มูลนิธิปิดทองนำทีมรวมพลัง6องค์กรภาคีพันธมิตร
ยืนหยัดใช้แนวพระราชดำริสู้ภัยโควิดฟื้นชีวิตคนไทย
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #พระราชดำริค้ำจุนสังคมไม่ท้อไม่ถอย #มูลนิธิปิดทองหลังพระ
https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=1467591373434916&id=100005522016696
ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ นำทีมจัดเวทีเสวนา "พระราชดำริ ค้ำจุนสังคม " ไม่ท้อ ไม่ถอย หัวข้อหลัก "จากนภา ผ่านภูผา สู่ มหานที" ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ 6 องค์กร ร่วมมือกันเพื่อที่จะขยายผลต่
อยอดโครงการพระราชดำริ ดิน น้ำ ป่า ให้ประชาชน มีอาชีพอยู่ได้อย่างยั่งยืน
สภาพโดยรวมทุกวันนี้ประเทศไทยเข้าสู่วิกฤตครั้งรุนแรงที่สุดกว่าครั้งใด สืบเนื่องจากสงครามการค้าสู่โรคระบาดโควิด-19 จนคาดว่าแรงงานไม่น้อยกว่า 14 ล้านคนจะได้รับผลกระทบ แต่หกองค์กรภาคีมั่นใจการประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่จะสร้างชนบทให้แข็งแกร่ง เป็นแหล่งซึมซับความทุกข์และพร้อมจะขยายไปสู่การสร้างชนบทที่ยั่งยืนต่อไป
วันที่ 12 ตุลาคม 2563 ภาคีพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ ประกอบด้วย สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวด ล้อม สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ได้ร่วมกันจัดพิธีทางศาสนาถวายเป็นพระราชกุศลและการเสวนาเรื่อง “พระราชดำริค้ำจุนสังคม” ขึ้น เนื่องในโอกาสวันคล้ายวันสวรรคตวันที่ 13 ตุลาคม
ทั้ง 6 หน่วยงาน ได้สร้างระบบนิเวศเพื่อความยั่งยืนให้แก่ภาคชนบท ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ ผ่านโครงการและกิจกรรมที่มุ่ง "สืบสาน รักษา ต่อยอด" จนเกิดผลเป็นที่ประจักษ์ เช่น สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าได้ 105.83 ล้านไร่ เพิ่มความสามารถในการกักเก็บน้ำ 6,776.71 ล้านลูกบาศก์เมตร เพิ่มพื้นที่รับประโยชน์จากน้ำ 9.44 ล้านไร่ เพิ่มพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 3.23 ล้านไร่ สร้างอาชีพและเพิ่มรายได้แก่เกษตรกรตามแนวทฤษฎีใหม่ 2.83 ล้านครัวเรือน พัฒนากลุ่มอาชีพที่มั่นคงและกลุ่มบริหารจัดการตัวเองได้ 70,431 กลุ่ม สร้างปราชญ์และผู้นำเพื่อร่วมขยายแนวพระราชดำริ มากกว่า 3.55 แสนราย
ผลการดำเนินงานดังกล่าวช่วยบรรเทาปัญหาในชนบท ซึ่งจากการศึกษาของธนาคารแห่งประเทศไทยพบว่ามีประชาชนไม่น้อยกว่า 3.6 ล้านคน อยู่ในสภาพตกงานและเสมือนตกงาน คือ มีงานทำแต่ไม่เพียงพอต่อการดำรงชีพ นอกจากนี้ ผู้ที่อพยพมาหางานทำในเมืองต้องกลับไปในชนบทไม่น้อยกว่า 1.3 ล้านคน
🎎 หม่อมราชวงศ์ดิศนัดดา ดิศกุล เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ กล่าวว่าการรวมตัวกันของ 6 หน่วยงานครั้งนี้ เพื่อมาแสดงความมุ่งมั่นในการสืบสานแนวพระราชดำริให้ประเทศผ่านความท้าทายต่าง ๆ นานาที่เผชิญอยู่ในปัจจุบัน เพราะทุกคนทราบดีแล้วว่า ในช่วงเวลาสองปีมานี้ ประเทศของเราได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง จากสงครามการค้า ภัยพิบัติทางธรรมชาติและ Technology disruption ที่เข้ามาทดแทนแรงงานคนอย่างรวดเร็ว คาดว่าจะกระทบกับแรงงานไทยไม่ต่ำกว่า 14 ล้านคน และส่งผลกระทบต่อคนไทยทุกคนอย่างไม่เคยมีมาก่อน โดยเฉพาะประชาชนที่ด้อยโอกาสอยู่แล้ว จะยิ่งลำบากกว่าเดิม ถ้าไม่สามารถปรับตัวรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที
“เรามักพบเสมอว่า ประชาชนในชนบท ลำบากยากแค้น รอความช่วยเหลือ ขาดโอกาสในการพัฒนาตนเอง จึงละทิ้งชนบทเข้ามาหางานทำในเมือง แต่ขณะนี้โอกาสของการทำงานในเมืองก็ลดลง เหล่านี้ กระตุ้นให้พวกเราเห็นชัดว่า เราจะต้องทำงานให้หนัก เพื่อให้ประเทศไทยของเราผ่านโควิด-19 และ Technology disruption ไปได้ เพื่อให้ประเทศไทยดีว่าเดิม ไม่ใช่แค่กลับไปเหมือนเดิม”
เลขาธิการมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ กล่าวว่า องค์กรต่าง ๆ ที่มาร่วมในวันนี้ ล้วนมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาความยากจน ซึ่งไม่เพียงเป็นการทำงานสนองแนวพระราชดำริเท่านั้น แต่หมายถึงการช่วยให้ผู้ด้อย โอกาสสามารถยืนบนขาของตัวเอง มีอิสระภาพในชีวิต และเป็นรากฐานให้แก่การพัฒนาประชาธิปไตยได้โดยแท้จริง
🎎 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 🎎
นายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กล่าวในการเสวนาภายใต้หัวข้อ “จากนภา ผ่านภูผา สู่มหานที”ตอนหนึ่งว่า จากการรับสนองโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ ในการดูแลรักษาระบบนิเวศ ดิน น้ำ ป่า รวมทั้งทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติฯ ได้กำหนดแผนการดำเนินงานเพิ่มพื้นที่ป่าให้ได้ 2.68 ล้านไร่ ในปี 2563-2570 โดยแบ่งการดำเนินงานเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 แล้วเสร็จเมื่อเดือนกรกฎาคม 2563 สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าได้ 7,100 ไร่ ระยะที่ 2 ปี 2563-2665 จะฟื้นฟูและเพิ่มพื้นที่ป่า รวม 7.9 แสนไร่ ระยะที่ 3 ปี 2565-2570 กำหนดเป้าหมายเพิ่มพื้นที่ป่าชุมชน 11,327 แห่ง ๆ ละ 50 ไร่ เพิ่มความสมบูรณ์ของป่าชายเลน 1.53 แสนไร่ ป่าพรุ 20,000 ไร่ เพิ่มพื้นที่สีเขียวในจังหวัดที่ไม่มีพื้นที่ป่าต้นน้ำ จังหวัดละ 500 ไร่
🎎 กระทรวงมหาดไทย 🎎
กระทรวงมหาดไทยใช้แนวพระราชดำริในการบริหารราชการ ทั้งในโครงการตามภารกิจของหน่วยงานและโครงการในระดับพื้นที่ ซึ่งในระหว่างปี 2561-2562 โครงการด้านการแก้ปัญหาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคและโครงการส่งเสริมอาชีพและรายได้ทำให้ประชาชนที่ได้รับความยากลำบากได้ประโยชน์ 76,113 คน
นอกจากนี้ กระทรวงมหาดไทยยังจัดตั้งศูนย์เรียนรู้โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ 878 อำเภอทั่วประเทศ โครงการเศรษฐกิจพอเพียง 24 จังหวัด ครอบคลุมเรื่องทรัพยากรธรรมชาติ อาชีพ และคุณภาพชีวิตเด็ก สตรี และคนชรา
โครงการหมู่บ้านและชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ครอบคลุมทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม ดำเนินงานทั่วประเทศ ผลการพัฒนาระหว่าง 2552-2563 ครอบคลุม 27,275 หมู่บ้าน พบว่าประชาชนผ่านเกณฑ์พออยู่พอกิน อยู่ดีกินดี และมั่งมี ศรีสุข รวมกันเป็นจำนวน 18,495 หมู่บ้าน
🎎 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์การเกษตร 🎎
กระทรวงเกษตรฯ มีการดำเนินงานมาอย่างยาวนาน โดยยึดใช้แนวพระราชดำริในการส่งเสริมการพัฒนาคนและทรัพยากรเพื่อการเกษตร มีประชาชนเข้าร่วมและรับประโยชน์ทางตรงไม่น้อยกว่า 2.57 ล้านคน มีการจัดตั้งและบริหารกลุ่มผู้ใช้น้ำ 54,364 กลุ่ม และอาจจัดแบ่งตัวชี้วัดออกเป็น
- การดำเนินงานด้านน้ำ
o ฝนหลวง 230 ล้านไร่
o พัฒนาต้นทุนน้ำและน้ำชุมชน 6.62 ล้านไร่
- ด้านการเกษตรและพัฒนาดิน
o ส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝก 1.04 ล้านไร่
o การปรับปรุงดิน 1.9 ล้านไร่
o สร้างพื้นที่เกษตรกรรมยั่งยืน 3.23 ล้านไร่
🎎 สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 🎎
มีการดำเนินงานโครงการเศรษฐกิจพอเพียงระดับชุมชน ตั้งแต่ปี 2556 เพื่อเสริมความสามารถในการพัฒนาตนเองได้อย่างยั่งยืน ตลอดจนเป็นผู้นำช่วยงานไปยังชุมชนอื่นๆ ในอนาคต โดยมีการดำเนินงานในทุกจังหวัดเป็นต้นแบบเพื่อการขยายผลครอบคลุมพระราชดำริด้านต่าง ๆ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและวัฒนธรรม แบ่งเป็น 7 ยุทธศาสตร์ย่อย มีกลุ่มเป้าหมายทั้งประชาชนในชนบท นักเรียนนักศึกษา และผู้นำชุมชน
ในปี 2562 ยังดำเนินงานอย่างต่อเนื่องในด้านการส่งเสริมอาชีพเกษตร การบริหารจัดการน้ำ โดยมีผู้รับประโยชน์ 1,762 คน ได้รับการอบรม 7,600 คน และสนับสนุนการดำเนินงานตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน 1,201 โรงเรียน
สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
ทางด้านนายดนุชา สินธวานนท์ เลขาธิการคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมา จากพระราชดำริ (กปร.) กล่าวว่า ปัจจุบันมีโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ รวม 4,877 โครงการ ครอบ คลุมการพัฒนาทุกด้าน ที่สำคัญ คือ การดำเนินงานของศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้ง 6 แห่ง และศูนย์สาขาฯ 19 แห่ง ทำให้เกิดงานศึกษา ทดลอง วิจัย รวม 1,323 เรื่อง มีการขยายผลสู่หมู่บ้านรอบศูนย์ 148 หมู่บ้าน เกษตรกรรับประโยชน์ 31,786 ครัวเรือน 104,368 คน มีการฝึกอบรมหลักสูตรต่าง ๆ ให้กับผู้สนใจรวม 12,250 คน และมีผู้เข้าศึกษาดูงานเพื่อรับการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่าง ๆ เฉพาะในปี 2563 รวม 629,097 คน และศูนย์เรียนรู้ในพื้นที่ 111 แห่ง ยังให้ความรู้และเทคนิคใหม่ๆ เพื่อเกษตรกรนำไปประยุกต์ในการประกอบอาชีพและการดำรงชีวิต ปรากฎว่าเกษตรกรไม่น้อยกว่าร้อยละ 92.8 สามารถนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ โดยเฉพาะในการเพิ่มรายได้และลดรายจ่าย สร้างความพึงพอใจให้กับเกษตรกรไม่น้อยกว่าร้อยละ 90.4
“งานขยายผลของศูนย์ศึกษาฯทั้ง 6 แห่ง ช่วยเพิ่มพูนความรู้ให้กับเกษตรกรที่สามารถนำมาประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน โดยผลสำรวจพบว่า เกษตรกรร้อยละ 43.3 มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นมาก เกษตรกรร้อยละ 50.5 มีความเป็นอยู่ดีขึ้นพอสมควร รายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปี เป็นเงิน 216,821.98 บาท รายจ่ายเฉลี่ยต่อครัวเรือนต่อปี เป็นเงิน 146.306.98 บาท ส่วนใหญ่มีรายได้พอเพียงกับรายจ่ายคิดเป็นร้อยละ 37.80 มีการออมเงินในครัวเรือนคิดเป็นร้อยละ 72.30”
เลขาธิการ กปร. กล่าวต่อไปว่า เมื่อเกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 ศูนย์ศึกษาการพัฒนาฯ ได้แจกเมล็ดพันธุ์พืชผักสวนครัวและต้นกล้าพันธ์ไม้ จากคลังเมล็ดพันธุ์ตามแนวพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบให้สามารถดำรงชีพต่อไปได้
“ในสถานการณ์ COVID 19 ปรากฏว่า เกษตรกรศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงไม่ได้รับผลกระทบจากมาตรการงด/ลดการเดินทางและการปิดพื้นที่ (lockdown) เพราะสามารถสร้างอาหารอย่างเพียงพอ ทั้งยังเป็นที่พึ่งแบ่งปันช่วยเหลือคนในชุมชน/ลูกหลานที่ได้รับผลกระทบต้องกลับไปอยู่บ้านด้วย ส่วนธุรกิจเศรษฐกิจพอ เพียงได้รับผลกระทบบ้าง ยอดขายลดลง แต่ยังคงอยู่ได้ด้วยความพร้อมรับมือวิกฤติและมองวิกฤติเป็นธรรมดา มีจุดเด่นที่มีกลยุทธ์ปรับตัวได้เร็ว ไม่ปลดคนงานออก เป็นบทพิสูจน์ความสำเร็จของเศรษฐกิจพอเพียงได้เป็นอย่างดี
ในโอกาสนี้ มูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ ยังได้เผยผลงานวิจัย “ก้าวใหม่การพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดำริ” โดยคณะผู้วิจัยจากสถาบันการศึกษา 3 แห่ง คือ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเซีย เพื่อหาแนวทางการประเมินผลการพัฒนาตามแนวพระราชดำริอย่างเป็นรูปธรรม และกำหนดตัวชี้วัดให้ผสานกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ เพื่อให้การพัฒนาชนบทมีการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดในอนาคต
การดำเนินงานของมูลนิธิปิดทองหลังพระฯ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ปรากฎว่า สามารถเพิ่มพื้นที่รับประโยชน์จากการบริหารจัดการน้ำชุมชนได้ 275,714 ไร่ จากการร่วมกับชุมชนและราชการ พัฒนาแหล่งน้ำและสร้างฝาย 6,259 แห่ง ผู้ได้รับประโยชน์ในพื้นที่ต้นแบบและพื้นที่ขยายผล 80,247 ครัวเรือน เกิดพื้นที่ป่าและป่าเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นรวม 106,580 ไร่ ในจังหวัดน่าน การพัฒนาอาชีพทางเลือก ทำให้เกิดกลุ่มกองทุนที่บริหารจัดการโดยชุมชน 67 กลุ่ม มีสมาชิก 2,152 ครัวเรือน มีเงินในกองทุนหมุนเวียน 12 ล้านบาท
ที่สำคัญ การดำเนินงานตามแนวพระราชดำริ ยังช่วยให้รายได้เฉลี่ยของเกษตรกรเพิ่มขึ้นจาก 109 ล้านบาท (ปี 2552) เป็น 2,676 ล้านบาท (ปี 2562) และรายได้เฉลี่ยต่อครัวเรือนที่เข้าร่วมโครงการ สูงกว่าครัวเรือนในพื้นที่ที่ไม่ได้เข้าร่วมโครงการอย่างมีนัยสำคัญ คือ 124,890 บาท (คิดเป็นร้อยละ 62) และผ่านพ้นเส้นความยากจนแล้วร้อยละ 74
🎎 ดร.โชติชัย เจริญงาม ผู้แทนคณะวิจัยกล่าวว่าการดำเนินงานของปิดทองหลังพระฯ มีการประเมินผลแบ่งออกเป็นสามด้าน ครอบคลุมมิติความคุ้มค่าเชิงงบประมาณ (Fiscal Report) มิติการพัฒนาที่ยึดตามแนวพระราชดำริทฤษฎีใหม่ (Wisdom Report) และมิติความคุ้มค่าของโครงการและกิจกรรม
“ถ้าไปดูโครงการของปิดทองหลังพระฯจะเห็นครบทุกมิติ แต่ที่สำคัญและเป็นเงื่อนไขสำคัญ คือการ บูรณาการตลอดระบวนการทำงานที่ช่วยเติมช่องว่างที่ราชการอาจไปไม่ถึง สิ่งนี้ถ้ามีการนำไปปรับใช้เป็นเกณฑ์การทำงานมาตรฐาน ผมเชื่อว่าชนบทจะพัฒนาไปได้อย่างรวดเร็ว”
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น