ททท.ลุยธุรกิจท่องเที่ยวหมื่นรายรับตราSHAส่งท้ายปี’63 ดัน“ภัตตาคาร/ร้านอาหาร”ใช้สูตร14-6-6ทั่วไทยฟื้นปี’64
ททท.ลุยธุรกิจท่องเที่ยวหมื่นรายรับตราSHAส่งท้ายปี’63
ดัน“ภัตตาคาร/ร้านอาหาร”ใช้สูตร14-6-6ทั่วไทยฟื้นปี’64
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน บล็อกเกอร์#gurutourza, www.facebook.com/penroongyaisamsaenอ่านทั้งหมดในข่าวสดออนไลน์ https://www.khaosod.co.th/pr-news/news_5165700
ททท.ลุยปลุกธุรกิจร่วมรับตราสัญลักษณ์ SHA ส่งท้ายปี’63 ลุ้นยอดทะลุ 10,000 ราย กระตุ้นกลุ่ม “ภัตตาคาร/ร้านอาหาร” ใช้สูตรสำเร็จความปลอดภัยด้านสุขอนามัย “14-6-6” ปี’64 ตั้งเป้าเร่งเครื่องเชิญชวนทั่วประเทศรับตราสัญลักษณ์ SHA อย่างทั่วถึง ตอกย้ำความมั่นใจนักท่องเที่ยวไทยและต่างชาติหลังกลุ่มแรกเริ่มทยอยเข้ามาแล้ว รณรงค์ทุกกลุ่มเตรียมความพร้อมผนึกกำลังนำทัพท่องเที่ยวฟื้นเศรษฐกิจประเทศกลับมาบูมอีกครั้ง
นางสาวฐาปนีย์ เกียรติไพบูลย์
รองผู้ว่าการด้านสินค้าและธุรกิจท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
เปิดเผยว่า ตลอดเดือนพฤษภาคม-ตุลาคม 2563 ภายในเวลา 5 เดือน ได้รับความร่วมมือจากธุรกิจประเภทต่าง
ๆ สมัครเข้าร่วมขอการรับรองตราสัญลักษณ์ SHA : Amazing Thailand Safety & Health Administration ของ
ททท.รวมแล้วกว่า
10,000 ราย เป็นธุรกิจที่ผ่านการพิจารณารอบแรกประมาณ
8,500 ราย
และได้การรับรองตราสัญลักษณ์ไปเรียบร้อยแล้วขณะนี้เกินกว่า 6,000 รายขึ้นไป
ปี 2564 ททท.ต้องการกระจายให้ธุรกิจทุกกลุ่มได้เข้าร่วมรับตราสัญลักษณ์ SHA อย่างทั่วถึง ตอนนี้ที่ได้ตราสัญลักษณ์นำเป็นอันดับ
1 คือ กลุ่มธุรกิจโรงแรม รองลงไปตามลำดับ
ได้แก่ บริษัทตัวแทนธุรกิจนำเที่ยว รถบริการท่องเที่ยวหรือโลจิสติกส์
ช่วงเดือนตุลาคม 2563 เป็นต้นไปเริ่มมีสายการบินขอเข้ารับตราสัญลักษณ์
SHA ด้วยเช่นกัน
คือ การบินไทย กับบางกอกแอร์เวย์ส เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการทำให้เกิดความแข็งแกร่งทางด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทยแบบครบวงจร
นางสาวฐาปนีย์ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รณรงค์ให้
“ผู้ประกอบกิจการ ภัตตาคาร/ร้านอาหาร”
หันมาร่วมลงทะเบียนเข้าร่วมการรับรองตราสัญลักษณ์มาตรฐาน SHA ซึ่งสามารถปฏิบัติได้ง่าย ๆ ตามเกณฑ์มาตรฐานเบื้องต้น
ของทั้งผู้เกี่ยวข้องทั้ง 3 กลุ่ม
“ผู้ประกอบการ-ผู้ให้บริการ(พนักงาน)-ผู้รับบริการ(ลูกค้า) เพื่อเข้าร่วมมาตราฐาน SHA โดยปฏิบัติตามสูตร 14-6-6
ประกอบด้วย
กลุ่มที่ 1 “ผู้ประกอบการภัตตาคาร/ร้านอาหาร” ททท.แนะนำให้ดำเนินการดังต่อไปนี้คือ
1.จัดให้มีทางเข้า-ออก ทางเดียว
แก่ผู้เข้ามารับบริการภายในร้าน
กรณีหากมีทางเข้าออกหลายทางจะต้องมีจัดคัดกรองทุกเส้นทาง
2.จัดบริการตรวจวัดอุณหภูมิทุกคน
ทั้งพนักงานและเข้ามาใช้บริการในร้านทุกครั้ง รวมทั้งการทำสัญลักษณ์ให้ผู้ผ่านการคัดกรอง
3.บันทึกประวัติพนักงาน
และประวัติการเดินทาง
4.อนุญาตให้เฉพาะผู้เข้ามาใช้บริการที่สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยเท่านั้นสามารถผ่านเข้าออกได้
5.จัดให้มีที่ล้างมือด้วยน้ำและสบู่
หรือเจลแอลกอฮอล์ เพื่อทำความสะอาดมือในบริเวณก่อนเข้าร้านอาหารและจุดชำระเงิน
6.จำกัดจำนวนคนเข้าร้าน
และจัดพื้นที่รอคิวแยกจากส่วนที่นั่งรับประทานอาหาร
รวมทั้งต้องจัดที่นั่งภายในร้านให้มีระยะห่างระหว่างบุคคลไม่ต่ำกว่า 1 เมตร
7.ทำความสะอาดสิ่งของเครื่องใช้ เช่น
โต๊ะอาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ในการปรุงอาหาร ประกอบอาหาร อุปกรณ์ที่ใช้ในการรับประทานอาหาร
เรื่อยไปจนถึงการทำความสะอาดอื่น ๆ ด้วยน้ำยาทำความสะอาดอย่างน้อยวันละ 3 ครั้ง
8.จัดให้มีเจ้าหน้าที่ทำความสะอาดผิวสัมผัสร่วมอย่างน้อยทุก
2 ชั่วโมง
เช่น ที่จับประตูเข้าออกห้องน้ำและบริเวณทางเข้าออกภัตตาคาร ร้านอาหาร
9.บริการอาหารสำเร็จรูปจะต้องจัดหาอุปกรณ์ปกปิดอาหารโดยใช้อุปกรณ์หยิบจับ
หรือ ตัก ไม่ว่าจะเป็น ช้อน ทัพพี ที่คีบอาหาร และอื่น ๆ
10.มีการกำจัดขยะ ของเสีย กระดาษชำระ
และหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วอย่างเหมาะสม
11.จัดทำระบบระบายอากาศภายในร้านให้เพียงพอ
ติดตั้งและดูแลระบบการหมุนเวียน เพื่อป้องกันการเป็นแหล่งสะสมของเชื้อโรค
12.มีบริการการชำระเงินอย่างปลอดภัย
ลดการพูดคุย สัมผัส ระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการ
13.สื่อสารให้ความรู้ข้อแนะนำผ่านช่องทางต่าง
ๆ เพื่อร่วมกันลดความเสี่ยงและป้องกันโรคติดต่อเชื้อไวรัสโควิด-19
14.ลดการใช้เสียงภายในภัตตาคารและร้านอาหาร
เพื่อความปลอดภัยด้านสุขอนามัยของทุกคน
กลุ่มที่ 2 “ผู้ให้บริการหรือพนักงานในภัตตาคาร/ร้านอาหาร”
ทุกคนควรปฏิบัติให้ถูกต้องหลัก
6
เรื่องสำคัญ ได้แก่
1.ต้องดูแลรักษาความสะอาดร่างกาย
สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย หรือ เฟซชีล หมวกคลุมผม ถุงมือ
ให้เรียบร้อยทุกครั้งขณะปฏิบัติงาน 2.ล้างมือด้วยน้ำและสบู่
หรือเจลแอลกอฮอล์อย่างสม่ำเสมอ 3.หากมีอาการไอหรือจาม
มีน้ำมูกหรือเหนื่อยหอบให้หยุดปฏิบัติแล้วไปพบแพทย์ทันที
4.เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร 5.พนักงานที่ทำหน้าที่จัดการขยะ
จะต้องล้างมือทันทีหลังเสร็จงานในการเก็บกระดาษชำระ
หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว ก็ต้องจัดการอย่างเหมาะสมก่อนทิ้งลงขยะ 6.ไม่ควรรับเงินด้วยการสัมผัสกับมือโดยตรง
อาจสวมถุงมือ หรือมีถาดรับเงิน และต้องทำความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
กลุ่มที่ 3 “ผู้รับบริการหรือลูกค้าภัตตาคาร/ร้านอาหาร” เมื่อเดินเข้าไปยังร้านทุกแห่ง
ททท.แนะนำให้ดูแลสุขอนามัยไปพร้อม ๆ กัน 6 เรื่อง ได้แก่
1.ให้ความร่วมมือตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย
สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย 2.เว้นระยะห่างระหว่างบุคคลอย่างน้อย 1 เมตร 3.ล้างมือก่อนและหลังใช้บริการด้วยน้ำและสบู่
หรือเจลแอลกอฮอล์ 4.ไม่ควรชำระเงิด้วยเงินสดเพื่อการสัมผัส
แนะนำให้หันไปชำระเงินโดยโอนผ่านแอพลิเคชั่นหรือพร้อมเพย์ ก็ได้ 5.ควรบริหารจัดการระยะเวลาในการรับประทานอาหารในร้านไม่ควรเกินครั้งละ
1 ชั่วโมง
และ 6.ลดการใช้เสียงภายในภัตตาคาร/ร้านอาหาร
นางสาวฐาปนีย์
ย้ำว่า ททท.ขอให้ทุกธุรกิจร่วมมือกัน
รักษาคุณภาพบริการให้คงอยู่ตลอดไป ภายใต้มาตรฐาน SHA นอกจากจะมีคุณูปการต่อนักท่องเที่ยวแล้วยังสามารถขายได้จริง
อีกทั้งขณะนี้ ททท.ทุ่มเทช่วยสนับสนุนภาคธุรกิจทุกประเภท ทั้ง “ตลาดในประเทศ”
ได้เปิดทุกช่องทางโดยการทำออนไลน์ ออฟไลน์ ออนกราวนด์
รณรงค์และสร้างการรับรู้สื่อความหมายตราสัญลักษณ์ SHA เข้าถึงทั้งผู้ประกอบการ
และผู้ใช้บริการครอบคลุมทุกกลุ่ม
ส่วน “ตลาดต่างประเทศ”
เร่งสร้างการรับรู้ให้ทั่วโลกรู้จักตราสัญลักษณ์ SHA อย่างแพร่หลาย โดย มอบหมายภารกิจให้
ททท.สำนักงานต่างประเทศ 29 แห่ง
เดินหน้าเผยแพร่ไปยังภาคีพันธมิตร บริษัทตัวแทนการท่องเที่ยว
พนักงานหน้าร้านผู้ขายการท่องเที่ยวมาเมืองไทย นำจุดขาย SHA บวกกับเข้าสินค้าและกิจกรรมท่องเที่ยวเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อวางแผนผลิตโปรแกรมเตรียมการขายท่องเที่ยวเข้ามายังไทยเมื่อถึงเวลารัฐบาลประกาศเปิดประเทศรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติทยอยเดินทางเข้ามากลุ่มแรกตั้งแต่วันที่
21 ตุลาคม
2563 เป็นต้นไป ซึ่งจะเริ่มเดินทางมาไทยเฉลี่ยเดือนละ 1,200
คนขึ้นไป
ดังนั้นมาตรฐานตราสัญลักษณ์ SHA
ที่ผู้ประกอบการ
“ภัตตาคาร/ร้านอาหาร” ควรจะเร่งตื่นตัวยกระดับบริการ
เพื่อช่วยกันสร้างความเชื่อมั่น ตอกย้ำความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวคนไทย
และต่างชาติ กลับมาท่องเที่ยวเมืองไทย เพิ่มรายได้กระจายไปยังท้องถิ่นทั่วประเทศ
ทำให้เศรษฐกิจของประเทศไทยกลับมาเข้มแข็งด้วยอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ได้พลังจาก SHA
การันตีความปลอดภัยให้นักท่องเที่ยวไร้ความกังวลต่อมาตรการควบคุมและป้องกันแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยอย่างเข้มข้นทุกขั้นตอน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น