“ศบค.”เปิดแผนปฏิบัติการล่าสุด”Phuket Sandbox”5ประเด็นร้อน “คนไทย”!!เข้าภูเก็ตได้-ซ้อมเปิดเมืองใหญ่23-25มิ.ย.นี้
Ep.1เปิดแผนปฏิบัติการ “ศบค.”ฉบับล่าสุด”Phuket Sandbox”5ประเด็นร้อน
“คนไทย”!!เข้าภูเก็ตได้-สั่งสนามบิน/ทางบก/ท่าเรือซ้อมใหญ่23-25มิ.ย.นี้
ศูนย์ปฏิบัติการ ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 หรือ “ศปก.ศบค.” รายงานผลการประชุมสรุปล่าสุด เมื่อวันที่
20 มิถุนายน 2564 เบื้องต้น
5 ประเด็นร้อน“การหารือเพิ่มเติม”
เพื่อเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้าพื้นที่นำร่อง “ภูเก็ต แซนด์บ็อกซ์” ประกอบด้วย
1.คนไทยที่อยู่ในประเทศไทย
จะเข้าภูเก็ตจะทำอย่างไร
2.คนไทยจากต่างประเทศ
ที่ฉีดวัคซีนแล้ว จะเดินทางกลับเข้าภูเก็ต จะมีมาตรการอย่างไร
3.คนต่างชาติที่เข้าภูเก็ตด้วยวัตถุประสงค์อื่น
จะมีมาตรการอย่างไร
4.ขอให้จังหวัดภูเก็ต
จัดตั้ง Command Center
และกำหนดผู้รับผิดชอบชัดเจน
5.ขอให้จังหวัดภูเกต
รายงานผลการดำเนินงานให้ ศปก.ศบค.รับทราบสัปดาห์ละ 1 ครั้ง หลังจากเปิดรับนักท่องเที่ยวเข้า ภูเก็ต
แซนด์ บ็อกซ์
ประเด็ฯที่ 1 – เกณฑ์การเดินทางเข้ามาของ ไคนไทยจากต่างจังหวัด”
หรือ “คนต่างชาติที่พำนักในไทย” (Expat)
ผู้เดินทาง (ยกเว้นเด็กอายุต่ำกว่า
6 ปี) มีแนวทางปฏิบัติดังนี้
1.ได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ครบ 2 เข็ม
หรือครบดีศ ตามจำนวนวัคซีนแต่ละชนิด หรือได้รับวัคซีนแอสตราเซเนก้า (AZ) เข็มที่ 1 ครบ 14 ;yo sinv
2.เป็นผู้ที่หายป่วยจากอาการป่วยด้วยโรคโควิด
มาแล้วไม่ต่ำกว่า 90 วัน
โดยจะต้องแสดงหลักหลักฐานยืนยัน หรือ
3.ได้รับการตรวจเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี TR-PCR หรือ Antigen Test ไม่เกิน 72 ชั่วโมง และยอมรับการสวมอุปกรณ์สายรัดข้อมืออัจฉริยะและเมื่อเดินทางออกจากภูเก็ตต้องส่งคืน
4.เมื่อเดินทางถึงภูเก็ต
ต้องผ่านการตรวจเอกสารหลักฐาน ที่ด่านตรวจสนามบิน บริเวณอาคารผู้โดยสารในประเทศ
หรือด่านทางบก ณ ท่าฉัตรไชย หรือ ด่านตรวจทางน้ำ ด่านท่าเรือ
5.ติดตั้งแอพลิเคชั่น
“หมอชนะ” บนสมาร์ทโฟน และยินยอมเปิดแชร์ตำแหน่งที่ตั้งตลอดเวลาที่อยู่ในภูเก็ต
6.ลงทะเบียนแจ้งข้อมูลการเดินทางเข้าจังหวัดภูเก็ตผ่านเว็บไซต์
www.gophuket.com ขณะที่อยู่ในภูเก็ต
7.นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางไปยังพื้นที่ต่าง
ๆ และทำกิจกรรมหรือใช้บริการสถานที่ประกอบการที่ได้รับมาตรฐานตราสัญลักษณ์ความปลอดภัยด้านสุขอนามัย
SHA Plus ภายใต้มาตรการ
D-M-H-T-T-A
อย่างเคร่งครัด
8.ให้สังเกตติดตามอาการตนเอง
หากพบอาการป่วย หรือสงสัยจะมีอาการป่วยด้วยโควิด-19 ให้ไปพบแพทย์โดยด่วน
ประเด็นที่ 2 “คนไทยจากต่างประเทศ” ที่ฉีดวัคซีนแล้ว
จะเดินทาง “เข้าภูเก็ต” จะมีมาตรการอย่างไร
1.จะเลือกเข้ามากักตัวเป็นเวลา 14 วัน ในสถานกักตัวทางเลือก ALQ : Alternative
Quarantine หรือ
2.จะเข้ามาตามแผน “Phuket Tourism Sandbox” ก็ได้
3.หากไม่ต้องการจะกักตัว
ก็ให้ใช้เกณฑ์เดียวกับ “เกณฑ์รับนักท่องเที่ยวตามแผน “Phuket Tourism Sandbox” ที่ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดไวรัสโควิด-19 (ศบค.) ให้ความเห็นชอบเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 ทั้งการเดินทางเข้า และการเดินทางออก จากภูเก็ต
ดังนี้
เกณฑ์การรับนักท่องเที่ยว
“Phuket Tourism Sandbox”
1.เป็นนักท่องเที่ยวจาก
“ประเทศเสี่ยงต่ำและปานกลาง” ตามเกณฑ์ที่กระทรวงสาธารณสุข และศบค.กำหนด
กรณีเดินทางจากประเทศอื่นต้องพักอยู่ในประเทศที่กำหนดข้างต้นอย่างน้อย 21 วัน ก่อนจะเดินทางเข้าภูเก็ต
2.ต้องได้รับ
“วัคซีนครบโด๊สแล้วไม่น้อยกว่า 14 วัน”
โดยมีเอกสารการรับวัคซีนจากประเทศต้นทาง เป็นวัคซีนที่ขึ้นทะเบียนตามกฎหมายไทย
หรือที่องค์การอนามัยโลก WHO
รับรอง
กรณีเด็กอายุต่ำกว่า
6 ขวบ
ให้เดินทางพร้อมผู้ปกครองได้
3.มีผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยวิธี “RT-PCR ก่อนเดินทางไม่เกิน
72 ชั่วโมง” และมี
“หลักประกันโควิด” ไม่น้อยกว่า 100,000 เหรียญสหรัฐ
4.เมื่อถึงสนามบินภูเก็ตให้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดยวิธี RT-PCR จะต้อง “เดินทางไปพที่พักโดยใช้รถยนต์ที่ได้มาตรฐาน
SHA PLUS” โดยไม่อนุญาตให้ออกจากห้องพักจนกว่าผลการตรวจยืนยันว่า
“ไม่พบเชื้อ”
5.การเข้าพัก
“โรงแรม” ที่ได้มาตรฐาน SHA PLUS ไม่น้อยกว่า
“14 คืน”
สามารถเดินทางไปพื้นที่อื่น ๆ ในจังหวัดภูเก็ตได้ ภายใต้มาตรการป้องกันโรค D-H-T-T-A หรือห้ามออกนอกเขตภูเก็ตจนกว่าจะอยู่ครบ 14 คืน แต่สามารถเดินทางออกจากประเทศไทยได้
6.รายงานตัวและรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ตามเกณฑ์ที่ “กรมควบคุมโรค” กำหนด วันที่ 6-7
และ 12-13
7.ใช้บริการสถานประกอบการที่ได้มาตรฐาน
SHA PLUS ของจังหวัดภูเก็ต
8.ติดตั้ง
Tracing Application “Morchana” บนสมาร์ทโฟน และอนุญาตให้เข้าถึงตำแหน่งหรือ Share
Location
9.ไม่เปิดรับ
“นักท่องเที่ยวต่างชาติทางเรือ”
เกณฑ์การเดินทางออกจากภูเก็ต
1.นักท่องเที่ยวต้องพักอยู่ในภูเก็ตครบ 14 คืน และต้องการจะเดินางจากภูเก็ต ให้แดสงเอกสารหลักฐานดังต่อไปนี้ต่อเจ้าหน้าที่
ที่ด่านตรวจช่องทางออกจากภูเก็ต คือ
1.1 หนังสือเดินทาง และวีซ่า ตรวจลงโดย ตม.สนามบินภูเก็ตขาเข้า
(ยกเว้นผู้มีสัญชาติไทย)
1.2 หลักฐานผลการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านการตรวจวันแรกที่เดินทางเข้ามาภูเก็ต
และวันที่ 6-7, วันที่ 12-13
1.3 หลักฐานการเข้าพักในโรงแรมหรือที่พักที่ได้รับมาตรฐาน
SHA PLUS
2.กรณีพักไม่ครบ
14 คืน จะไม่อนุญาตให้เดินทางออกจากภูเก็ต
ยกเว้นจะเดินทางออกจากประเทศไทยเท่านั้น
3.ช่องทางออกจากภูเก็ต
ได้แก่ 1.ทางบก ตรงบริเวณด่านฉัตรไชย
2.ทางอากาศ ณ
สนามบินนานาชาติภูเก็ต 3.ด่านทางน้ำ
อนุญาตให้เดินทางออกได้เฉพาะ 3 ท่าเรือเท่านั้น
ได้แก่ ท่าเรืออ่าวฉลอง ท่าเรือรัษฎา ท่าเรืออ่าวปอ
ประเด็นที่ 3 “คนต่างชาติที่เข้าภูเก็ตด้วยวัตถุประสงค์อื่น”
จะมีมาตรการอย่างไร
“คนต่างชาติที่เข้าภูเก็ตด้วยวัตถุประสงค์อื่น”
เช่น นักธุรกิจ เจ้าหน้าที่ของรัฐ นักเรียน และอื่น ๆ ซึ่งเดินทางมาในช่วงระยะสั้นไม่ถึง
14 วัน แล้วเดินทางกลับ
ให้ใช้เกณฑ์เดียวกับ “เกณฑ์การรับนักท่องเที่ยวตามแผน “Phuket Tourism Sandbox” ที่ ศบค.ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2564 ทั้งการเดินทางเข้าและเดินทางออกจากภูเก็ต
ประเด็นที่ 4 ขอให้จังหวัดภูเก็ตจัดตั้ง “Command Center” กำหนดผู้รับผิดชอบให้ชัดเจน
ผลการประชุมสรุปว่า ขณะนี้ทางจังหวัดภูเก็ตกำลังทำโครงสร้าง
“ศูนย์ปฏิบัติการ EOC Phuket Tourism Sandbox” โดยมี “ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต”
เป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ โดยมี “ส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง” เป็นกรรมการ
ทำหน้าที่บริหารจัดการ มอบหมายภารกิจ กำกับติดตามการเดินทางเข้า/ออก ภูเก็ต ของ “นักท่องเที่ยวต่างชาติ”
และ “คนไทย” ที่เดินทางมาจาก “ต่างประเทศและในประเทศ” ตั้งแต่เริ่มเข้ามาจนกระทั่งเดินทางออกจากภูเก็ต
โดยใช้ศูนย์บัญชาการที่ “ศูนย์รับแจ้งเหตุฉุกเฉิน
191” ตำรวจภูธรจังหวัดภูเก็ต
สื่อสารเชื่อมโยงกับสถานที่สำคัญได้แก่
1.ด่านตรวจคนเข้าเมืองของ สนามบินนานาชาติภูเก็ต
2.ด่านตรวจคนเข้าเมืองทางบก ที่ ท่าฉัตรไชย
3.ด่านตรวจคนเข้าเมืองทางน้ำ
ท่าเรืออ่าวฉลอง ท่าเรือรัษฎา ท่าเรืออ่าวปอ
4.ศูนย์ประสานงานโรงพยาบาลรัฐและเอกชน
(สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด)
5.สถานีตำรวจภูธรจังหวัด
ตำรวจน้ำ และตำรวจท่องเที่ยว
6.ศูนย์ประสานงานโรงแรม/ที่พัก
SHA PLUS MANAGER
7.ศูนย์ประสานงานสถานประกอบการ
SHA PLUS
สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัด
8.ศรชล
จังหวัดภูเก็ต
9.สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัลภาคใต้
และ บริษัท โทรคมนคมแห่งชาติ จำกัด (มหาชน)
10. ศปก.ศบค. และ ศบค.มหาดไทย
ทั้งนี้
กำหนด “ซ้อมแผนปฏิบัติการควบคุมการเข้าออกของนักท่องเที่ยว”
1.ทางอากาศที่สนามบินนานาชาติภูเก็ต”
ในวันที่ 23 มิถุนายน 2564
2.ทางบก
และทางน้ำ ในวันที่ 25 มิถุนายน 2564
ประเด็นที่ 5 ขอให้จังหวัดภูเก็ต “รายงานผลการดำเนินงาน”
หลังเปิดรับนักท่องเที่ยว Phuket Sandbox ให้ ศปก.ศบค. ทราบ สัปดาห์ละ 1 ครั้ง
ผลการประชุมสรุให้ “ศูนย์ปฏิบัติการ EOC
Phuket Sandbox”
1.จัดทำระบบติดตามผลการปฏิบัติงาน
ข้อมูลการเข้าออกของนักท่องเที่ยว
2.เฝ้าระวังและติดตาม
ประเมินสถานการณ์การติดเชื้อ
3.เปิดรับฟังข้อร้องเรียน
หรือข้อคิดเห็นของประชาชน
4.ติดตามปัญหาและอุปสรรค
การปฏิบัติตามแนวทางการแก้ไข
5.รายงนทุกเรื่องให้
ศปก.ศบค. และ ผู้บริหารระดับสูงทราบทุกวันอย่างต่อเนื่อง ตลอดโครงการ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น