TCEBนำไมซ์ไทยเฮ!ครม.อนุมัติ“วันไมซ์แห่งชาติ”จัด26เม.ย.ทุกปี ลุยสานต่อหลังตั้งองค์กร16ปีปั๊มรายได้เข้าประเทศ1.79 ล้านล้าน
TCEBนำไมซ์ไทยเฮ!ครม.อนุมัติ“วันไมซ์แห่งชาติ”จัด26เม.ย.ทุกปี
ลุยสานต่อหลังตั้งองค์กร16ปีปั๊มรายได้เข้าประเทศ1.79 ล้านล้าน
เรื่องโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza
#รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TCEB #วันไมซ์แห่งชาติ26เมยของทุกปี
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) "TCEB"
“TCEB” ทำสำเร็จแล้ว หลังครม.อนุมัติ “วันไมซ์แห่งชาติ” 26 เมษายน ของทุกปี ปลุกทุกภาคส่วนร่วมตระหนักรู้ถึงคุณค่าและความสำคัญอุตสหกรรมไมซ์ไทยก่อกำเนิดมายาวนานเกือบ 140 ปี ริเริ่มจัดครั้งแรกรัชกาลที่ 5 เมื่อ 26 เมษายน 2425 ตลอด 16 ปีก่อตั้งทีเส็บนำไมซ์ทำรายได้เข้าประเทศกว่า 1.79 ล้านล้านบาท หลังโควิดพร้อมลงสนามแข่งชิงตลาดโลกมาไทย
นายจิรุตถ์
อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ
(องค์การมหาชน) หรือ ทีเส็บ
เปิดเผยว่า นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี ได้เสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2564
เห็นชอบให้ประกาศ “วันจัดประชุมและนิทรรศการแห่งชาติ” คือวันที่ 26 เมษายน ของทุกปี โดยอ้างอิงจากงานวิจัยที่ทีเส็บร่วมดำเนินงานกับกองทุนส่งเสริมการจัดประชุมนานาชาติครั้งแรกของประเทศไทยจัดขึ้นเมื่อ
26 เมษายน 2425 ด้วยพระราชปณิธานของล้นเกล้ารัชกาลที่
5 เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมสินค้าไทยจากทั่วประเทศ ประการสำคัญเลือจัดกลางท้องสนามหลวง
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการฉลองพระนครร้อยปี จนถึงปัจจุบันแม้จะผ่านมาเกือบ140 ปี การจัดงานแสดงสินค้าก็มีวัตถุประสงค์เดียวกัน
เมื่อไทยประกาศวันจัดประชุมและนิทรรศการของชาติจะช่วยเพิ่มความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของอุตสาหกรรมไมซ์ต่อการพัฒนาประเทศมาอย่างยาวนานตั้งแต่อดีต
รวมถึงปัจจุบันการจัดประชุม การจัดงานแสดงสินค้าและนิทรรศการ ก็ยังเป็นกลไกกระตุ้นเศรษฐกิจตามนโยบายของรัฐบาล
พัฒนาการในการใช้กิจกรรมไมซ์ขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของชาติจากอดีตถึงปัจจุบันสามารถแบ่งได้
3 ยุค คือ
ยุคที่ 1 ช่วงฟื้นฟูประเทศในตอนต้นรัตนโกสินทร์
(สมัยรัชกาลที่ 1 - รัชกาลที่ 3)
เป็นการประชุมและแสดงสินค้าเพื่อฟื้นฟูศิลปะวิทยาการ
ยุคที่ 2 ช่วงสยามสู่เวทีโลก (สมัยรัชกาลที่ 4 - สมัยรัชกาลที่ 8) เป็นปฐมบทสู่เวทีโลก
ใช้การจัดประชุมและการแสดงสินค้าเพื่อความภาคภูมิ
และปูทางสู่การแก้ไขสนธิสัญญาไม่เป็นธรรมกับนานาประเทศ
ยุคที่ 3 ช่วงสร้างความเป็นปึกแผ่นอุตสาหกรรมไมซ์ (สมัยรัชกาลที่ 9 จนถึงปัจจุบัน) ก้าวเข้าสู่ไมซ์ยุคใหม่
ที่เกิดสมาคมภาคเอกชนต่างๆเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ
นายจิรุตถ์ กล่าวว่า ขณะนี้ไมซ์ได้ขยายบทบาทเพิ่มทั้งด้านการ
สร้างสรรค์ การพัฒนาเศรษฐกิจ พร้อมทั้งมีส่วนร่วมพัฒนาประเทศ ลดความเหลื่อมล้ำ
จากนโยบายของทีเส็บได้กระจายการพัฒนา และโอกาสของธุรกิจไมซ์ไปยังผู้ประกอบการ
และชุมชนในไมซ์ซิตี้ 10 จังหวัด ส่งผลให้ไทยเป็นประเทศที่ครองอันดับหนึ่งด้านการจัดประชุมนานาชาติของอาเซียน
ต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 ระหว่าง ปี 2559-2561 และเป็นประเทศที่จัดประชุมนานาชาติมากที่สุดอันดับ
4 ของเอเชีย รองจากญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้
สถิติอุตสาหกรรมไมซ์ตลอด
16 ปี ที่มีการจัดตั้งทีเส็บ
พบว่าประเทศไทยมีนักเดินทางไมซ์จากทั้งในและต่างประเทศมากถึง 191,747,994 คน สร้างรายได้ 1,756,739 ล้านบาท ก่อนเกิดการแพร่ระบาดของโควิด 19
อุตสาหกรรมไมซ์ไทยสร้างรายได้ทางตรงและทางอ้อมต่อระบบเศรษฐกิจ 728,540 ล้านบาท และการจ้างงาน 426,616 อัตรา
ระหว่างนี้ทีเส็บยังคงเดินหน้าขับเคลื่อนไมซ์โดยเน้นพัฒนาระบบ
โครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาคนและเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
ทำให้มั่นใจได้เมื่อสถานการณ์คลี่คลายลงประเทศไทยพร้อมลงสนามแข่งขันทันที
เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการฟื้นฟูเศรษฐกิจด้วยอุตสาหกรรมไมซ์ที่ก่อกำเนิดและพัฒนาการเติบโตต่อเนื่องก้าวเข้าสู่ปีที่
140 แล้วนั่นเอง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น