“กระทรวงอุดมศึกษา”ดัน บพท.หัวหอกลุย“แก้จน”4ภาคปี64 ชูวิจัยเร่งนำร่องใช้ทุนวัฒนธรรมกู้เศรษฐกิจชุมชนฟื้น53แห่ง
“กระทรวงอุดมศึกษา”ดัน บพท.หัวหอกลุย“แก้จน”4ภาคปี64
ชูวิจัยเร่งนำร่องใช้ทุนวัฒนธรรมกู้เศรษฐกิจชุมชนฟื้น53แห่ง
เรื่องและภาพโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #บพท #อวแก้จน
“กระทรวงการอุดมศึกษา” โชว์ผลงานแห่งปี ใช้ “บพท.” เป็นหัวหอกเร่งงานวิชาการสู่ชุมชนลุยโปรเจ็กต์ “อว. แก้จน”ระดม สถาบันการศึกษาใช้ทุนวัฒนธรรมช่วยกู้เศรษฐกิจท้องถิ่นผงาดอย่างยั่งยืน หลังพบงานวิจัยพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม 53 แห่ง เกิดประโยชน์เชิงบวกเพียบ ทั้งสร้างชุมชนเข้มแข็ง แถมเพิ่มรายได้กว่า 135 ล้าน
นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธานโครงการนำร่องเปิดตลาดวัฒนธรรม
“กาดข่วงหลวง” จังหวัดลำปาง
ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของหน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์ฯ ลำปาง ชุมชนท่ามะโอ กลุ่มท่องเที่ยวท่ามะโอ
บริษัทประชารัฐรักสามัคคี องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ และนักวิจัยในพื้นที่ชุมชนเมืองเขลางค์นคร
ให้เป็นโครงการส่งเสริมเศรษฐกิจและวัฒนธรรมชุมชน
นายเอนก กล่าวว่า อว. มีนโยบายชัดเจนทางด้านทุนวัฒนธรรมโดยได้ดำเนินงานอย่างจริงจังอย่างต่อเนื่อง ขณะนี้งานที่ บพท. ดำเนินการจะมีส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูชุมชนหลังจากประเทศไทยได้รับผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19
“การใช้งานวิจัยเป็นฐานจึงมีความสำคัญเพราะทำให้โครงการต่อยอดทุนวัฒนธรรมไม่ได้ดูแลเฉพาะเรื่องทางเศรษฐกิจเพียงด้านเดียว แต่ยังสร้างการทำงานร่วมกัน ช่วยให้เกิดนักวิจัยชุมชนเชื่อมโยงเข้ากับภาคีต่าง ๆ ทำให้งานของ อว. ขยายไปสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนอย่างกว้างขวาง เป็นไปตามวาระแห่งชาติ BCG ที่เน้นการใช้นวัตกรรมต่อยอดทุนภูมิปัญญาที่มีอยู่เดิม”
ปัจจุบัน อว. โดย หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ดำเนินงานส่งเสริมทุนวัฒนธรรมใน 53 ชุมชนทั่วประเทศ มีผู้ประกอบการท้องถิ่นเข้าร่วมมากกว่า 6,000 ราย
นาย
กิตติ สัจจาวัฒนา
ผู้อำนวยการ บพท. กล่าวว่าจากการรวบรวมผลหลังนำงานวิจัยจากนักวิชาการในเครือข่ายนำร่องใช้กับผู้ประกอบการท้องถิ่น
พบว่าสามารถสร้างรายได้ให้ท้องถิ่นช่วงปี 2564
รวมประมาณ135 ล้านบาท พร้อมทั้งก่อให้เกิดประโยชน์ที่มีความสำคัญอย่างมากต่อทำงานเชิงบูรณาการในพื้นที่ร่วมกันของทุกฝ่าย
คือ กระบวนการพัฒนาที่สร้างความยั่งยืนโดยการมีส่วนร่วมระหว่าง
หน่วยงานของรัฐ ภูมิภาค ท้องถิ่น ชุมชน ภาคประชาสังคม เครือข่ายศิลปิน ภาคเอกชน
ชุมชนและความสนับสนุนของสถาบันอุดมศึกษาที่อยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ
อ้างอิงจากรายงานสภาวะเศรษฐกิจไตรมาสที่ 3 ของธนาคารแห่งประเทศไทย เราพบว่าเศรษฐกิจในภาคเหนือชะลดและหดตัวต่อเนื่อง และเศรษฐกิจ ประมาณ 60 % พึ่งพิงภาคบริการ ดังนั้น บพท. จึงเร่งงานด้านทุนวัฒนธรรมเพื่อช่วยบรรเทาปัญหา สอดคล้องกับนโยบายของ อว. อีกทั้ง บพท. ได้จัดสรรทุนวิจัยและนวัตกรรม ลงพื้นที่เป้าหมาย 2 ด้านหลัก คือ 1.ด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ 2.ด้านการจัดการทุนทางวัฒนธรรม
ด้านที่ 1 “การพัฒนาระดับพื้นที่” ใน ภาคเหนือ ร่วมกับ 24 หน่วยวิจัย รวมทั้งสิ้น 53 ชุดโครงการ ใน 15 จังหวัด ครอบคลุมการพัฒนาพื้นที่ในทุกระดับทั้งด้านการแก้จน เพิ่มศักยภาพครัวเรือน ส่งเสริมชุมชน และการพัฒนาเมือง ประกอบด้วย 2 แผนหลัก ดังนี้
แผนงานแรก “ชุมชนนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน” ร่วมกับหน่วยวิจัยดำเนินงาน 14 โครงการ พื้นที่เป้าหมาย 155 ตำบล ใน 8 จังหวัด เกิดนวัตกรรม/เทคโนโลยีพร้อมใช้ 165 นวัตกรรม สร้างนวัตกรชาวบ้าน 850 คน ส่งผลเชิงบวกทำให้ “ผลผลิตทางการเกษตรในวิถีอาชีพของชุมชนมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น” สามารถ 1.ลดต้นทุนมากกว่า 20 % 2.ผลผลิตมีคุณภาพเพิ่มขึ้นจากเดิมกว่า 20 % 3.ผลผลิตทางการเกษตรของชุมชนมีมูลค่าทางการตลาดเพิ่มขึ้นจากเดิมมากกว่า 20 % 4.สามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีขยายผลสู่ชุมชนและเครือข่ายหน่วยงานในพื้นที่และชุมชนอื่น ๆ ได้ด้วย
นอกจากนั้นผลจากการขับเคลื่อนในพื้นที่ “จังหวัดน่าน” พบว่าเกษตรกรเกิดการแลกเปลี่ยนความรู้ทักษะต่าง ๆ ให้กันและกัน ส่งผลให้มี “จำนวนแม่พันธุ์แพะ” เพิ่มขึ้นจากเดิม 2.3 เท่า เมื่อประมวลมูลค่าแพะทั้งหมดของเกษตรกรในเครือข่าย ณ ช่วงสิ้นสุดโครงการประมาณ 4.5 ล้านบาท โดยภาพรวมรายได้จากการรวมกันขายแพะแกะด้วยวิธีการใหม่ (New Value Chain) จำนวน 2 ครั้ง มูลค่าถึง 278,973 บาท จึงเกิดเป็นต้นแบบระบบของการเลี้ยงแพะแกะให้แก่เกษตรกรรายใหม่ในพื้นที่ และมีการเชื่อมโยงกับหน่วยงานในพื้นที่ให้มีบทบาทมากขึ้นอีกด้วย
แผนงานที่ 2 “มหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาพื้นที่”
ด้านขีดความสามารถผู้ประกอบการ ร่วมกับหน่วยวิจัยดำเนินงาน 9 โครงการ
พื้นที่เป้าหมาย 7 จังหวัด เพื่อยกระดับความสมารถในการบริหารใน 140 วิสาหกิจชุมชน ส่งผลเชิงบวกทำให้เกิดประโยชน์ตามมาดังนี้
1.เกิดนวัตกรรมบริหาร/จัดการ LE (ช่วยเหลือ/เยียวยา ภายใต้วิกฤต) จำนวน 71 กลุ่ม
2.เกิดคุณค่าเชิงอัตลักษณ์ผ่านการพัฒนา/ปรับปรุงผลิตภัณฑ์จํานวน 118 ผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าสูงขึ้น มีผลิตภัณฑ์52 % ของจํานวนผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นในโครงการแล้วเกิดการขายได้ในตลาดจริง
3.เกิดโมเดลการสร้างต้นแบบอาชีพด้วย “ระบบ Aquaponics” ตามคอนเซ็ปต์ “กันดารคือสินทรัพย์ อัตคัดคือโอกาส” ให้กับกลุ่มเกษตรกรและโรงเรียนให้เป็นโรงงานชุมชนเพื่อสร้างอาชีพในพื้นที่จังหวัดน่าน ศรีสะเกษ และมหาสารคาม 20-25 ราย สามารถสร้างรายได้ได้ถึง 13,625 บาทต่อเดือน หรือประมาณ 170,000 บาท/ปี
อีกทั้ง บพท.ได้ร่วมกับ “ศูนย์ฝึกอาชีพคนพิการอาเซียน” อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ สร้างต้นแบบโรงงานผลิตภัณฑ์ขึ้นรูปใหม่ โดยใช้วัตถุดิบหลักข้าวหักและข้าวท่อนกับผักพื้นถิ่นในพื้นที่ที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง เช่น ผักเชียงดา ฟักทอง ผ่านเครื่องเอ็กซ์ทรูเดอร์ (extruder) แปรรูปผลิตภัณฑ์สำหรับผลิตอาหารเสริมสำหรับผู้ป่วยพิการติดเตียงกว่า 200,000 คน สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับผู้พิการอีกกว่า 20 คน
ด้านที่ 2 “การจัดการทุนทางวัฒนธรรม” เพื่อยกระดับเศรษฐกิจชุมชน
และสำนึกท้องถิ่น ร่วมกับหน่วยวิจัยดำเนินการ 8 โครงการ
พื้นที่เป้าหมาย 10 จังหวัด เกิดการพัฒนาย่าน/เมืองเพื่อสร้างเศรษฐกิจ
รวมทั้งเกิดการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ชุมชนกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้ ผู้ประกอบการเชิงวัฒนธรรม 1,445 ราย ธุรกิจด้านวัฒนธรรม 55 กลุ่ม พื้นที่วัฒนธรรม 13 ย่าน
ซึ่งมีพื้นที่วัฒนธรรมเป็นที่ประจักษ์
คือ พื้นที่วัฒนธรรม ณ กาดไทลื้อ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา
สามารถสร้างรายได้ทำให้เกิดรายได้หมุนเวียนในระบบเศรษฐกิจพื้นที่ ปี 2561-2564
เป็นเงินรวม 17,277,369 บาท หรือเกือบ 17.2
ล้านบาท รวมถึงทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้นจากรายได้ประจำ
49.2 % ของรายได้เฉลี่ยรวมของครัวเรือน
แผนงานที่ 3 “การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนอย่างเบ็ดเสร็จและแม่นยำ”
ร่วมกับหน่วยวิจัยดำเนินงาน 3 โครงการ พื้นที่เป้าหมาย 3 จังหวัด ประกอบด้วย จ.แม่ฮ่องสอน
จ.ลำปาง และจ.พิษณุโลก ซึ่งมีคนจนเป้าหมาย จากฐานข้อมูล TPMAP (Thai people
Map and Analytics Platform) ปี 2562 ในพื้นที่ภาคเหนือ 56,183 คน สามารถค้นหาและสอบทานข้อมูลคนจนระดับพื้นที่ภาคเหนือ 96,499 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 13 พ.ย. 64) เกิดโมเดลแก้จน “โมเดลการขับเคลื่อนห่วงโซ่คุณค่าบุก”
และเกิดกลไกความร่วมมือบูรณาการแก้ไขปัญหาความยากจนแผนอำเภอเชื่อมโยงสู่แผนจังหวัด
ในพื้นที่ตำบลแม่สวด อ.สบเมย จ.แม่ฮ่องสอน
แผนงานที่ 4 “การพัฒนาเมืองและพัฒนาศูนย์กลางทางเศรษฐกิจในพื้นที่” ร่วมกับหน่วยวิจัยดำเนินงาน
12 โครงการ 6 จังหวัด สร้างประโยชน์เชิงบวกโดยทำเกิดผลดังนี้
1.เกิดกลไกการพัฒนา 11 พื้นที่ องค์ความรู้เพื่อการขับเคลื่อนเมือง 2 แผนการลงทุนพัฒนาพื้นที่
(Business Model) 6 แผน
เกิดข้อมูลของพื้นที่ (Data Catalog) 11 พื้นที่
2.เกิดพื้นที่ต้นแบบ (Prototype
Area) และ New Supply Chain จำนวน 11 พื้นที่ โดยมีผลการขับเคลื่อนที่เห็นเชิงรูปธรรมคือเกิดกลไกระดับย่านและกลไกการพัฒนาระดับพื้นที่
เกิดต้นแบบพื้นที่เมืองน่าอยู่สร้างสรรค์
ซึ่งเป็นต้นแบบการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ให้แก่ผู้ประกอบการย่านชุมชน สมาคม
และเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง
3.เกิดหลักสูตรการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ (Reskill) และหลักสูตรการเสริมสร้างทักษะใหม่
(Upskill) ของคนในเมือง
ผ่านห้องปฏิบัติการเมืองน่าอยู่สร้างสรรค์
เกิดองค์ความรู้และชุดความรู้ด้านการพัฒนาเมืองเพื่อนำไปสู่การขยายผลและนำเสนอนโยบายเชิงพื้นที่จากกระบวนการวิเคราะห์แผนปฏิบัติการร่วมกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
สามารถบรรจุเข้าสู่แผนพัฒนาของจังหวัด และนำไปสู่การขับเคลื่อนเมืองต่อไป
“เราคาดหวังให้มีการใช้วิชาการจากมหาวิทยาลัยออกมาร่วมกับสังคม สร้างคน สร้างชุมชน และพัฒนาเมือง จนเป็นกระแสหลัก เพราะการพัฒนาประเทศบนฐานความรู้จะทำให้เกิดความยั่งยืน”
ปัจจุบัน อว. โดย บพท. ร่วมกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ ดำเนินงานส่งเสริมทุนวัฒนธรรมใน 53 ชุมชนทั่วประเทศ มีผู้ประกอบการท้องถิ่นเข้าร่วมมากกว่า 6,000 ราย กระจายในลงสู่ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน ภาคใต้ 40 จังหวัด ประกอบด้วย
ภาคเหนือ 12 พื้นที่ 9 จังหวัด ได้แก่ 1. อำเภอเมือง จ.ลำปาง 2. อำเภอเมือง จ.แพร่ 2 ย่าน 3.อำเภอเมือง จ.เชียงราย 4. บ้านบ่อสร้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ 7.อำเภอเชียงคำ จ.พะเยา 8.อำเภอเมือง จ.ลำพูน 9. อำเภอเมือง จ.แม่ฮ่องสอน10. อำเภอเมือง จ.นครสวรรค์11. อำเภอเมือง จ.กำแพงเพชร
ภาคกลาง 14 พื้นที่ 11 จังหวัด ได้แก่ 12.อำเภอเมือง
จ.กาญจนบุรี 13.อำเภอเมือง
จ.สุพรรณบุรี
14) อำเภอปากเกร็ด จ.นนทบุรี15) เกาะสีชัง จ.ชลบุรี 16) อำเภอพนัสนิคม จ.ชลบุรี17) อำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี 18) อำเภอเมือง จ.ระยอง 19) อำเภอเมือง จ.เพชรบุรี 20) อำเภอวิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง 21) อำเภอเมือง จ.สมุทรสงคราม 22) ซอยศิลปากรและถนนพระอาทิตย์กรุงเทพมหานคร 23) ชุมชนกุฎีจีน เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร 24) ชุมชนวัดม่วง เขตบางแค กรุงเทพมหานคร 25) อำเภอบ้านไร่ จ.อุทัยธานี
ภาคอีสาน 13 พื้นที่ 10 จังหวัด 26) อำเภอลืออำนาจ จ.อำนาจเจริญ 27) อำเภอเมือง จ.ยโสธร
28) อำเภอเมือง จ.สุรินทร์ 29) อำเภอเมือง จ.เลย 30) อำเภอเมือง จ.ชัยภูมิ 31) อำเภอเมือง จ.ร้อยเอ็ด (2 ย่าน) 32) พื้นที่วัฒนธรรมริมโขง อำเภอเมือง จ.หนองคาย 33) ชุมชนตลาดท่าเสด็จ จังหวัดหนองคาย 34) อำเภอเมือง จ.กาฬสินธุ์ (2 ย่าน) 35) อำเภอเมือง จ.สกลนคร 36) อำเภอเมือง จ.อุดรธานี
ภาคใต้ 14 พื้นที่ 10 จังหวัด ได้แก่ 37) อำเภอกันตัง จ.ตรัง 38) อำเภอสุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส
39)
อำเภอเมือง จ.พัทลุง 40) อำเภอเมือง
จ.สงขลา 41) อำเภอเมือง จ.ภูเก็ต 42) อำเภอราไวย์ จ.ภูเก็ต
43) อำเภอสายบุรี จ.ปัตตานี 44) อำเภอเมือง จ.ปัตตานี 45) บ้านท่าสาป อำเภอเมือง จ.ยะลา 46) ชุมชนบ้านร่ม จ.ยะลา 47) อำเภอเมือง จ.สตูล 48) อ.เมือง จ.กระบี่ 49) อำเภอทุ่งสง จ. นครศรีธรรมราช (2 ย่าน)
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น