ข้ามไปที่เนื้อหาหลัก

การบินไทยกำไรแล้ว!!9เดือนแรกปี64โชว์กำไร 51,115ล้านบาท

ารบินไทย!ทำเซอร์ไพรส์9เดือนปี64กำไรแล้ว51,115ล้านบาท

ไปต่อไม่ง้อเงินคลัง2.5หมื่นล้าน-วอนธุรกิจคลังคืนหนี้ด่วนกว่า5พันล้าน

เปิด16คำถามคำต่อคำอนาคตบินไทยพลิกโฉมสสู่โลกใหม่ปี56-66-67


        ดร.ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) นำทีม นายชาย ศิริ กรรมการฟื้นฟูกิจการ และนายสุวรรธนะ สีบุญเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการบินไทย ร่วมกันแถลงผลการดำเนินงานของ บมจ.การบินไทย และบริษัทย่อยฯ เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564

ดร.ปิยะสวัสดิ์ เปิดแถลง “ผลการดำเนินงาน บมจ.การบินไทย  9 เดือนแรกปี 2564” พร้อมกับตอบคำถามและคำตอบ ตามที่ได้ "ถอดคำต่อคำกับ 16 คำถาม อนาคตการบินไทย"

ดร.ปิยะสวัสดิ์ ยืนยันได้แจ้ง ผลการดำเนินงาน บมจ.การบินไทย และบริษัทย่อย 9 เดือน ปี 2564 ไปยังตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้ว และการดำเนินงานหลายอย่างของผู้บริหารการบินไทย ได้ทำแผนคู่ขนานกันทั้งปรับองค์กรให้มีประสิทธิ์ภาพ ลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง ก็ทำให้การทำรายการที่ไม่รวมการดำเนินงานที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ตามรายละเอียดดังนี้


1.ทำกำไรได้แล้ว  51,115 ล้านบาท โดยเป็นผลมาจากการทำรายที่เกิดขึ้นครั้งเดียว ทำให้มีรายได้ 73,000 ล้านบาท ปัจจัยดังนี้

            1.1 การขายหุ้น ขายสินทรัพย์ ปรับโครงสร้างหนี้ และเลื่อนหุ้นกู้พร้อมลดดอกเบี้ยออกไป ดังนี้

-ขายหุ้นกิจการร่วมทุนมาจาก BAFT 2600 ล้านบาท

-ขายทรัพย์สิน 628 ล้านบาท ขายที่ดินสำนักงานการบินไทยหลักสี่เป็นหลัก ส่วนการขายสำนักงานการบินไทยหลานหลวง และภูเก็ต จะรับรู้รายได้ไตรมาส 4 ปี 2564

-กำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ตามแผนฟื้นฟู 730 ล้านบาท

-หุ้นกู้ เมื่อคำนวณมูลค่าปัจจุบัน แล้วเลื่อนหุ้นกู้ออกไป 6 ปี พร้อมลดดอกเบี้ยลงไปแล้วได้เงินมา 40,000 ล้านบาท

-เจ้าหนี้การค้ากับสถาบันการเงิน ได้มาอีก จำนวนหนึ่ง แต่รายการนี้จะนับเข้ามาเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีคำสั่งเท่านั้น

สรุปแล้วรวมจากผลการปรับแต่ละส่วนข้างต้นทำให้ได้เงินมาอีกเกือบ 60,000 ล้านบาท

1.2 การปรับปรุง “สินทรัพย์ด้อยค่า” เครื่องบินและสินทรัพย์ อุปกรณ์ต่าง ๆ ในเครื่องบิน รวมเป็นเงิน 18,440 ล้านบาท

-เป็นผลมาจากการเจรจาสัญญาเช่าเครื่องบินใหม่ เปลี่ยนจากเดิมจ่ายค่าเช่าเครื่องรายเดือนมาเป็นตามชั่วโมงการใช้จริง ปี 2563-2564 และหลายลำปี 2565 ด้วยได้มารวม 18,440 ล้านบาท (บันทึกไปแล้วเมื่อไตรมาส 2 )

-การปรับปรับผลโยชน์พนักงาน ลดลง 11,000 ล้านบาท (เพราะตามหลักการบัญชีจะต้องบันทึกการจ่ายผลประโยชน์อนาคตของพนักงานเข้าไปด้วย) เช่น การชดเชยวันหยุด ค่ารักษาพยาบาล ตั๋วเครื่องบิน แต่เมื่อทำรายการลดพนักงานจากปี 2562 จำนวน 29,000 คน ปัจจุบันเหลือ 14,900 คน ลดผลประโยชน์ลงไปด้วย ทำให้มีรายการนี้เข้ามา 8,323 ล้านบาท  ขณะเดียวกันก็มีรายการร่วมใจจากองค์กรอีก 1,936 ล้านบาท บริษัทต้องจ่ายให้พนักงานเพื่อเลิกจ้าง

-ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน 11,000 ล้นบาท เพราะหนี้เป็นสกุลต่างประเทศหลายสกุลเงิน

ผลที่ตามมา คือ 1.เกิดกำไร 51,115 ล้านบาท 2.ส่วนของผู้ถือหุ้นปีที่ผ่านมาไตรมาสที่ 3 ปีก่อนเคยติดลบ 120,000 ล้านบาท มาไตรมาส 3 ปีนี้ ติดลบเพียง 80,000 ล้านบาท 

ส่วนเรื่องนี้มีความสำคัญต่อ “อนาคตการบินไทย” ถึงการจะออก “หุ้นเพิ่มทุนหรือไม่” ขึ้นอยู่กับปัจจัยนี้เป็นสำคัญ

2. ผลขาดทุนรวมจากการไม่ได้รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 21,491 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน 12,465 ล้านบาท นับว่าไม่เลว เพราะเมื่อ 3 เดือนปีที่ผ่านมา ธุรกิจการบินยังไม่ฟื้นตัวจากโควิดอย่างเต็มที่

 

3.มีรายได้รวมทั้งสิ้น 14.,990 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 29,230 ล้านบาท คิดเป็น 66.1 %

4.มีค่าใช้จ่ายทั้งหมด 36,481 ล้านบาท ต่ำกว่าปีก่อน 41,695 ล้านบาท คิดเป็น 53.3 %

5.บริษัทย่อย มีรายการเกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิเป็นรายได้ 73,084 ล้านบาท

สำหรับข้อมูล บมจ.การบินไทย และบริษัทย่อย ณ วันที่ 30 กันยายน 2564 

                1.มีสินทรัพย์รวมจำนวน 163,703 ล้านบาท ลดลงจาก วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 45,594 ล้านบาท คิดเป็น 21.8 %

                2.หนี้สินรวมมีจำนวน 240,196 ล้านบาท ลดลงจาก วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 97,766 ล้านบาท คิดเป็น 28.9 %

                3.ส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัท และบริษัทย่อย ติดลบจำนวน 76,493 ล้านบาท ติดลบลดลงจาก วันที่ 31 ธันวาคม 2563 จำนวน 52,712 ล้านบาท

 


คำถาม-คำตอบ ระหว่าง “ผู้บริหารแผน กับ สื่อมวลชน” มีประมาณ 16 คำถาม ดังนี้

1.คำถาม  - สัดส่วนผู้ถือหุ้นที่ยังขาดทุนอยู่ มีแผนอย่างไรที่จะทำให้กลับมาเป็นบวก

2.คำถาม - ขั้นตอนเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลังในการบินไทย จะให้แนวทางที่ควรเป็น หรือจะบังคับให้แปลงหนี้เป็นทุน ?

ดร.ปิยะสวัสดิ์ – เรื่องที่ 1.การขาดทุนของในสัดส่วนของผู้ถือหุ้นก็หวังว่าจะลดลง จากการดำเนินงานตามแผนฟื้นฟู ปรับโครงสร้างหนี้ ผมจึงขอให้ดูการดำเนินงานไตรมาสสุดท้ายปี 2564 ซึ่งประกาศเป็นอย่างการปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2565

เรื่องที่ 2 สัดส่วนของหุ้นเพิ่มทุน ทางกระทรวงการคลังจะเอาหรือไม่เอา จะต้องเป็นไปตามเงื่อนไข หาก”กระทรวงการคลังไม่นำเงิน” ไม่นำเงินใส่เข้ามาตามเงื่อนไข 25,000 ล้านบาท การบินไทยก็จะต้องแก้ไขแผนอยู่แล้ว คราวนี้จะแก้อย่างไร จะมีการ “ออกหุ้นกู้ใหม่” ให้ “ผู้ถือหุ้นเดิม” แปลงหนี้เป็นทุน ของกระทรวงการคลัง อันนี้เป็นเรื่องที่กระทรวงการคลังต้องไปพิจารณาแล้วบอกพวกเรามาว่า “อยากจะเห็นอะไร?

แต่ก็อย่างที่ผมเคยเรียนแล้วว่า “ถ้าไม่ตัดสินใจอะไรเลย..ไม่ตัดสินใจจะให้คำตอบ” ในที่สุดแล้วเราก็จำเป็นจะต้องเดินหน้าต่อไป ซึ่งก็หมายความว่า “เมื่อผู้ถือหุ้นใหม่เข้ามา” จากการที่เขามีสิทธิ์ซื้อหุ้นในราคา 2.54 บาท/หุ้น นำเงินซื้อหุ้นใหม่ใส่เข้าไป

สัดส่วนการถือหุ้นของ “กระทรวงการคลัง” ใน บมจ.การบินไทย ก็จะลดลงโดยอัตโนมัติ กลายเป็นหุ้นของคลังจะเหลือ 8 % เท่านั้น จากปัจจุบัน 48 %

ดังนั้นกระทรวงการคลังจะ 1.แปลงหนี้เป็นทุน 2.ออกหุ้นเพิ่มทุนให้ผู้ถือหุ้นเดิม กระทรวงการคลังจะมีสิทธิ์จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ในราคาที่ บมจ.การบินไทย ขายให้ผู้ถือหุ้นเดิม แต่จะเป็น “ราคาเดียวกัน” หรือ “ราคาใหม่” จะต้องดูในรายละเอียดอีกครั้ง เพราะไม่ได้บอกไว้ในแผน ส่วนใน RO ไม่ได้มีเรื่องนี้อยู่ในแผน มีเฉพาะ “การแปลงหนี้เป็นทุน” เท่านั้น

เรื่องนี้ “กระทรวงการคลัง” ต้องนำไปพิจารณา แล้วบอกทางเรามาก็แล้วกัน เพราะการบินไทยจะต้องเดินหน้าต่อไปให้ได้

คำถามย่อย- ก่อนหน้านี้ ดร.ศิริ เคยบอกว่า สัดส่วนผู้ถือหุ้นของการบินไทย หากกระทรวงการคลัง ทำตามแผนของการบินไทย กระทรวงการคลังก็จะถือหุ้นไม่เกิน 40 % แล้วครั้งนี้เหตุใดจึงเป็นบอกว่าคลังถือหุ้นเดิม 48 %

ดร.ปิยะสวัสดิ์ – เอาเป็นว่าตามแผนเดิม “กระทรวงการคลัง” จะถือหุ้นไม่เกิน “ครึ่งหนึ่ง” ในการบินไทย

นายชาย ศิริ – ตามแผนเดิมคลังก็จะได้สิทธิ์ตามปกติ แต่แผนใหม่หากไม่เพิ่มทุนก็ขึ้นอยู่กับคลังว่าจะเลือกใช้สิทธิ์อย่างไร โดยได้คุยกับทาง ศคร.พร้อมให้ข้อมูลไปหมดแล้วตามตัวเลขปรับตามการบินไทยเสนอไป

3.คำถาม กรณีที่คลังไม่เพิ่มทุน 25,000 ล้านบาท แล้วสัดส่วนการถือหุ้นลดลงเหลือ 8 % การบินไทยจะยังเป็นสายการบินแห่งชาติอยู่หรือไม่

ดร.ปิยะสวัสดิ์- กระทรวงการคลังตอบมาตลอดว่า เงินที่ภาครัฐจะสนับสนุนเงินกู้เพิ่มใหม่ให้การบินไทย 25,000 ล้านบาท นั้นไม่สามารถใส่เงินเข้ามาได้ ชัดเจนแล้วว่า “กระทรวงการคลัง” จะไม่เข้าตามแผนเดิม ถ้าเผื่อสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐมีอยู่สูงพอสมควร คือ 1.แปลงหนี้เป็นทุน และ/หรือ 2.ซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่

 

แต่ท่าน “นายกรัฐมนตรี” บอกว่าการบินไทยยังต้องเป็น “สายการบินแห่งชาติ” ต่อไป ก็น่าจะหมายความว่า “กระทรวงการคลัง” ยังต้อง “มีหุ้นเพิ่มขึ้น” ในการบินไทย จากการ แปลงหนี้เป็นทุน และ/หรือซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ แต่ “ไม่ให้เงินกู้เพิ่ม”

นายชาย ศิริ – เรื่องนี้ บมจ.การบินไทย ยังเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จึงตอบได้เพียงว่า การเสนอออปชั่นให้กระทรวงการคลัง สัดส่วนการถือหุ้นแต่ละแบบของรัฐจะเป็นอย่างไร ชุดที่ ศคร.มีอยู่เป็นไปตามข้อเสนอได้มอดิฟลายตัวเลข เพื่อให้ตัวเลขหนี้เป็นตามไปที่กำหนดหรือไม่ !

 

ดร.ปิยะสวัสดิ์ – ตอนนี้ไทม์ไลน์ของแผนฟื้นฟูกิจการตอบได้คือต้องเดินต่อไป คือ ปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ หรือต้นปี 2565 ที่จะรอคำตอบจากกระทรวงการคลังเรื่องการแปลงหุ้นหรือซื้อหุ้นเพิ่มทุนใหม่ ซึ่งจะต้องใช้เวลา

3.1 คำถามย่อย- คำตอบของคลังจะโยงกับเรื่องที่เอกชนจะใส่เงินกู้เพิ่มทุนใหม่ 25,000 ล้านบาท ด้วยใช่ไหม

ดร.ปิยะสวัสดิ์ – ในส่วนการขอกู้เงินจากภาคเอกชน 25,000 ล้านบาท ก็น่าจะเดินหน้าไปได้ด้วยตัวเอง เพราะการบินไทย มีหลักทรัพย์ และทรัพย์สินอยู่พอสมควร ส่วนผลประกอบการ ก็ดีขึ้น แล้วก็มี “แรงจูงใจมาก” หากผู้ที่ใส่เงินเข้ามาจะได้ซื้อหุ้นการบินไทยราคาเพียง 2.54 บาท/หุ้น

 

3.2 คำถามย่อย -จะนำหลักทรัพย์ค้ำประกันจากที่ไหนไปขอกู้เงินเอกชน 25,000 ล้านบาท

 

ดร.ปิยะสวัสดิ์ – (ใช้หลักทรัพย์ที่นี่) ที่ดินและทรัพย์สินสำนักงานใหญ่ ถนนวิภาวดี พื้นที่กว่า 30 ไร่ ทั้งทรัพย์สินที่มีตรงสำนักงานกับ ฮ่องกง และต่างประเทศ ก็ยังมีแต่ไม่น่าสนใจเท่ากับทรัพย์สินตรงสำนักงานใหญ่

 

นายชาย ศิริ - ตอนนี้เราไม่ได้รอคำตอบจากกระทรวงการคลังว่าเมื่อไร แต่ต้องเดินหน้าตามเงื่อนไขต่าง ๆ ของเงินกู้ โดยมีไทม์ไลน์เงินกู้ แต่ยังตอบไม่ได้ว่าเมื่อไร เพียงแต่ต้องการ “เงินกู้ใหม่” ภายในต้นปีหน้าหรือไตรมาสแรก 2565

 


4.คำถาม -หากคลังใช้สิทธิเพิ่มทุนไม่ถึง 25,000 ล้านบาท จะปรับลดประมาณการณ์ผู้ถือหุ้นเหลืออยู่เท่าไร

 

5.คำถาม-กรณีการบินไทยไม่ได้เงินกู้จากรัฐบาลทิศทางข้างหน้าจะเป็นอย่างไร

ดร.ปิยะสวัสดิ์ - เราไม่ได้บอกว่าจะขอเงินกู้จากรัฐบาล เราไม่ได้ขอมาหลายเดือนแล้ว และรัฐบาลก็บอกว่า “ไม่ให้เงินแล้ว” เรื่องนี้ชัดเจนนะครับ แล้วเราก็ไปได้ถ้าไม่มีเงินกู้จากรัฐบาล

เราหวังเพียงแต่ว่าถ้ารัฐบาลไม่ทำอะไรเลย ไม่ตัดสินใจอะไรเลย แล้วเรากู้เงินจากเอกชนอย่างเดียว 25,000 ล้านบาท เอกชนใดที่ใส่เงินทุนเข้ามาสัดส่วนการถือหุ้นในการบินไทย หากต้องการที่กระทรวงการจะให้เหลือ 8 % ก็ไม่เป็นไร การบินไทยก็เดินหน้าทำตามแผนต่อไป

5.1 คำถามย่อย – หมายถึงว่ากระทรวงการคลังต้องตอบคำถามเรื่องนี้ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้หรือไม่

ดร.ปิยะสวัสดิ์ – ถ้าเป็นไปได้เร็วที่สุด ถ้าไม่มีข้อสรูปก็ไม่เป็นไร ก็จะเดินหน้าต่อไป ไม่ได้รอกระทรวงการคลัง เรารอไม่ได้ เพราะถ้าไม่ตัดสินใจ สัดส่วนหุ้นของกระทรวงการคลังอาจจะลงไปเหลือแค่ 8 %

 

ตอนนี้ไม่ได้หวังเงินเพิ่มทุนใหม่ และไม่ได้ขอเงินจากกระทรวงการคลังแล้วตอนนี้ แล้ววันประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นายกรัฐมนตรีพูดเมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 ก็ไม่มีเรื่องนี้คือเรื่อง “ขอเงินกู้จากรัฐ”

 

ดร.ปิยะสวัสดิ์ – ย้ำคำตอบว่าสิ่งที่เราขอจากรัฐคืออะไร ?

เราขอให้ “รัฐจ่ายหนี้ของรัฐ” มาให้หมด เช่น 1.หนี้ของตำรวจ 1,800 ล้านบาท และขอให้รัฐช่วยดูแลหน่วยงานของรัฐด้วย เช่น  2.ธนาคารกรุงไทย ธนาคารออมสิน ที่หักกลบลบหนี้ไป จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อ้อเป็นกองทุนบำเหน็ด  2,000 กว่าล้านบาท ตอนนี้เรื่องอยู่ที่พนักงานพิทักษ์ทรัพย์ หากมีคำวินิจฉัยว่าอย่างไรก็ขอให้เป็นไปตามนั้นไม่อุทรณ์ นั่นคือหากวินิจฉัยให้ธนาคารกรุงไทยและธนาคารออมสินต้องคืนเงินบำเหน็ดการบินไทย ก็ต้องคืนมา 2,000 ล้านบาท เพราะสุดท้ายหากเราอุทรณ์ไปที่ศาล ศาลก็จะอยู่ข้างเรา เราจึงไม่มีปัญหาเรื่องการหาเงินเพิ่มทุนเข้ามา

 

ทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่เรา “ขอจากรัฐ” ไม่ใช่ขอเรื่อง “เงินกู้รัฐ” และไม่ขอ “แฮร์คัท” ไม่ได้ขอ “ความเห็นชอบ” เรื่องการปรับแผน เพียงแต่รายงาน “จะต้องปรับแผน” เพื่อรายงานให้ทราบว่าต้องปรับแผน

แล้วแผนธุรกิจยังเป็นไปตามเดิม เพียงแต่รายละเอียดย่อย จะต้องหารือกับคณะกรรมการ แล้วหากจะแยก “ธุรกิจย่อย” จะต้องนำเสนอเจ้าหน้าที่ กลต.

นายชาย ศิริ - หลักการที่จะไปขอเงินกู้ใหม่ ทางผู้ให้กู้จะต้องดู 1.Cash Flow 2.ความสามารถในการหาเงิน ความสามารถในการหารายได้ ของการบินไทย ทางเราก็จะนำ Scenario (สถานการณ์) เหล่านี้ไปโครงการเป้าหมายอนาคตไปคุยกับ “ผู้ให้กู้” ที่มีศักยภาพ เรื่อง “เงื่อนไข”มีลำดับขั้นตอนที่ผู้ให้กู้ต้องการ เหล่านี้เป็นเรื่องที่ต้องสร้างขึ้นใหม่

ตามแผน “เงินกู้ใหม่” จะให้สิทธิแก่ 1.ผู้ถือหุ้นรายเดิมก็ได้ 2.มีสิทธิซื้อหุ้นเพิ่มทุนได้

 

6.คำถาม - เงินจาก “หนี้ภาครัฐ” รวมแล้วประมาณเท่าไร และวงเงินกู้จากเอกชน 25,000 ล้านบาท ที่ไม่ต้องพึ่งรัฐ ในสถานการณ์ที่โควิดยังคงอยู่ แล้วการบินยังเปิดให้บริการได้ไม่เต็มที่ การบินไทยจะรับมือสถานการณ์แบบนี้ได้นานขนาดไหน

 

นายชาย ศิริ - เงินกู้ใหม่จากเอกชน 25,000 ล้านบาท จะทำให้ 1.การบินไทยกู้ครั้งเดียว /One Time แล้วไม่กู้เพิ่ม อยู่ได้จนกกว่าการบินไทยจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ 2.การบินไทยกับการตั้งรับโควิดรอบใหม่กลับมาแต่ไม่ได้แย่เหมือนที่ผ่านมา แต่โควิดมาใหม่ความรุนแรงในระดับหนึ่ง การบินไทยก็ยังอยู่ได้ด้วยการหาเงินใส่ให้ครบ

 

                7.คำถาม – คำประกาศของนายกรัฐมนตรีให้คง “การบินไทย” เป็น “สายการบินแห่งชาติ” ต่อไป นั้น นายกรัฐมนตรีได้ขอให้การบินไทยร่วมมืออย่างไร เพื่อให้สถานะความเป็นสายการบินแห่งชาติยังคงดำรงอยู่ต่อไป

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ -นายกรัฐมนตรีได้บอกอะไร แต่ในการเดินทางไปยัง “เมืองกลาสโกรว์” ยังคงใช้เจ้าหน้าที่ของการบินไทย

 

                8.คำถาม -สิทธิการบินระหว่างประเทศ (Traffic Right) ของการบินไทย จะต้องปรับด้วยหรือไม่อย่างไร

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ -เรื่องสิทธิการบินระหว่างประเทศ ไม่ได้มีปัญหาอะไร เพียงแต่บางประเทศที่เราอาจจะมีน้อยเกินไป เราก็ได้เพิ่มเที่ยวบินแล้วตั้งแต่พฤศจิกายน 2564 เป็นต้นไป แต่ที่ “การบินไทย” จะเสียสิทธิการบินไปไม่ได้คือ “ลอนดอน” กับ “แฟรงเฟิร์ต”

                เส้นทางอื่น ๆ หากเราเสียสิทธิการบินไป ก็สามารถขอคืนได้

 

                9.คำถาม -หากกระทรวงการคลังไม่ทำอะไรเลย การบินไทยจะทำอย่างไร

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ -การบินไทยก็ต้องแก้ไขเดินหน้าต่อไป

               

10.ถ้าการบินไทยสนใจซื้อหุ้นเพิ่มทุน สัดส่วนหุ้คลังจะมีเท่าไร

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ - หุ้นคลัง 8 % บวกหุ้นกองทุนวายุภักดิ์อีกประมาณ 30 % ภาครัฐอาจจะมีเหลือ 30-35 % เพราะฉนั้นหุ้นส่วนใหญ่จะกลายเป็น “เอกชน”

                10.1 คำถามย่อย -กรณีภาครัฐแปลงหุ้นเป็นทุน สัดส่วนหุ้นจะเหลืออยู่ในการบินไทยเท่าไร

 

                นายชาย ศิริ – น่าจะอยู่ระหว่าง 48 % กับ  8 %

 

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ – ยังไม่ได้คำนวณมา ก็ลองคูณเอง 3,000 หารด้วย 25,000 เหลือเท่าไร แต่ถ้าหากใส่เงินเข้ามาใหม่ 25,000 ล้านบาท ตัวเลขก็จะเปลี่ยนไป

 

                10.2 ทิศทางของการบินไทยในอนาคตหากไม่ได้เงินจากคลัง 25,000 ล้านบาท จะเดินไปอย่างไร

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ -ตอนนี้เปิดประเทศแล้ว สถานการณ์การบินไทยมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง รายได้ “เดือนตุลาคม 2564” หลายคนบอก “คาร์โก้” ทำได้ 1,200 ล้านบาท เดือนพฤศจิกายน ตั้งแต่เปิดประเทศมาจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นพอสมควร 10 วันแรกเดือนพฤศจิกายน มีผู้โดยสารวันละ 750 คน ก่อนหน้านั้นวันละแค่ 300 คน

                10.3 จะต้องขนส่งผู้โดยสารเท่าไรถึงจะคุ้มทุน

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ -ตอนนี้รายรับ ลบ ค่าใช้จ่ายผันแปร อย่างไรก็ “เป็นบวก” อยู่แล้ว อยู่ที่ “รายได้หลัก” มาจากคาร์โก้ 90 % ฉนั้นต่อไป “กำไรสุทธิ” เป็นบวก รายได้ต่อปีน่าจะกลับไปสู่ “ปีละ 120,000 ล้านบาท”

                นายชาย ศิริ -ดูจากเริ่มต้นตอนนี้การบินไทยเริ่มมีรายได้เป็น “หลักหมื่นล้านบาท” ก็อยู่ได้ แต่ถ้าถามว่าจะกลับไปเป็นเหมือนเดิมไหม คงตอบไม่ได้ ก็หวังจะกลับมาได้ช่วงกลางหรือปลาย ถึงแม้จำนวนผู้โดยสารขึ้นมาไม่ถึงเป้าหมาย แต่รายได้คาร์โก้เข้ามาก็ยังถัวกันไปได้

                เป็นไปไม่ได้อยู่แล้วที่จะไปเหมือนเดิม จากเครื่องบินที่มี 103 ลำ ตอนนี้เหลือ 50 กว่าลำ

 

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ – ได้ประมาณการณ์รายได้การบินไทยจะกลับมาปี 2566-2567 ได้ถึงปีละกว่า 100,000 ล้านบาท ซึ่งสมัยก่อนโควิดการบินไทยมีรายได้ปีละ 180,000 ล้านบาท ปี 2566 ผลประกอบการจะเป็นบวกแน่นอน โดยมีรายละเอียดทางการบินตามสถานการณ์จริง แปรผันตามจำนวนเที่ยวบิน ผู้โดยสารใช้บริการ

 

                นายชาย ศิริ -ก่อนหน้ามีเครื่องบินบริการกว่า 80 ลำ ส่วนรายได้ที่มาจากเครื่องมือทำมาหากิน มีเท่าไร เพราะถ้าไม่ทำอะไรเลยก็จะแป้กอยู่อย่างนี้

 

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ -ตามแผนฟื้นฟูอาจจะพิจารณาเช่าเครื่องบินเพิ่มเติมตามความจำเป็น ปี 2566-2567

                12.คำถาม -การขายเครื่องบินที่เสนอไปยังกระทรวงคมนาคม อนุมัติบ้างหรือยัง

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ -เครื่องบินวางแผนขายสัญญาขายเพิ่มเติม โบอิ้ง 747 จำนวน 11 ลำ A300-600 อีก 1 ลำ  ส่งให้คมนาคมเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ฉนั้นขั้นตอนการพิจารณาก็ใช้ระยะเวลาสักพักหนึ่ง ยังอยู่ในกรอบการพิจารณาของกระทรวงคมนาคม ไม่ได้ช้าเลย

                ไตรมาส 4 ปีนี้ กับไตรมาส 1 ปีหน้า เวลาที่จะอนุมัติขอสัญญาซื้อขายแต่ละครั้ง

                12.1 คำถาม -เห็นทางกระทรวงคมนาคม มีคอมเมนท์เรื่องแผนขายเครื่องบินการบินไทย คือ “ซื้อแพงขายถูก”

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ - ไม่เห็นบอกพวกเราแบบนี้ แต่โดยทั่วไปถ้าซื้อเครื่องบินใหม่ “ราคาต้องแพง”

                12.2 คำถาม – เครื่องบินที่ส่งให้กระทรวงคมนาคม 11 ลำ ไม่ใช่ที่ขาย 1 ลำ นั้นได้รับอนุมัติหรือยัง

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ – 1 ลำนั้นคือ โบอิ้ง 737 เสนอไปก่อนหน้าแล้วให้กระทรวงคมนาคม ตอนนี้ยังไม่ได้เซ็นต์อนุมัติกลับมา

                12.3 เครื่องลำนี้ขายไปเป็นปีแล้วไม่ใช่เหรอ ?

                ดร.ปิยะสวัสดิ์ - มันอาจจะเป็นความบกพร่องของเราเอง ส่วนราคาขายจำไม่ได้ เพราะน่าจะทำกันก่อนที่คณะกรรมการฟื้นฟูกิจการจะเข้ามา แต่ที่สำคัญคือเสนอใหม่ไป 11 ลำ ต้องรอขายก่อนถึงจะ “บอกราคาหรือมูลค่า” ได้

 

ส่วนเครื่องบินที่ต้องดำเนินการตาม “สัญญาเช่าดำเนินการ” เป็น โบอิ้ง 777-200ER 4  ลำ เครื่องบินเก่าที่อาจจะเก็บเอาไว้ เพราะสมรรถนะใช้งานขนส่งคาร์โก้ได้ดี ส่วนที่จะไว้ใช้อีก 54 ลำ เป็นเครื่องบินใหม่สมรรถนะสูง มี A350-400 กับ B777-300ER ส่วน A320 รวม 21 ลำ การบินไทยให้ “ไทยสมายล์” เช่าช่วงต่อเพราะจำเป็นกับการบินเส้นทาง “ในประเทศ” และ “ภูมิภาคเอเชีย”

12.4 เครื่องบิน 54 ลำที่พูดถึง หมายความว่าจะเก็บเอาไว้หรืออะไร

ดร.ปิยะสวัสดิ์ – หลายลำเปลี่ยนไปทำสัญญาเช่าเรียบร้อยแล้ว ลำที่ไม่ได้เก็บหรือคืนผู้ให้เช่ามี 16 ลำ เพราะเงื่อนไขการเจรจาไม่เพียงพอ ทางผู้ให้เช่าทำเงื่อนไขไม่ดีพอ เราจึงคืน เช่น A380 , A330 และมีเครื่องของการบินไทยขาย โบอิ้ง 747 และ A340 ที่ไม่ได้นำมาบินอยู่แล้ว

 

13.คำถาม -แนวทางปี 2565 ธุรกิจจะดำเนินการต่ออย่างไร

 

ดร.ปิยะสวัสดิ์ - เป็นช่วงเริ่มต้นฟื้นตัว ตั้งแต่พฤศจิกายน 2564 เริ่มมีทิศทางที่ดี เปิดบินยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย ทางด้านจีนยังไม่ได้เปิด แต่ยังเปิดบินระหว่างประเทศได้ไม่เต็มที่ ช่วงตารางบินฤดูหนาวปลายตุลาคม 2564 เริ่มเป็นบวกแล้ว ถ้าสถานการณ์ดีขึ้นตามการคาดการณ์ก่อน One time ปีหน้า ค่าต่าง ๆ ก็จะลดลงไปมาก เป็น One time จากการจ่ายเงินชดเชยพนักงาน และอื่น ๆ

14.คำถาม - พอจะบอกตัวเลขรายได้ปีหน้า 2565 ได้หรือไม่

นายชาย ศิริ – ยังคงบอกไม่ได้ เพราะการบินไทยยังจดทะเบียนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์

 

14.1 คำถามย่อย - ประเมินคร่าว ๆ จะถึง 100,000 ล้านบาท หรือจะทะลุ 50,000 ล้านบาท หรือไม่

นายชาย ศิริ - รายได้ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เพราะถ้าตอบไปแล้ว ผมก็ต้องระวัง แต่ก็ขึ้นอยู่กับสถานการณ์โควิด เบื้องต้นอาจจะเป็น 50,000 ล้านบาท

14.2 คำถามย่อย - พอบอกสถานการณ์ที่จะทำให้การบินไทยปี 65 มีรายได้ถึง 50,000 ล้านบาท ได้หรือไม่

นายชาย ศิริ - หากสถานการณ์การบินกลับมาดี ไม่มีโควิด อย่าว่าแต่ 50,000 ล้านบาท เกินกว่า 50,000 ล้านบาท ก็อาจจะได้ แต่ถ้าสถานการณ์ไม่ดีก็อาจจะลงต่ำกว่า 50,000 ล้านบาทได้

 

15.คำถาม –แผนธุรกิจของการบินไทยปี 2565 และแนวทางหารายได้ใหม่จะมาจากไหนบ้าง

 

นายสุวรรธนะ สีบุญเรือง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร/CEO -ตอนนี้สถานการณ์บริการบินของการบินไทย เริ่มที่จะดีขึ้นแล้ว จะเห็นว่าได้เปิด “เส้นทางบินสำคัญ” จะเห็นว่า “คนไทย” เดินทางออกต่างประเทศ เช่น ไปฮ่องกง เมื่อกลับเข้ามาต้องกักตัว 14 วัน เช่น แต่ตามปกติคนต้องการโดนกักตัวน้อยที่สุด สำหรับธุรกิจของเรายังมี “เครือข่ายเที่ยวบิน” เป็นปัจจัยสำคัญอีกเรื่อง

 

คาดว่าจะดีขึ้น แต่หลายครั้งพอบอกว่าจะดีขึ้น ก็ต้องกลับไปตั้งต้นใหม่ อย่างที่การบินไทยเคยบอก “บินเพิ่ม” ตามจุดต่าง ๆ แต่พอโควิดกลับมารอบที่ 2-3 ก็ยากที่จะทำ แต่ตอนนี้ทุกอย่างเริ่มผ่อนคลาย การเดินทางเข้าประเทศของต่างชาติ ไม่ต้องกักตัว การเดินทางออกของคนไทยไปต่างประเทศก็สะดวกขึ้น

 

16.คำถาม -เงินที่ได้ 25,000 ล้านบาท ภายใต้สถานการณ์ที่ประเมินไว้หากแย่ที่สุดจะอยู่ได้นานแค่ไหน

นายชาย ศิริ – ประมาณการณ์ล่าสุดที่ยื่นเสนอแผนไปคือ ได้เงิน 25,000 ล้านบาท จะอยู่ได้จนกว่าการบินไทยจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการ ซึ่งเป็นไปตามข้อมูลที่ยื่นไปเมื่อปีที่ผ่านมา ตอนนั้นทำภายใต้ปัจจ

ดร.ปิยะสวัสดิ์ –เงิน 25,000 ล้านบาท เป็นเงินที่การบินไทยต้องการเข้ามาต้นปี 2565 คือ การบินอาจจะมีผลกระทบจากโควิดไประดับหนึ่งแล้ว แต่ถ้าเผื่อธุรกิจการบินดีขึ้นทุกอย่างก็น่าจะดี

จบการแถลงข่าว “ผลการดำเนนินงาน” บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) 9 เดือนแรก ปี 2564

เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2564 ระหว่างเวลา 11.00 -12.10 น. ณ อาคารการบินไทย ชั้น 3 ห้อง 305

 


ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ททท.นครราชสีมาพลิกโฉมตลาดท่องเที่ยวปี67

  รุ่งทิพย์ บุกขุนทด  ผู้อำนวยการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานนครราชสีมา ททท.นครสีมานำธุรกิจพลิกโฉมตลาดปี 67 เที่ยวโคราช-ชัยภูมิ ปลุกกระแส 3 วัยเที่ยวมุมใหม่เมืองย่าโม 3 มรดกโลก 10 อำเภอ จัดชุดใหญ่ Soft Power365 วัน 2 จว. 5 จุดขาย-สงกรานต์สนุกแน่ สมัคร!!สมาชิกคิงเพาเวอร์มี.ค.รับกิฟท์โวเชอร์/กะรัต/ส่วนลด THE POWER BAND# 4คิงเพาเวอร์แจก2ล้านนักดนตรีอาชีพ พลูแมนคิงเพาเวอร์ชูแพ็คเกจ Wedding แจก12รายการ2-3มี.ค. ททท.หนุน PELUPO ปักหมุดพัทยาบูมเที่ยวเทศกาลดนตรีโลก บางจากนำโมเดลสมดุลเพื่อโลกยั่งยืน ESG ส่งต่อผู้อบรมกปร. สุขทันทีนั่งรถม้าเที่ยวลำปาง-วัดพระพุทธบาทผาหนามลำพูน นายกฯจุดฝันไทยฮับบินโลกดันสุวรรณภูมิติดท็อป 20 รุก 5 ส่วน 800 บูธร่วมมหกรรมลดกระหน่ำเทศกาลเที่ยวไทยถึง 3 มี.ค. 67 วันเสาร์ที่  2 มีนาคม 2567 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97.0 และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen #gurutourza # รวยด้วยข่าวเสาร์อ

TCEBนำไมซ์ปี67โร้ดโชว์เทรดโชว์ทั่วโลก-จัดยกทีมประชุมรุมรักเมืองไทย

นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) "TCEB" บิ๊ก TCEB ปี 67 ปั๊มยอดไมซ์โตลุยโร้ดโชว์/เทรดโชว์ทั่วเอเชีย ในประเทศจัดกระหึ่ม“ยกทีมประชุมรุมรักเมืองไทย”พ.ค.นี้   3-7 มี.ค.ประชุมโดฮาลุ้นข่าวดี !! ไทยเจ้าภาพ Korat Expo2029 ดับร้อน!!ที่คิงเพาเวอร์ช้อป4มันส์ลดแจกแลกฟรี-31มี.ค.67 คิงเพาเวอร์จัดเต็ม 3.3 BEAUTY TRIO” ช้อป 3 อย่างลด 25% ททท.นำร่องจัด AIR-MAZING ไทยฮับท่องเที่ยว/การบินปี67 บางจากแจกมี.ค.67นำปั๊มเอสโซ่เดิม & บางจากมอบ2โปรดี สุขทันทีที่เที่ยวแดนใต้นราธิวาสเมืองพหุวัฒนธรรม5พิกัด AWC ปี’66ทำ5นิวไฮ-ปี67ทุ่ม1.9หมื่นล้านเปิด18โครงการ Trip.com- ททท.ไลฟ์สตรีมขายสงกรานต์โกยต่างชาติ150ล. วันอาทิตย์ที่   3 มีนาคม 2567 ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97.0 และอ่านได้ทาง www.facebook.com/penroongyaisamsaen #gurutourza # รวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์ FM97  # เพ็ญรุ่งใยสามเสน # เท

เปิดใจ “พศิน ลาทูรัส”ทายาท”นารายา”พลิกโมเดลแบรนด์ไทย ถอดบทเรียนโควิดปรับมุมคิดธุรกิจรุ่งปั้นสินค้าใหม่บุกทั่วโลก

  เปิดใจ “พศิน ลาทูรัส”ทายาท”นารายา”พลิกโมเดลแบรนด์ไทย ถอดบทเรียนโควิดปรับมุมคิดธุรกิจรุ่งปั้นสินค้าใหม่บุกทั่วโลก คิงเพาเวอร์ชวนช้อปออนไลน์แบรนด์เนมลด 70%26-31 ต.ค.นี้ สนุกกับ SUPER SURPRISE ดีลพิเศษราคาดิวตี้ฟรีที่คิงเพาเวอร์ ก.ท่องเที่ยวตีปีกรับทัวร์ต่างชาติ 3 เฟส-ไฟเขียวแล้ว 10 แอร์ไลน์ ไทยจ่อดึงลองสเตย์ต่างชาติซื้ออสังหาฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด “ TCEB” ชูไทยแลนด์ไมซ์สตาร์ตอัพปั้นนวัตกรรมใหม่5โปรเจ็กต์ หนาวนี้เที่ยว“นครพนม”ปลอดภัยมั่นใจเส้นทางสาย SHA ริมโขง วิธีเลือกกินเพื่อหลีกเลี่ยงความอ้วนควบคู่การลดโรคมากมาย ไทยสมายล์ขายตั๋วชุดเที่ยวไทยเหมาจ่าย4ใบเริ่มที่3.8พันบาท ไทยเวียตเจ็ทขายตั๋ว5บาท/เที่ยวโปร2เส้นทางใหม่ในประเทศ กรมเจ้าท่าฟุ้งแผนทำ10ท่าเรือรองรับวันสต็อปเที่ยวเจ้าพระยา   นายพศิน ลาทูรัส ซีอีโอฝ่ายพัฒนาธุรกิจ  บริษัท นารายณ์ อินเตอร์เทรด จำกัด ต้อนเข้าสู่รายการ “รวยด้วยข่าวเสาร์-อาทิตย์” ในวันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2563 เวลา 11.00-12.00 น.พบกับ “เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน” ทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย FM 97.0 MHz. ฟังทาง facebookLiveFM97.0 และอ่านได้ทาง