TCEBลุยจัดงานทั่วไทยภูมิใจช่วยชาติปลุกตลาดไมซ์พุ่งปี64 เปิดแผนรุกไมซ์ไทย-ต่างชาติอัดฉีด7แพกเกจโกยรายได้แสนล้าน
“TCEB”ยึดจัดงานทั่วไทยภูมิใจช่วยชาติปลุกตลาดไมซ์พุ่งปี’64
เปิดแผนรุกไมซ์ไทย-ต่างชาติอัดฉีด7แพกเกจโกยรายได้แสนล้าน
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza www.facebook.com/penroongyaisamsaen
อ่านได้ทางมติชนออนไลน์https://www.matichon.co.th/uncategorized/news_2332972
TCEB เปิดเวทีใหญ่ประจำปีโปรเจ็กต์ “จัดงานทั่วไทย ภูมิใจช่วยชาติ” ระดมผู้ซื้อ 300 รายจับคู่ธุรกิจกับผู้ขาย 120 ราย ระดมโรงแรม สายการบิน บริษัทท่องเที่ยว รถทัวร์ ร่วมวงลดแลกแจกแถม ทีเส็บงัด 7 แพกเกจพิเศษ ปลุกอุตสาหกรรมไมซ์ตลาดและต่างประเทศ ตั้งเป้ากระตุ้นเศรษฐกิจคึกคักส่งท้ายปี’63 ต้อนรับปี’64 ยันยังคงรักษาฐานรายได้ไว้เหนียวแน่นรวมกว่า 1 แสนล้านบาท เร่งจับเข่าคุย ศบค.อนุมัติ 5 ขั้นตอนชิมลางรับเอ็กซิบิชั่นต่างชาติ ปี’64 ชูธงชิงประมูลงานนานาชาติเลือกไทยเป็นศูนย์กลางจัดไมซ์โลกโกยลูกค้าช่วงปี’65-68
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB”
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB”
เปิดเผยว่า ได้จัดงานประจำปีโครงการ “จัดงานทั่วไทย ภูมิใจช่วยชาติ” เมื่อวันที่ 2
กันยายน
2563 ณ สยามพารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 โดยได้รับเกียรติจาก
นายอนุทิน ชาญวีระกุล รองนายกรัฐมนตรี กำกับดูแลทีเส็บ
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน ภายในงานได้เชิญชวนผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมไมซ์ครอบคลุมทั้ง
จัดอีเวนต์ จัดประชุม จัดนิทรรศการแสดง เพื่อใช้เวทีนี้ให้ความรู้และนวัตกรรมทางเทคโนโลยีปูพรมการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ต่อเนื่องปี
2564 โดยมีตัวแทนผู้ขายเข้าร่วมกว่า 120 ราย จากกลุ่มผู้ประกอบการโรงแรม
บริษัทจัดนำเที่ยว กลุ่มขนส่ง สายการบิน พร้อมเปิดนำธุรกิจมาลดแลกแจกแถมให้ผู้ซื้อกว่า
300 ราย ทั้งกลุ่มบริษัท ห้างร้าน หน่วยราชการ ซึ่งเตรียมจัดประชุมสัมมนาตามภูมิภาคต่าง
ๆ ทั่วประเทศ
ภายในงาน “ทั่วไทย ภูมิใจช่วยชาติ” เมื่อวันที่ 2
กันยายน ทีเส็บได้ประกาศเปิดตัว 7 แพกเกจพิเศษ
สนับสนุนตลาดในประเทศและต่างประเทศ ประกอบด้วย “ตลาดไมซ์ในประเทศ” จัดทำ 3
แพกเกจ
1.“ประชุมเมืองไทย
ปลอดภัยกว่า” แพ็กเกจการจัดประชุมและการเดินทางเพื่อเป็นรางวัลในประเทศ (Meetings
& Incentives) 2.“ประชุมเมืองไทย
ร่วมใจขับเคลื่อนชาติ” แพ็กเกจการจัดประชุมภายในประเทศ (Conventions) 3.“งานแสดงสินค้าในประเทศ
นำเศรษฐกิจไทยไปไกลกว่า” แพ็กเกจสำหรับการจัดงานแสดงสินค้าภายในประเทศ (Domestic
Exhibitions)
แพกเกจกระตุ้นตลาดไมซ์ในประเทศมุ่งเน้นจุดเด่นสำคัญเรื่องการสนับสนุนและกระตุ้นให้องค์กรและหน่วยงานจัดกิจกรรมนอกสถานที่ตั้งในสถานที่จัดงาน
และที่พักที่มีมาตรฐานและถูกกฎหมาย
โดยส่งเสริมการจัดงานหรือกิจกรรมไมซ์ที่กระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจแก่จังหวัดและภูมิภาค
หรืองานที่ผลักดันให้เกิดการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น
การจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจภายในงาน รวมถึงการจัดงานที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น
ผลิตภัณฑ์เด่นของพื้นที่ สอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่จัดงานนั้น ๆ
“ตลาดไมซ์ต่างประเทศ” ทีเส็บสนับสนุนการจัดงานด้วยแพกเกจพิเศษตามเป้าหมาย
4 กลุ่มตลาด ประกอบด้วย 1.“Ease Up” แพ็กเกจการจัดประชุมและการเดินทางเพื่อเป็นรางวัลนานาชาติ
(Meetings & Incentives) 2.“Convene
Plus” แพ็กเกจการจัดประชุมนานาชาติ
(Conventions) 3.“Re-Energizing”
แพ็กเกจการจัดงานแสดงสินค้านานาชาติ (Exhibitions)
4.“Thailand Power Up” แพ็กเกจสนับสนุนการจัดงานเมกะอีเวนท์และเทศกาลนานาชาติ
(Mega Events & World Festivals)
แพ็กเกจกระตุ้นตลาดไมซ์ต่างประเทศมีจุดดึงดูดสำคัญ
คือ สนับสนุนงานครอบคลุมทุกรูปแบบ ทั้งการจัดงานในรูปแบบปกติ (Face to
Face) การจัดงานรูปแบบปกติร่วมกับออนไลน์ (Hybrid
Event) และการจัดงานออนไลน์
(Virtual Event) มุ่งทำการตลาดล่วงหน้า
เน้นการรักษางานเดิมที่เคยจัดอยู่ให้ยังคงจัดในประเทศไทย (Existing Shows) รวมถึงการดึงงานใหม่ (New
Shows) ให้กระจายไปยังเมืองไมซ์ซิตี้
และเมืองไมซ์ที่มีศักยภาพ พร้อมวางแผนสนับสนุนการนำเสนอบริการเพื่อชูอัตลักษณ์ไทย
ตั้งแต่การต้อนรับจากสนามบิน
รวมถึงการจัดโปรแกรมไมซ์ในท้องถิ่นและชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างความแตกต่าง
ซึ่งเป็นมาตรการ เชิงรุกที่ไทยหวังดึงดูดลูกค้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่องไปจนสถานการณ์เอื้ออำนวยแก่การเดินทางระหว่างประเทศในอนาคต
ขณะเดียวกันทีเส็บก็มีแคมเปญ “ประชุมเมืองไทย
ปลอดภัยกว่า” เป็นกำลังเสริมด้านงบประมาณจัดงานให้ทุกภาคส่วน
เพื่อประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม โดยเปิดกว้างให้ทุกกลุ่มทั้งนิติบุคคล และทั่วไป ขอรับการสนับสนุนเงินจากทีเส็บได้
ตอนนี้ได้เพิ่มการสนับสนุนเงินใหม่ให้อีก 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรก
องค์กรที่พร้อมจัดงานคอนเว็นชั่นขนาด 100 คนขึ้นไป/ครั้ง
ทีเส็บจะสนับสนุนเงินจัดงาน 50,000 บาท/ครั้ง เช่น องค์กรด้านการแพทย์ ด้านนวัตกรรม กลุ่มที่
2 จัดเอ็กซิบิชั่น แสดงสินค้าต่าง ๆ ในขนาดพื้นที่ 1,000
ตารางเมตรขึ้นไป/ครั้ง
ทีเส็บจะสนับสนุนเงิน 500,000-800,000 บาท/ครั้ง โดยเน้นงานที่จัดในภูมิภาคต่าง
ๆ ทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพฯ อาทิ งานแสดงสินค้าทางด้าน
อาหาร ชา กาแฟ ผลิตภัณฑ์ ศิลปกรรม ผ้า และอื่น ๆ
ส่วนงานขนาด 3,000 ตารางเมตรขึ้นไป/ครั้ง จะสนับสนุนเป็นวงเงิน 1
ล้านบาท/ครั้ง
สอดคล้องกับการขยายโครงสร้างทีเส็บที่ได้จัดตั้งสำนักงาน
4 ภาค เหนือ ใต้ อีสาน ภาคตะวันออก
แต่ละงานจะเน้นให้เกิดการเจรจาธุรกิจหรือ Business to Business : B to B
นายจิรุตถ์ กล่าวว่าสถานการณ์อุตสาหกรรมไมซ์ของไทยท่ามกลางสถานการณ์ความท้าทายวิกฤตไวรัสโควิด-19 โดยภาพรวมปี 2563 จะยังคงสามารถสร้างรายได้เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจไทยได้ประมาณกว่า 100,000 ล้านบาท แบ่งเป็น ตลาดในประเทศที่จะต้องรักษาไว้ให้ได้ใกล้เคียงปีที่ผ่านมาคือ 80,000 ล้านบาท และตลาดต่างประเทศช่วงมกราคม-กุมภาพันธ์ 2563 สามารถดึงเงินบางส่วนเข้ามาได้ราว 30,000 ล้านบาท ขณะนี้ยังคงร่วมมือกับศูนย์บริหารสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 (ศบค.) อย่างเข้มข้นเพื่อเสนอแนวทางเตรียมความพร้อมทดลองนำตลาดต่างประเทศกลุ่มจัดนิทรรศการแสดง (Exhibition) ขนาดเล็กเข้ามาจัดงานในไทย โดยได้เสนอกรรมการ ศบค.ชุดที่ 1 ผ่านเรียบร้อยแล้ว ถึงการกำหนดขั้นตอน วิธีการ มาตรการนำเข้าเอ็กซิบิชั่นต่างประเทศโดยขอทำในลักษณะ Special Jouney หรือ Special Arrangement เปิดให้ต่างชาติเข้ามางานแสดงสินค้าครั้งละ 10 คน แต่การเข้าออกประเทศจะต้องผ่านขั้นตอนหลัก ๆ ดังต่อไปนี้
1.ต้องมีเอกสารการตรวจโควิด-19 ของแต่ละคนมาจากประเทศต้นทาง เมื่อมาถึงไทยต้องกักตัวก่อน 6-8 ชั่วโมง แล้วตรวจผลโควิดซ้ำอีกครั้ง 2.มอบหมายให้ทางสมาคมส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติไทย (ทิก้า) สมาคมจัดแสดงสินค้า (TEA) สมาคมโรงแรมไทย ร่วมมือกับผู้ประกอบการ (เอเย่นต์) ซึ่งจะต้องสอบความรู้ทางการแพทย์โดยมีทีมสาธารณสุขเข้ามาร่วมปฏิบัติหน้าที่ด้วยตลอด ขณะนี้มีบุคลากรกลุ่มได้จัดอบรมรุ่นที่ 1 เรียบร้อยแล้ว เพื่อจะทำหน้าที่นำผู้จัดแสดงสินค้าไปเช็คอินตามโรงแรมที่พัก 3.ผู้จัดแสดงสินค้าจะต้องพักในโรงแรมที่ผ่านมาตรฐาน State Qualantine ซึ่งต้องรณรงค์เพิ่มจำนวนห้องพักโรงแรมมากขึ้นเพื่อให้เพียงพอเมื่อถึงเวลาต้องทยอยเปิดรับเอ็กซิบิชั่นไมซ์ต่างประเทศ 4.ต้องจัดทีมเรซองหรือผู้ติดตามซึ่งคัดเลือกมาจากอดีตแอร์โฮสเตท วันที่ 10 กันยายน 2563 เริ่มเปิดอบรมรุ่นที่ 1 โดยทางออร์กาไนเซอร์จะจ่ายค่าจ้างคนละ 2,000 บาท/วัน 5.การใช้รถบริการขนส่งก็จะต้องผ่านเกณฑ์ State Qualantine ด้วยเช่นกัน 6.การเดินเข้า-ออกงานแต่ละครั้งจะมีคนละช่องทางแยกจากกัน
โครงการนี้ทางทีเส็บได้ปรึกษากับทางทีมแพทย์และสาธารณสุขแล้ว
ซึ่งพอสามารถจะทำได้บ้าง แต่จำนวนแต่ละครั้งจะไม่มากนัก
อย่างไรก็ตามก็จะต้องนำเสนอแนวทางการเปิดให้ผู้จัดการแสดงสินค้าจากต่างประเทศกลุ่มขนาดเล็กเดินทางเข้ามาได้
จะต้องนำเสนอกรรมการ ศบค.ชุดที่ 2 ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิจารณาต่อไป
ส่วนช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2563 ทางทีเส็บได้จ้างกลุ่มสตาร์ตอัพเข้ามาร่วมทำ “ไมซ์แอพลิเคชั่น” ดีไซน์ให้มีลักษณะเหมือนกับแอพลิเคชั่น “หมอชนะ” วิธีการทำงานคล้าย google map เพื่อแท็กกลุ่มผู้จัดแสดงสินค้าตลาดต่างประเทศที่เดินทางเข้ามาร่วมงาน ระบบจะคอยติดตามตัวทุกคนอย่างใกล้ชิดไปทุกแห่ง เช่น ช่วงกลางคืนหากออกไปนอกโรงแรมที่พักสัญญาณเตือนจะปรากฎให้ทางศูนย์ควบคุมรู้ทันที อีกทั้งก่อนเดินทางเข้ามาจัดงานกลุ่มผู้จัดแสดงสินค้าจะต้องทำสัญญากับทีเส็บถึงหลักปฏิบัติอย่างถูกต้องตามขั้นตอนของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัด สร้างความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัยและป้องกันการแพร่ระบาดทุกช่องทาง
นายจิรุตถ์ยืนยันว่าปี 2564 มีนโยบายขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย โดยตั้งเป้าหมายเจาะตลาดด้วยกลยุทธ์ “ช่วงชิงประมูลงานระดับนานาชาติเลือกเข้ามาจัดในไทย”
ระหว่างปี 2565-2568 (คศ.2022-2025)
ซึ่งช่วงนั้นอาจจะมีวัคซีนรักษาไวรัสโควิด-19
ประกาศใช้แล้ว รวมถึงไทยเป็นประเทศที่ได้รับการจัดอันดับต้น ๆ
ของโลกถึงมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัยที่สามารถป้องกันการแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19
ได้ดีมาก
งานระดับนานาชาติที่พร้อมเข้ามาจัดในไทย งานแรก
คือ ASIA PACIFIC ECONOMIC COOPERATION หรือ APEC
2022 เป็นงานการประชุมผู้นำทั่วโลก รวมทั้งจะมีการประชุมย่อยทางธุรกิจจำนวนมากรวมอยู่ภายในงาน
APEC ด้วย เรื่อยไปจนถึงงาน SPATAN RACE
THAILAND เป็นกิจกรรมกีฬาระดับโลก งานเลแทป ไทยแลนด์ บาย
ทัวร์ เดอฟร็องส์ (L’ETAPE THAILAND BY TOUR DE FRANCE) เป็นรายการปั่นจักรยานระดับโลกที่เลือกจัดต่อเนื่องในไทย
ทั้งนี้ในการจัดงาน “ทั่วไทย ภูมิใจช่วยชาติ” เมื่อวันที่
2 กันยายน 2563 นายอนุทิน
ชาญวีระกุล รองนายกรัฐมนตรี
และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ปาฐกถกาหัวข้อ
“นโยบายรัฐบาลกับการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการของประเทศไทย”
พร้อมประกาศเมืองไมซ์ซิตี้ใหม่อีก 2 แห่ง คือ สงขลา
และนครราชสีมา เพิ่มจากปัจจุบันมีอยู่แล้ว 5 แห่ง คือ
กรุงเทพฯ พัทยา(ชลบุรี) ภูเก็ต เชียงใหม่ ขอนแก่น
ขณะที่ “ดร.อรรชก สีบุญเรือง”
ประธานกรรมการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ TCEB
ได้ทำพิธีมอบเกียรติบัตรแก่ผู้ประกอบการในประเทศที่ทำกิจกรรมจัดการประชุมติดอันดับต้น
ๆ ของเมืองไทยช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการเข้าร่วมโครงการประชุมเมืองไทย
ปลอดภัยกว่า รวมทั้งการเปิดเวทีเสวนาหัวข้อ “จัดงานทั่วไทย ภูมิใจช่วยชาติ”
นำโดย นางศุภวรรณ ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยสายงานพัฒนาและนวัตกรรมทีเส็บ
พร้อมด้วยผู้เชี่ยวชาญด้านต่าง ๆ ได้แก่ ดร.บวรนันท์ ทองกัลยา
นายกสมาคมการจัดงานบุคคลแห่งประเทศไทย นายบุญเพิ่ม อินทนปสาธน์
นายกสมาคมการค้าส่งเสริมการจัดมหกรรมและเทศกาลนานาชาติไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น