คมนาคมได้ไฟเขียวครม.ฉลุย 4 เรื่อง
เท994ล้านแก้ถนนขวางน้ำ108แห่ง
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #คมนาคม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 สรุปได้ดังนี้
1.กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมกีดขวางทางน้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ที่ให้ คค. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาทุกจุดให้แล้วเสร็จ ก่อนเริ่มฤดูฝนปี 2561 โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องแก้ไข 108 แห่ง ดังนี้
กรมทางหลวง มีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมกีดขวางเส้นทางน้ำที่ต้องแก้ไขจำนวน 100 แห่ง แบ่งเป็นในพื้นที่ภาคใต้ 42 แห่ง และพื้นที่ทั่วประเทศ 58 แห่ง ความเสียหาย 921.46 ล้านบาท ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 24 แห่ง
กรมทางหลวงชนบท มีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมกีดขวางเส้นทางน้ำที่ต้องแก้ไข 8 แห่ง อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ความเสียหาย 73.12 ล้านบาท โดยดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด
สรุปค่าความเสียหายและวงเงินที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งสิ้น จำนวน 994.58 ล้านบาท แหล่งเงินที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจากงบเหลือจ่ายปี 2560 จำนวน 253.18 ล้านบาท งบกลางปี 2560 จำนวน 157.09 ล้านบาท งบปี 2561 จำนวน 16.61 ล้านบาท ปรับแผนงบปี 2561 จำนวน 14.00 ล้านบาท และของบปี 2562 จำนวน 553.70 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ คค. เร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
2.กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบรายงานผลการพิจารณากำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมไม่ให้รถบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นไปด้วยความเคร่งครัด ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ดังนี้
1. กรมทางหลวง กำหนดเป็น 3 มาตรการ ได้แก่
1.1 มาตรการป้องปราม เร่งก่อสร้างสถานีตรวจสอบน้ำหนักและจุดพักรถให้ครอบคลุมโครงข่ายทั่วประเทศตามแผนที่วางไว้ 103 แห่ง (ปัจจุบันมีแล้ว 72 แห่ง) และนำเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบจับกุม
1.2 มาตรการปราบปราม เข้มงวด กวดขันให้รถบรรทุกที่ผ่านสถานีฯ เข้าตรวจสอบน้ำหนักทุกคัน จัดหน่วยตรวจสอบน้ำหนักเคลื่อนที่สุ่มตรวจในเส้นทางที่มีรถบรรทุกหลบเลี่ยงสถานีฯ และจัดชุดตรวจสอบน้ำหนักเฉพาะกิจส่วนกลางเพิ่มขึ้นเป็น 10 จุด (จากเดิม 4 จุด) เพื่อเพิ่มความถี่ในการสุ่มตรวจทั่วประเทศ
1.3 มาตรการประชาสัมพันธ์ รับเรื่องร้องเรียน ให้ผู้ประกอบการขนส่งและประชาชนทราบถึงนโยบายการควบคุมน้ำหนักและผลการจับกุมผู้กระทำผิดผ่านสื่อออนไลน์ เฟสบุ๊ค และเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเรื่องการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. กรมทางหลวงชนบท กำหนดมาตรการเป็น 3 ระยะ ได้แก่
2.1 ระยะสั้น เช่น จัดตั้งด่านชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่เน้นการทำงานเชิงรุกในสายทางที่มีความเสี่ยงการบรรทุกน้ำหนักเกิน บังคับใช้กฎหมาย เพิ่มความถี่การตั้งด่าน
2.2 ระยะกลาง เช่น กำหนดแผนก่อสร้างสถานีตรวจสอบน้ำหนักให้ครอบคลุมพื้นที่สายทางที่มีปริมาณรถบรรทุกสูง
2.3 ระยะยาว เช่น ตั้งคณะทำงานพิจารณาแก้ไขปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน (ด้านกฎหมาย) เพื่อพิจารณาข้อกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำข้อกำหนดในการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างและมาตรฐานความปลอดภัยขณะก่อสร้าง ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำข้อกำหนดดังกล่าว
3.กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมของโครงการประกอบการท่าเทียบเรือ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ ท่าเทียบเรือสินค้ากอง เอ 5 และท่าเทียบเรือตู้สินค้า บี 2 บี 3 และ บี 4 ซึ่ง กทท. ได้เสนอคณะกรรมการพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการประกอบการท่าเทียบเรือ ทั้ง 4 แห่งตามนัยมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 แล้ว โดยพิจารณาจากความเหมาะสมทางด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ประโยชน์ของ กทท. และความต่อเนื่องในการให้บริการสาธารณะและผลกระทบต่อประชาชน ได้แนวทางที่เหมาะสมที่สุด คือ
การให้สัญญาท่าเทียบเรือสินค้ากอง เอ 5 และสัญญาท่าเทียบเรือตู้สินค้า บี 2 บี 3 และ บี 4 มีผลบังคับใช้ต่อไปจนสิ้นสุดสัญญา (30 เมษายน 2564 31 มีนาคม 2563 31 ธันวาคม 2563 และ 31 ธันวาคม 2563 ตามลำดับ) เนื่องจากในทางด้านการเงินการให้เอกชนคู่สัญญารายเดิมประกอบการท่าเทียบเรือจนสิ้นสุดสัญญาจะทำให้ภาครัฐได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตลอดอายุสัญญาสูงกว่าที่ กทท. กำหนดไว้
ทางด้านกฎหมายสัญญาโครงการที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานของสัญญาร่วมลงทุนและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและ กทท. ประกอบกับสัญญาร่วมลงทุนทั้ง 4 โครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดภายใน 5 ปี โดย กทท. จะต้องจัดทำแนวทางการดำเนินกิจการของรัฐภายหลังจากสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลง ตามนัยมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
ดังนั้น หากมีการยกเลิกหรือแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการดังกล่าว ตลอดจนอาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับความล่าช้า และความต่อเนื่องในการให้บริการท่าเทียบเรือ หรือกิจการที่เกี่ยวข้องได้
เท994ล้านแก้ถนนขวางน้ำ108แห่ง
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #คมนาคม
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม แถลงข่าวผลการประชุมคณะรัฐมนตรีในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 สรุปได้ดังนี้
1.กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมกีดขวางทางน้ำ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2560 ที่ให้ คค. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการแก้ไขปัญหาทุกจุดให้แล้วเสร็จ ก่อนเริ่มฤดูฝนปี 2561 โดยมีโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องแก้ไข 108 แห่ง ดังนี้
กรมทางหลวง มีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมกีดขวางเส้นทางน้ำที่ต้องแก้ไขจำนวน 100 แห่ง แบ่งเป็นในพื้นที่ภาคใต้ 42 แห่ง และพื้นที่ทั่วประเทศ 58 แห่ง ความเสียหาย 921.46 ล้านบาท ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 24 แห่ง
กรมทางหลวงชนบท มีโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมกีดขวางเส้นทางน้ำที่ต้องแก้ไข 8 แห่ง อยู่ในพื้นที่ภาคใต้ ความเสียหาย 73.12 ล้านบาท โดยดำเนินการแล้วเสร็จทั้งหมด
สรุปค่าความเสียหายและวงเงินที่ใช้ในการแก้ปัญหาทั้งสิ้น จำนวน 994.58 ล้านบาท แหล่งเงินที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาจากงบเหลือจ่ายปี 2560 จำนวน 253.18 ล้านบาท งบกลางปี 2560 จำนวน 157.09 ล้านบาท งบปี 2561 จำนวน 16.61 ล้านบาท ปรับแผนงบปี 2561 จำนวน 14.00 ล้านบาท และของบปี 2562 จำนวน 553.70 ล้านบาท ทั้งนี้ ให้ คค. เร่งรัดการดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็วต่อไป
2.กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบรายงานผลการพิจารณากำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวกับการควบคุมไม่ให้รถบรรทุกสินค้าบรรทุกน้ำหนักเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดเป็นไปด้วยความเคร่งครัด ตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2561 ดังนี้
1. กรมทางหลวง กำหนดเป็น 3 มาตรการ ได้แก่
1.1 มาตรการป้องปราม เร่งก่อสร้างสถานีตรวจสอบน้ำหนักและจุดพักรถให้ครอบคลุมโครงข่ายทั่วประเทศตามแผนที่วางไว้ 103 แห่ง (ปัจจุบันมีแล้ว 72 แห่ง) และนำเทคโนโลยีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจสอบจับกุม
1.2 มาตรการปราบปราม เข้มงวด กวดขันให้รถบรรทุกที่ผ่านสถานีฯ เข้าตรวจสอบน้ำหนักทุกคัน จัดหน่วยตรวจสอบน้ำหนักเคลื่อนที่สุ่มตรวจในเส้นทางที่มีรถบรรทุกหลบเลี่ยงสถานีฯ และจัดชุดตรวจสอบน้ำหนักเฉพาะกิจส่วนกลางเพิ่มขึ้นเป็น 10 จุด (จากเดิม 4 จุด) เพื่อเพิ่มความถี่ในการสุ่มตรวจทั่วประเทศ
1.3 มาตรการประชาสัมพันธ์ รับเรื่องร้องเรียน ให้ผู้ประกอบการขนส่งและประชาชนทราบถึงนโยบายการควบคุมน้ำหนักและผลการจับกุมผู้กระทำผิดผ่านสื่อออนไลน์ เฟสบุ๊ค และเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง และข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเรื่องการศึกษาและปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีความทันสมัยและสามารถบังคับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2. กรมทางหลวงชนบท กำหนดมาตรการเป็น 3 ระยะ ได้แก่
2.1 ระยะสั้น เช่น จัดตั้งด่านชั่งน้ำหนักเคลื่อนที่เน้นการทำงานเชิงรุกในสายทางที่มีความเสี่ยงการบรรทุกน้ำหนักเกิน บังคับใช้กฎหมาย เพิ่มความถี่การตั้งด่าน
2.2 ระยะกลาง เช่น กำหนดแผนก่อสร้างสถานีตรวจสอบน้ำหนักให้ครอบคลุมพื้นที่สายทางที่มีปริมาณรถบรรทุกสูง
2.3 ระยะยาว เช่น ตั้งคณะทำงานพิจารณาแก้ไขปัญหารถบรรทุกน้ำหนักเกิน (ด้านกฎหมาย) เพื่อพิจารณาข้อกฎหมายให้เหมาะสมกับสภาพการณ์ในปัจจุบัน ทั้งนี้ ได้แต่งตั้งคณะทำงานจัดทำข้อกำหนดในการเพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างและมาตรฐานความปลอดภัยขณะก่อสร้าง ซึ่งอยู่ระหว่างจัดทำข้อกำหนดดังกล่าว
3.กระทรวงคมนาคม (คค.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาแนวทางการดำเนินการที่เหมาะสมของโครงการประกอบการท่าเทียบเรือ จำนวน 4 โครงการ ได้แก่ ท่าเทียบเรือสินค้ากอง เอ 5 และท่าเทียบเรือตู้สินค้า บี 2 บี 3 และ บี 4 ซึ่ง กทท. ได้เสนอคณะกรรมการพิจารณาแนวทางที่เหมาะสมในการดำเนินโครงการประกอบการท่าเทียบเรือ ทั้ง 4 แห่งตามนัยมาตรา 72 แห่ง พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 แล้ว โดยพิจารณาจากความเหมาะสมทางด้านการเงิน ด้านกฎหมาย ประโยชน์ของ กทท. และความต่อเนื่องในการให้บริการสาธารณะและผลกระทบต่อประชาชน ได้แนวทางที่เหมาะสมที่สุด คือ
การให้สัญญาท่าเทียบเรือสินค้ากอง เอ 5 และสัญญาท่าเทียบเรือตู้สินค้า บี 2 บี 3 และ บี 4 มีผลบังคับใช้ต่อไปจนสิ้นสุดสัญญา (30 เมษายน 2564 31 มีนาคม 2563 31 ธันวาคม 2563 และ 31 ธันวาคม 2563 ตามลำดับ) เนื่องจากในทางด้านการเงินการให้เอกชนคู่สัญญารายเดิมประกอบการท่าเทียบเรือจนสิ้นสุดสัญญาจะทำให้ภาครัฐได้รับผลประโยชน์ตอบแทนตลอดอายุสัญญาสูงกว่าที่ กทท. กำหนดไว้
ทางด้านกฎหมายสัญญาโครงการที่มีผลบังคับใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นไปตามข้อกำหนดมาตรฐานของสัญญาร่วมลงทุนและเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะและ กทท. ประกอบกับสัญญาร่วมลงทุนทั้ง 4 โครงการดังกล่าวจะสิ้นสุดภายใน 5 ปี โดย กทท. จะต้องจัดทำแนวทางการดำเนินกิจการของรัฐภายหลังจากสัญญาร่วมลงทุนสิ้นสุดลง ตามนัยมาตรา 48 แห่ง พ.ร.บ. การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556
ดังนั้น หากมีการยกเลิกหรือแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน อาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินการดังกล่าว ตลอดจนอาจมีความเสี่ยงเกี่ยวกับความล่าช้า และความต่อเนื่องในการให้บริการท่าเทียบเรือ หรือกิจการที่เกี่ยวข้องได้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น