมเข้าใจไปด้วยกัน
การหยิบยก “สินค้าชุมชน” เพื่อเพิ่มรายได้และภาคการผลิต ททท.คงต้องโฟกัสมากขึ้น จากโครงการ THE LINK ก็เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยชุมชนสร้างเนื้อหาสินค้า เพราะควบคุมได้ทั้งฝั่งดีมานต์และซัพพลาย แล้วสามารถบอกชุมชนให้ค้นหาเนื้อหา ศักยภาพ ของตนเอง รีดออกมา และที่สำคัญที่สุดต้องให้ท้องถิ่น เต็มที่ เต็มใจ พร้อมจะขายสินค้าของตนเองอย่างสง่างาม
เวทีการจัดการ “เทศกาลเที่ยวเมืองไทย 2561” ซึ่ง ททท.จัดเป็นประจำช่วงเดือนมกราคม จะได้เห็นความพร้อมของชุมชนซึ่งพร้อมจะเข้าร่วมงาน แต่ไม่ใช่ ททท.ไปลากมาขายเพียงฝ่ายเดียว ภาพจากงานจะช่วยตอกย้ำให้เห็นชัดเวทีการจัดงานเทศกาลเที่ยวเมืองไทยคือโอกาสของท้องถิ่น เพราะทุกปีร้านค้าผ้าไหมและอื่น ๆ ต้องนำสินค้ามาเติมตลอดเพราะขายดี แล้วรายได้ทั้งหมดก็ส่งถึงมือท้องถิ่นผู้ผลิตสินค้าจริง
บทบาทของ ททท.ยุคใหม่ไม่ใช่เพียงแค่นักขายหรือนักการตลาด หากแต่เป็น Matchmaker ทางการท่องเที่ยวที่จะให้ชุมชนมีเวทีนำเสนอขายสินค้า เพราะมีสำนักงานพื้นที่คอยให้คำแนะนำ สร้างพลังทางการท่องเที่ยวก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมีประสิทธิภาพนั่นเอง
ฟังข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1 “ช้อปศุกร์หรรษาคิงเพาเวอร์ศรีวารีคุ้มสุดๆ”
กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ผู้นำร้านค้าปลอดอากร (ดิวตี้ฟรี) ประสบความสำเร็จในการจัดมหกรรม “ศุกร์หรรษา” จึงประกาศจัดต่อเนื่องคืนกำไรให้นักช็อประหว่างวันนี้ไปจนถึง 29 กันยายน 2560 เพื่อให้ช็อปอย่างจุใจ “เฉพาะวันศุกร์” ที่ คิง เพาเวอร์ ศรีวารี รับได้หลายต่อด้วยกันคือ
เริ่มจาก ต่อแรก เพียงแค่ลูกค้าคนไทย และสมาชิกคิง เพาเวอร์ ลงทะเบียนซื้อสินค้า ก็รับทันทีคูปองส่วนลดมูลค่า 800 บาท เมื่อซื้อ 2,500 บาทขึ้นไป/ ใบเสร็จรับเงิน
หรือต่อที่ 2 ตลอดทั้งวันเมื่อซื้อสินค้ารับทันทีส่วนลด 30% (เฉพาะสินค้าที่ร่วมรายการ) ครบ 28,000 บาทขึ้นไป (สุทธิ) รับทันที Gift Voucher 2,000 บาท คนละ 1 สิทธิ์ /วัน เพียงซื้อสินค้า
ส่วน Top Spender ประจำสัปดาห์เพียงมียอดซื้อสินค้าสูงสุดภายในวัน ตั้งแต่ 800,000 บาทขึ้นไป(สุทธิ) รับทันที Gift Voucher มูลค่า 50,000 บาท แจกสัปดาห์ละ 1 รางวัล ทางคิง เพาเวอร์ จะสรุปรายชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลทแล้วแจ้งกลับให้มารับภายในวันที่ 15 ตุลาคม 2560
ทั้งนี้สินค้าแต่ละรายการที่จัดขึ้นนั้นมีเงื่อนไขแตกต่างกันไป สามารถดูรายละเอียดเพิ่มที่ www.kingpower.com หรือคอลเซนเตอร์ 1631
ข่าวที่ 2 “ททท.-ราชประสงค์บูมอาหารปั๊มรายได้เพิ่ม30%”
นายฉัททันต์ กุญชร ณ อยุธยา รองผู้ว่าการด้านสื่อสารการตลาด การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ร่วมกับมูลนิธิโครงการหลวง และสมาคมผู้ประกอบการวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ จัดงานเทศกาลอาหารนานาชาติประจำปี “Taste it all 2017 @Ratchaprasong” ระหว่างวันนี้ – 31 ตุลาคม 2560 โดยมุ่งเน้นคัดสรรวัตถุดิบชั้นดีจากแหล่งผลิตที่ดีที่สุดในประเทศไทยจากโครงการหลวง ภายใต้คอนเซ็ปต์ Pheasant festival หรือ เทศกาลไก่ฟ้า พร้อมกับเชิญเซเลบริตี้เชฟจากโรงแรมหรูใจกลางกรุงจาก 8 ห้องอาหาร มาร่วมปรุงแต่งซิกเนเจอร์เมนู ผสานศาสตร์สร้างความมหัศจรรย์แห่งรสชาติอันกลมกล่อมของ “เมนูไก่ฟ้า” ต้อนรับนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก
นายชาย ศรีวิกรม์ นายกสมาคมผู้ประกอบวิสาหกิจในย่านราชประสงค์ ได้ริเริ่มสร้างสรรค์เทศกาลอาหารนานาชาติ หรือ Taste it all @Ratchaprasong ปีนี้ตั้งเป้าการเติบโตทางรายได้ไม่ต่ำกว่า 30% เพราะจัดต่อเนื่องมากว่า 14 ปี โดยมีโรงแรมและห้องอาหารชั้นนำเข้าร่วมสร้างสรรค์ซิกเนเจอร์เมนูและโปรโมชั่นต้อนรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ รวมทั้งมีโรงแรม 7 แห่ง ร้านอาหารชั้นนำรวม 100 แห่ง กับธนาคารกสิกรไทย ร่วมกันทำโปรโมชั่นพิเศษ ส่งเสริมให้ย่านราชประสงค์ซึ่งเป็น “เดอะ เบสท์ ไดน์นิ่ง เดสติเนชั่นส์” เป็นแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวมาใช้บริการกินดื่มถึงวันละ 600,000 คน เพิ่มสูงขึ้นทุกปี
ทั้งนี้ในปีงบประมาณปี 2561 ททท. ตั้งเป้ารายได้จากท่องเที่ยวจะเติบโต 8 % จึงได้เร่งขยายแนวรุกเพิ่มรายได้ผ่านวิถีการกินนำอาหารมาพัฒนาเป็นสินค้าทางการท่องเที่ยวที่สำคัญและสร้างแรงดึงดูดต่อนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และต่างประเทศ เป็นการต่อยอดกระแสด้านอาหารซึ่งเป็นหมวดการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวที่มีแนวโน้มเติบโตสูงสุดผ่านกิจกรรมหรืองานเทศกาลด้านอาหารต่าง ๆ ตลอดทั้งปี
ข่าวที่ 3 “ลุ้นคลังหนุนท่องเที่ยว2หมื่นบาทลดหย่อนภาษีปี60”
พลเอกธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงความคืบหน้ามาตรการท่องเที่ยวเพื่อนำมาลดหย่อนภาษีตามที่สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยเสนอผ่าน การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เมื่อเดือนสิงหาคม 2560 ขณะนี้ตนมอบหมายให้นางกอบกาญจน์ วัฒนวรางกูร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาไปหารือกับกระทรวงการคลัง ถึงการจัดทำรายละเอียดเรื่องที่จะให้นำค่าใช้จ่ายในการเดินทางท่องเที่ยวมาใช้ลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในช่วงปลายปี 2560
พลเอกธนะศักดิ์กล่าวว่า ได้แสดงความเห็นขอกระทรวงการคลังใช้วิธีลดหย่อนกับการท่องเที่ยวแบบเดียวกันกับปีที่ผ่านมา คือให้นักท่องเที่ยวนำค่าใช้จ่ายจากการเดินทางเที่ยวในประเทศ 4 หมวดหลัก ได้แก่ ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าซื้อของที่ระลึกร้านค้าชุมชน และค่าบริการบริษัทนำเที่ยว มาลดหย่อนภาษีได้เท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศ โดยเพิ่มวงเงินจาก 20,000 บาท แทนของเดิมให้แค่15,000 บาท
เพราะผลจากการหารือร่วมกันระหว่าง ททท.กับกระทรวงการคลังยังไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอทั้งหมด และในทางปฏิบัติอาจทำได้จากหากจะต้องนำค่าใช้จ่ายจากการเดินทางท่องเที่ยวมาลดหย่อนภาษีแบบขั้นบันได 15,000-50,000 บาท
ข่าวที่ 4 “บีพีซีจีเครือบางจากจ่ายปันผลกว่า298ล้าน”
บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) ในเครือ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD (Exclude Dividend) ในวันที่ 8 กันยายน 2560 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 22 กันยายน 2560
เมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2560 ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) มีมติอนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลจากผลการดำเนินงานในไตรมาสที่ 2 ของปี 2560 ให้แก่ผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในอัตราหุ้นละ 0.15 บาท รวมเป็นเงินประมาณ 298.82 ล้านบาท
นายบัณฑิต สะเพียรชัย กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บีซีพีจี จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า “การจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในครั้งนี้ สะท้อนให้เห็นถึงความสามารถในการทำกำไรของบริษัท สอดคล้องกับการขยายธุรกิจของบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยบริษัทมีความตั้งใจที่จะรักษาผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้นอย่างสม่ำเสมอ”
ทั้งนี้ กำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิรับเงินปันผล (Record Date) ในวันที่ 12 กันยายน 2560 ปิดสมุดทะเบียนพักการโอนหุ้น ในวันที่ 13 กันยายน 2560 และกำหนดจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลในวันที่ 22 กันยายน 2560
โดยตลาดหลักทรัพย์ฯ จะขึ้นเครื่องหมาย XD (Exclude Dividend) ในวันที่ 8 กันยายน 2560
ข่าวที่ 5 “รองนายกฯเปิดตัวปีท่องเที่ยวเก๋ไก๋ยั่งยืน8ก.ย.”
พลเอก ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า พร้อมจะประกาศ “ปีการท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน หรือ Amazing Thailand Tourism Year" ซึ่งเป็นแผนทั้งจากคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ และมติที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 ถึง 1 มกราคม 2562 เพื่อเป็นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งระดับชุมชนและประเทศของทั้งภาครัฐและเอกชนเติบโตอย่างแข็งแกร่ง
โดยสะท้อนผ่านสถานการณ์การท่องเที่ยว 6 เดือนแรกปี 2560 ประเทศไทยมีนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเที่ยวมากถึง 17.32 ล้านคน เพิ่มขึ้น 4.4 % สร้างรายได้ 876,682.30 ล้านบาท 6.05 % ส่วนคนไทยเที่ยวในประเทศทั้งจำนวนและรายได้ก็เพิ่มขึ้นตามเป้าหมาย 8 % เช่นกัน
ช่วงเดือนสิงหาคม 2560 รัฐบาลได้ระดมส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชนนำร่อง จัดทำ “มหกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน” 30 ชุมชน ร่วมกับผู้ประกอบการนำเที่ยว 30 บริษัท กระจายในเขตพัฒนาการท่องเที่ยว 8 เขต ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี และในปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน ก็จะเพิ่มกิจกรรมเพื่อเพิ่มรายได้กระจายสู่ท้องถิ่นอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ
ทั้งนี้การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานว่า วันที่ 8 กันยายน 2560 นี้ พลเอกธนะศักดิ์ จะเป็นประธานแถลงข่าวเปิดโครงการ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน- Amazing Thailand Tourism Year”
ข่าวที่ 6 “TCEBโชว์แผนปี’61ดึงกูรูโลกแนะตลาดไมซ์4ก.ย.นี้”
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ “TCEB” เตรียมจัดแถลงแผนกลยุทธ์ตลาดไมซ์ของประเทศในปี 2561 ในวันที่ 4 กันยายน นี้ ที่โรงแรมพลาซ่า แอทธินีภายใต้ชื่อ “Thailand MICE 2018 and Beyond” พร้อมกับการจัดงาน Thailand MICE Forum 2017 และ MICE SYMPOSIUM โดยได้เชิญผู้เชี่ยวชาญระดับโลกเข้ามาให้ความรู้แก่ภาครัฐ ภาคเอกชน ผู้ประกอบการไมซ์ ของไทย
ตลอดการสัมมนาตั้งแต่ 09.00-16.00 น. ได้เชิญ ดร.แอนดริว สเตเปิ้ล ผู้อำนวยการ The Economist Corporate Network :ECN เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มาถ่ายทอดข้อมูลในหัวข้อ Landscape of Business in Asia : TBC ดร.โจนาส ริดเดอร์เสตล (Dr.Jonas Ridderstale) นักเขียนหนังสือขายดีอันดับต้น ๆ และกูรูด้านการจัดการ จะมานำเสนอเกี่ยวกับ Fast Forward : Make your Organization fit for the Future
เรื่อยไปจนถึงการเชิญ Mr.David Passiak Co-Create the Future มาถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านนวัตกรรมการสื่อสารและการขับเคลื่อนอีเวนต์ทางธุรกิจ ในหัวข้อ How innovation build community and movement for business events และฟัง Clement Galzy หัวหน้าส่วนงานพัฒนาธุรกิจตลาดอเชียและโอเชเนีย จาก Amaury Sport Ogranization- organizer of Tour De France ในเรื่องเกี่ยวกับกุญแจแห่งความสำเร็จจากการใช้สปอร์ตอีเวนต์หลอมรวมความยิ่งใหญ่ให้เข้าเป็นเนื้อเดียวกันกับเครือข่ายผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมไมซ์
สำหรับในช่วงค่ำคืนวันที่ 4 กันยายน นี้ ทีเส็บยังได้จัดงาน MICE AWARDS 2017 โดยนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ ประธานกรรมการ TCEB จะนำกล่าวพร้อมกันนี้ยังได้เชิญผู้นำแถวหน้าของหน่วยงานสำคัญ ๆ มาบรรยายเรื่อง “แรงงานบันดาลใจ สู่ความสำเร็จ จากรุ่นสู่รุ่น” โดยนายวินิจ สุรพงษ์ชัย ผู้ก่อตั้งและประธานการจัดงาน ADFEST กับนางสาววิลาวัณย์ สุรพงษ์ชัย ผู้อำนวยการจัดงาน ADFEST
ช่วงที่ 2 ชวนกันไปเที่ยวเมืองแห่งการกินที่ “ฉะเชิงเทรา” ด้วยเวลา 48 ชั่วโมง สามารถตะลอนเที่ยวได้ถึง 6 อำเภอ มีความสนุก สีสัน แตกต่างกัน จากนั้นก็มีเรื่อง 5 หลักปรับพฤติกรรมการกินมาฝาก และเดือนแห่งการจัดเทศกาลอาหารของโรงแรมทั่วไทย กระแสรื้อโครงสร้างใหญ่ไทยสไมล์เพื่อลดต้นทุนและภาระขาดทุน
@เที่ยวมุมใหม่เมืองอาหารฉะเชิงเทรา
เมืองแห่งสายน้ำ “ฉะเชิงเทรา” เป็นอีกสถานที่พักผ่อนใกล้กรุงเทพฯ ซึ่งเต็มไปด้วยเรื่องราวแห่ง “ศูนย์รวมแหล่งอาหารคาวและหวาน” ตั้งเรียงรายกระจายอยู่ทั่วชุมชนหลายแห่ง เกิดเป็นเส้นทางท่องเที่ยวความสุขของนักเดินทางผู้ชื่นชอบการกิน หยั่งลึกถึงเข้า “รากวิถีวัฒนธรรมความเป็นอยู่เรียบง่าย” สืบทอดกันมานับร้อยปี ผ่านกระบวนการเพาะปลูกพืช ผัก ผลไม้ เลี้ยงสัตว์ จับสัตว์น้ำ มาสร้างสรรออกแบบเมนูแต่ละจานด้วยส่วนผสมลงตัวหลอมรวมการผลิต “อาหารเป็นยา” สะท้อนภาพได้ยิ่งใหญ่กว่าเพียงแค่เสพติดการ “รสชาติ” ความอร่อย ทว่าในอาหารทุกจานคือช่วงชีวิตหลายร้อยปีที่เลือดเนื้อของชุมชนความเป็นคนไทย
เมื่อได้ใช้เวลาภายใน 48 ชั่วโมง เดินทางไปสำรวจ 6 อำเภอ เพื่อท่องเที่ยว สไตล์แวะชิมริมทางในฉะเชิงเทรา
24 ชั่วโมงแรก ตะลอนทัวร์ 3 อำเภอ เริ่มต้นที่ “อำเภอพนมสารคาม” เพื่อสร้างประสบการณ์เรียนรู้ “สวนเมลอน TT Melon Farm” ของหนุ่ม “เต๋อ-ธัชพิชญ์ ไชยธีรานุวัฒศิริ” ผู้เป็นทั้ง Start up และ Smart Farmer มีฟาร์มติดถนนใหญ่แปลงปลูกเมล่อนโรงเรือนขนาด 11 ไร่ ใช้เงินลงทุนกว่า 10 ล้านบาท ได้คัดสรรพันธุ์ต้นตำรับญี่ปุ่น คิมูจิ บิวตี้กรีน บิวตี้ออเรนจ์ มาปลูกแล้วแปรรูปเป็นเมนูเมล่อนปั่นละเอียดดั่งปุยเมฆส่งกลิ่นหอมธรรมชาติ เพราะต้นทางนั้นต้องนำเนื้อเมลอนไปเข้าเครื่องอัดจนออกมาเป็น Dry Spray ปริมาณ 1 ผลได้ผงเมล่อนเพียง 100 กรัมเท่านั้น ส่วนสนนราคาขายเมล่อนปั่นเพียงแก้วละ 75 บาท แตกต่างจากการขายเป็นผล ๆ ละ 100-250 บาทขึ้นไป ส่วนที่ขายได้ราคาอยู่บ้างคือ “เมนูเมล่อนบองซู” ได้เทรนด์น้ำแข็งใสเกาหลีมาเป็นตัวช่วยทำให้วัยรุ่นนิยมสั่งรับประทาน
อาหารมื้อกลางวันขึ้นชื่อของชาวพนมสารคามคือ “ก๋วยเตี๋ยวปากหม้อ” กรรมวิธีการทำแยก 2 ส่วน ส่วนแรก เป็นข้าวเกรียบปากหม้อไส้ต่าง ๆ ส่วนที่สองเป็นน้ำซุปกระดูกหมูชิ้นโตต้มตามสูตรโบราณ ระหว่างรับประทานจะต้องนำข้าวเกรียบปากหม้อใส่ลงในน้ำซุปหรือจะใช้น้ำซุปลาดลงเป็นข้าวเกรียบปากหม้อก็อร่อยเหมือนกัน
จากนั้นมุ่งหน้าตรงเข้า “อำเภอบางคล้า” ระหว่างทางแวะไปทักทาย “ป้าบุญมี-ย่าพูล” ผู้นำร้านวิสาหกิจชุมชนกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรปากน้ำโจ้โล้ ผู้สร้างตำนาน “หมี่กรอบ” ออกแบบเป็นแท่งกลมแห่งเดียวในโลก กับ “ขนมเปี๊ยะสูตรโบราณ” ทำให้ขนมบ้าน ๆ กลายเป็นของรับประทานสู่ตลาดอินเตอร์ เนื้อในหมี่ทุกเส้นมีสมุนไพรพืชสวนครัวแซกซึมอยู่ทุกอนูมีให้เลือกถึง 8 รส เช่นเดียวกับขนมเปี๊ยะทุกชิ้นก็เต็มไปด้วยน้ำใจของคนทำทุ่มเทใส่ลงไป ล่าสุดมีขนมเปี๊ยะไส้ฝอยทองเกรดพรีเมียมบรรจุด้วยแพกเกจจิ้งเรียบหรูสวยงาม
หมี่กรอบของป้าบุญมีและย่าพูลโด่งดังไปทั่วกระทั่งมียอดสั่งซื้อจากญี่ปุ่น จีน และอีกหลายประเทศ รวมทั้งกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ สั่งผลิตรสชาติพิเศษเฉพาะคือ “หมี่กรอบรสต้มยำกุ้ง” นำไปวางจำหน่ายในร้านค้าดิวตี้ฟรีสาขาต่าง ๆ ทั่วประเทศ
ใกล้ ๆ กันก็มีสถานที่ท่องเที่ยว “วัดปากน้ำโจ้โล้” สีทองอร่ามติดแม่น้ำ และมีบริการนั่งเรือชมธรรมชาติ “รอบเกาะลัด” กลางลำน้ำบางปะกง เป็นถิ่นอาศัยของสัตว์น้ำป่าต้นจาก ชาวบ้านสามารถจับมาบริโภคและจำหน่ายสร้างรายได้เลี้ยงชีพ รวมทั้งมีพระพิฆเนศสี่กร มีอนุสรณ์สถานพระสถูป
เจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช และมีวัดโพธิ์บางคล้ามีค้างคาวแม่ไก่ออกอาหารยามโพล้เพล้
ก่อนตะวันลับขอบฟ้าในช่วงบ่าย 3 โมงกว่าตรงเข้า “อำเภอคลองเขื่อน” ตามไปดู “วิถีเกษตรชุมชนชาวตำบลคลองเขื่อน” ณ โรงแรม เดวารีสอร์ท ซึ่งนำศาสตร์พระราชามาออกให้เยาวชนและกลุ่มครอบครัวคนรุ่นใหม่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน มีทั้งการดำนา ปลูกข้าว ทำซั้งปลาในแม่น้ำบางปะกง เรื่อยไปจนถึงการนั่งรถอีแต็กทัวร์สวนเกษตรชาวคลองเขื่อนราว 30 นาที ไฮไลต์คือ “สวนมะม่วงน้ำดอกไม้” เพราะที่นี่เป็นแหล่งปลูกใหญ่ที่ส่งขายทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ก็มีสวนมะพร้าว สวนหมาก พืชเศรษฐกิจ และอื่น ๆ
รวมทั้งตามไปดุวิถีบ้าน ๆ “จับกุ้งแม่น้ำบางปะกง” น้ำหนัก 10-12 ตัวต่อกิโลกรัม นำมาย่างเสิร์ฟขายกิโลกรัมละ 700 บาทขึ้นไป ให้นักท่องเที่ยวชิมช่วงดินเนอร์มื้อค่ำอย่างเอร็ดอร่อย คู่กับเมนูสุขภาพทำจากพืชผักพื้นบ้านปลอดสารพิษที่ปลูกอยู่ทั่วรีสอร์ต
เข้าสู่ 48 ชั่วโมงแห่งการเดินทางในเช้าวันใหม่ เดินทางต่อไปยัง “อำเภอนาแปลงยาว” ลุยถนนดินแดงไปยัง “ฟาร์มปลากะพงษ์ยักษ์” ของ “คุณประโยชน์ โสรัจจกิจ” เป็นแห่งเดียวในเมืองไทยและในโลกที่เลี้ยงกะพงษ์ยักษ์ในบ่อดินกลางทุ่งโล่ง 300 ไร่ ทุ่มทุนไปแล้วหลายสิบล้านบาท เพื่อสร้างแหล่งอาหารแต่ละวันจะจับได้วันละ 3-4 ตัน แต่ละปีก็มีปลาชนิดนี้หมุนเวียนจำหน่าย 3,000-4,000 ตัน กระจายไปจำหน่ายตามที่ต่าง ๆ แบบเป็นตัวขนาด 1-2 กิโลกรัม และแร่เป็นชิ้นแพกแช่แข็ง กิโลกรัมละ 500 บาทขึ้นไป ป้อนให้ซูเปอร์มาร์เก็ตอย่าง ฟู้ดแลนด์ เดอะมอลล์ กรุ๊ป และร้านอาหารในจังหวัดฉะเชิงเทรา
ไฮไลต์การดูฟาร์มปลากระพงษ์ยักษ์ คือ “กรรมวิธีทำให้ปลาตาย” จะใช้เหล็กแหลมเจาะเส้นประสาทปลาน้ำหนักหลายสิบกิโลกรัมเพื่อทำให้เลือดออกจากตัวจนหมดแล้วนำไปน็อกด้วยน้ำเย็น ถือเป็นวิธีทางวิทยาศาสตร์ที่จะทำให้เนื้อปลาสดไร้กลิ่นคาวและเก็บไว้ได้นาน ปัจจุบันปลากะพงษ์ยักษ์ถูกนำไปเป็นปรุงเป็นเมนูตามร้านอาหารและทำไส้ขนมปั้นขลิบขายอยู่ในร้านวิสาหกิจชุมชนของป้าบุญมี-ย่าพูล ด้วย
พอผ่าน “อำเภอเมือง” แวะไปดู “ตลาดพอใจ-ตลาดเกษตรปลอดภัย @ส.ป.ก.แปดริ้ว” เพิ่งเปิดช่วงเดือนสิงหาคมปีนี้ เปิดทุกวันเสาร์-อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ ตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 5 โมงเย็น บริเวณ ลานหน้าสำนักงาน ส.ป.ก.ฉะเชิงเทรา โดยมี สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)เป็นเจ้าภาพร่วมกับ ส.ป.ก.แปดริ้ว และ บริษัท โอสถสภา ร่วมกันส่งเสริมชุมชนทำเกษตรอินทรีย์และแปรรูปสินค้ามาจำหน่าย และมีบริการร้านอาหารปลอดภัย การจัดอมรมทำเกษตรฟรีแบบง่าย ๆ รวมอยู่ด้วย
“วิฑูรย์ อินทจันท์” ผู้จัดการโครงการฯ จาก สสส. อธิบายว่าโครงการตลาดปลอดภัยฯ เป็นการสร้างเครือข่าย “โครงการส่งเสริมอาหารปลอดภัย เพื่อสุขภาพ” ที่ สสส.เตรียมขยายพื้นที่ทั่วฉะเชิงเทราไปยังอีก 3 อำเภอ ทั้งที่แปลงนายาว คลองเขื่อน และบางคล้า
ส่งท้ายท่องเที่ยวเส้นทางตะลอนกินกันที่ “อำเภอบ้านโพธิ์” ที่ “มินิ มูราห์ ฟาร์ม” ศูนย์เรียนรู้ฟาร์มเลี้ยงควายพันธุ์มูราห์ที่นำน้ำนมมาแปรรูปทำอาหารคาว “พิซซ่าเตาถ่านหน้าชีสนมควาย-Mozzarella” และของหวาน เช่น “ไอศรีมนมควาย” นมสดควายบรรจุขวดแก้ว และผลิตภัณฑ์แปรรูปบำรุงผิวอีกหลายชนิด
“โอส-วรัญญู โทณะวณิก” คนรุ่นใหม่วัยสามสิบเศษเจ้าของฟาร์มแห่งนี้ เล่าว่าการเลือกมาเปิดฟาร์มควายมูราห์เป็นแหล่งท่องเที่ยว เพราะต้องการชวนครอบครัวคนรุ่นใหม่พาลูกหลานมาย้อนชมวิถีไทย และได้ร่วมทำกิจกรรม D.I.Y อย่างทำไอศรีม ป้อนอาหารสัตว์ ทำพิซซ่า หรืออีกหลายอย่างในพื้นที่กว้างกว่า 30 ไร่ ใกล้กรุงเทพฯ
ช่วงวันธรรมดามีนักท่องเที่ยวแวะมาท่องเที่ยวราว 100-200 คน หากเป็นวันหยุดจะหนาแน่นประมาณ 200-300 ครอบครัว
ถ้ายังพอมีเวลาก็สามารถแวะไป “อำเภอบางปะกง” ทางผ่านกลับเข้ากรุงเทพฯ ไปดูฟาร์มเลี้ยงปลากะพงแบบกระชัง อยู่ติดแม่น้ำบางปะกงปลายทางสุดท้ายก่อนไหลลงสู่อ่าวไทย
เป็นความสนุกแนวใหม่ “ท่องเที่ยววิถีการกินถึงแก่นวัฒนธรรมชุมชน” ตามคอนเซ็ปต์ Gastronomy Trip ที่มีคุณค่าอย่างยิ่งแก่ชีวิต ซึ่งสามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 48 ชั่วโมง ใน 6 อำเภอ ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา
@5 หลักเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และแผนงานรณรงค์รักษ์สุขภาพโดยแพทย์ร่วมกับสหวิชาชีพ แนะนำหลักปฏิบัติ 5 ประการ เพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค
1. รู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว คือ ไม่จำเป็นจะร้องรับประทานอาหารในปริมาณเท่าๆ กันทุกมื้อ ทุกวัน เพราะในความเป็นจริงแล้วบางมื้ออาจมาก บางมื้ออาจน้อยก็ได้ แต่ในภาพรวมค่าเฉลี่ยของพลังงานที่ได้จากอาหารทั้งสัปดาห์ต้องคงที่
2. กินอย่างฉลาด คือ อยากลองอะไรก็ได้ แต่ต้องรู้จักปริมาณ
3. เปลี่ยนนิสัยการบริโภคอย่างค่อยเป็นค่อยไป คือเปลี่ยนนิสัยการรับประทานโดยการรู้จักเลือกอาหารที่มีคุณค่าต่อร่างกาย แม้จะไม่ใช่เรื่องง่าย แต่หากเพียรพยายามทำวันละเล็กละน้อยค่อยเป็นค่อยไป อย่างสม่ำเสมอก็จะประสบผลสำเร็จได้
4. พยายามทำตัวให้ว่องไวกระฉับกระเฉงอยู่เสมอ เช่น ออกกำลังกายทุกวัน ทำงานบ้าน เดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟต์ เป็นต้น เพื่อเพิ่มการใช้พลังงานในชีวิตประจำวัน
5. อร่อยกับอาหารแปลกใหม่ การมีโภชนาการดีไม่ได้หมายความว่าต้องงดอาหารอร่อย เราสามารถทดลองกับอาหารแปลกๆ ใหม่ๆ เพียงแต่ปรับสัดส่วนของอาหารก็สามารถเอร็ดอร่อยกับอาหารมากมายหลายชนิดได้
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก “โรงแรมทั่วไทยจัดเทศกาลอาหารชาติ”
@โรงแรมวีชวนชิมอาหารมิชาลินเขาแอลป์27-30ก.ย.
โรงแรม วี กรุงเทพฯ และ โรงแรม วี วิลล่า หัวหิน จัดดินเนอร์สุดเอ็กซ์คลูซีฟ โดย “สเตฟาน บูคง” เชฟมิชลินสตาร์ระดับ 2 ดาว สุดยอดเชฟจากเทือกเขาแอลป์ฝรั่งเศส จะบินลัดฟ้ามารังสรรค์เมนูพิเศษเพียงแค่ 4 วันเท่านั้น ระหว่างวันที่ 27 - 29 กันยายน 2560 ที่ ห้องอาหารฝรั่งเศส La VIE – Creative French Cuisine ชั้น 11 โรงแรม วี กรุงเทพฯ เอ็มแกลเลอรี บาย โซฟิเทล และวันที่ 30 กันยายน 2560 ที่ห้องอาหาร Villazzo โรงแรม วี วิลล่า หัวหิน เพื่อโชว์ฝีมือการทำอาหารชั้นเลิศกับ 7 ซิกเนเจอร์เมนูเด่น ที่ โรงแรม วี กรุงเทพฯ โดยมีให้เลือกดังนี้
มื้อกลางวัน 1.แบบเซต 3 คอร์ส ราคา 3,000 บาท 2.แบบเซต 3 คอร์สจับคู่กับไวน์ชั้นเลิศ ราคา 4,500 บาท เริ่มเสิร์ฟเวลา 12.00 น.เป็นต้นไป
มื้อค่ำ 1.แบบเซต 7 คอร์ส ราคา 6,000 บาท 2.แบบเซต 7 คอร์สจับคู่กับไวน์ชั้นเลิศ ราคา 8,000 บาท เริ่มเสิร์ฟเวลา 19:00 น. เป็นต้นไป
สำหรับ สเตฟาน บูคง เป็นเชฟใหญ่ของภัตตาคารที่มีชื่อเสียงในโรงแรม เลอ ชาบิชู (Hotel Le Chabichou) ตั้งอยู่ใน กูร์เชอเวล (Courchevel) ซึ่งเป็นสกีรีสอร์ทที่หรูหรา เก่าแก่ที่สุดในเทือกเขาแอลป์
@ ฟินกับอาหารเซี่ยงไฮ้ที่คามิโอศรีราชา
โรงแรมคามิโอ เฮ้าส์, ศรีราชา จัดเต็ม ระหว่างวันนี้-วันที่ 1-30 กันยายน ตั้งแต่เวลา 11.00-24.00 น. กับ “เมนูอาหารเซี่ยงไฮ้ต้นตำรับ” ที่ ห้องอาหาร แทพเพสทรี ที่ได้คัดสรรเมนูขึ้นชื่อโดยเชฟมืออาชีพ อาทิ ไก่ทอดเซี่ยงไฮ้ และอีกหลากหลายเมนู ที่รอให้ทุกท่านมาลิ้มลองความอร่อย โทร 038-314-100 หรือเยี่ยมชมเว็บไซต์ www.kameocollection.com
@ดิโอกุระฯชูเทศกาลอาหารเบญจมาศญี่ปุ่น
โรงแรม ดิ โอกุระ เพรสทีจ กรุงเทพฯ จัดฉลองดอกเบญจมาศ เทศกาลสำคัญประจำปีของญี่ปุ่น ที่ห้องอาหาร ยามาซาโตะ (Yamazato) ด้วยเมนูอาหารชุดมื้อกลางวันและมื้อค่ำสุดพิเศษ ให้บริการตั้งแต่วันที่ 4 -24 กันยายน 2560
เมนูอาหารชุดมื้อกลางวัน ที่เชฟฮิเงรุ ฮางิวาระ (Shigeru Hagiwara) หัวหน้าพ่อครัว (Master Chef) ได้ปรุงเป็นพิเศษสำหรับเทศกาลนี้เริ่มต้นด้วย เต้าหู้งาใส่แปะก๊วยและเนื้อปู ซุปใสใส่เกี๊ยวและกลีบดอกเบญจมาศ ปลาดิบชั้นดี 3 ชนิด (ปลาโบนิโต้ ปลาหมึก และปลาซัมมะ) ส่วนเมนูอาหารจานหลักเชฟนำปลาแมกเคอเรลไปย่างจนสุกได้ที่เสิร์ฟกับซอสเห็ด อีกจานหนึ่งเป็นปลาหวานตุ๋นรับประทานกับไข่ปลา เผือก ใบและดอกเบญจมาศ อีกทั้งยังมีเทมปุระกุ้ง ปลาบึกและผักนานาชนิด ที่จะให้บริการมาพร้อมกับข้าวอบเกาลัดญี่ปุ่น ปิดท้ายอาหารชุดมื้อกลางวันด้วย พายแอบเปิ้ล และผลไม้ตามฤดูกาล ราคาชุดละ 1,300++ บาท
“มื้อค่ำ” เชฟได้เตรียมอาหารชุดพิเศษ “ไคเซกิ” อาหารทุกจานจะถูกปรุงอย่างพิถีพิถัน และให้บริการตามแบบราชสำนักญี่ปุ่น ประกอบไปด้วยอาหารญี่ปุ่นรสชาติต้นตำรับทั้งหมด 7 รายการ ได้แก่ หอยเชลล์ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชู ซุปใสลูกชิ้นปลาซาร์ดีนกับเห็ด ปลาดิบชั้นดี 4 ชนิด ได้แก่ ท้องปลาทูน่า ปลาซัมมะ ปลาหางเหลืองและหอยปีกนก ตามด้วยตับห่านราดซอสเห็ดญี่ปุ่นและอโวคาโด ในส่วนของอาหารจานหลัก เชฟได้เตรียมปลากระพงขาวย่าง เสิร์ฟพร้อม เกาลัด แปะก๊วย และหัวผักกาดดอง เทมปุระปูหิมะ ปลาบึก และผักนานาชนิด และเส้นหมี่ญี่ปุ่นน้ำหน้าเนื้อปลากระพง เสิร์ฟกับข้าวห่อสาหร่ายไส้ผักดอง ปิดท้ายไคเซกิชุดพิเศษนี้ด้วย พายแอบเปิ้ล และผลไม้ตามฤดูกาล ราคาชุดละ 4,500++ บาท
สำหรับเทศกาลดอกเบญจมาศ ชาวญี่ปุ่นเรียกว่า “คิคุ โนะ เซกกุ” ตรงกับวันที่ 9 เดือนกันยายนของทุกปี มีต้นกำเนิดจากแนวคิดที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติและนำมาเชื่อมโยงกับวิถีการดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับธรรมชาติ อีกทั้งคนญี่ปุ่นเชื่อว่าวันนี้เป็นวันดี เนื่องจากวันและเดือนตรงกับเลข 9 ซึ่งเป็นเลขมงคล อีกทั้งในช่วงเดือน 9 นี้ ดอกเบญจมาศ หรืออีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือดอกเก็กฮวย จะบานสะพรั่งสวยงามมากทั่วประเทศญี่ปุ่น และคนญี่ปุ่นก็เชื่อว่าดอกเบญจมาศเป็นดอกไม้มงคลจึงได้นำกลีบดอกเบญจมาศมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการทำอาหาร และเครื่องดื่ม อีกทั้งในช่วงเทศกาลคิคุ โนะ เซกกุ ร้านค้าต่าง ๆ ก็จะทำขนมเป็นรูปดอกเบญจมาศเพื่อจำหน่าย เนื่องจากคนญี่ปุ่นมีความเชื่อว่า เมื่อรับประทานดอกเบญจมาศจะทำให้มีปัญญาที่หลักแหลมและอายุยืนนาน
ข่าวที่สอง “เตรียมรื้อใหญ่ไทยสไมล์-รุกเช่าเหมาเพิ่มรายได้”
นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ประธานกรรมการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าในปีงบประมาณ 2561 เตรียมปรับรื้อสายการบินไทยสไมล์ ซึ่งเป็นธุรกิจให้บริการบินในประเทศและอาเซียนโดยมีการบินไทยถือหุ้น 100 % เพื่อลดภาระขาดทุนและต้นทุนค่าใช้จ่ายลงให้ได้มากที่สุด
ขณะนี้มีนโยบายให้จัดระบบการบริหารจัดการโดยใช้อุปกรณ์และเครื่องมือบริการร่วมกับการบินไทย เช่นการขาย ครัวการบินผลิตอาหารเสิร์ฟแต่ละเที่ยว ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยานบิน และจัดทำตารางบินร่วมในเส้นทางที่สอดคล้องกับปริมาณผู้โดยสารที่จะต้องเชื่อมต่อเที่ยวบินภายในประเทศตามจังหวัดต่าง ๆ
รวมถึงยังอยู่ระหว่างเร่งให้ไทยสไมล์เร่งศึกษาเพื่อเพิ่มบริการเช่าเหมาลำ หรือ charter flight จะเริ่มผลักดันเป็นรูปธรรมในไตรมาส 4 ปี 2560 โดยหาตลาดเข้ามาในช่วงที่มีผู้โดยสารเบาบาง โดยทำเที่ยวบินเช่าเหมาลำเวลากลางคืน หรือช่วงที่ไม่มีตารางบินประจำแต่มีความต้องการเดินทางของผู้โดยสารสูง โดยเฉพาะการเจาะบริการขนส่งนักท่องเที่ยวจีนมายังไทย
ททท.นำทีมทำโปรเจ็กต์ลดขยะในท้องทะเลไทย
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับคณะผู้บริหารบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มูลนิธิอีโคอัลฟ์ (ผู้ริเริ่มและดำเนินโครงการ UPCYCLING THE OCEANS, THAILAND ที่ประเทศสเปน ตั้งแต่ปี 2558) และผู้บริหารจากส่วนราชการนำโดยรองผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง ผู้แทนทั้งภาครัฐและเอกชน ลงพื้นที่นำร่องทำเป็นตัวอย่างด้วยตนเองใน "โครงการ UPCYCLING THE OCEANS, THAILAND ณ เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง
ร่วมกันรณรงค์นักท่องเที่ยวร่วมจัดการปัญหาขยะในแหล่งท่องเที่ยวทางทะเลของไทย รวมถึงพื้นที่ชายฝั่งและหมู่เกาะที่เกี่ยวเนื่องในรูปแบบที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศไทย ในฐานะจุดหมายปลายทางท่องเที่ยวที่ให้ความสำคัญกับการรักษาสิ่งแวดล้อมและรับผิดชอบต่อสังคม
แควนตัส-เอมิเรตส์ผนึกเครือข่ายบินต่อ5ปี
มร.อลัน จอยส์ ประธานกรรมการบริหารแควนตัสกรุ๊ป เปิดเผยว่า ได้สานต่อการทำเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจการบินกับเอมิเรตส์ร่วมกันอีก 5 ปี โดยแควนตัสเตรียมให้บริการทุกวัน “ซิดนีย์-ลอนดอน” ผ่านสิงคโปร์เริ่ม 25 มีนาคม 2561 เพิ่มผู้โดยสารในเอเชียเข้าสู่ออสเตรเลียและยุโรป โดยโดยใช้เครื่องบินขนาดใหญ่ขึ้นในบางเที่ยวบินเป็น A380 และแควนตัสคาดจะเอื้อประโยชน์ในปีงบประมาณการเงิน 2561 กว่า 80 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย หรือราว 2,040 ล้านบาท
เซอร์ทิม คลาร์ก ประธานสายการบินเอมิเรตส์ กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งจะส่งผลให้ทั้งสองสายการบินได้รับความสำเร็จด้วยการ เสนอทางเลือกที่เอื้อประโยชน์ให้กับลูกค้าด้วยสิทธิประโยชน์ครอบคลุมทั้งการใช้บริการเครือข่ายเส้นทางบิน ผลิตภัณฑ์และการบริการ และการเป็นสมาชิกสะสมคะแนน รวมถึงโอกาสการท่องเที่ยว การค้าในตลาด ซึ่งผู้โดยสารที่บินเข้าดูไบสามารถเชื่อมต่อเที่ยวบินเข้ายุโรป ตะวันออกกลางและแอฟริกา ต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้
แควนตัสจะเริ่มให้บริการจองตั๋วโดยสารตั้งแต่ 1 กันยายน 2560 เป็นต้นไป ผู้โดยสารจะได้รับอนุญาตให้เปลี่ยนแปลงเที่ยวบินได้
พบกันเป็นประจำทุกวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 ทางสถานีวิทยุแห่งประเทศไทย FM97.0 MHz.
เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน ผู้ดำเนินรายการ และคอลัมนิสต์ท่องเที่ยว-การบิน |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น