TCEBเปิดปุ๊บโกยปั๊บยูนิซิตี้ไมซ์โลกเข้าไทย45ชาติส.ค.65-แจกงบกระตุ้นไมซ์ในประเทศประชุมเมืองไทยเร่งสร้างเศรษฐกิจไทยต.ค.65
TCEBเปิดปุ๊บโกยปั๊บยูนิซิตี้ไมซ์โลกเข้าไทย45ชาติส.ค.65
แจกงบกระตุ้นไมซ์ในประเทศประชุมเมืองไทยสร้างเศรษฐกิจไทยต.ค.65
TCEB” เปิดประเทศปุ๊บโกยปั๊บ ไมซ์ประชุมองค์กร-อินเซนทีฟ นำร่องดึงเครือข่ายธุรกิจขายตรง ยูนิซิตี้ 54 ประเทศ 10,000 คน ใช้เงินในไทย 4 วัน 660 ล้านบาท พร้อม 2 ข่าวดี “มาตรการลดหย่อนภาษีบริษัท ห้างร้าน จัดประชุมปี65” รวมทั้งรอเปิดโครงการแจกงบล็อตใหม่ “ประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย” 1 ต.ค.65 ทั่วไทย 1,000 กรุ๊ป เปิดแผนลุยจัดทัพสินค้า “7 ธีมไมซ์+ไมซ์ พรีเมี่ยม” ปลุกสินค้า ไมซ์ชุมชน ไมซ์ ซิตี้ คึกคักต่อเนื่องปลายปี65-66
นางศุภวรรณ
ตีระรัตน์ รองผู้อำนวยการสายงานพัฒนาและนวัตกรรม
สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า
ทีเส็บได้นำงานประชุมองค์กรและการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (incentive)
ซึ่งตอนสถานการณ์โควิดระบาดลูกค้าหายไปเกือบ 90 % พอรัฐบาลประกาศนโยบายเปิดประเทศอย่างเป็นทางการ
ปลดล็อกมาตรการต่าง ๆ ทำให้ตอนนี้มีงานไมซ์จากตลาดต่างประเทศทั้งงานวิชาการ
เมกะอีเวนต์ ประชุม และการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล หลั่งไหลเข้ามาไทย
“กลุ่มประชุมองค์กร” เป็นตลาดแรกที่สามารถนำเข้ามาได้เร็วที่สุด เพราะบริษัทต่าง ๆ สามารถตัดสินใจได้เลยทันที แตกต่างจากการประชุมของสมาคมตามขั้นตอนจะต้องรอมติคณะกรรมการ หรืองานแสดงสินค้า (exhibition) จะจัดได้ต้องไปสอบถามผู้เข้าร่วมว่าจะมางานได้หรือไม่ ทีเส็บจึงได้หันไปจับตลาดประชุมองค์กร (M : meetingและการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล (I : Incentive) เพิ่มขึ้น
ตลาดใหญ่สุด
คือ “กลุ่มเครือข่ายขายตรง” ในเดือนสิงหาคม นี้ ทาง “ยูนิซิตี้”
เป็นผู้นำธุรกิจขายตรงสินค้าสุขภาพ มีเครือข่ายกระจายอยู่ทั่วโลก 54 ประเทศ
ตัดสินใจเลือกมาจัดในงานไทยชื่อ 2022 Global Leadership Innovation Conference
เป็นการเชิญสมาชิกระดับหัวหน้าที่ทำยอดขายได้จำนวนมากถึง 10,000 คน
มาร่วมประชุมกันในเมืองไทย ระหว่าง 5-8 สิงหาคม 2565 ที่กรุงเทพฯ
เพื่อกระจายรายได้
จากนั้นหัวหน้างานบางส่วนจำนวนนับพันคนอยู่เพิ่มเพื่อเดินทางไปเที่ยวต่อในพัทยา
ภูเก็ต
สมาชิกยูนิซิตี้ที่มาจัดประชุมในเมืองไทยต่อเนื่องเป็นเวลา 4 วัน จะสามารถสร้างเงินช่วงสั้น ๆ ให้ไทยได้กว่า 660 ล้านบาท รวมทั้งกระจายรายได้สู่จังหวัดอื่นด้วย เพราะกลุ่มตลาดนี้เป็นผู้ใช้จ่ายเงินรายใหญ่หรือ Big Spender เลือกจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวซึ่งเป็นที่ชื่นชอบความเป็นไทย
ทางทีเส็บได้ให้การสนับสนุนการจัดงานครั้งนี้ 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่ 1 เงินสนับสนุน ส่วนที่ 2 อำนวยความสะดวกประสานกงศุลไทยทั่วโลกเรื่องจัดทำวีซ่าเข้าไทย ส่วนที่ 3 เปิด MICE LANE ในสนามบินสุวรรณภูมิให้สิทธิพิเศษอำนวยความสะดวกการตรวจหนังสือเดินทางให้คณะนี้ทั้งหมด 10,000 คน ตอกย้ำนโยบายเปิดประเทศแล้วไปได้เป็นอย่างดี และยืนยันถึงไทยยังครองความนิยมตลาดไมซ์กลุ่มธุรกิจขายตรงนานาชาติ รวมทั้งทำให้ทั่วโลกมั่นใจศักยภาพความพร้อมต้อนรับการจัดงานขนาดใหญ่พร้อมกันนับหมื่นคน ตามหัวหลักทั้งในกรุงเทพฯ ภูเก็ต พัทยา เป็นโมเดลที่จะดึงพื้นที่ ไมซ์ ซิตี้ ทั่วไทยทั้ง 10 จังหวัด ใช้เป็นต้นแบบจัดงานได้ด้วย
ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป ทีเส็บสามารถดึง “ประชุมองค์กรงานระดับนานาชาติ” เข้ามาจัดในไทยมีมากถึง 50-60 % ของงานทั้งหมดที่เข้ามาในไทย สถิติตอนนี้มากกว่า 25 งาน ภายในแต่ละงานจะมีทั้งการจัดประชุมวิชาการ การแสดงสินค้า และการเดินทางเพื่อเป็นรางวัล
ขณะนี้ทีเส็บกำลังเร่งทำตลาดอเมริกา ยุโรป เพิ่งจะไปร่วมงาน IMEX FRANKFIRT 2022 หลายประเทศอั้นมานานก็อยากเดินทางมาจัดงานไมซ์ในประเทศแถบเอเชีย โดยมองถึงความปลอดภัยด้านสุขอนามัย เป็นมิตรไมตรี ซึ่งไทยติด 1 ใน 10 ของโลก
นางศุภวรรณกล่าวว่า ตั้งแต่กรกฎาคม 2565 เป็นต้นไป มีข่าวดีแจ้งกับทางผู้ประกอบการ 2 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 ทางกรมสรรพากร กระทรวงการคลัง ประกาศมาตรการลดหย่อนภาษีเพิ่มเติมเป็นอินเซ็นทีฟให้บริษัท ห้างร้าน องค์กร ที่จัดงานประชุม และงานแสดงสินค้า ในประเทศ เรื่องที่ 2 ทีเส็บเตรียมเปิดตัวโครงการ “ประชุมเมืองไทย เร่งสร้างเศรษฐกิจไทย” เปิดให้ผู้ประกอบการประเภท องค์กร สมาคม มูลนิธิ ถ้าจะจัดการประชุมทางทีเส็บมีงบประมาณช่วยเหลือการจัดงาน เพื่อเร่งให้เกิดการกระจายรายได้ทั่วประเทศ ซึ่งโครงการนี้กำลังรองบจากรัฐที่จะได้รับเริ่ม 1 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป ถ้าเงินได้มาก็จะทำโครงการนี้ทันทีสามารถกระจายการจัดประชุมทั่วประเทศได้ประมาณ 1,000 กรุ๊ป คาดการณ์เคลื่อนไหวคนประชุมได้ 30,000-50,000 คน
ส่วนการวางกลยุทธ์ “การกระจาย” ผู้เข้าร่วมงานประชุมองค์กรและเดินทางเพื่อเป็นรางวัล พื้นที่ที่จะได้รับประโยชน์เต็ม ๆ คือ จังหวัดที่มีสถานที่จัดประชุมรองรับคนจำนวนมากได้พร้อม ๆ กัน อย่างกรุงเทพฯ มีศูนย์ประชุมอิมแพ็ค เมืองทองธานี ศูนย์ประชุมไบเทค บางนา แล้วเดือนกันยายนนี้ศูนย์ประชุมนานาชาติสิริกิติ์ซึ่งปิดปรับปรุงและขยายพื้นที่เพิ่มก็จะเปิดบริการแล้ว
ขณะที่ช่วงเดือนมิถุนายน 2565 ทีเส็บได้สนับสนุนนำงาน Global Women Leadership มาจัดในกรุงเทพฯ มีผู้สตรีแถวหน้าของโลกมารวมตัวกันนับพันคน นอกเหนือจากนั้นก็มีงานประชุมแพทย์สาขาต่าง ๆ การประชุมองค์กรจากประเทศแถบเอเชีย อาเซียนอย่าง มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ตลอด 2 เดือนมีเข้ามาเป็นจำนวนมาก ทั้งนั่งเช่ารถชัตเติ้ลบัสผ่านช่องทางบกและทางอากาศ
นางศุภวรรณ กล่าวว่า นโยบายของภาครัฐต้องการกระจายเม็ดเงินสู่ชุมชน ทีเส็บได้วางกลยุทธ์เปิดเส้นทางขายเชื่อมโยงหลังเสร็จสิ้นการเข้าร่วมแต่ละงาน นักเดินทางไมซ์ตลาดต่างประเทศก็จะเดินทางจากจังหวัดหลักไปจังหวัดใกล้เคียง เช่น เชียงใหม่ ไปลำพูน ลำปาง ทั้งเพื่อการเรียนรู้และการกระจายรายได้ นำไปสู่การแจ้งเกิด “ไมซ์ชุมชน” ควบคู่กับ “ไมซ์ซิตี้” ตอนนี้มีทั้งหมด 10 เมือง ได้แก่ “ภาคเหนือ” 3 จังหวัด คือ เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก “ภาคกลาง” 1 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ “ภาคใต้” 3 จังหวัด คือ สุราษฎร์ธานีรวมสมุย ภูเก็ต สงขลา “ภาคอีสาน” 3 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และ ภาคตะวันออก 1 จังหวัด คือ พัทยา ชลบุรี
ทีเส็บจึงได้จัดทำเป็น “เส้นทางไมซ์ -MICE Routing” กระจายไปยังชุมชน โดยแบ่งเป็น 7 ธีม สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้ใช้บริการซึ่งเป็นกลุ่มองค์กรสมัยใหม่ เป็นตลาดที่ต้องการรุกเจาะให้ใช้จ่ายเงินตรงเข้าชุมชนเพิ่มขึ้น
ธีมที่ 1 ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม เป็นการนำเสนอให้ผู้เข้าร่วมงานที่ต้องการค้นหาวิถีชีวิตและความเป็นอยู่ของพื้นที่นั้น ๆ ได้สัมผัสประสบการณ์ดี ๆ ท่ามกลางสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ
ธีมที่ 2 การผจญภัย (Adventure) ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่ที่ชื่นชอบทำกิจกรรมท้าทาย ผ่านกิจกรรมรุปแบบต่าง ๆ เพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถต่อยอดไปถึงเรื่องการทำการสร้างทีมเวิร์กต่อไป
ธีมที่
3 การสร้างทีมเวิร์ก
หรือ Team
Building แตกต่างจากท่องเที่ยวทั่วไป
เพราะจะมีเรื่องการทำเกี่ยวกับ พนักงาน กิจกรรม สัมพันธ์ ต่าง ๆ
สร้างความร่วมมือกันทำงานเป็นทีมด้วยกัน
ธีมที่ 4 CSR และการประชุมเชิงอนุรักษ์สไตล์ Green Meeting นำเสนอให้องค์กรต่าง ๆ หันมาทำความดีตอบสนองความรับผิดชอบต่อสังคม แตกต่างจากเดิมจะเน้นปลูกป่า ปัจจุบันจะมีกิจกรรมมากขึ้น เช่น การสร้างห้องสมุดโรงเรียน กิจกรรมชุมชน และอื่น ๆ
ธีมที่
5 กิจกรรมบรรยากาศชายหาด
การจัดประชุมต้อนรับบนชายหาด บนเกาะ ริมทะเล ตามรีสอร์ตธรรมชาติทั้งภาคใต้
ภาคตะวันออก
ธีมที่
6 การจัดงานและกิจกรรมความหรูหรามีระดับ หรือ luxury ขณะนี้องค์กรที่มีความหรูก็ต้องการเลือกทำสิ่งใหม่
ๆ ในหลากหลายจังหวัดสามารถทำกิจกรรมได้พิเศษมากกว่าพื้นที่ทั่วไป
ธีมที่ 7 กิจกรรมนำเสนออาหารไทยในทุกการจัดงานที่หลากหลาย
โดยแนะนำให้เลือกใช้วัตถุดิบภายในท้องถิ่นเข้ามาปรุงเมนูต่าง ๆ
เพื่อสร้างประสบการณ์ทำอาหารไทย เป็นธีมที่ทีเส็บให้ความสำคัญมาก ๆ
ขณะนี้มีเทรนด์ใหม่เกิดขึ้น
เช่น “ภาคเหนือ” ที่เชียงใหม่
มีเกี่ยวกับกิจกรรมการขี่ช้างเปลี่ยนเป็นการทำอาหารให้ช้างกิน
เนื่องจากระยะหลังชาวต่างชาติต่อต้านการทรมานช้าง จึงส่งผลทำให้ปางช้างต่าง ๆ
ต้องปิดกิจการ ดังนั้นทีเส็บจึงหันมาทำกิจกรรมชวนผู้เข้าร่วมงานไมซ์ชุมชนหรือไมซ์ซิตี้
หันมา “เลี้ยงดูช้าง” กลายเป็น Rehabitation Center ศูนย์บำบัดเลี้ยงช้าง
แทนการขี่ช้าง เรียนรู้วิถีชีวิตช้าง อาบน้ำช้าง ทำอาหารให้ช้าง
ทำยาแก้ท้องผูกด้วยสมุนไพรให้ช้างกิน และทำกิจกรรมร่วมกันกับช้าง หลายพื้นที่ให้ช้าง
วาดรูป หรือระบายสีโลโก้องค์กรจัดประชุมนั้น ๆ กลายเป็นความน่ารักอีกมุมในเชิงบวก
หรือ “ภาคใต้” นำไปร่วมปล่อยเต่าลงสู่ทะเล ปลูกหญ้าทะเล
ซึ่งเป็นประโยชน์กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
สำหรับ “ช่องทาง” การเข้าไปดูรายละเอียดการนำเสนอเส้นทาง 7 Theme MICE ได้ที่เว็บไซต์ www.thaimiceconnect.com เป็นแพลตฟอร์มรวมให้ผู้ที่สนใจจะจัดงานเข้ามาดูรายละเอียด เพื่อนำไปใช้เสนอเป็นเจ้าภาพจัดงานไมซ์ต่าง ๆ ได้ โดยมีรายชื่อผู้ประกอบการทั้งหมด
นางศุภวรรณ
กล่าวว่ายังมีอีกโปรเจ็กต์ใหญ่คือ “MICE Premium-เส้นทางสร้างสรรค์ใหม่
บนเส้นทางสายไมซ์” แบ่งเป็น 1.ไมซ์ชุมชน ซึ่งมีเกือบ 1,000 เส้นทาง
เป็นการต่อยอดมา 3-4 ปี
โดยนำอัตลักษณ์ชุมชนแต่ละจังหวัด มานำเสนอต่อสมาคม องค์กรต่าง ๆ
นอกจากไปเยี่ยมชมชุมชน ยังสามารถนำผลิตภัณฑ์มาต่อยอดขายได้ด้วย เช่น เทศกาลปีใหม่
จะนำสินค้าต่าง ๆ มาใช้ค่อนข้างมาก และพรีเมี่ยมไมซ์ ไม่ได้มีแต่เฉพาะ
หัตถกรรมเท่านั้น ยังมีอาหาร ข้าวออร์แกนิก สปาต่าง ๆ สามารถค้นหาข้อมูลได้ทาง www.thaimiceconnect.com รวมทั้งมีหลายบริษัทที่ได้ไปเยี่ยมชมชุมชนจริง
ๆ แล้วกลับมาก็นำผลิตภัณฑ์ชุมชนมาใช้ในองค์กร
ได้ช่วยเหลือกระจายรายได้สู่ท้องถิ่นด้วย
ปี 2566 วางแผนต่อยอดขายไมซ์ พรีเมี่ยม ในชุมชนทั่วประเทศ ทีเส็บจะเจาะในจังหวัด ไมซ์ ซิตี้ ก่อน เพราะได้เข้าไปบ่มเพาะ พัฒนาผู้ประกอบการในชุมชนเรียบร้อยแล้ว เช่น พัทยา แต่เดิมจะนึกถึงแต่เกาะล้าน แต่ใกล้ ๆ พัทยายังมีอีก 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนบ้านชากแง้ว มีกิจกรรมเปิดตลาดคนเดินวันเสาร์-อาทิตย์ โดดเด่นเด่นด้านวัฒนธรรมจีน กับชุมชนตะเคียนเตี้ย มีสวนมะพร้าวหลายร้อยไร่ ได้นำองค์กรเข้าไปจัดกิจกรรมในชุมชนทั้งสองแห่งนี้ค่อนข้างมาก
ขณะนี้มีโปรดักซ์กว่า
400 ชุมชน
สรุปเป็นเล่มและอยู่บนเว็บไซต์ MiceConnect ปี 2566
จะเน้นชูขายเชื่อมโยงชุมชนต่อเนื่องกันกับเมืองหลัก 10 ไมซ์
ซิตี้ เช่น ภาคเหนือ พิษณุโลก
ไปยังสุโขทัยเมืองเฮอริเทจ มรดกโลก “ภาคใต้” บูมเป็นคลัสเตอร์อันดามัน ภูเก็ต
กระบี่ พังงา ตรัง หรือทางสงขลา พัทลุง ปัตตานี “อีสาน” จากขอนแก่น นครราชสีมา
บุรีรัมย์ อุดรธานี
ปี 2565 เพิ่งจะทำเส้นทางไมซ์ชุมชนจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหนึ่งในเมืองที่ชูจุดขายผลิตข้าวค่อนข้างมาก มีชื่อเสียงเรื่องดินภูเขาไฟมาทำผ้ามัดย้อม และปลูกพืชที่มีชื่อเสียงอย่าง ทุเรียนภูเขาไฟ ถือเป็นหนึ่งในโปรดักซ์ที่จะดึงเข้ามาอยู่ในไมซ์ พรีเมี่ยม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น