ททท.ลุย TATAP2019เทรนด์ตลาดใหม่ปี'62
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) เปิดเผยว่า ในการจัดทำแผนการตลาดประจำปี 2562 (Tourism Authority of Thailand Action Plan : TATAP2019) ตั้งเป้าหมายรายได้ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศรงม 3.41 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น11.5 % แบ่งเป็น ตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น 10 % และตลาดต่างประเทศ 12 % ซึ่งจะวางตำแหน่งประเทศเป็น Weekend Destination การส่งเสริมภายใต้ 5 ทิศทางหลัก คือ GO High / Go for New Customer / Go Local / Go Low Season และ Go Digital เพื่อเข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมายแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะสื่อสารผ่านแคมเปญ Amazing Thailand : Open to the New Shades ซึ่งเป็น Working Concept ตลอดปี 2562 จะนำเสนอ The Millions of Hidden Shades เชิญชวนชาวต่างประเทศเดินทางมาสัมผัสเมืองไทยในหลายแง่มุมที่ยังซุกซ่อนอยู่ เพื่อดื่มด่ำกับประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก
รวมทั้ง ททท. ยังคงดำเนินการต่อยอดใน 3 จุดเน้นเดิมที่จะผนึกความร่วมมือโดยประเมินพน้อมกลั่นกรองขีดความสามารถก่อนจะผนึกกับชุมชน และ 55 เมืองรอง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวไม่ถึงปีละ 4 ล้านคน โเยจะเดินหน้าทำ 4 เรื่องหลัก ได้แก่
1. ใช้วิถีการกินนำไปสู่การสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่น เดินหน้าตอกย้ำความเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่โดดเด่นเรื่องอาหารด้วย Michelin Guidebook 2019 เล่มที่สอง กำหนดเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายนนี้ รวมถึงโครงการ Eat Thai, Visit Thai ตามที่พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดตัวโครงการ
ณ กรุงลอนดอน
2. สร้างมูลค่าเพิ่มด้วย content ให้ขยายวงกว้างมากขึ้น เช่น เนื้อหาในแอพพลิเคชั่น รู้ไทยให้ทึ่ง ซึ่งรวมกูรูผู้รู้ด้านต่าง ๆ เล่าเกร็ดประเทศไทย ทั้งเชิงสังคม ศาสนา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อาหาร เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้มัคคุเทศก์ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวไปยังนักท่องเที่ยวต่อไป
3. สร้างกระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อม ขยายผลจากกิจกรรมกำจัดขยะรูปแบบต่าง ๆ ด้วยเพราะคำนึงว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นการเพิ่มจำนวนคนเข้าประเทศ และเพิ่มโอกาสในการสร้างขยะ ซึ่งในปี 2561 ททท. ได้จัดกิจกรรมลักษณะนี้ไม่ต่ำกว่า 83 โครงการ และสามารถลดปริมาณขยะได้กว่า 10 ตัน( 1 หมื่นกิโลกรัม) เพิ่มความสำคัญเรื่อง CSR in process ปี 2562
4.เพิ่มเรื่องชูอัตลักษณ์เมืองรอง โดยสร้างสรรค์เส้นทางท่องเที่ยวที่กระจายการเดินทางจากเมืองหลักสู่เมืองรองตามแนวคิด A B C ดังนี้A - Additional คือ เส้นทางเมืองหลักเชื่อมเมืองรอง B - Brand New คือ เมืองรองที่มีศักยภาพ C - Combined คือ เส้นทางเมืองรองเชื่อมเมืองรอง
ส่วนตลาดเป้าหมายปี 2562 พุ่งเป้าใหม่ ๆ 1.กลุ่มผู้สูงวัย และสตรี มีแนวโน้มการเติบโตสูง และมีกำลังซื้อ ส่วนกลุ่ม Gen Y หรือ กลุ่ม Millennial อายุระหว่าง 17-36 ปี ซึ่งมีความชัดเจนในวิธีคิด การใช้ชีวิต และบทบาทเด่นในการใช้โซเชียลมีเดียสามารถช่วยสร้างกระแสการเดินทางท่องเที่ยว 2.กลุ่มคนวัยทำงาน ตอบโจทย์วันธรรมดาน่าเที่ยว มีส่วนช่วยแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาห้องพักไม่เพียงพอ 3.กลุ่มประชุมสัมมนา ท่องเที่ยวเป็นรางวัล จะช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์ของห้องพักได้มากขึ้นและจะผนวกกิจกรรมประเภท CSR ในชุมชนที่มีศักยภาพของพื้นที่นั้น ๆ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการประชุม เพื่อการกระจายรายได้สู่ชุมชน และสร้างความผูกพันระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมในฐานะนักท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชน
ททท.เป้าหมายและทิศทางปี 2562 ตามแผนวิสาหกิจของ ททท. ได้กำหนดให้เป้าหมายรายได้ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศเพิ่มขึ้น 11.5 % แบ่งเป็นตลาดต่างประเทศ 12 % วางตำแหน่งประเทศเป็น Weekend Destination
และในประเทศ 10 % ดังนั้น สำหรับตลาดต่างประเทศ ททท. จึงวางประเทศไทยเป็น “Weekend Destination” สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวระยะใกล้ซึ่งจะสนับสนุนการเพิ่มจำนวนความถี่ในการเดินทางของตลาดมากขึ้น และดำเนินการส่งเสริมการตลาดต่างประเทศภายใต้ 5 ทิศทางหลัก คือ GO High / Go for New Customer / Go Local / Go Low Season และ Go Digital เพื่อเข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมายแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะสื่อสารผ่านแคมเปญ Amazing Thailand : Open to the New Shades ซึ่งเป็น Working Concept โดยในปี 2562 จะนำเสนอ The Millions of Hidden Shades เชิญชวนชาวต่างประเทศเดินทางมาสัมผัสเมืองไทยในหลายแง่มุมที่ยังซุกซ่อนอยู่ เพื่อดื่มด่ำกับประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก
นายสันติ ชุดินทรา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่าการวางแผนการตลาดเชิงรุกปี 2562 สำนักงาน ททท.ในเอเชียจะพุ่งเป้าเพิ่มรายได้จากเลือกส่งเสริมเมืองรองที่ตรงกับความตลาดสำคัญ ๆ กับพื้นที่ท่องเที่ยวในไทย 15 เมืองรอง ช่วงนำร่องจะใช้วิธีคัดเลือกบางส่วนจาก 55 เมืองรอง โดยดูพฤติกรรมความต้องการของแต่ละประเทศแล้วกระจายการเดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งความสนใจเฉพาะ (Niche Market) เช่น เกาหลีใต้ต้องขายเชียงราย อินเดียขายจันทบุรี จีนเปิดเส้นทางใหม่ขายไปยัง ลำปาง เชียงราย สตูล ส่วนญี่ปุ่นขายไปตรังและอุดรธานี
นางศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ให้โจทก์ ททท.สำนักงานในยุโรปทั้งหมด ใช้กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาดแนวใหม่ให้สอดรับธีมหลักภายใน 5 Go ประกอบด้วย 1. Go High รุกเจาะกลุ่มตลาดระดับบนที่มีกำลังซื้อสูง 2. Go for low เพิ่มช่องทางการกระจายการท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว 3. Go to new customer ขยายฐานนักท่องเที่ยวคู่ขนานกันทั้งกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ทำการตลาดเมืองเศรษฐกิจรองที่อยู่รอบเมืองหลัก
4. Go local จัดทำโครงการขายท่องเที่ยวในไทยพ่วงกันทั้งเมืองหลักกับเมืองรองอย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายรัฐบาลต้องการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้เสริมเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ และ 5. Go Digital marketing นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นช่องทางดึงตลาดนักท่องเที่ยวระยะไกลข้ามทวีปทั้ง 4 ภูมิภาค ยุโรป อเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง ตามโจทก์ของผู้นำ ททท.ต้องการเห็น 1 โครงการ 1 การตลาดดิจิตอล
นายพิชยา แสงจันทร์ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวว่า การขยายฐานรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มตะวันออกกลางปี 2561 ต่อเนื่องปี 2562 มีความท้าทายมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ถึงแม้ปี 2560 จะทำรายได้รวมเข้าเมืองไทยกว่า 46,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8 % ส่วนสถิติช่วง 4 เดือนแรกปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงประมาณ 10 % เป็นผลมาจากกำลังซื้อหลักในตลาดอิหร่านถูกแซกแซงอย่างรุนแรงทำให้กำลังซื้อซบเซาลงอย่างมาก แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง ททท.ดูไบเตรียมเร่งเครื่องอย่างหนักเพื่อเพิ่มยอดนักท่องเที่ยวและรายได้ให้เข้าเป้า 3 %
การบุกทำตลาดตะวันออกกลางช่วงครึ่งปีหลัง 2561 ต่อเนื่องถึงปี 2562 เล็งไปยัง 3 ตลาดหลัก ได้แก่
1.กลุ่มผู้หญิง ตามสถิติ 3-4 ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวผู้หญิงเดินทางเข้าไทยสูงถึง 65 % ขณะนี้ได้เข้าไปจับมือกับกลุ่มภาคีพันธมิตร Lady Club กับบริษัทตัวแทนนำเที่ยวกลุ่มตลาดผู้หญิง (Agent Tour Operators) เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้หญิงจากตะวันออกกลางใช้จ่ายเงินท่องเที่ยวในไทยเฉลี่ยมากกว่า 7,700 บาท/คน/วัน (สูงกว่าค่าเฉลี่ยนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าเมืองไทยเฉลี่ยเพียง 5,130 บาท/คน/วัน) และมีวันพักเฉลี่ย 12.30 คนต่อทริป
2.กลุ่มครอบครัว พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวตะวันออกกลางมีขนาดใหญ่ครอบครัวละ 5 คนขึ้นไป ตอนนี้จึงจะต้องหารือกับโรงแรมในไทย ซึ่งยังมีข้อจำกัดเรื่องห้องพักยังไม่รองรับให้ได้ถึง 3 ห้องขึ้นไป/ครอบครัว
3.กลุ่มเดินทางเพื่อดูแลและป้องกันสุขภาพ Health & Wellness นิยมเข้ามาใช้บริการแพทย์ทางเลือกในไทย และเป็นกลุ่มเดินทางซ้ำ ๆ มากถึงปีละ 70 %
นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ( ททท. ) เปิดเผยว่า ในการจัดทำแผนการตลาดประจำปี 2562 (Tourism Authority of Thailand Action Plan : TATAP2019) ตั้งเป้าหมายรายได้ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศรงม 3.41 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น11.5 % แบ่งเป็น ตลาดในประเทศเพิ่มขึ้น 10 % และตลาดต่างประเทศ 12 % ซึ่งจะวางตำแหน่งประเทศเป็น Weekend Destination การส่งเสริมภายใต้ 5 ทิศทางหลัก คือ GO High / Go for New Customer / Go Local / Go Low Season และ Go Digital เพื่อเข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมายแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะสื่อสารผ่านแคมเปญ Amazing Thailand : Open to the New Shades ซึ่งเป็น Working Concept ตลอดปี 2562 จะนำเสนอ The Millions of Hidden Shades เชิญชวนชาวต่างประเทศเดินทางมาสัมผัสเมืองไทยในหลายแง่มุมที่ยังซุกซ่อนอยู่ เพื่อดื่มด่ำกับประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก
รวมทั้ง ททท. ยังคงดำเนินการต่อยอดใน 3 จุดเน้นเดิมที่จะผนึกความร่วมมือโดยประเมินพน้อมกลั่นกรองขีดความสามารถก่อนจะผนึกกับชุมชน และ 55 เมืองรอง ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีนักท่องเที่ยวไม่ถึงปีละ 4 ล้านคน โเยจะเดินหน้าทำ 4 เรื่องหลัก ได้แก่
1. ใช้วิถีการกินนำไปสู่การสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่น เดินหน้าตอกย้ำความเป็นจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวที่โดดเด่นเรื่องอาหารด้วย Michelin Guidebook 2019 เล่มที่สอง กำหนดเปิดตัวในเดือนพฤศจิกายนนี้ รวมถึงโครงการ Eat Thai, Visit Thai ตามที่พลเอกประยุทธ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้ให้เกียรติเป็นประธานเปิดตัวโครงการ
ณ กรุงลอนดอน
2. สร้างมูลค่าเพิ่มด้วย content ให้ขยายวงกว้างมากขึ้น เช่น เนื้อหาในแอพพลิเคชั่น รู้ไทยให้ทึ่ง ซึ่งรวมกูรูผู้รู้ด้านต่าง ๆ เล่าเกร็ดประเทศไทย ทั้งเชิงสังคม ศาสนา ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม อาหาร เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้มัคคุเทศก์ช่วยถ่ายทอดเรื่องราวไปยังนักท่องเที่ยวต่อไป
3. สร้างกระแสใส่ใจสิ่งแวดล้อม ขยายผลจากกิจกรรมกำจัดขยะรูปแบบต่าง ๆ ด้วยเพราะคำนึงว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นการเพิ่มจำนวนคนเข้าประเทศ และเพิ่มโอกาสในการสร้างขยะ ซึ่งในปี 2561 ททท. ได้จัดกิจกรรมลักษณะนี้ไม่ต่ำกว่า 83 โครงการ และสามารถลดปริมาณขยะได้กว่า 10 ตัน( 1 หมื่นกิโลกรัม) เพิ่มความสำคัญเรื่อง CSR in process ปี 2562
4.เพิ่มเรื่องชูอัตลักษณ์เมืองรอง โดยสร้างสรรค์เส้นทางท่องเที่ยวที่กระจายการเดินทางจากเมืองหลักสู่เมืองรองตามแนวคิด A B C ดังนี้A - Additional คือ เส้นทางเมืองหลักเชื่อมเมืองรอง B - Brand New คือ เมืองรองที่มีศักยภาพ C - Combined คือ เส้นทางเมืองรองเชื่อมเมืองรอง
ส่วนตลาดเป้าหมายปี 2562 พุ่งเป้าใหม่ ๆ 1.กลุ่มผู้สูงวัย และสตรี มีแนวโน้มการเติบโตสูง และมีกำลังซื้อ ส่วนกลุ่ม Gen Y หรือ กลุ่ม Millennial อายุระหว่าง 17-36 ปี ซึ่งมีความชัดเจนในวิธีคิด การใช้ชีวิต และบทบาทเด่นในการใช้โซเชียลมีเดียสามารถช่วยสร้างกระแสการเดินทางท่องเที่ยว 2.กลุ่มคนวัยทำงาน ตอบโจทย์วันธรรมดาน่าเที่ยว มีส่วนช่วยแก้ปัญหาเฉพาะพื้นที่ที่มีปัญหาห้องพักไม่เพียงพอ 3.กลุ่มประชุมสัมมนา ท่องเที่ยวเป็นรางวัล จะช่วยเพิ่มการใช้ประโยชน์ของห้องพักได้มากขึ้นและจะผนวกกิจกรรมประเภท CSR ในชุมชนที่มีศักยภาพของพื้นที่นั้น ๆ เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการประชุม เพื่อการกระจายรายได้สู่ชุมชน และสร้างความผูกพันระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมในฐานะนักท่องเที่ยวที่มีต่อชุมชน
ททท.เป้าหมายและทิศทางปี 2562 ตามแผนวิสาหกิจของ ททท. ได้กำหนดให้เป้าหมายรายได้ทั้งจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศและในประเทศเพิ่มขึ้น 11.5 % แบ่งเป็นตลาดต่างประเทศ 12 % วางตำแหน่งประเทศเป็น Weekend Destination
และในประเทศ 10 % ดังนั้น สำหรับตลาดต่างประเทศ ททท. จึงวางประเทศไทยเป็น “Weekend Destination” สำหรับตลาดนักท่องเที่ยวระยะใกล้ซึ่งจะสนับสนุนการเพิ่มจำนวนความถี่ในการเดินทางของตลาดมากขึ้น และดำเนินการส่งเสริมการตลาดต่างประเทศภายใต้ 5 ทิศทางหลัก คือ GO High / Go for New Customer / Go Local / Go Low Season และ Go Digital เพื่อเข้าถึงตลาดกลุ่มเป้าหมายแต่ละภูมิภาค ซึ่งจะสื่อสารผ่านแคมเปญ Amazing Thailand : Open to the New Shades ซึ่งเป็น Working Concept โดยในปี 2562 จะนำเสนอ The Millions of Hidden Shades เชิญชวนชาวต่างประเทศเดินทางมาสัมผัสเมืองไทยในหลายแง่มุมที่ยังซุกซ่อนอยู่ เพื่อดื่มด่ำกับประสบการณ์ท่องเที่ยวที่ไม่เหมือนที่ใดในโลก
นายสันติ ชุดินทรา รองผู้ว่าการด้านตลาดเอเชียและแปซิฟิกใต้ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่าการวางแผนการตลาดเชิงรุกปี 2562 สำนักงาน ททท.ในเอเชียจะพุ่งเป้าเพิ่มรายได้จากเลือกส่งเสริมเมืองรองที่ตรงกับความตลาดสำคัญ ๆ กับพื้นที่ท่องเที่ยวในไทย 15 เมืองรอง ช่วงนำร่องจะใช้วิธีคัดเลือกบางส่วนจาก 55 เมืองรอง โดยดูพฤติกรรมความต้องการของแต่ละประเทศแล้วกระจายการเดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งความสนใจเฉพาะ (Niche Market) เช่น เกาหลีใต้ต้องขายเชียงราย อินเดียขายจันทบุรี จีนเปิดเส้นทางใหม่ขายไปยัง ลำปาง เชียงราย สตูล ส่วนญี่ปุ่นขายไปตรังและอุดรธานี
นางศรีสุดา วนภิญโญศักดิ์ รองผู้ว่าการด้านตลาดยุโรป แอฟริกา ตะวันออกกลางและสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า ให้โจทก์ ททท.สำนักงานในยุโรปทั้งหมด ใช้กลยุทธ์ขับเคลื่อนการตลาดแนวใหม่ให้สอดรับธีมหลักภายใน 5 Go ประกอบด้วย 1. Go High รุกเจาะกลุ่มตลาดระดับบนที่มีกำลังซื้อสูง 2. Go for low เพิ่มช่องทางการกระจายการท่องเที่ยวช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว 3. Go to new customer ขยายฐานนักท่องเที่ยวคู่ขนานกันทั้งกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ทำการตลาดเมืองเศรษฐกิจรองที่อยู่รอบเมืองหลัก
4. Go local จัดทำโครงการขายท่องเที่ยวในไทยพ่วงกันทั้งเมืองหลักกับเมืองรองอย่างเป็นรูปธรรม ตามนโยบายรัฐบาลต้องการใช้การท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้เสริมเพิ่มความเข้มแข็งเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ และ 5. Go Digital marketing นำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาเป็นช่องทางดึงตลาดนักท่องเที่ยวระยะไกลข้ามทวีปทั้ง 4 ภูมิภาค ยุโรป อเมริกา แอฟริกา ตะวันออกกลาง ตามโจทก์ของผู้นำ ททท.ต้องการเห็น 1 โครงการ 1 การตลาดดิจิตอล
นายพิชยา แสงจันทร์ ผู้อำนวยการ ททท.สำนักงานดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ กล่าวว่า การขยายฐานรายได้จากนักท่องเที่ยวกลุ่มตะวันออกกลางปี 2561 ต่อเนื่องปี 2562 มีความท้าทายมากกว่าทุกปีที่ผ่านมา ถึงแม้ปี 2560 จะทำรายได้รวมเข้าเมืองไทยกว่า 46,500 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8 % ส่วนสถิติช่วง 4 เดือนแรกปี 2561 จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงประมาณ 10 % เป็นผลมาจากกำลังซื้อหลักในตลาดอิหร่านถูกแซกแซงอย่างรุนแรงทำให้กำลังซื้อซบเซาลงอย่างมาก แต่ในช่วงครึ่งปีหลัง ททท.ดูไบเตรียมเร่งเครื่องอย่างหนักเพื่อเพิ่มยอดนักท่องเที่ยวและรายได้ให้เข้าเป้า 3 %
การบุกทำตลาดตะวันออกกลางช่วงครึ่งปีหลัง 2561 ต่อเนื่องถึงปี 2562 เล็งไปยัง 3 ตลาดหลัก ได้แก่
1.กลุ่มผู้หญิง ตามสถิติ 3-4 ปีที่ผ่านมานักท่องเที่ยวผู้หญิงเดินทางเข้าไทยสูงถึง 65 % ขณะนี้ได้เข้าไปจับมือกับกลุ่มภาคีพันธมิตร Lady Club กับบริษัทตัวแทนนำเที่ยวกลุ่มตลาดผู้หญิง (Agent Tour Operators) เพราะนักท่องเที่ยวกลุ่มผู้หญิงจากตะวันออกกลางใช้จ่ายเงินท่องเที่ยวในไทยเฉลี่ยมากกว่า 7,700 บาท/คน/วัน (สูงกว่าค่าเฉลี่ยนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าเมืองไทยเฉลี่ยเพียง 5,130 บาท/คน/วัน) และมีวันพักเฉลี่ย 12.30 คนต่อทริป
2.กลุ่มครอบครัว พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวของชาวตะวันออกกลางมีขนาดใหญ่ครอบครัวละ 5 คนขึ้นไป ตอนนี้จึงจะต้องหารือกับโรงแรมในไทย ซึ่งยังมีข้อจำกัดเรื่องห้องพักยังไม่รองรับให้ได้ถึง 3 ห้องขึ้นไป/ครอบครัว
3.กลุ่มเดินทางเพื่อดูแลและป้องกันสุขภาพ Health & Wellness นิยมเข้ามาใช้บริการแพทย์ทางเลือกในไทย และเป็นกลุ่มเดินทางซ้ำ ๆ มากถึงปีละ 70 %
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น