Ep.1 “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ของผู้นำนะจ๊ะ
ชำแหละ!!โอกาส-ความหวัง5ประเด็นร้อนฉ่า1ก.ค.64
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #PhuketSandBox #ผู้นำนะจ๊ะ
โดยเดินหน้าปักหมุดพื้นที่นำร่องทดลองเลือกทำเลแรก
“เกาะภูเก็ต” เริ่มวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 หลักใหญ่คือ “นำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศไทยโดยไม่กักตัว
14 วัน” ท่ามกลางสถานการณ์ระบาดของ “ไวรัสโควิด-19” ทั้งในพื้นที่ ในประเทศ และในทั่วโลก
นโยบายที่มาจาก
“เสียงเรียกร้อง”
ซึ่งดังระงมจากทั่วสารทิศ ขอให้ “รัฐบาล” หาทาง “คลายล็อกดาวน์ประเทศ”
เพราะพิษโควิดดึง “เศรษฐกิจชาติ” ดำดิ่งลงก้นเหว ยิ่งปล่อยเวลาทอดยาวนานวัน
สัญญาณ “ใกล้ความตาย” จากความหิวโหย อดอยาก ตกงาน ซึมเศร้า สิ้นเนื้อปะดาตัว
เปล่งรัศมีรุนแรงแซงโค้งสูงกว่า “ยอดผู้เสียชีวิต” จากโควิด
“อุตสาหกรรมท่องเที่ยว” ซึ่งเคยทำหน้าที่ผลิตออกซิเจนค้ำยันเศรษฐกิจคิดเป็นปีละ 20-24 %ของผลิตภัณฑ์ผลรวมรายได้ประเทศ (GDP) เสมือนเป็น “คาถามหารวย” เสกเงินได้ในยุครุ่งเรือง เฟื่องฟู แต่พอมี “โควิด” มาเกิดบนโลกใบนี้ ทำให้คาถาบทนี้สิ้นมนต์ขลัง ส่ง “จิตวิญญาณ” ผู้คน ธุรกิจ ที่เคยอู้ฟู่ท้าทายโลกอนาคตด้วยสารพัดเทคโนโลยีล้ำสุด ๆ ถูกแรงดีดกลับไป “ตั้งหลักนับหนึ่งใหม่”
“ประเทศไทย”
ก็เป็นหนึ่งใน “กลุ่มสิ่งมีชีวิต” ที่โดนเชื้อโรค “โควิด” บริหารจัดการมายาวนาน 18 เดือน
วันนี้ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ก็เป็นเพียงหนึ่งในเครื่องมือส่องหา “โอกาสรอด-ดิ้นหาแสงสว่าง” ทดลองลงมือทำจริง เริ่มนับหนึ่งอีกครั้ง จะได้รู้ความจริงชัด ๆ กันสักทีว่า
“ปัญหา” มันซุกอยู่ตรงไหนบ้าง ? แล้ว “กลไกขัดขวาง” การฟื้นฟูประเทศด้วยท่องเที่ยว นับจากนี้เป็นต้นไป ต้อง “กำจัดขยะ” ส่วนใดให้สิ้นซาก
เป็นการ “พิสูจน์”คำพูดของผู้นำคำนิยม “นะจ๊ะ” ว่ารักประเทศไทยแต่ปาก และ/หรือ ตั้งใจช่วยคนในชาติรอดไปด้วยกันจริง ๆ
สำหรับ
“ปัญหา” การนำนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าประเทศตามนโยบาย “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์”
ไล่เรียงจากข้อมูลหน้างาน ณ ปัจจุบัน แล้ว มีดังนี้
อันดับ 1 “สายการบิน”
ให้บริการขนส่งผู้โดยสาร ส่วนใหญ่ ส่วนใหญ่เป็นสายการบิน “สัญชาติตะวันออกกลาง” ซึ่งสายป่านยาว
ยังมีเงินทุนเพียงพอพร้อมให้บริการจากที่ใดในโลกมาได้หมดก็จริง
แต่ในทางปฏิบัติ
“หลายประเทศ” ซึ่งเป็นลูกค้าหลักของไทยในตลาด ยุโรป อเมริกา
จัดให้หลายประเทศในตะวันออกกลาง “เป็นกลุ่มประเทศเสี่ยงโควิด” จึงจัดอยู่ในโทนสีแดง
หรือ “Red List” ถึงแม้นักท่องเที่ยวยุโรป อเมริกา เดินทางออกเที่ยวต่างประเทศได้
ซึ่งระหว่างบิน
“ขามาหรือขากลับ” เครื่องบินจะต้อง “แวะพัก”
ยังประเทศแถบตะวันออกกลางซึ่งเป็นเจ้าของสายการบิน (และ/หรือ แวะรับผู้โดยสารจากประเทศเสี่ยงสูงโควิดขึ้นมาด้วย)
เรื่องนี้เป็นไปตามกฎสากลการบินระหว่างประเทศ ที่ปฏิบัติกันมาอย่างยาวนานแล้ว
จึงส่งผลให้
“นักท่องเที่ยว” ที่เลือกซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินเที่ยวบินนั้น ๆ
เมื่อเดินทางกลับเข้าประเทศของตน จะต้อง “ถูกกักตัวเพิ่มอีก 14 วัน” ตามกฎมาตรการความปลอดภัยด้านการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด
ครั้น!! จะหาตัวช่วยจาก “การบินไทย” ซึ่งสามารถ “บินตรง”
จากต้นทางทั่วโลกสู่ปลายทางภูเก็ต แบบไม่แวะพักประเทศใดเลย ก็รู้ ๆ กันอยู่ว่า
“การบินไทย” ยังจมน้ำ ช่วยเหลือตัวเองยากลำบาก ติดอยู่ใน “แผนฟื้นฟูกิจการ” ตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง
ไม่ได้มี “เงินถุงเงินถัง” มาลงทุนเปิดบินได้ทุกเมืองเหมือนแต่ก่อน
จนถึงขณะนี้วิ่งหาเงินเสริมสภาพคล่องเร่งด่วน 50,000 ล้านบาท
สำเร็จหรือยังก็ไม่รู้ !?
อันดับ 2 “การสื่อข้อความของรัฐบาลไทย” กลับไปกลับมา ทั้งสับสน และล่าช้าไม่ทันใจผู้คนบนโลกใบนี้ และ/หรือ
อาจจะใส่เกียร์ผิด จาก 5G เหลือไม่ถึง 2G
หรือเปล่า คนไทยก็เห็นกันอยู่แล้ว
ทางออก
- เมื่อรัฐบาลรู้ว่าพลาดพลั้งไป ก็ใช้ “หน่วยงานรับผิดชอบตรง”
ออกมาประกาศแก้ไขตามความจริงให้ถูกต้อง เปลี่ยนจาก “เกียร์ว่าง” ช่วยกัน
“ขยับเดินหน้า” ได้แล้วนะจ๊ะ
อันดับ 3 “เครื่องมือสากล”
ที่เลือกนำมาใช้ตรวจสอบเอกสารนักท่องเที่ยว ทั่วโลกใช้ “ดิจิทัล” บนแอพลิเคชั่น
ส่วนเราเลือกใช้ “แอพลิเคชั่น” แบบไทย ต้องลุ้นกันจนถึงนาทีสุดท้ายจะลิงค์ข้อมูลกับชาวโลกอย่างไร
และ/หรือ ว่า “จะใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ” ได้จริงหรือไม่ ต้องมา
“ลุ้นกันหน้างาน” และ “แก้กันแบบประเทศกูมี” เหมือนที่เคยทำมาตลอดแบบไทย ๆ ต่อไป
สำหรับ
“ปัญหาทางเทคนิค” ของบรรดาธุรกิจ
“ห้องพัก” โรงแรม “ผู้ขายตั๋วโดยสาร” เอเย่นต์และสายการบิน “โดนยกเลิกฉับพลัน” เงินที่อยู่ตรงหน้ากำลังจะเข้ากระเป๋า
ปลิวหลุดลอยไป ทั้งตลาดจึงพากันส่งเสียงก่นด่าอื้ออึง คือ
อันดับ 4 การยื่นขอเอกสารเข้า-ออกประเทศไทย หรือ COE ของนักท่องเที่ยว ในหลายเมือง หลายประเทศ หากหน่วยงาน
“ทีม ไทยแลนด์” ยังทำงานได้ดี ช่วยกันแก้ไขจนสามารถออกเอกสารได้ตามระเบียบ ส่วนเมืองไหน
ประเทศใด “ทีม ไทยแลนด์” อ่อนแอ ก็ปัญหาเยอะเป็นปกติ ต้องถามทางผู้รับผิดชอบ
“กระทรวงการต่างประเทศ (กต.)” ว่า ยังทำงานปกติดีอยู่หรือเปล่า !?
การไม่ส่งเสียงของ
กต. ได้ยินแต่เพียงว่า เปิด ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ 1 กรกฎาคม 2564 กต.ทยอยออกเอกสาร COE ไปแล้ว 4,300 คน คำถามคือ “ตอบชาวโลก” ได้
“ตรงประเด็น” หรือ “แก้โจทย์ผิดถูก” อย่างไร ช่วยทำให้เป็น “สากล” ด้วยนะจ๊ะ
อันดับ 5 “ผลักภาระค่าใช้จ่ายสวอปตรวจหาเชื้อ” บวกเพิ่มเข้าไปใน “แพกเกจท่องเที่ยว”
หรือให้นักท่องเที่ยวแต่ละคนควักเงินจ่ายเอง สร้างความไม่สบายใจแก่ “ผู้ขายทัวร์
ขายห้องพัก” กับ “ผู้ซื้อคือนักท่องเที่ยว” อันเป็นผลจากเกณฑ์
นักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาภูเก็ตแล้ว ได้รับยกเว้นไม่โดนกักตัว 14 วัน 1.ถ้าอยู่ครบ 14 วัน “ต้องตรวจ” วันที่ 1, วันที่ 6-7 และวันที่ 12-13 หรือ 2 ถ้าอยู่ไม่ครบ ก็ตรวจแค่ 2 ครั้ง วันที่มาถึง และวันที่กลับออกไป
ประเด็น “ค่าใช้จ่ายสวอปตรวจหาเชื้อโควิด” ในยุโรป ยกตัวอย่าง อังกฤษ ใช้เกณฑ์นี้เช่นกัน นั่นคือ
เมื่อออกไปเที่ยวต่างประเทศ แล้วเดินทางกลับเข้ามา นักท่องเที่ยวคนนั้น ๆ จะต้องจ่ายเงินตรวจหาเชื้อโควิดเอง
2 ครั้ง คนละประมาณ 20 ปอนด์
ปัญหาอื่น
ๆ ต้องรอประมวลผลอีกครั้ง หลังเปิด ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์ วันที่ 1 กรกฎาคม 2564
เกาะติดกันต่อไปว่า “ผู้นำ นะจ๊ะ” จะทำให้ “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์”
เป็นก้อนอิฐ หรือดอกใจ ในใจประชาชน...ส่วนโอกาส ความหวัง ยามนี้ย้ำว่าตนต้องเป็นที่พึ่งแห่งตน
นะจ๊ะ...คนไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น