TCEBงัด”TMVS-MTEX”รุกใหญ่ไมซ์ไทยปี’61
ผนึก4กระทรวงบิ๊กจัดทัพแสดงสินค้าบูมชุมชน
เปิดใจCEOคิงเพาเวอร์4พลังสร้างโอกาสไทย
ผู้ว่าฯยุทธศักดิ์นำทัพท่องเที่ยวพุ่งครึ่งหลังปี61
บางจากนำทีมช่วยเหลือผู้ประสบภัยสปป.ลาว
ทอท.ผ่าลงทุน1.5แสนล้านสุวรรณภูมิเฟส2-5
ทีเส็บชูแคมเปญสื่อสารตลาดปั๊ม2.2แสนล้าน
เข้าพรรษานั่งรถฟรีไหว้พระทำบุญ68จังหวัด
แนะใช้5ส.สร้างสุขในวัดตลอดวันเข้าพรรษา
บินไทยผนึกคาร์ลสันฯลุยชิงเค้ก8ตลาดแข่งดุ
นำบุรัมย์บุกโตเกียวขายท่องเที่ยว23 ส.ค.นี้
โรงแรมริชมอนด์จัดบุฟเฟต์ส้มตำกิน 4จ่าย3
ต้อนรับเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังเรียลไทม์ได้ทางมือถือ และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen และบล็อกเกอร์ #gurutourza
ช่วงที่ 1 เจาะลึก “จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา” ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” ขับเคลื่อนบิ๊กโปรเจ็กต์ “TVMS” ปลุกกระผู้ประกอบการสถานจัดประชุมเข้ารับมาตรฐานทั่วไทย พร้อมกับตั้ง MTEX : กรรมการขับเคลื่อนการจัดการแสดงสินค้าแห่งชาติ” ลุยจับมือกับกระทรวงใหญ่ “มหาดไทย-พาณิชย์-อุตสาหกรรม-เกษตร” จัดกลุ่มงานแสดงสินค้าระดับชาติเปิดเวที B to B เพิ่มรายได้ชุมชนทั่วประเทศ
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” เปิดเผยว่า เดินหน้าโครงการ Thailand MICE Venue Standard : TMVS ปี 2561 ตั้งเป้าสร้างมาตรฐานให้ผู้ประกอบการสถานที่จัดประชุมในไทยทั้งห้องประชุม เอ็กซิบิชั่นฮอลล์ สถานที่พิเศษการจัดงาน (special Venue) เพราะจาก 4 ปีที่ผ่านมาสามารถทำมาตรฐานรับรองได้แล้วทั้งสิ้น 315 แห่ง 791 ห้องประชุม
การทำมาตรฐาน TMVS เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างโอกาสทางการตลาดไมซ์ทั้งในและต่างประเทศเข้ามาเพิ่มทั้งจำนวนงานและรายได้ โดยทุกฝ่ายเข้าใจถึงมาตรฐานสากลที่ทีเส็บจัดทำขึ้นสามารถสร้างการจัดงานกระจายไปสู่ต่างจังหวัด โดยมีพื้นที่ศักยภาพเชื่อมโยงพื้นที่หลักและรอง โดยใช้ฐาน MICE City 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต พัทยา+EEC กรุงเทพฯ สามารถจัดงานอินเตอร์เนชั่นแนลได้ด้วย เชื่อมโยงเข้ากับเมืองอื่น ๆ หลังการแจกมาตรฐาน TMVS เพิ่มในอีสานอย่าง นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย ภาคใต้ก็มี หาดใหญ่ ถือเป็นการกระจายสถานที่จัดประชุมครอบคลุมทั่วประเทศ
ตัวอย่างการกระจายรายได้จากการจัดประชุมในพื้นที่หลัก จังหวัดขอนแก่น สู่เมืองรองอย่าง กาฬสินธุ์ ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ไดโดเสาร์ หรือหมู่บ้านต่างๆ ยกระดับเป็น Event Venue ได้เช่นกัน
ตามเป้าหมายของทีเส็บปี 2561 ตั้งเป้าจะขยายฐานมาตรฐานรับรอง TVMS ทำเป็นสถานที่จัดแสดงสินค้าและห้องประชุมพิเศษให้ได้ถึง 175 แห่ง ขณะนี้มีผู้สนใจสมัครมาแล้ว 128 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มจัดแสดงสินค้า 5 แห่ง เสนอมาแล้ว 4 แห่ง จัดประชุมพิเศษตั้งไว้ 20 แห่ง สมัครแล้ว 15 แห่ง เกือบจะครบตามเป้าหมายแล้ว แต่ที่เสนอเข้ามาอาจจะมีบางแห่งยังไม่ได้รับรอง เพราะจะต้องให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจมาตรฐาน โดยเปิดให้สมัครได้จนถึงสิ้นปี 2561 โดยจะประกาศผลได้ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2561
นายจิรุตถ์กล่าวว่า ขณะนี้ได้นำร่องจัดตั้ง “คณะกรรมการอุตสาหกรรมการจัดแสดงสินค้าแห่งประเทศไทย :M Power Thailand Exihibition : MTEX” โดยมีบุคคลากรจากองค์กรภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมเป็นกรรมการชุดนี้ ได้แก่ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และสมาคมจัดประชุมและนิทรรศการ TEA สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อร่วมวางแผนเดินหน้ายุทธศาสตร์เชิงรุกผลักดันอุตสาหกรรม 4.0 เช่น ดิจิตอล เกษตร ระบบเครื่องกล และอื่น ๆ
คณะกรรมการ MTEX ประชุมร่วมกันแล้ว 2-3 ครั้ง มีมติให้ทีเส็บเป็นองค์กรหลักผลักดันการตลาด โดยได้ร่วมผลักดันแต่ละกรม ทบวง กระทรวง เช่น กรมพัฒนาชุมชน มีงานจัดแสดงสินค้ารายการใหญ่ระดับประเทศจัดทุกปี คือ OTOP ดังนั้นจะใช้ “ลานนา เอ็กซโป” เชียงใหม่ เป็นโมเดลต้นแบบจุดประกายจัดกลุ่มการแสดงสินค้าระดับประเทศของแต่ละกระทรวงเพื่อให้เกิดการเจรจาระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ หรือ B to B : Business to Business ปี 2561 กำหนดเซ็กชั่นการจัดงาน อย่าง มหกรรมงานกาแฟและเบเกอรี่ เชิญผู้ประกอบการต่างจังหวัดกลุ่มผู้ผลิตกับผู้ซื้อจากกรุงเทพฯ เข้าไปพบปะเจรจาธุรกิจ อีกทั้งยังมีกลุ่มงานหัตถกรรม สิ่งทอ สมุนไพรไทย แต่ละกลุ่มเซ็กเมนต์สินค้าภายใต้ ลานนา โมเดล ทำให้งานจัดแสดงสินค้าจัดอย่างมีทิศทาง และยังร่วมกับกรมพัฒนาชุมชนคัดเลือกงานที่มีเซ็กชั่นแบบ B to B ได้มากขึ้น และจับมือกับหอการค้าจัดเอ็กซิบิชั่นสาขาหลัก ๆ เช่น งานแสดงผ้าไหม
ทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นส่งเสริมการจัดแสดงสินค้าตลาดภายในประเทศให้เกิดการเติบโตอย่างมีศักยภาพเป็นระบบโดยสามารถขยายฐานการตลาดและสร้างรายได้สู่ผู้ผลิตระดับท้องถิ่นครอบคลุมตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายนำอุตสาหกรรมไมซ์ไทยเข้ามาเป็นเครื่องมือในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้วยการนำสินค้าชุมชนเข้าสู่เวที B to B ทีเส็บได้เริ่มนำร่องแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 จับมือกับเครือข่ายอนาคตไทย ทำโครงการ “ไมซ์ชุมชน” โดยมีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งคัดเลือกสหกรณ์ทั่วประเทศที่สามารถจัดสถานที่เป็นโชว์เคสต์ของโปรดักซ์กับอุตสาหกรรมเด่น ๆ พื้นที่แรกทำแล้วคือ บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมีบริษัทคอร์ปอเรตกลุ่มพนักงานธนาคารเครือข่ายอนาคตเป็นลูกค้าที่ลงพื้นที่ไปอุดหนุนสินค้าของบ้านลาด
จากผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มแรกที่ไปยังบ้านลาด 50 คน เป็นเข้าไปยังแหล่งชุมชนปลูกกล้วยหอมทองส่งออก สามารถที่จะนำหน่วยงานเข้าไปจัดประชุมและปรับปรุงแพกเกจจิ้งจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น เป็นตัวอย่างที่ทีเส็บจะนำไปขยายผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นไป
ฟังข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1 “ซีอีโอคิงเพาเวอร์เปิด4พลังสร้างโอกาสไทย”
“อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดเผยว่า ในฐานะผู้นำการบุกเบิกธุรกิจไลฟ์สไตล์ที่เป็นมากกว่าร้านค้าดิวตี้ฟรี ได้จัดทำโครงการคืนประโยชน์สู่สังคมมากว่า 2 ทศวรรษ กระทั่งเมื่อปี 2560 ได้จังหวะจัดกลุ่มพลังทั้ง 4 POWER เป็นหมวดหมู่แล้วสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงลงมือทำเต็มรูปแบบจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ทุกพลังมุ่งเน้น “ให้โอกาส” แก่เด็ก เยาวชน คนไทยทั้งประเทศ เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญอย่างมากของการ “ต่อยอดโอกาส” ที่จะมีส่วนผลักดันผู้คนที่มีความฝันในแต่ละด้านได้รับโอกาสเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตกลายเป็นคนดีของสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต
โดยการทำในสิ่งเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่มากด้วยการ “ให้โอกาส” คนไทยในประเทศได้เดินตามความฝันสร้างสรรคุณภาพชีวิตที่ดีไปกับ “KING POWER THAI POWER พลังคนไทย” ทั้ง 4 ด้าน คือ 1.COMMUNITY POWER : พลังชุมชน 2.SPORT POWER : พลังกีฬา 3.MUSIC POWER : พลังดนตรี 4.EDUCATION & HEALTH POWER : พลังการศึกษาและสุขภาพ
ตัวอย่างโครงการ SPORT POWER ที่กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ นำลูกฟุตบอลจำนวน 1 ล้านลูก ทยอยแจกตามโรงเรียนต่างจังหวัดทั่วประเทศภายใน 5 ปี ระหว่างปี 2560-2564 เฉลี่ยปีละประมาณ 200,000 ลูก อย่างน้อยเด็ก ๆ ที่ได้รับลูกฟุตบอลไปแต่ละครั้งก็จะได้นำไปใช้ออกกำลังกาย หรือฝึกทักษะการเล่นฟุตบอล สานฝันก้าวเข้าสู่การเป็นนักเตะระดับท้องถิ่น จังหวัด ทีมชาติ ตัวแทนประเทศไปเล่นตามสโมสรต่างประเทศก็ได้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพความสามารถของเด็กแต่ละคนที่ได้รับโอกาส ถ้าไม่ได้เป็นนักกีฬาก็จะได้ประโยชน์จากการเล่นกีฬาก็จะทำให้เด็กไทยมีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมในวันข้างหน้า
คำว่า “โอกาส” สามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้ เฉกเช่นนักฟุตบอลทีมชาติบราซิลเบอร์ 9 เมื่อ 4 ปีก่อน เป็นเพียงช่างทาสี แต่พอได้รับโอกาสภายในช่วงพริบตาเดียวเขาก็ได้เข้ามาเป็นนักเตะมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่จนถึงทุกวันนี้
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ได้นำลูกฟุตบอลไปแจกเด็กนักเรียนเยาวชนระดับอนุบาลระดับประถมศึกษาโรงเรียนในเขตเทศบาลอุบลราชธานี 15 ชุมชน จำนวน 1,500 ลูก บรรยากาศการแจกลูกฟุตบอลโลโก้ คิง เพาเวอร์ ตลอดครึ่งวัน เด็ก ๆ ทั้งหญิงและชายมีสีหน้าแววตาเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขหลังจากได้เป็นเจ้าของลูกฟุตบอลคุณภาพดีไว้เล่นส่วนตัวและแบ่งปันการเล่นเป็นทีมกับเพื่อน ๆ
การแจกลูกฟุตบอลของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ยังเหลืออยู่อีกกว่าค่อนล้านลูก กำลังจะถูกขนใส่คาราวานรถบรรทุกสินค้าส่งต่อไปในแต่ละเดือนข้างหน้า นำพาโอกาสไปสร้างพลังกระจายความสุขให้แก่เด็กไทยนับล้านชีวิต
อัยยวัฒน์อธิบายต่อถึงการเชื่อมโยงโครงการ “พลังคนไทย สุขา สุขใจ” เข้าไปยังอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในฐานะเอกชนไทยที่พร้อมนำร่องสร้างโอกาสให้เกิดภาพลักษณ์ความประทับใจในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองหลัก เมืองรอง จึงลงทุนสร้างห้องน้ำแห่งละประมาณ 10 ล้านบาท โดยร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามอบห้องน้ำดังกล่าวให้แก่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้บริการห้องน้ำ สะอาด ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพและเป็นสุขใจ ระหว่างลงพื้นที่ส่งมอบแต่ละครั้งยังได้ชวนผู้บริหาร พนักงาน และเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมทาสีห้องน้ำเก่า ปลูกต้นไม้เพิ่มความร่มเย็นตามสถานที่เหล่านั้นด้วย
ตั้งแต่ต้นปี 2561 กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ส่งมอบห้องน้ำโดยเริ่มจากสวนพฤกษศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อด้วยทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงครึ่งหลังปีนี้จะทยอยส่งมอบในภาคเหนือและอีสานอีก 4 จังหวัด ได้แก่ น่าน เลย เพชรบูรณ์ หนองคาย
อัยยวัฒน์ ฉายภาพอีกหนึ่งพลังที่สำคัญของโครงการ “COMMUNITY POWER” ในปี 2561 เป็นกิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปช่วยชุมชนเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ไทย หรือ OTOP ประชารัฐ เปิดโอกาสให้นำสินค้ามาวางขายในร้านค้าปลอดอากรของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ทั้งสาขาสนามบินนานาชาติ (Airport Duty free) 4 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต และสาขาในเมือง (downtown duty free) อีก 4 แห่ง ได้แก่ รางน้ำ ศรีวารี พัทยา ภูเก็ต
ขณะนี้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เข้าไปสนับสนุนผู้ผลิตตามชุมชนทั่วประเทศหรือซัพพลายเออร์ 300 - 400 ราย โดยเข้าไปช่วยตั้งแต่ต้นน้ำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติซึ่งเดินทางเข้ามาช้อปปิ้งปีละกว่า 35 ล้านคน
การเลือกสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละครอบครัวในชุมชน จะยิ่งเพิ่มห่วงโซ่ให้คนมีงานทำนอกเหนือจากการผลิตก็ยังขยายไปสู่การบรรจุหีบห่อ บริการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ และอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ผลิตสินค้าแต่ละชิ้น เป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นตามนโยบายรัฐบาลโดยอัตโนมัติอย่างมีนัยสำคัญ จากการผลิตรายเล็ก ๆ ก้าวไปสู่เครือข่ายการผลิตขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ได้
ปี 2561 กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ จะเพิ่มพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ ในการนำสินค้าชุมชนไปวางขาย ผลักดันยอดจำหน่ายหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 20-25 % ของทั้งหมดในแต่ละปี ขยับเป็น 25-30 % ได้ในอนาคตต่อไป เนื่องจากนักท่องเที่ยวนานาประเทศนิยมสินค้าอัตลักษณ์ไทยที่มีดีไซน์มาตรฐานสวยงามคุณภาพ มีทั้งอาหารแปรรูป สแน็ก สมุนไพรไทย แฟชั่นผ้าไทย 4 ภาค เซรามิก ของใช้ และอื่น ๆ
คุณค่าของ “ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนไทย” ที่ได้รับโอกาสคัดเลือกนำมาวางจำหน่ายตามสาขาร้านคิง เพาเวอร์ นอกจากจะถ่ายทอดเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของสินค้าแต่ละชิ้นแล้ว ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยกลิ่นอายวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นตัวตนของท้องถิ่นนั้น ๆ เชื่อมโยงไปสู่การดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ตามรอยลงไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อค้นหาเสน่ห์ดังกล่าว
ข่าวที่ 2 “ผู้ว่าฯ ททท.จัดทัพท่องเที่ยวครึ่งหลังปี’61”
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยผ่านครึ่งปีแรกได้อย่างราบรื่น ระหว่างมกราคม-มิถุนายน 2561 สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกระจายเงินสู่ท้องถิ่นทั่วไทยเป็นกอบกำรวม 1,458,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14 % จากชาวต่างชาติใช้เงินเที่ยวไทย 1,016,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.88 % ส่วนคนไทยใช้เงินเที่ยวในประเทศ ระหว่างมกราคม-พฤษภาคม 2561 รวม 442,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.90 %
สถานการณ์ครึ่งปีหลังตั้งแต่กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 เป็นช่วงท้าทายจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การพลิกวิกฤตเป็นโอกาสหลังเหตุการณ์เรือท่องเที่ยวล่มที่ภูเก็ต ปรากฎการณ์ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวง และช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว (low season) แต่ภารกิจของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.) ต้องทำรายได้ให้เข้าเป้าตลอดทั้งปีรวม 3.1 ล้านล้านบาท ด้วยการใช้ท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการสร้างงาน สร้างเงิน สร้างความยั่งยืน เลิกทำลายสิ่งแวดล้อม ยกระดับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยใน 55 เมืองรอง และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทำให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศเข้มแข็งมั่นคง
โจทก์ใหญ่ของ ททท.ที่จะต้องฟันฝ่าทุกความท้าทายนำพาการท่องเที่ยวของประเทศไปให้ถึงจุดหมาย ด้วยเสน่ห์ความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ชุมชน เมืองรอง เชื่อมโยงเมืองหลัก และเพิ่มแรงจูงใจให้ “วันธรรมดา” ที่มีอยู่ปีละกว่า 200 วัน ให้กลายเป็น “วันแห่งความสุข” กระตุ้นให้เกิดการกระจายวันเที่ยวเลิกกระจุกอยู่เฉพาะวันหยุดยาว
“ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร” ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีหลังเพิ่มพลังบุกขยายรายได้กระจายการท่องเที่ยวสู่ชุมชน โดยจะใช้ความหลากหลายจัดกิจกรรมสร้างรายได้ทำประโยชน์เข้าถึงท้องถิ่นมากที่สุด ด้วยจุดแข็งของโปรดักซ์ซึ่งมีทั้งแหล่งท่องเที่ยว สินค้าพื้นเมือง อัตลักษณ์วิถีท้องถิ่น ซึ่งจะผนวกไฮไลต์สำคัญเข้าไปอย่างเข้มข้นอีกส่วนคือการท่องเที่ยวจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งความเสียหายไว้ในแต่ละพื้นที่
ล่าสุดรัฐบาลให้งบประมาณรายจ่ายกลางปี 2561 เข้ามาโหมกระแสโครงการ Go Local ด้วยแคมเปญ Amazing Thailand Go Local Experience จัดทำตัวชี้วัดเพิ่มคุณค่าและกระจายมูลค่ารายได้ให้ถึงมือชุมชน สิ่งแรกที่ ททท.กำลังทำคือเชิญชวนเอกชนเข้าไปทำ CSR และ Team Building ขยายห่วงโซ่การใช้จ่ายอย่างกว้างขวาง ตามนโยบายของรัฐบาล และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามที่ทุกฝ่ายต่างย้ำให้ททท. นำอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้ามาเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ
ททท.จึงต้องใช้ เครื่องมือ ตัวชี้วัด การกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยั่งยืน มาผสมผสานรับนโยบายมาปฏิบัติให้เกิดขึ้นได้จริง
ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนการปลุกกระแสกำลังซื้อให้คนตื่นตัวหันมาท่องเที่ยววันธรรมดาเพิ่มขึ้น แทนที่การท่องเที่ยววันหยุดยาวหรือวันนักขัตฤกษ์นั้น ททท.พยายามเปลี่ยนวันธรรมดาให้เป็นวันแห่งความสุข ล่าสุดได้กำหนดตัวชี้วัดเร่งให้สำนักงานในประเทศทุกภูมิภาคเพิ่มส่วนแบ่งนักท่องเที่ยววันธรรมดาขึ้นเป็นปีละ 35 % จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 20-25 % จึงต้องโหมทำกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับเอกชนและองค์กรต่าง ๆ อย่างเต็มที่ คือ จัดมหกรรมการขาย วันธรรมดาน่าเที่ยว กับ Outdoor Fest ควบคู่กับเน้นเลือกกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาการเดินทาง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงเดินทางเป็นหมู่คณะได้ตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ 2.นักเรียนก็จัด Educational Trip 3.เจนวาย ซึ่งมีไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวไม่ชอบอยู่ในกรอบแต่สามารถตัดสินใจเดินทางได้ทันทีทุกเวลา
โดยสรุปจากนี้ไป ททท.จะเพิ่มการขายท่องเที่ยววันธรรมดาด้วยการเลือกกลุ่มให้เหมาะสมเข้ามาเดินทางวันธรรมดาพร้อมกับลงทุนโปรโมตกิจกรรมเที่ยววันธรรมดา
ขณะที่ “การสร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว” หลังเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ต ททท.ได้แสดงความเสียใจ พร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายค้นหาสาเหตุที่แท้จริง รวมทั้งจะใช้โอกาสนี้เสนอคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ปฎิรูปและยกระดับมาตรการสร้างความปลอดภัยให้ได้ตามมาตรฐานสากล เพื่อดูแลไม่เฉพาะชาวต่างชาติปีละ 35-38 ล้านคนเท่านั้น แต่ยังต้องดูแลคนไทยที่เดินทางปีละ 140-160 ล้านคน-ครั้ง ด้วย
ระหว่างนี้ ททท.จึงร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เดินหน้าจัดทำโครงการมาตรฐานความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะแค่ภูเก็ตเพียงจังหวัดเดียว จะรณรงค์ให้ทางเชียงรายซึ่งเกิดกรณีเยาวชนทีมฟุตบอล 13 หมูป่าติดถ้ำเข้ามาร่วมมือด้วย และการจัดระเบียบความปลอดภัยทางถนนในทุกจังหวัดก็ต้องหารือกันอย่างจริงจังควรจะต้องร่วมกันอย่างไรต่อไป เพื่อให้คนไทยและทั่วโลกมั่นใจตลอดการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว
ผู้ว่าการ ททท.ยืนยันด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรต้องใช้วิกฤตครั้งนี้สร้างจุดเปลี่ยนเรื่องมาตรฐานการดูแลและป้องกันความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว จัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือ Safety & Security Thailand Tourism :SSTT หลังจาก World Tourism Forum :WTF ได้จัดมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวของประเทศไทยอยู่ในอันดับ 118 จากทั้งหมด 136 ประเทศ ไทยต้องกลับมาทบทวนและพิจารณาอย่างจริงทั้งเรื่อง 1.การบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยอย่างเข้มข้น 2.เอกชนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือแจ้งเตือนภัย 3.คนไทยต้องเป็นเจ้าบ้านที่ดีช่วยกันดูแลความสุขแก่นักท่องเที่ยวทุกคน
ส่วนอีกโครงการไฮไลต์ของ ททท.เริ่มเมื่อ 24 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป คือการทำปฏิญญาร่วมกับภาครัฐและเอกชน 37 องค์กร เดินหน้าโครงการ “ลดโลกเลอะ” อันเป็นผลมาจากปัจจุบันขยะตามแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลจากการใช้พลาสติก สถิติคนไทยใช้ถุงพลาสติกวินาทีละ 4,400 ใบ ทิ้งอยู่ตามเมืองท่องเที่ยวย่อยสลายได้ยากต้องใช้เวลานับร้อยปี โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทะเลจึงได้เห็นภาพ เต่าทะเล วาฬ กินถุงพลาสติกเข้าไป สวนทางกับนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาเที่ยวทะเลเมืองไทยเพราะอยากเห็นความสวยงามและรักษาสิ่งมีชีวิต
จากนี้ไป ททท.จะหันมาทำโครงการรณรงค์ให้เกิดนักท่องเที่ยว “พันธุ์ใหม่ไม่ผลิตขยะ” ลดเลิกใช้หลอดพลาสติก ถุงพลาสติก นำภาชนะกระบอกเติมน้ำ หรืออุปกรณ์ใช้ได้หลายครั้งติดตัวไปใช้งานได้ทุกที่ และตั้งเป้าจะให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันกับ ททท.ลดปริมาณขยะภายในปี 2563 ลงให้ได้ 50 % นำร่องจากการทำปฏิญญากับ 37 องค์กรจับมือกันขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการนี้ไปด้วยกัน
ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 26-29 กรกฎาคม นี้ ทั่วประเทศจัดแห่เทียนพรรษา สามารถไปท่องเที่ยวกันได้ทุกที่ และตลอดสิงหาคม 2561 เตรียมจัดกิจกรรมวันแม่ภายใต้การจัดทำโครงการ “สิงหาพาแม่เที่ยว” อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชิญชวนคนไทยแสดงความกตัญญูต่อแม่ เพราะการท่องเที่ยวให้ความสุขและความรู้ จึงมีนโยบายให้ ททท. จัดท่องเที่ยว 5 ภูมิภาค และท่องเที่ยวข้ามภาค ทำให้เป็นเดือนมหามงคลและเดือนแห่งความสุข รวมทั้ง ททท.ตลาดต่างประเทศยังร่วมมือกันนำนักท่องเที่ยวผู้หญิงจากทั่วโลกเข้ามาเที่ยวตามโครงการ Women Jouney ถึงแม้จะเป็นหน้าฝนก็สามารถเที่ยวในสไตล์ Rain Coat ได้ เน้นกระจายนักท่องเที่ยวไปยังชุมชน เมืองรอง เชื่อมโยงเข้ากับเมืองหลักทั่วประเทศ ชูจุดขายเรื่อง “ความแตกต่าง” ของฤดูกาล ท้องถิ่น งานประเพณี จะเป็นเสน่ห์ดึงดูดการท่องเที่ยวทุกกลุ่มวัยได้เป็นอย่างดี
เพียงแค่ออกไปท่องเที่ยวไทย 1 เมือง 1 ชุมชน ก็ให้ความรู้สึกลึกซึ้งแตกต่างกันแล้ว และความหลากหลายของชุมชน เมืองรอง เป็นเสน่ห์ชวนให้ “ททท” ในความหมายคือ “เที่ยว-ทัน-ที” เท่ทุกที่ สวยทุกเวลา
ข่าวที่ 3 “บางจากส่งความช่วยเหลือไปสสป.ลาว”
นางสาวภควดี จรรยาเพศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มอบเงิน ให้นายแสง สุขะทิวง เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำราชอาณาจักรไทย ร500,000 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในสปป.ลาว ณ สถานเอกอัครราชทูต แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำราชอาณาจักรไทย พร้อมสนับสนุนน้ำดื่ม 5,000 ขวด ส่งมอบผ่านสถานกงสุลใหญ่ สปป.ลาว จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์รับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเพราะเขื่อนแตกที่อัตปรือ ซึ่งขณะนี้ยังคงมีหน่วยงานหลายฝ่ายหลายประเทศพยายามเข้าไปช่วยในด้านด้วยเช่นกัน
ข่าวที่ 4 “ทอท.ลงทุน1.5 แสนล้านสุวรรณภูมิเฟส2-5”
ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.” เปิดเผยว่าภาพรวมการลงทุนขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2-3-4-5 ระหว่างปี 2561-2568 จะใช้เงินลงทุนรวมประมาณไม่เกิน 150,000 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดแผนขยายพื้นที่งานก่อสร้างเพื่อเปิดบริการภายในปี 2568 จะรองรับผู้โดยสารได้เกินกว่าปีละ 120 ล้านคน โดยมีทางวิ่งเครื่องบินรวม 4 รันเวย์ส ส่วนในปี 2564 ตามผลประเมินอย่างเป็นทางการอาจจะต้องกู้เงินระยะเร่งด่วนเข้ามาใช้จ่ายหมุนเวียนอีกไม่เกิน 50,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แต่ในมุมของผู้บริหารมองว่าอาจจะไม่ใช้เงินกู้ก็เป็นได้ จะต้องรอดูสถานการณ์ข้างหน้าควบคู่กันไป
โดยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าโครงการเฟส 2 (Sattlelight terminal) รวม 8 โครงการ 7 สัญญา ซึ่งจะเปิดบริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2563 มีขนาดพื้นที่ 270,000 ตารางเมตร แซตเทิลไลท์จากการก่อสร้างใต้ดินขึ้นมายังเหนือพื้นดินมีอยู่ 5 ชั้น ภายในปีนี้จะเห็นการก่อสร้างอาคารบนพื้นดินหลังจากงานใต้อุโมงค์ใต้ดินทั้งหมดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ไฮไลต์หลัก ๆ คือ
1.การเพิ่ม 28 หลุมจอด รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ แอร์บัส A380 โดยจะบริหารจัดการให้มาใช้พื้นที่จอดบริเวณตรงกลางแล้วสามารถระบายผู้โดยสารจำนวนมากออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว 2.ขีดความสามารถในการรองรับปริมาณเที่ยวบินได้ 68 เที่ยว/ช่วงโมง ปัจจุบันใช้งานความถี่หนาแน่นอยู่ประมาณ 60-63 เที่ยว/ชั่วโมง แต่เนื่องจากรันเวย์ของสุวรรณภูมิกับดอนเมืองสอบเข้าหากัน 20 องศา กรณีเที่ยวบินหนาแน่นระหว่าง 2 สนามบิน ก็อาจจะมีผลกระทบต่อจราจรการบินบ้าง เป็นปัญหาเรื่องการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ
3.ระบบรถขนส่งอัตโนมัติ APM แบบไร้คนขับจากอาคารหลักมายังอาคารรองระยะทาง 1.5 กม.จะใช้เวลาเชื่อมต่อเพียง 2-5 นาที
4.พื้นที่เชิงพาณิชย์ (commercial Area) ภายในอาคารจะเปิดบริการได้ช่วงปี 2563 ตรงกับที่กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ หมดสัญญาสัมปทาน ขณะนี้มีหลายฝ่ายให้ความสนใจแต่ในทางปฏิบัติกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาถึงความต้องการของลูกค้าจะมีจำนวนมากน้อยขนาดไหน ก่อนจะกำหนดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ในอาคารหลังใหม่ได้อย่างเหมาะสม
ดร.นิตินัยกล่าวเมื่อเฟส 2 แล้วเสร็จ จะดำเนินการเฟส 3 ควบคู่กันไปวงเงินรวมกัน 63,000 ล้านบาท โดยทำรันเวย์ 3 (กำลังส่งเอกสารให้กระทรวงคมนาคม) อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (ประกวดแบบวันที่ 26 กรกฎาคม 2561) ใช้งานได้ปี 2564 สุวรรณภูมิจะรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 90 ล้านคน และมีขีดการรองรับ 96 เที่ยว/ชั่วโมง
สำหรับอาคารแซตเทิลไลท์ 8 โครงการ ประกอบด้วย
1.การจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ชั้น B2-B1-G และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (CC1/1) กำหนดแล้วเสร็จภายในพฤศจิกายน 2561 ก่อสร้างโดยบริษัท อิตาเลียน ไทยดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
2.งานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ชั้น 2-4 และส่วนต่ออุโมงค์ด้านใต้งานระบบย่อย (CC1/2) กำหนดแล้วเสร็จพฤศจิกายน 2562 ก่อสร้างโดยกลุ่มร่วมทุน PCS ได้แก่ บมจ.เพาเวอร์ไลน์เอ็นจิเนียริ่ง บริษัท ไชน่าสเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างเสาด้านตะวันตกและตะวันออกของอาคารมิดฟิลด์ แซตเทิลไลท์ 1 และกำแพงคอนกรีตในอุโมงค์ด้านทิศใต้
3.งานจ้างก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก จะประกาศประกวดราคาเดือนตุลาคม 2561 ประกาศชื่อผู้รับจ้างงานเดือนมกราคม 2562 ใช้เวลา 18 เดือนสร้างให้เสร็จพร้อมใช้งานมิถุนายน 2563
4.งานจ้างก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก จะประกวดราคาพฤศจิกายน 2561 ประกาศผู้รับจ้างกุมภาพันธ์ 2562 ใช้เวลาสร้าง 29 เดือนให้แล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้มิถุนายน 2564
5.งานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค จะแล้วเสร็จเปิดใช้ได้พฤษภาคม 2562 โดยกิจการร่วมค้า เอสจี แอนด์ อินเตอร์ลิงค์ สร้างคืบหน้าไปแล้ว 38.85 %
6.งานซื้อพร้อมที่ติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) จะแล้วเสร็จพร้อมใช้งานเมษายน 2563 โดยนิติบุคคลร่วมทำงาน ไออาร์ทีวี
7.งานซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) ขาออก จะแล้วเสร็จเมษายน 2563 โดยนิติบุคคลร่วมทำงาน ล็อกเลย์-แอลพีเอส
8.งานซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) ขาเข้า จะแล้วเสร็จเมษายน 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างประกวดราคาให้ได้ภายสิงหาคม 2561ประกาศชื่อผู้รับจ้างพฤศจิกายน 2561
ข่าวที่ 5 “TCEBชูแคมเปญTMVS2018ดันไมซ์2.2แสนล้าน”
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 เป็นต้นไปได้เร่งจัดทำแคมเปญสื่อสารการตลาด Thailand MICE Venue Standards (TMVS) 2018 โดยจะเปิดรับหน่วยงานและองค์กรที่พร้อมสมัครเข้ารับการพิจารณาตรามาตรฐานสถานที่จัดงานไมซ์ ปีนี้ตั้งเป้ารณรงค์ให้มีสถานประกอบการไมซ์ไทยทั่วประเทศผ่านมาตรฐานการรับรองไม่ต่ำกว่า 175 แห่ง ช่วงตุลาคม 2560-กรกฎาคม 2561 มีผู้สนใจทยอยสมัครเข้ามาแล้ว 147 แห่ง วันที่ 14 ธันวาคม 2561 จะประกาศผลสถานประกอบการทั้งหมดที่ผ่านการรับรองมาตรฐานประจำปี 2561 ส่วนรายชื่อที่เหลือจะเก็บข้อมูลไว้พิจารณาในปีต่อไป
ส่วนแนวทางของแคมเปญสื่อสารการตลาด Thailand MICE Venue Standards (TMVS) 2018 ตั้งเป้าสร้างการรับรู้เข้าถึง 1 ล้านคน ด้วยความถี่ 7.5 ล้านครั้ง ผ่านช่องทางทั้งทางสื่อ ออฟไลน์และดิจิตอลออนไลน์ โดยมีไฮไลต์ความร่วมมือกับ 2 พันธมิตร ได้แก่ 1.ZipEVENT เป็นแพลตฟอร์มรวมงานอีเวนต์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในไทย 2.Event Banana แพลตฟอร์มออนไลน์มาร์เก็ตเพลส ส่วนที่เหลือจะโหมสื่อสารแคมเปญผ่านทาง วิดีโอ, Youtube , Instragram, Google Display Network, Content Facebook Introduce, Land Page และ Email Marketing
โดยใช้กลยุทธ์หลัก 4 สร้าง 1 สานสัมพันธ์ ได้แก่ 1.สร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการ 2.สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ไมซ์ไทย 3.สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ 4.สร้างความเข้าใจในภารกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร และ 1.สานสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานพันธมิตรตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบการภายใต้แนวคิด “มั่นใจในคุณภาพระดับสากล ด้วยมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย”
นายจิรุตถ์กล่าวว่า ปี 2561 ตั้งเป้าสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมไมซ์เข้าประเทศรวม 124,000 ล้านบาท จากจำนวนผู้เดินทางตลอดทั้งปี 1,327,000 คน สถิติช่วงไตรมาสแรกสร้างรายได้แล้ว 42,000 ล้านบาท จากผู้เดินทางรวม 547,623 คน สำหรับโครงการ TMVS สามารถสร้างผลประโยชน์กลับคืนสู่เศรษฐกิจประเทศได้ 2 ปีแรกไม่ต่ำกว่า 2.2 แสนล้านบาท แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือสามารถเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มเดินทางมาใช้บริการซ้ำ ๆ หรือ Repleater เพิ่มขึ้นอีกมหาศาล ตัวอย่าง กลุ่มอินเซ็นทีฟจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเลือกเข้ามาจัดงานในพัทยา ชลบุรี ซ้ำ ๆ ปี 2561 เป็นครั้งที่ 15 แล้ว
ช่วงที่ 2 ทั่วประเทศ 68 จังหวัด ชวนนั่งรถฟรี “ไหว้พระทั่วไทย สุขใจถ้วนหน้า” ในกรุงเทพฯ ขสมก.จัดรถแวะทำบุญรอบเกาะรัตนโกสินทร์ 10 วัด ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ชวนนั่งรถไปไหว้พระวัดดังอย่างสบายใจตลอดเทศกาลเข้าพรรษา วันนี้-29 ก.ค.นี้ ส่วนการดูแลสุขภาพมี “5ส.สุขใจในวัดช่วงเข้าพรรษา” มาแนะนำ และข่าวร้อน ๆ ช่วงวันหยุด “การบินไทย” ผนึกคาร์ลสัน วากองลี ลุยขยาย 8 ตลาดบินโลก “นำบุรีรัมย์บุกโตเกียว” 23 สิงหาคมนี้ ขายท่องเที่ยวครบวงจร และ “โรงแรมริชมอนด์” ท้าชิมบุฟเฟต์ส้มตำ มา 4 จ่าย 3 อร่อยสุดคุ้ม
@เข้าพรรษาไหว้พระวัดดัง5ภูมิภาคทั่วไทย
ตลอดเทศกาลบุญใหญ่ อาสาฬบูชา เข้าพรรษา ชวนกันไป “ไหว้พระทั่วไทย สุขใจถ้วนหน้า” กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยทั้ง 5 ภูมิภาค ได้รณรงค์ให้ทั่วประเทศ 68 จังหวัด จัดรถบริการรถท่องเที่ยวทางบุญฟรี ช่วงเสาร์ 28 – อาทิตย์ 29 กรกฎาคม นี้
เพื่อเป็นสวัสดิการทางสังคมเดินทางทัวร์บุญฟรีโดยมีการจัดรถหมุนเวียนบริการตามจุดขึ้น-ลง ตามเส้นทางผ่านวัดสำคัญ ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางไหว้พระทำบุญเสริมสิริมงคลตามวิถีไทย เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา อันเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชน
ภาคกลาง 17 จังหวัด เริ่มจาก ในกรุงเทพมหานคร ชวนท่องเที่ยวโครงการ "ไหว้พระทั่วไทย สุขใจถ้วนหน้า” จัดรถ ขสมก. 3 เส้นทาง ไปทัวร์ 10 วัดรอบเกาะรัตนโกสินทร์
เส้นทางที่ 1 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปยัง วัดเบญจมบพิตร – วัดบวรนิเวศน์ – วัดชนะสงคราม – วัดมหาธาตุ – วัดพระศรีรัตนศาสดาราม – วัดพระเชตุพน – วัดราชบพิธ – วัดสุทัศน์ – วัดสระเกศ – วัดราชนัดดา สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
หรือจะแวะไปตักบาตรดอกไม้-เดินเทียน ที่วัดราชบพิตร ช่วง 1 ทุ่มตรงชวนหลอมรวมใจชาวพุทธไปร่วมเวียนเทียนด้วยกัน
เส้นทางที่ 2 นนทบุรี ปทุมธานี รับจำนวนจำกัด วันละ 150 คน ต้องจองล่วงหน้าที่ 1672 ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม แต่ถ้าใครจะขับรถไปเองก็ได้ ถ้าไปเมืองปทุมธานีไหว้พระเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องแวะชมตลาดน้ำสามโคก ส่วนนนทบุรี ทางวัดเฉลิมพระเกียรติ (เล่งเน่ยยี่) แวะตลาดน้ำวัดโตนด
เส้นทางที่ 3 จังหวัดรอบปริมณฑล ไปชมวิถีชีวิตงานแห่เทียน ไหว้พระ วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี ไหว้องค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม สักการะพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี ไหว้พระวัดท่าไม้ สมุทรสาคร วัดโสธรวรวิหาร ฉะเชิงเทรา วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
Go North ภาคเหนือ ไฮไลต์ในเชียงใหม่ เตรียมรถรางไว้บริการนักท่องเที่ยวร่วมเดินทางไหว้พระกันตลอดทั้งวัน 9 วัด เริ่มจาก วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดดับภัย วัดโลกโมฬี วัดเชียงยืน วัดเชียงมั่น วัดดวงดี วัดพันเตา วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร สิ้นสุดที่วัดศรีสุพรรณ
ในลำปางแนะนำให้ไป “วัดพระแก้วดอนเต้า” ส่วนพิษณุโลก ต้องที่วัด “พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
Go ISAN สัมผัสวิถีบุญใหญ่ในดินแดนอารยธรรมความหลากหลายในอีสานในบริเวณริมฝั่งโขง วัดโพธิ์ชัย หนองคาย วัดพระธาตุเชิงชุม สกลนคร และยังมีอีกหลายเมืองรองเปิดวัดชวนไปร่วมบุญกันได้ตลอดเทศกาลแห่เทียนพรรษา
Go South ลงใต้ ไปวัดช้างไห้ ถิ่นหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดแห่งเมืองปัตตานี และวัดต่าง ๆ ใน นราธิวาส ปัตตานี เพื่อให้เห็นถึงชาวไทยพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เรื่อยไปจนถึง พังงา ระนอง และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช วัดพระธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
เที่ยวเทศกาลบุญเข้าพรรษาทั่วไทย ได้ตลอดเสาร์-อาทิตย์ นี้ สอบถามเบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย ได้ทุกเวลาที่ 1672 หรือเข้าไปดูข้อมูลก่อนได้ที่ www.tourismthailand.org
@5 ส.สร้างสุขในวัดช่วงเข้าพรรษา
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ดำเนินโครงการวัดสร้างสุข เพื่อให้สังคมไทยตื่นตัวเรื่องการช่วยเหลือสังคม ก่อให้เกิดสังคมสุขภาวะ รวมทั้งดำเนินโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวคิด 5ส.
1.สะสาง ด้วยการลดสิ่งที่ไม่จำเป็นให้เกิดความสมดุล โดยการสำรวจสิ่งของ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่มีอยู่ ว่าพอดีกับการใช้งานหรือไม่ แยกแยะสิ่งของ หากพบว่าไม่จำเป็น ต้องดูว่าใช้ได้หรือไม่ ถ้าสิ่งของสามารถใช้ได้ ให้ส่วนกลางนำไปใช้ ถ้าใช้ไม่ได้ให้ดำเนินการขาย หรือดำเนินการกำจัดของเสีย อย่าเสียดาย
2. สะดวก ด้วยการจัดสรรสิ่งต่างๆ ให้เป็นระเบียบ โดยทำแผนผัง กำหนดชื่อ ที่อยู่ที่แน่นอนให้กับสิ่งของที่อยู่ในพื้นที่ทั้งหมด
3. สะอาด กำหนดรายการสิ่งของและจุดบริเวณที่ต้องทำความสะอาด หากพบสิ่งผิดปกติให้ติดป้ายและดำเนินการแก้ไขหรือแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. สร้างมาตรฐาน ด้วยการตั้งกฎเกณฑ์และมุ่งมั่นพัฒนา หากพบว่ามาตรฐานไม่ได้ถูกนำไปใช้ ต้องปรับปรุงมาตรฐานให้ใช้ง่ายขึ้นและสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับ
5. สร้างวินัย ด้วยการเคารพกฎกติกา อยู่ร่วมกันด้วยความสุข โดยสร้างแรงจูงใจ และสร้างกิจกรรมส่งเสริมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก “บินไทยผนึกคาร์ลสันบุกเจาะ8ตลาดใหญ่”
นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยลงนามสัญญาความร่วมมือในการขยายธุรกิจกับ บริษัท คาร์ลสัน วากองลี ทราเวล จำกัด บริษัทชั้นนำของโลกด้านการจัดการวางแผนการเดินทาง (Corporate Travel Management) ตั้งเป้าขยายธุรกิจการบินใน 8 ประเทศหลัก ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตและการแข่งขันสูง
ข่าวที่สอง “23ส.ค.นำบุรีรัมย์บุกโตเกียวชูท่องเที่ยวครบวงจร”
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานว่า วันที่ 28 สิงหาคม 2561 วางแผนจะจัดงาน Buriram Night in Japan ส่งเสริมการท่องเที่ยวบุรีรัมย์ ขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยเตรียมเชิญสื่อมวลชนกับผู้บริหารบริษัทนำเที่ยวชั้นนำของญี่ปุ่นเกือบ 300 คน จะเข้าร่วมงาน Buriram Night โดยมี วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานจัดงาน พร้อมด้วยนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการ ททท.
เตรียมใช้โอกาสการจัดงานดังกล่าวกระตุ้นชาวญี่ปุ่นเดินทางมาท่องเที่ยวบุรีรัมย์ที่มีชื่อเสียงของเมือง 2 ปราสาท ได้แก่ ปราสาทหินพนมรุ้ง และทีมฟุตบอลปราสาทสายฟ้า ปลุกกระแสคนญี่ปุ่นรู้จักบุรีรัมย์ทางด้านการท่องเที่ยวด้วยเพราะแหล่งอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของโลก เป็นเมืองกีฬาของไทยที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน Moto GP กีฬาที่ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบมาก และเตรียมนำเสนอสินค้าพื้นเมืองเอกลักษณ์บุรีรัมย์ เช่น ผ้าไหม ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ สร้างจุดขายแบบครบวงจร
ข่าวที่สาม “ริชมอนด์จัดโปรบุฟเฟต์ส้มตำกิน4จ่าย3”
โรงแรมริชมอนด์ เปิดห้องอาหาร แอทคาเฟ่ ตลอดเดือนสิงหาคม 2561 จัดโปรโมชั่นฟินเวอร์ บุฟเฟ่ต์มา 4 จ่าย 3 คุ้ม สำหรับกลางวันบุฟเฟ่ต์กว่าร้อยรายการ พิเศษสุดกับเทศกาลส้มตำหลากหลายเมนู แซ่บนัว โทร.จองได้ตั้งวันนี้ที่ 02 831 8888 ต่อ 2126
ติดตามฟังรายการได้เป็นประจำทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.ทาง สวท.FM 97.0 MHz.
ผนึก4กระทรวงบิ๊กจัดทัพแสดงสินค้าบูมชุมชน
เปิดใจCEOคิงเพาเวอร์4พลังสร้างโอกาสไทย
ผู้ว่าฯยุทธศักดิ์นำทัพท่องเที่ยวพุ่งครึ่งหลังปี61
บางจากนำทีมช่วยเหลือผู้ประสบภัยสปป.ลาว
ทอท.ผ่าลงทุน1.5แสนล้านสุวรรณภูมิเฟส2-5
ทีเส็บชูแคมเปญสื่อสารตลาดปั๊ม2.2แสนล้าน
เข้าพรรษานั่งรถฟรีไหว้พระทำบุญ68จังหวัด
แนะใช้5ส.สร้างสุขในวัดตลอดวันเข้าพรรษา
บินไทยผนึกคาร์ลสันฯลุยชิงเค้ก8ตลาดแข่งดุ
นำบุรัมย์บุกโตเกียวขายท่องเที่ยว23 ส.ค.นี้
โรงแรมริชมอนด์จัดบุฟเฟต์ส้มตำกิน 4จ่าย3
ต้อนรับเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ในวันเสาร์ที่ 28 กรกฎาคม 2561 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังเรียลไทม์ได้ทางมือถือ และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen และบล็อกเกอร์ #gurutourza
ช่วงที่ 1 เจาะลึก “จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา” ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” ขับเคลื่อนบิ๊กโปรเจ็กต์ “TVMS” ปลุกกระผู้ประกอบการสถานจัดประชุมเข้ารับมาตรฐานทั่วไทย พร้อมกับตั้ง MTEX : กรรมการขับเคลื่อนการจัดการแสดงสินค้าแห่งชาติ” ลุยจับมือกับกระทรวงใหญ่ “มหาดไทย-พาณิชย์-อุตสาหกรรม-เกษตร” จัดกลุ่มงานแสดงสินค้าระดับชาติเปิดเวที B to B เพิ่มรายได้ชุมชนทั่วประเทศ
จิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” |
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” เปิดเผยว่า เดินหน้าโครงการ Thailand MICE Venue Standard : TMVS ปี 2561 ตั้งเป้าสร้างมาตรฐานให้ผู้ประกอบการสถานที่จัดประชุมในไทยทั้งห้องประชุม เอ็กซิบิชั่นฮอลล์ สถานที่พิเศษการจัดงาน (special Venue) เพราะจาก 4 ปีที่ผ่านมาสามารถทำมาตรฐานรับรองได้แล้วทั้งสิ้น 315 แห่ง 791 ห้องประชุม
การทำมาตรฐาน TMVS เป็นหัวใจสำคัญในการสร้างโอกาสทางการตลาดไมซ์ทั้งในและต่างประเทศเข้ามาเพิ่มทั้งจำนวนงานและรายได้ โดยทุกฝ่ายเข้าใจถึงมาตรฐานสากลที่ทีเส็บจัดทำขึ้นสามารถสร้างการจัดงานกระจายไปสู่ต่างจังหวัด โดยมีพื้นที่ศักยภาพเชื่อมโยงพื้นที่หลักและรอง โดยใช้ฐาน MICE City 5 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ ขอนแก่น ภูเก็ต พัทยา+EEC กรุงเทพฯ สามารถจัดงานอินเตอร์เนชั่นแนลได้ด้วย เชื่อมโยงเข้ากับเมืองอื่น ๆ หลังการแจกมาตรฐาน TMVS เพิ่มในอีสานอย่าง นครราชสีมา อุดรธานี อุบลราชธานี ภาคเหนือ เชียงใหม่ เชียงราย ภาคใต้ก็มี หาดใหญ่ ถือเป็นการกระจายสถานที่จัดประชุมครอบคลุมทั่วประเทศ
ตัวอย่างการกระจายรายได้จากการจัดประชุมในพื้นที่หลัก จังหวัดขอนแก่น สู่เมืองรองอย่าง กาฬสินธุ์ ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์ไดโดเสาร์ หรือหมู่บ้านต่างๆ ยกระดับเป็น Event Venue ได้เช่นกัน
ตามเป้าหมายของทีเส็บปี 2561 ตั้งเป้าจะขยายฐานมาตรฐานรับรอง TVMS ทำเป็นสถานที่จัดแสดงสินค้าและห้องประชุมพิเศษให้ได้ถึง 175 แห่ง ขณะนี้มีผู้สนใจสมัครมาแล้ว 128 แห่ง ประกอบด้วย กลุ่มจัดแสดงสินค้า 5 แห่ง เสนอมาแล้ว 4 แห่ง จัดประชุมพิเศษตั้งไว้ 20 แห่ง สมัครแล้ว 15 แห่ง เกือบจะครบตามเป้าหมายแล้ว แต่ที่เสนอเข้ามาอาจจะมีบางแห่งยังไม่ได้รับรอง เพราะจะต้องให้คณะกรรมการเข้าไปตรวจมาตรฐาน โดยเปิดให้สมัครได้จนถึงสิ้นปี 2561 โดยจะประกาศผลได้ภายในวันที่ 14 ธันวาคม 2561
นายจิรุตถ์กล่าวว่า ขณะนี้ได้นำร่องจัดตั้ง “คณะกรรมการอุตสาหกรรมการจัดแสดงสินค้าแห่งประเทศไทย :M Power Thailand Exihibition : MTEX” โดยมีบุคคลากรจากองค์กรภาครัฐและเอกชนเข้ามาร่วมเป็นกรรมการชุดนี้ ได้แก่ กรมพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรม สภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) และสมาคมจัดประชุมและนิทรรศการ TEA สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ เพื่อร่วมวางแผนเดินหน้ายุทธศาสตร์เชิงรุกผลักดันอุตสาหกรรม 4.0 เช่น ดิจิตอล เกษตร ระบบเครื่องกล และอื่น ๆ
คณะกรรมการ MTEX ประชุมร่วมกันแล้ว 2-3 ครั้ง มีมติให้ทีเส็บเป็นองค์กรหลักผลักดันการตลาด โดยได้ร่วมผลักดันแต่ละกรม ทบวง กระทรวง เช่น กรมพัฒนาชุมชน มีงานจัดแสดงสินค้ารายการใหญ่ระดับประเทศจัดทุกปี คือ OTOP ดังนั้นจะใช้ “ลานนา เอ็กซโป” เชียงใหม่ เป็นโมเดลต้นแบบจุดประกายจัดกลุ่มการแสดงสินค้าระดับประเทศของแต่ละกระทรวงเพื่อให้เกิดการเจรจาระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ หรือ B to B : Business to Business ปี 2561 กำหนดเซ็กชั่นการจัดงาน อย่าง มหกรรมงานกาแฟและเบเกอรี่ เชิญผู้ประกอบการต่างจังหวัดกลุ่มผู้ผลิตกับผู้ซื้อจากกรุงเทพฯ เข้าไปพบปะเจรจาธุรกิจ อีกทั้งยังมีกลุ่มงานหัตถกรรม สิ่งทอ สมุนไพรไทย แต่ละกลุ่มเซ็กเมนต์สินค้าภายใต้ ลานนา โมเดล ทำให้งานจัดแสดงสินค้าจัดอย่างมีทิศทาง และยังร่วมกับกรมพัฒนาชุมชนคัดเลือกงานที่มีเซ็กชั่นแบบ B to B ได้มากขึ้น และจับมือกับหอการค้าจัดเอ็กซิบิชั่นสาขาหลัก ๆ เช่น งานแสดงผ้าไหม
ทั้งหมดจะเป็นจุดเริ่มต้นส่งเสริมการจัดแสดงสินค้าตลาดภายในประเทศให้เกิดการเติบโตอย่างมีศักยภาพเป็นระบบโดยสามารถขยายฐานการตลาดและสร้างรายได้สู่ผู้ผลิตระดับท้องถิ่นครอบคลุมตามนโยบายของรัฐบาล โดยเฉพาะนโยบายนำอุตสาหกรรมไมซ์ไทยเข้ามาเป็นเครื่องมือในการช่วยลดความเหลื่อมล้ำด้วยการนำสินค้าชุมชนเข้าสู่เวที B to B ทีเส็บได้เริ่มนำร่องแล้วเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 จับมือกับเครือข่ายอนาคตไทย ทำโครงการ “ไมซ์ชุมชน” โดยมีกรมส่งเสริมสหกรณ์ ซึ่งคัดเลือกสหกรณ์ทั่วประเทศที่สามารถจัดสถานที่เป็นโชว์เคสต์ของโปรดักซ์กับอุตสาหกรรมเด่น ๆ พื้นที่แรกทำแล้วคือ บ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี โดยมีบริษัทคอร์ปอเรตกลุ่มพนักงานธนาคารเครือข่ายอนาคตเป็นลูกค้าที่ลงพื้นที่ไปอุดหนุนสินค้าของบ้านลาด
จากผลการประเมินความพึงพอใจของกลุ่มแรกที่ไปยังบ้านลาด 50 คน เป็นเข้าไปยังแหล่งชุมชนปลูกกล้วยหอมทองส่งออก สามารถที่จะนำหน่วยงานเข้าไปจัดประชุมและปรับปรุงแพกเกจจิ้งจำหน่ายได้ราคาสูงขึ้น เป็นตัวอย่างที่ทีเส็บจะนำไปขยายผลตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2561 เป็นต้นไป
ฟังข่าวต้นชั่วโมง
ข่าวที่ 1 “ซีอีโอคิงเพาเวอร์เปิด4พลังสร้างโอกาสไทย”
“อัยยวัฒน์ ศรีวัฒนประภา” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เปิดเผยว่า ในฐานะผู้นำการบุกเบิกธุรกิจไลฟ์สไตล์ที่เป็นมากกว่าร้านค้าดิวตี้ฟรี ได้จัดทำโครงการคืนประโยชน์สู่สังคมมากว่า 2 ทศวรรษ กระทั่งเมื่อปี 2560 ได้จังหวะจัดกลุ่มพลังทั้ง 4 POWER เป็นหมวดหมู่แล้วสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงลงมือทำเต็มรูปแบบจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ทุกพลังมุ่งเน้น “ให้โอกาส” แก่เด็ก เยาวชน คนไทยทั้งประเทศ เพราะเล็งเห็นถึงความสำคัญอย่างมากของการ “ต่อยอดโอกาส” ที่จะมีส่วนผลักดันผู้คนที่มีความฝันในแต่ละด้านได้รับโอกาสเพื่อนำไปพัฒนาคุณภาพชีวิตกลายเป็นคนดีของสังคมทั้งปัจจุบันและอนาคต
โดยการทำในสิ่งเล็ก ๆ ที่ยิ่งใหญ่มากด้วยการ “ให้โอกาส” คนไทยในประเทศได้เดินตามความฝันสร้างสรรคุณภาพชีวิตที่ดีไปกับ “KING POWER THAI POWER พลังคนไทย” ทั้ง 4 ด้าน คือ 1.COMMUNITY POWER : พลังชุมชน 2.SPORT POWER : พลังกีฬา 3.MUSIC POWER : พลังดนตรี 4.EDUCATION & HEALTH POWER : พลังการศึกษาและสุขภาพ
ตัวอย่างโครงการ SPORT POWER ที่กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ นำลูกฟุตบอลจำนวน 1 ล้านลูก ทยอยแจกตามโรงเรียนต่างจังหวัดทั่วประเทศภายใน 5 ปี ระหว่างปี 2560-2564 เฉลี่ยปีละประมาณ 200,000 ลูก อย่างน้อยเด็ก ๆ ที่ได้รับลูกฟุตบอลไปแต่ละครั้งก็จะได้นำไปใช้ออกกำลังกาย หรือฝึกทักษะการเล่นฟุตบอล สานฝันก้าวเข้าสู่การเป็นนักเตะระดับท้องถิ่น จังหวัด ทีมชาติ ตัวแทนประเทศไปเล่นตามสโมสรต่างประเทศก็ได้ ขึ้นอยู่กับศักยภาพความสามารถของเด็กแต่ละคนที่ได้รับโอกาส ถ้าไม่ได้เป็นนักกีฬาก็จะได้ประโยชน์จากการเล่นกีฬาก็จะทำให้เด็กไทยมีสุขภาพแข็งแรง จิตใจแจ่มใส เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมในวันข้างหน้า
คำว่า “โอกาส” สามารถเปลี่ยนชีวิตคนได้ เฉกเช่นนักฟุตบอลทีมชาติบราซิลเบอร์ 9 เมื่อ 4 ปีก่อน เป็นเพียงช่างทาสี แต่พอได้รับโอกาสภายในช่วงพริบตาเดียวเขาก็ได้เข้ามาเป็นนักเตะมีชื่อเสียงโด่งดังอยู่จนถึงทุกวันนี้
เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2561 กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ได้นำลูกฟุตบอลไปแจกเด็กนักเรียนเยาวชนระดับอนุบาลระดับประถมศึกษาโรงเรียนในเขตเทศบาลอุบลราชธานี 15 ชุมชน จำนวน 1,500 ลูก บรรยากาศการแจกลูกฟุตบอลโลโก้ คิง เพาเวอร์ ตลอดครึ่งวัน เด็ก ๆ ทั้งหญิงและชายมีสีหน้าแววตาเต็มเปี่ยมไปด้วยความสุขหลังจากได้เป็นเจ้าของลูกฟุตบอลคุณภาพดีไว้เล่นส่วนตัวและแบ่งปันการเล่นเป็นทีมกับเพื่อน ๆ
การแจกลูกฟุตบอลของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ยังเหลืออยู่อีกกว่าค่อนล้านลูก กำลังจะถูกขนใส่คาราวานรถบรรทุกสินค้าส่งต่อไปในแต่ละเดือนข้างหน้า นำพาโอกาสไปสร้างพลังกระจายความสุขให้แก่เด็กไทยนับล้านชีวิต
อัยยวัฒน์อธิบายต่อถึงการเชื่อมโยงโครงการ “พลังคนไทย สุขา สุขใจ” เข้าไปยังอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ในฐานะเอกชนไทยที่พร้อมนำร่องสร้างโอกาสให้เกิดภาพลักษณ์ความประทับใจในจังหวัดท่องเที่ยวเมืองหลัก เมืองรอง จึงลงทุนสร้างห้องน้ำแห่งละประมาณ 10 ล้านบาท โดยร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬามอบห้องน้ำดังกล่าวให้แก่ชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้บริการห้องน้ำ สะอาด ปลอดภัย ดีต่อสุขภาพและเป็นสุขใจ ระหว่างลงพื้นที่ส่งมอบแต่ละครั้งยังได้ชวนผู้บริหาร พนักงาน และเครือข่ายผู้มีส่วนร่วมทำกิจกรรมทาสีห้องน้ำเก่า ปลูกต้นไม้เพิ่มความร่มเย็นตามสถานที่เหล่านั้นด้วย
ตั้งแต่ต้นปี 2561 กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ส่งมอบห้องน้ำโดยเริ่มจากสวนพฤกษศาสตร์ จังหวัดเชียงใหม่ ต่อด้วยทุ่งศรีเมือง จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงครึ่งหลังปีนี้จะทยอยส่งมอบในภาคเหนือและอีสานอีก 4 จังหวัด ได้แก่ น่าน เลย เพชรบูรณ์ หนองคาย
อัยยวัฒน์ ฉายภาพอีกหนึ่งพลังที่สำคัญของโครงการ “COMMUNITY POWER” ในปี 2561 เป็นกิจกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับการเข้าไปช่วยชุมชนเครือข่ายผู้ผลิตสินค้าท้องถิ่นตามอัตลักษณ์ไทย หรือ OTOP ประชารัฐ เปิดโอกาสให้นำสินค้ามาวางขายในร้านค้าปลอดอากรของกลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ ทั้งสาขาสนามบินนานาชาติ (Airport Duty free) 4 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต และสาขาในเมือง (downtown duty free) อีก 4 แห่ง ได้แก่ รางน้ำ ศรีวารี พัทยา ภูเก็ต
ขณะนี้กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ เข้าไปสนับสนุนผู้ผลิตตามชุมชนทั่วประเทศหรือซัพพลายเออร์ 300 - 400 ราย โดยเข้าไปช่วยตั้งแต่ต้นน้ำด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้ซื้อหรือนักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติซึ่งเดินทางเข้ามาช้อปปิ้งปีละกว่า 35 ล้านคน
การเลือกสั่งซื้อสินค้าจากผู้ผลิตแต่ละครอบครัวในชุมชน จะยิ่งเพิ่มห่วงโซ่ให้คนมีงานทำนอกเหนือจากการผลิตก็ยังขยายไปสู่การบรรจุหีบห่อ บริการขนส่งวัสดุอุปกรณ์ และอื่น ๆ เพื่อนำมาใช้ผลิตสินค้าแต่ละชิ้น เป็นการกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นตามนโยบายรัฐบาลโดยอัตโนมัติอย่างมีนัยสำคัญ จากการผลิตรายเล็ก ๆ ก้าวไปสู่เครือข่ายการผลิตขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ได้
ปี 2561 กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ จะเพิ่มพื้นที่ตามสาขาต่าง ๆ ในการนำสินค้าชุมชนไปวางขาย ผลักดันยอดจำหน่ายหมุนเวียนเพิ่มขึ้นจากปัจจุบัน 20-25 % ของทั้งหมดในแต่ละปี ขยับเป็น 25-30 % ได้ในอนาคตต่อไป เนื่องจากนักท่องเที่ยวนานาประเทศนิยมสินค้าอัตลักษณ์ไทยที่มีดีไซน์มาตรฐานสวยงามคุณภาพ มีทั้งอาหารแปรรูป สแน็ก สมุนไพรไทย แฟชั่นผ้าไทย 4 ภาค เซรามิก ของใช้ และอื่น ๆ
คุณค่าของ “ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชนไทย” ที่ได้รับโอกาสคัดเลือกนำมาวางจำหน่ายตามสาขาร้านคิง เพาเวอร์ นอกจากจะถ่ายทอดเรื่องเล่าถึงความเป็นมาของสินค้าแต่ละชิ้นแล้ว ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยกลิ่นอายวิถีชีวิต วัฒนธรรม ความเป็นตัวตนของท้องถิ่นนั้น ๆ เชื่อมโยงไปสู่การดึงดูดให้นักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ตามรอยลงไปตามสถานที่ต่าง ๆ เพื่อค้นหาเสน่ห์ดังกล่าว
ข่าวที่ 2 “ผู้ว่าฯ ททท.จัดทัพท่องเที่ยวครึ่งหลังปี’61”
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของไทยผ่านครึ่งปีแรกได้อย่างราบรื่น ระหว่างมกราคม-มิถุนายน 2561 สามารถสร้างรายได้เข้าประเทศกระจายเงินสู่ท้องถิ่นทั่วไทยเป็นกอบกำรวม 1,458,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14 % จากชาวต่างชาติใช้เงินเที่ยวไทย 1,016,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15.88 % ส่วนคนไทยใช้เงินเที่ยวในประเทศ ระหว่างมกราคม-พฤษภาคม 2561 รวม 442,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.90 %
สถานการณ์ครึ่งปีหลังตั้งแต่กรกฎาคม-ธันวาคม 2561 เป็นช่วงท้าทายจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น การพลิกวิกฤตเป็นโอกาสหลังเหตุการณ์เรือท่องเที่ยวล่มที่ภูเก็ต ปรากฎการณ์ 13 หมูป่าติดถ้ำหลวง และช่วงนอกฤดูท่องเที่ยว (low season) แต่ภารกิจของ “การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย” (ททท.) ต้องทำรายได้ให้เข้าเป้าตลอดทั้งปีรวม 3.1 ล้านล้านบาท ด้วยการใช้ท่องเที่ยวเป็นเครื่องมือ ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มการสร้างงาน สร้างเงิน สร้างความยั่งยืน เลิกทำลายสิ่งแวดล้อม ยกระดับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยใน 55 เมืองรอง และเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน ทำให้เศรษฐกิจฐานรากของประเทศเข้มแข็งมั่นคง
โจทก์ใหญ่ของ ททท.ที่จะต้องฟันฝ่าทุกความท้าทายนำพาการท่องเที่ยวของประเทศไปให้ถึงจุดหมาย ด้วยเสน่ห์ความหลากหลายของวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณี ชุมชน เมืองรอง เชื่อมโยงเมืองหลัก และเพิ่มแรงจูงใจให้ “วันธรรมดา” ที่มีอยู่ปีละกว่า 200 วัน ให้กลายเป็น “วันแห่งความสุข” กระตุ้นให้เกิดการกระจายวันเที่ยวเลิกกระจุกอยู่เฉพาะวันหยุดยาว
“ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร” ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ช่วงครึ่งปีหลังเพิ่มพลังบุกขยายรายได้กระจายการท่องเที่ยวสู่ชุมชน โดยจะใช้ความหลากหลายจัดกิจกรรมสร้างรายได้ทำประโยชน์เข้าถึงท้องถิ่นมากที่สุด ด้วยจุดแข็งของโปรดักซ์ซึ่งมีทั้งแหล่งท่องเที่ยว สินค้าพื้นเมือง อัตลักษณ์วิถีท้องถิ่น ซึ่งจะผนวกไฮไลต์สำคัญเข้าไปอย่างเข้มข้นอีกส่วนคือการท่องเที่ยวจะต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่ทิ้งความเสียหายไว้ในแต่ละพื้นที่
ล่าสุดรัฐบาลให้งบประมาณรายจ่ายกลางปี 2561 เข้ามาโหมกระแสโครงการ Go Local ด้วยแคมเปญ Amazing Thailand Go Local Experience จัดทำตัวชี้วัดเพิ่มคุณค่าและกระจายมูลค่ารายได้ให้ถึงมือชุมชน สิ่งแรกที่ ททท.กำลังทำคือเชิญชวนเอกชนเข้าไปทำ CSR และ Team Building ขยายห่วงโซ่การใช้จ่ายอย่างกว้างขวาง ตามนโยบายของรัฐบาล และนายวีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ตามที่ทุกฝ่ายต่างย้ำให้ททท. นำอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเข้ามาเป็นเครื่องมือลดความเหลื่อมล้ำกระจายรายได้อย่างทั่วถึงทั้งประเทศ
ททท.จึงต้องใช้ เครื่องมือ ตัวชี้วัด การกระจายรายได้ ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความยั่งยืน มาผสมผสานรับนโยบายมาปฏิบัติให้เกิดขึ้นได้จริง
ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ส่วนการปลุกกระแสกำลังซื้อให้คนตื่นตัวหันมาท่องเที่ยววันธรรมดาเพิ่มขึ้น แทนที่การท่องเที่ยววันหยุดยาวหรือวันนักขัตฤกษ์นั้น ททท.พยายามเปลี่ยนวันธรรมดาให้เป็นวันแห่งความสุข ล่าสุดได้กำหนดตัวชี้วัดเร่งให้สำนักงานในประเทศทุกภูมิภาคเพิ่มส่วนแบ่งนักท่องเที่ยววันธรรมดาขึ้นเป็นปีละ 35 % จากปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 20-25 % จึงต้องโหมทำกิจกรรมส่งเสริมการขายร่วมกับเอกชนและองค์กรต่าง ๆ อย่างเต็มที่ คือ จัดมหกรรมการขาย วันธรรมดาน่าเที่ยว กับ Outdoor Fest ควบคู่กับเน้นเลือกกลุ่มนักท่องเที่ยวที่ไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาการเดินทาง 3 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.ผู้สูงอายุสุขภาพแข็งแรงเดินทางเป็นหมู่คณะได้ตั้งแต่จันทร์-ศุกร์ 2.นักเรียนก็จัด Educational Trip 3.เจนวาย ซึ่งมีไลฟ์สไตล์การท่องเที่ยวไม่ชอบอยู่ในกรอบแต่สามารถตัดสินใจเดินทางได้ทันทีทุกเวลา
โดยสรุปจากนี้ไป ททท.จะเพิ่มการขายท่องเที่ยววันธรรมดาด้วยการเลือกกลุ่มให้เหมาะสมเข้ามาเดินทางวันธรรมดาพร้อมกับลงทุนโปรโมตกิจกรรมเที่ยววันธรรมดา
ขณะที่ “การสร้างความเชื่อมั่นนักท่องเที่ยว” หลังเหตุการณ์เรือล่มที่ภูเก็ต ททท.ได้แสดงความเสียใจ พร้อมร่วมมือกับทุกฝ่ายค้นหาสาเหตุที่แท้จริง รวมทั้งจะใช้โอกาสนี้เสนอคณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ ปฎิรูปและยกระดับมาตรการสร้างความปลอดภัยให้ได้ตามมาตรฐานสากล เพื่อดูแลไม่เฉพาะชาวต่างชาติปีละ 35-38 ล้านคนเท่านั้น แต่ยังต้องดูแลคนไทยที่เดินทางปีละ 140-160 ล้านคน-ครั้ง ด้วย
ระหว่างนี้ ททท.จึงร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด เดินหน้าจัดทำโครงการมาตรฐานความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวทั่วประเทศ ไม่ใช่เฉพาะแค่ภูเก็ตเพียงจังหวัดเดียว จะรณรงค์ให้ทางเชียงรายซึ่งเกิดกรณีเยาวชนทีมฟุตบอล 13 หมูป่าติดถ้ำเข้ามาร่วมมือด้วย และการจัดระเบียบความปลอดภัยทางถนนในทุกจังหวัดก็ต้องหารือกันอย่างจริงจังควรจะต้องร่วมกันอย่างไรต่อไป เพื่อให้คนไทยและทั่วโลกมั่นใจตลอดการเดินทางเข้ามาท่องเที่ยว
ผู้ว่าการ ททท.ยืนยันด้วยน้ำเสียงหนักแน่นว่า ถึงเวลาที่ประเทศไทยควรต้องใช้วิกฤตครั้งนี้สร้างจุดเปลี่ยนเรื่องมาตรฐานการดูแลและป้องกันความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว จัดตั้งศูนย์รักษาความปลอดภัยแห่งชาติ หรือ Safety & Security Thailand Tourism :SSTT หลังจาก World Tourism Forum :WTF ได้จัดมาตรฐานด้านความปลอดภัยทางการท่องเที่ยวของประเทศไทยอยู่ในอันดับ 118 จากทั้งหมด 136 ประเทศ ไทยต้องกลับมาทบทวนและพิจารณาอย่างจริงทั้งเรื่อง 1.การบังคับใช้กฎหมายความปลอดภัยอย่างเข้มข้น 2.เอกชนทุกภาคส่วนต้องร่วมมือแจ้งเตือนภัย 3.คนไทยต้องเป็นเจ้าบ้านที่ดีช่วยกันดูแลความสุขแก่นักท่องเที่ยวทุกคน
ส่วนอีกโครงการไฮไลต์ของ ททท.เริ่มเมื่อ 24 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นไป คือการทำปฏิญญาร่วมกับภาครัฐและเอกชน 37 องค์กร เดินหน้าโครงการ “ลดโลกเลอะ” อันเป็นผลมาจากปัจจุบันขยะตามแหล่งท่องเที่ยวจำนวนมหาศาลจากการใช้พลาสติก สถิติคนไทยใช้ถุงพลาสติกวินาทีละ 4,400 ใบ ทิ้งอยู่ตามเมืองท่องเที่ยวย่อยสลายได้ยากต้องใช้เวลานับร้อยปี โดยเฉพาะแหล่งท่องเที่ยวทะเลจึงได้เห็นภาพ เต่าทะเล วาฬ กินถุงพลาสติกเข้าไป สวนทางกับนักท่องเที่ยวทั่วโลกมาเที่ยวทะเลเมืองไทยเพราะอยากเห็นความสวยงามและรักษาสิ่งมีชีวิต
จากนี้ไป ททท.จะหันมาทำโครงการรณรงค์ให้เกิดนักท่องเที่ยว “พันธุ์ใหม่ไม่ผลิตขยะ” ลดเลิกใช้หลอดพลาสติก ถุงพลาสติก นำภาชนะกระบอกเติมน้ำ หรืออุปกรณ์ใช้ได้หลายครั้งติดตัวไปใช้งานได้ทุกที่ และตั้งเป้าจะให้ทุกฝ่ายร่วมมือกันกับ ททท.ลดปริมาณขยะภายในปี 2563 ลงให้ได้ 50 % นำร่องจากการทำปฏิญญากับ 37 องค์กรจับมือกันขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการนี้ไปด้วยกัน
ดร.ยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ระหว่างวันที่ 26-29 กรกฎาคม นี้ ทั่วประเทศจัดแห่เทียนพรรษา สามารถไปท่องเที่ยวกันได้ทุกที่ และตลอดสิงหาคม 2561 เตรียมจัดกิจกรรมวันแม่ภายใต้การจัดทำโครงการ “สิงหาพาแม่เที่ยว” อย่างต่อเนื่อง เพื่อเชิญชวนคนไทยแสดงความกตัญญูต่อแม่ เพราะการท่องเที่ยวให้ความสุขและความรู้ จึงมีนโยบายให้ ททท. จัดท่องเที่ยว 5 ภูมิภาค และท่องเที่ยวข้ามภาค ทำให้เป็นเดือนมหามงคลและเดือนแห่งความสุข รวมทั้ง ททท.ตลาดต่างประเทศยังร่วมมือกันนำนักท่องเที่ยวผู้หญิงจากทั่วโลกเข้ามาเที่ยวตามโครงการ Women Jouney ถึงแม้จะเป็นหน้าฝนก็สามารถเที่ยวในสไตล์ Rain Coat ได้ เน้นกระจายนักท่องเที่ยวไปยังชุมชน เมืองรอง เชื่อมโยงเข้ากับเมืองหลักทั่วประเทศ ชูจุดขายเรื่อง “ความแตกต่าง” ของฤดูกาล ท้องถิ่น งานประเพณี จะเป็นเสน่ห์ดึงดูดการท่องเที่ยวทุกกลุ่มวัยได้เป็นอย่างดี
เพียงแค่ออกไปท่องเที่ยวไทย 1 เมือง 1 ชุมชน ก็ให้ความรู้สึกลึกซึ้งแตกต่างกันแล้ว และความหลากหลายของชุมชน เมืองรอง เป็นเสน่ห์ชวนให้ “ททท” ในความหมายคือ “เที่ยว-ทัน-ที” เท่ทุกที่ สวยทุกเวลา
ข่าวที่ 3 “บางจากส่งความช่วยเหลือไปสสป.ลาว”
นางสาวภควดี จรรยาเพศ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้มอบเงิน ให้นายแสง สุขะทิวง เอกอัครราชทูต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำราชอาณาจักรไทย ร500,000 บาท เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในสปป.ลาว ณ สถานเอกอัครราชทูต แห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประจำราชอาณาจักรไทย พร้อมสนับสนุนน้ำดื่ม 5,000 ขวด ส่งมอบผ่านสถานกงสุลใหญ่ สปป.ลาว จังหวัดขอนแก่น ซึ่งเป็นศูนย์รับบริจาคสิ่งของช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากเหตุการณ์น้ำท่วมเพราะเขื่อนแตกที่อัตปรือ ซึ่งขณะนี้ยังคงมีหน่วยงานหลายฝ่ายหลายประเทศพยายามเข้าไปช่วยในด้านด้วยเช่นกัน
ข่าวที่ 4 “ทอท.ลงทุน1.5 แสนล้านสุวรรณภูมิเฟส2-5”
ดร.นิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) “ทอท.” เปิดเผยว่าภาพรวมการลงทุนขยายท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ เฟส 2-3-4-5 ระหว่างปี 2561-2568 จะใช้เงินลงทุนรวมประมาณไม่เกิน 150,000 ล้านบาท เมื่อสิ้นสุดแผนขยายพื้นที่งานก่อสร้างเพื่อเปิดบริการภายในปี 2568 จะรองรับผู้โดยสารได้เกินกว่าปีละ 120 ล้านคน โดยมีทางวิ่งเครื่องบินรวม 4 รันเวย์ส ส่วนในปี 2564 ตามผลประเมินอย่างเป็นทางการอาจจะต้องกู้เงินระยะเร่งด่วนเข้ามาใช้จ่ายหมุนเวียนอีกไม่เกิน 50,000 ล้านบาท ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ แต่ในมุมของผู้บริหารมองว่าอาจจะไม่ใช้เงินกู้ก็เป็นได้ จะต้องรอดูสถานการณ์ข้างหน้าควบคู่กันไป
โดยเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2561 ได้นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าโครงการเฟส 2 (Sattlelight terminal) รวม 8 โครงการ 7 สัญญา ซึ่งจะเปิดบริการเต็มรูปแบบได้ภายในปี 2563 มีขนาดพื้นที่ 270,000 ตารางเมตร แซตเทิลไลท์จากการก่อสร้างใต้ดินขึ้นมายังเหนือพื้นดินมีอยู่ 5 ชั้น ภายในปีนี้จะเห็นการก่อสร้างอาคารบนพื้นดินหลังจากงานใต้อุโมงค์ใต้ดินทั้งหมดดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ไฮไลต์หลัก ๆ คือ
1.การเพิ่ม 28 หลุมจอด รองรับเครื่องบินขนาดใหญ่ แอร์บัส A380 โดยจะบริหารจัดการให้มาใช้พื้นที่จอดบริเวณตรงกลางแล้วสามารถระบายผู้โดยสารจำนวนมากออกจากพื้นที่ได้อย่างรวดเร็ว 2.ขีดความสามารถในการรองรับปริมาณเที่ยวบินได้ 68 เที่ยว/ช่วงโมง ปัจจุบันใช้งานความถี่หนาแน่นอยู่ประมาณ 60-63 เที่ยว/ชั่วโมง แต่เนื่องจากรันเวย์ของสุวรรณภูมิกับดอนเมืองสอบเข้าหากัน 20 องศา กรณีเที่ยวบินหนาแน่นระหว่าง 2 สนามบิน ก็อาจจะมีผลกระทบต่อจราจรการบินบ้าง เป็นปัญหาเรื่องการบริหารจัดการจราจรทางอากาศ
3.ระบบรถขนส่งอัตโนมัติ APM แบบไร้คนขับจากอาคารหลักมายังอาคารรองระยะทาง 1.5 กม.จะใช้เวลาเชื่อมต่อเพียง 2-5 นาที
4.พื้นที่เชิงพาณิชย์ (commercial Area) ภายในอาคารจะเปิดบริการได้ช่วงปี 2563 ตรงกับที่กลุ่มบริษัท คิง เพาเวอร์ หมดสัญญาสัมปทาน ขณะนี้มีหลายฝ่ายให้ความสนใจแต่ในทางปฏิบัติกำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาถึงความต้องการของลูกค้าจะมีจำนวนมากน้อยขนาดไหน ก่อนจะกำหนดเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ในอาคารหลังใหม่ได้อย่างเหมาะสม
ดร.นิตินัยกล่าวเมื่อเฟส 2 แล้วเสร็จ จะดำเนินการเฟส 3 ควบคู่กันไปวงเงินรวมกัน 63,000 ล้านบาท โดยทำรันเวย์ 3 (กำลังส่งเอกสารให้กระทรวงคมนาคม) อาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (ประกวดแบบวันที่ 26 กรกฎาคม 2561) ใช้งานได้ปี 2564 สุวรรณภูมิจะรองรับผู้โดยสารได้ทั้งหมด 90 ล้านคน และมีขีดการรองรับ 96 เที่ยว/ชั่วโมง
สำหรับอาคารแซตเทิลไลท์ 8 โครงการ ประกอบด้วย
1.การจ้างก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ชั้น B2-B1-G และส่วนต่อเชื่อมอุโมงค์ด้านทิศใต้ (CC1/1) กำหนดแล้วเสร็จภายในพฤศจิกายน 2561 ก่อสร้างโดยบริษัท อิตาเลียน ไทยดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
2.งานก่อสร้างอาคารเทียบเครื่องบินรองหลังที่ 1 ชั้น 2-4 และส่วนต่ออุโมงค์ด้านใต้งานระบบย่อย (CC1/2) กำหนดแล้วเสร็จพฤศจิกายน 2562 ก่อสร้างโดยกลุ่มร่วมทุน PCS ได้แก่ บมจ.เพาเวอร์ไลน์เอ็นจิเนียริ่ง บริษัท ไชน่าสเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้างเสาด้านตะวันตกและตะวันออกของอาคารมิดฟิลด์ แซตเทิลไลท์ 1 และกำแพงคอนกรีตในอุโมงค์ด้านทิศใต้
3.งานจ้างก่อสร้างอาคารสำนักงานสายการบินและที่จอดรถด้านทิศตะวันออก จะประกาศประกวดราคาเดือนตุลาคม 2561 ประกาศชื่อผู้รับจ้างงานเดือนมกราคม 2562 ใช้เวลา 18 เดือนสร้างให้เสร็จพร้อมใช้งานมิถุนายน 2563
4.งานจ้างก่อสร้างส่วนขยายอาคารผู้โดยสารด้านทิศตะวันออก จะประกวดราคาพฤศจิกายน 2561 ประกาศผู้รับจ้างกุมภาพันธ์ 2562 ใช้เวลาสร้าง 29 เดือนให้แล้วเสร็จพร้อมเปิดใช้มิถุนายน 2564
5.งานจ้างก่อสร้างระบบสาธารณูปโภค จะแล้วเสร็จเปิดใช้ได้พฤษภาคม 2562 โดยกิจการร่วมค้า เอสจี แอนด์ อินเตอร์ลิงค์ สร้างคืบหน้าไปแล้ว 38.85 %
6.งานซื้อพร้อมที่ติดตั้งระบบขนส่งผู้โดยสารอัตโนมัติ (APM) จะแล้วเสร็จพร้อมใช้งานเมษายน 2563 โดยนิติบุคคลร่วมทำงาน ไออาร์ทีวี
7.งานซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) ขาออก จะแล้วเสร็จเมษายน 2563 โดยนิติบุคคลร่วมทำงาน ล็อกเลย์-แอลพีเอส
8.งานซื้อพร้อมติดตั้งระบบสายพานลำเลียงกระเป๋า และระบบตรวจจับวัตถุระเบิด (EDS) ขาเข้า จะแล้วเสร็จเมษายน 2563 ขณะนี้อยู่ระหว่างประกวดราคาให้ได้ภายสิงหาคม 2561ประกาศชื่อผู้รับจ้างพฤศจิกายน 2561
ข่าวที่ 5 “TCEBชูแคมเปญTMVS2018ดันไมซ์2.2แสนล้าน”
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “สสปน./TCEB” เปิดเผยว่า ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2561 เป็นต้นไปได้เร่งจัดทำแคมเปญสื่อสารการตลาด Thailand MICE Venue Standards (TMVS) 2018 โดยจะเปิดรับหน่วยงานและองค์กรที่พร้อมสมัครเข้ารับการพิจารณาตรามาตรฐานสถานที่จัดงานไมซ์ ปีนี้ตั้งเป้ารณรงค์ให้มีสถานประกอบการไมซ์ไทยทั่วประเทศผ่านมาตรฐานการรับรองไม่ต่ำกว่า 175 แห่ง ช่วงตุลาคม 2560-กรกฎาคม 2561 มีผู้สนใจทยอยสมัครเข้ามาแล้ว 147 แห่ง วันที่ 14 ธันวาคม 2561 จะประกาศผลสถานประกอบการทั้งหมดที่ผ่านการรับรองมาตรฐานประจำปี 2561 ส่วนรายชื่อที่เหลือจะเก็บข้อมูลไว้พิจารณาในปีต่อไป
ส่วนแนวทางของแคมเปญสื่อสารการตลาด Thailand MICE Venue Standards (TMVS) 2018 ตั้งเป้าสร้างการรับรู้เข้าถึง 1 ล้านคน ด้วยความถี่ 7.5 ล้านครั้ง ผ่านช่องทางทั้งทางสื่อ ออฟไลน์และดิจิตอลออนไลน์ โดยมีไฮไลต์ความร่วมมือกับ 2 พันธมิตร ได้แก่ 1.ZipEVENT เป็นแพลตฟอร์มรวมงานอีเวนต์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในไทย 2.Event Banana แพลตฟอร์มออนไลน์มาร์เก็ตเพลส ส่วนที่เหลือจะโหมสื่อสารแคมเปญผ่านทาง วิดีโอ, Youtube , Instragram, Google Display Network, Content Facebook Introduce, Land Page และ Email Marketing
โดยใช้กลยุทธ์หลัก 4 สร้าง 1 สานสัมพันธ์ ได้แก่ 1.สร้างการรับรู้เกี่ยวกับโครงการ 2.สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ไมซ์ไทย 3.สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการ 4.สร้างความเข้าใจในภารกิจและวิสัยทัศน์ขององค์กร และ 1.สานสัมพันธ์ที่ดีกับหน่วยงานพันธมิตรตลอดจนกลุ่มผู้ประกอบการภายใต้แนวคิด “มั่นใจในคุณภาพระดับสากล ด้วยมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย”
นายจิรุตถ์กล่าวว่า ปี 2561 ตั้งเป้าสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมไมซ์เข้าประเทศรวม 124,000 ล้านบาท จากจำนวนผู้เดินทางตลอดทั้งปี 1,327,000 คน สถิติช่วงไตรมาสแรกสร้างรายได้แล้ว 42,000 ล้านบาท จากผู้เดินทางรวม 547,623 คน สำหรับโครงการ TMVS สามารถสร้างผลประโยชน์กลับคืนสู่เศรษฐกิจประเทศได้ 2 ปีแรกไม่ต่ำกว่า 2.2 แสนล้านบาท แต่สิ่งที่สำคัญมากกว่าคือสามารถเพิ่มฐานลูกค้ากลุ่มเดินทางมาใช้บริการซ้ำ ๆ หรือ Repleater เพิ่มขึ้นอีกมหาศาล ตัวอย่าง กลุ่มอินเซ็นทีฟจากสาธารณรัฐประชาชนจีนเลือกเข้ามาจัดงานในพัทยา ชลบุรี ซ้ำ ๆ ปี 2561 เป็นครั้งที่ 15 แล้ว
ช่วงที่ 2 ทั่วประเทศ 68 จังหวัด ชวนนั่งรถฟรี “ไหว้พระทั่วไทย สุขใจถ้วนหน้า” ในกรุงเทพฯ ขสมก.จัดรถแวะทำบุญรอบเกาะรัตนโกสินทร์ 10 วัด ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคเหนือ ชวนนั่งรถไปไหว้พระวัดดังอย่างสบายใจตลอดเทศกาลเข้าพรรษา วันนี้-29 ก.ค.นี้ ส่วนการดูแลสุขภาพมี “5ส.สุขใจในวัดช่วงเข้าพรรษา” มาแนะนำ และข่าวร้อน ๆ ช่วงวันหยุด “การบินไทย” ผนึกคาร์ลสัน วากองลี ลุยขยาย 8 ตลาดบินโลก “นำบุรีรัมย์บุกโตเกียว” 23 สิงหาคมนี้ ขายท่องเที่ยวครบวงจร และ “โรงแรมริชมอนด์” ท้าชิมบุฟเฟต์ส้มตำ มา 4 จ่าย 3 อร่อยสุดคุ้ม
@เข้าพรรษาไหว้พระวัดดัง5ภูมิภาคทั่วไทย
ตลอดเทศกาลบุญใหญ่ อาสาฬบูชา เข้าพรรษา ชวนกันไป “ไหว้พระทั่วไทย สุขใจถ้วนหน้า” กับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยทั้ง 5 ภูมิภาค ได้รณรงค์ให้ทั่วประเทศ 68 จังหวัด จัดรถบริการรถท่องเที่ยวทางบุญฟรี ช่วงเสาร์ 28 – อาทิตย์ 29 กรกฎาคม นี้
เพื่อเป็นสวัสดิการทางสังคมเดินทางทัวร์บุญฟรีโดยมีการจัดรถหมุนเวียนบริการตามจุดขึ้น-ลง ตามเส้นทางผ่านวัดสำคัญ ๆ ให้นักท่องเที่ยวได้เดินทางไหว้พระทำบุญเสริมสิริมงคลตามวิถีไทย เนื่องในวันอาสาฬหบูชา และวันเข้าพรรษา อันเป็นวันสำคัญของพุทธศาสนิกชน
ภาคกลาง 17 จังหวัด เริ่มจาก ในกรุงเทพมหานคร ชวนท่องเที่ยวโครงการ "ไหว้พระทั่วไทย สุขใจถ้วนหน้า” จัดรถ ขสมก. 3 เส้นทาง ไปทัวร์ 10 วัดรอบเกาะรัตนโกสินทร์
เส้นทางที่ 1 อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ไปยัง วัดเบญจมบพิตร – วัดบวรนิเวศน์ – วัดชนะสงคราม – วัดมหาธาตุ – วัดพระศรีรัตนศาสดาราม – วัดพระเชตุพน – วัดราชบพิธ – วัดสุทัศน์ – วัดสระเกศ – วัดราชนัดดา สิ้นสุดที่อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ
หรือจะแวะไปตักบาตรดอกไม้-เดินเทียน ที่วัดราชบพิตร ช่วง 1 ทุ่มตรงชวนหลอมรวมใจชาวพุทธไปร่วมเวียนเทียนด้วยกัน
เส้นทางที่ 2 นนทบุรี ปทุมธานี รับจำนวนจำกัด วันละ 150 คน ต้องจองล่วงหน้าที่ 1672 ภายในวันที่ 25 กรกฎาคม แต่ถ้าใครจะขับรถไปเองก็ได้ ถ้าไปเมืองปทุมธานีไหว้พระเสร็จเรียบร้อยแล้วต้องแวะชมตลาดน้ำสามโคก ส่วนนนทบุรี ทางวัดเฉลิมพระเกียรติ (เล่งเน่ยยี่) แวะตลาดน้ำวัดโตนด
เส้นทางที่ 3 จังหวัดรอบปริมณฑล ไปชมวิถีชีวิตงานแห่เทียน ไหว้พระ วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี ไหว้องค์พระปฐมเจดีย์ นครปฐม สักการะพระนอนจักรสีห์ สิงห์บุรี ไหว้พระวัดท่าไม้ สมุทรสาคร วัดโสธรวรวิหาร ฉะเชิงเทรา วัดสังกัสรัตนคีรี อุทัยธานี
Go North ภาคเหนือ ไฮไลต์ในเชียงใหม่ เตรียมรถรางไว้บริการนักท่องเที่ยวร่วมเดินทางไหว้พระกันตลอดทั้งวัน 9 วัด เริ่มจาก วัดพระสิงห์วรมหาวิหาร วัดดับภัย วัดโลกโมฬี วัดเชียงยืน วัดเชียงมั่น วัดดวงดี วัดพันเตา วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร สิ้นสุดที่วัดศรีสุพรรณ
ในลำปางแนะนำให้ไป “วัดพระแก้วดอนเต้า” ส่วนพิษณุโลก ต้องที่วัด “พระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร
Go ISAN สัมผัสวิถีบุญใหญ่ในดินแดนอารยธรรมความหลากหลายในอีสานในบริเวณริมฝั่งโขง วัดโพธิ์ชัย หนองคาย วัดพระธาตุเชิงชุม สกลนคร และยังมีอีกหลายเมืองรองเปิดวัดชวนไปร่วมบุญกันได้ตลอดเทศกาลแห่เทียนพรรษา
Go South ลงใต้ ไปวัดช้างไห้ ถิ่นหลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืดแห่งเมืองปัตตานี และวัดต่าง ๆ ใน นราธิวาส ปัตตานี เพื่อให้เห็นถึงชาวไทยพุทธและมุสลิมอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เรื่อยไปจนถึง พังงา ระนอง และวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช วัดพระธาตุไชยา สุราษฎร์ธานี
เที่ยวเทศกาลบุญเข้าพรรษาทั่วไทย ได้ตลอดเสาร์-อาทิตย์ นี้ สอบถามเบอร์เดียวเที่ยวทั่วไทย ได้ทุกเวลาที่ 1672 หรือเข้าไปดูข้อมูลก่อนได้ที่ www.tourismthailand.org
@5 ส.สร้างสุขในวัดช่วงเข้าพรรษา
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) ร่วมกับ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น ดำเนินโครงการวัดสร้างสุข เพื่อให้สังคมไทยตื่นตัวเรื่องการช่วยเหลือสังคม ก่อให้เกิดสังคมสุขภาวะ รวมทั้งดำเนินโครงการเพื่อพัฒนารูปแบบและแนวคิด 5ส.
1.สะสาง ด้วยการลดสิ่งที่ไม่จำเป็นให้เกิดความสมดุล โดยการสำรวจสิ่งของ เครื่องใช้ อุปกรณ์ที่มีอยู่ ว่าพอดีกับการใช้งานหรือไม่ แยกแยะสิ่งของ หากพบว่าไม่จำเป็น ต้องดูว่าใช้ได้หรือไม่ ถ้าสิ่งของสามารถใช้ได้ ให้ส่วนกลางนำไปใช้ ถ้าใช้ไม่ได้ให้ดำเนินการขาย หรือดำเนินการกำจัดของเสีย อย่าเสียดาย
2. สะดวก ด้วยการจัดสรรสิ่งต่างๆ ให้เป็นระเบียบ โดยทำแผนผัง กำหนดชื่อ ที่อยู่ที่แน่นอนให้กับสิ่งของที่อยู่ในพื้นที่ทั้งหมด
3. สะอาด กำหนดรายการสิ่งของและจุดบริเวณที่ต้องทำความสะอาด หากพบสิ่งผิดปกติให้ติดป้ายและดำเนินการแก้ไขหรือแจ้งผู้ที่เกี่ยวข้อง
4. สร้างมาตรฐาน ด้วยการตั้งกฎเกณฑ์และมุ่งมั่นพัฒนา หากพบว่ามาตรฐานไม่ได้ถูกนำไปใช้ ต้องปรับปรุงมาตรฐานให้ใช้ง่ายขึ้นและสร้างความเข้าใจถึงประโยชน์ที่ได้รับ
5. สร้างวินัย ด้วยการเคารพกฎกติกา อยู่ร่วมกันด้วยความสุข โดยสร้างแรงจูงใจ และสร้างกิจกรรมส่งเสริมเพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
ฟังข่าวท้ายชั่วโมง
ข่าวแรก “บินไทยผนึกคาร์ลสันบุกเจาะ8ตลาดใหญ่”
นางอุษณีย์ แสงสิงแก้ว รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การบินไทยลงนามสัญญาความร่วมมือในการขยายธุรกิจกับ บริษัท คาร์ลสัน วากองลี ทราเวล จำกัด บริษัทชั้นนำของโลกด้านการจัดการวางแผนการเดินทาง (Corporate Travel Management) ตั้งเป้าขยายธุรกิจการบินใน 8 ประเทศหลัก ได้แก่ ออสเตรเลีย จีน ฮ่องกง อินเดีย อินโดนีเซีย นิวซีแลนด์ สิงคโปร์ และไทย ซึ่งเป็นตลาดที่มีการเติบโตและการแข่งขันสูง
ข่าวที่สอง “23ส.ค.นำบุรีรัมย์บุกโตเกียวชูท่องเที่ยวครบวงจร”
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) รายงานว่า วันที่ 28 สิงหาคม 2561 วางแผนจะจัดงาน Buriram Night in Japan ส่งเสริมการท่องเที่ยวบุรีรัมย์ ขึ้นที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยเตรียมเชิญสื่อมวลชนกับผู้บริหารบริษัทนำเที่ยวชั้นนำของญี่ปุ่นเกือบ 300 คน จะเข้าร่วมงาน Buriram Night โดยมี วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นประธานจัดงาน พร้อมด้วยนายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการ ททท.
เตรียมใช้โอกาสการจัดงานดังกล่าวกระตุ้นชาวญี่ปุ่นเดินทางมาท่องเที่ยวบุรีรัมย์ที่มีชื่อเสียงของเมือง 2 ปราสาท ได้แก่ ปราสาทหินพนมรุ้ง และทีมฟุตบอลปราสาทสายฟ้า ปลุกกระแสคนญี่ปุ่นรู้จักบุรีรัมย์ทางด้านการท่องเที่ยวด้วยเพราะแหล่งอารยธรรมสำคัญแห่งหนึ่งของโลก เป็นเมืองกีฬาของไทยที่ได้รับเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดแข่งขัน Moto GP กีฬาที่ชาวญี่ปุ่นชื่นชอบมาก และเตรียมนำเสนอสินค้าพื้นเมืองเอกลักษณ์บุรีรัมย์ เช่น ผ้าไหม ผ้าย้อมดินภูเขาไฟ สร้างจุดขายแบบครบวงจร
ข่าวที่สาม “ริชมอนด์จัดโปรบุฟเฟต์ส้มตำกิน4จ่าย3”
โรงแรมริชมอนด์ เปิดห้องอาหาร แอทคาเฟ่ ตลอดเดือนสิงหาคม 2561 จัดโปรโมชั่นฟินเวอร์ บุฟเฟ่ต์มา 4 จ่าย 3 คุ้ม สำหรับกลางวันบุฟเฟ่ต์กว่าร้อยรายการ พิเศษสุดกับเทศกาลส้มตำหลากหลายเมนู แซ่บนัว โทร.จองได้ตั้งวันนี้ที่ 02 831 8888 ต่อ 2126
ติดตามฟังรายการได้เป็นประจำทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 11.00-12.00 น.ทาง สวท.FM 97.0 MHz.
เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน ผู้ดำเนินรายการ และคอลัมนิสต์ท่องเที่ยว |
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น