“TCEB”ดึงSpecialisedExpo2028แปลงโฉมภูเก็ตเมดิคัลฮับโลก BIEลัดฟ้ามาไทย25-29ก.ค.พบนายกฯประยุทธ์ตรวจเข้มสถานที่จัดจริง
“TCEB”ดึงSpecialisedExpo2028แปลงโฉมภูเก็ตเมดิคัลฮับโลก
BIEลัดฟ้ามาไทย25-29ก.ค.พบนายกฯประยุทธ์ตรวจเข้มสถานที่จัดจริง
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
#TCEB #SpecialisedExpo2028 #ภูเก็ต
https://www.matichon.co.th/publicize/news_3438507
“TCEB” เปิดแผนชิงงาน Specialised Expo 2028 แปลงโฉมภูเก็ต อันดามัน
ผงาดเมดิคัล เวลเนส ฮับโลก 25-29 ก.ค.65 คณะกรรมการ BIE บินลัดฟ้ามาไทยเข้าพบ “พลเอกประยุทธ์
จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี รองนายกฯ อนุทิน ชาญวีรกุล พร้อมลุยตรวจสถานที่เตรียมจัดงานจริงปี’71
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
“TCEB” เปิดเผยว่า แผนการชิงงาน Specialised Expo
2028 เข้ามาจัดในประเทศไทยให้ได้อีก 6 ปีข้างหน้าที่จังหวัดภูเก็ตปี
2571 ตั้งเป้าจะใช้งานนี้แปลงโฉมจุดขายใหม่ทำให้ภูเก็ต เป็น World
Medical Hub พร้อมกับพัฒนากระบี่ พังงา เชื่อมโยงทำเป็น “Andaman
Wellness Medical Hub” พร้อม ๆ กับจะใช้งานระดับโลกรายการนี้ดึงเม็ดเงินจากการเลือกจัดนอกฤดูท่องเที่ยวกระจายทั่วพื้นที่ช่วงระหว่างวันที่ 20 มีนาคม -17 มิถุนายน 2571 รวมกว่า 49,000 ล้านบาท
ดึงดูดผู้เข้าร่วมงานได้กว่า 9 ล้านคน-ครั้ง
ปัจจุบันไทยทำสถิติเป็นประเทศเมดิคัลติดอันดับ 5 ของโลก ตอกย้ำอย่างชัดเจนเรื่องการเมืองสร้างสุขภาพอย่างยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ SDGs : Sustainable Development Goals ระหว่างการจัดงานเอ็กซโป แต่ละประเทศทั่วโลกก็จะแสดงให้เห็นถึงอนาคตการดูแลสุขภาพอย่างสมดุลด้วยเทคโนโลยี นวัตกรรม และอื่น ๆ ที่จะเกิดขึ้นพร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ของภูมิภาคเอเชียด้วย
ส่วนไทม์ไลน์ตัวแทนคณะกรรมการ BIE : Bureau International des Expositions จาก 7 ประเทศ ผู้รับผิดชอบคัดเลือกเจ้าภาพ เตรียมเดินทางมาประเทศไทย ระหว่างวันที่ 25-29 กรกฎาคม 2565 มีกำหนดการจะเข้าพบ “พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี และนายอนุทิน ชาญวีระกุล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กำกับดูแลทีเส็บ และรัฐมนตรีเกี่ยวข้อง
จากนั้นตัวแทนคณะกรรมการ
BIE จะเดินทางไปภูเก็ตเพื่อสำรวจพื้นที่ก่อสร้างสถานที่จัดงาน
รวมทั้งโรงแรมที่จะรองรับผู้เข้าร่วมงาน
ซึ่งไทยมีที่พักอย่างหลากหลายให้เลือกได้ตามต้องการทุกระดับ
สำหรับการนำเสนอแผนประมูลงาน Specialised Expo 2028 รอบสอง ช่วงเดือนพฤศจิกายน 2565 ซึ่งทุกประเทศจะต้องลงลึกในรายละเอียดถึงโครงสร้างสถานที่จัดงาน รูปแบบการใช้งานแต่ละส่วนในอาคาร และรูปแบบการจัดงาน รอบสาม จะเกิดขึ้นในเดือนกันยายน 2566 ซึ่งผู้แข่งขันจะรู้ผลการตัดสินว่าประเทศใดจะได้รับการคัดเลือกเป็นเจ้าภาพต่อไป
สำหรับการร่วมประมูลงานรอบแรก “ไทย” เป็นประเทศเดียวในเอเชียเป็นผู้นำเสนอธีม “Future of Life- living in harmony, sharing prosperity” วางแผนการใช้ชีวิตของมนุษย์บนโลกอนาคตอาจจะต้องเผชิญปัญหาทั้งสงคราม ความขัดแย้ง โรคภัยต่าง ๆ ดังนั้นจึงเน้นเรื่อง “ชีวิตสมดุล” เน้นการสร้างสุขภาพที่ดีหรือWell being สอดคล้องกับในปี คศ.2030 หรือ พ.ศ.2573 ทางองค์การสหประชาชาติ (United Nation) ตั้งเป้าให้เป็นปีแห่งการพัฒนาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน หรือ SDGs : Sustainable Development Goals
โดยคณะกรรมการ BIE : Bureau International des Expositions ได้กำหนดโจทย์หลักเพื่อใช้เป็นเกณฑ์พิจารณาคัดเลือกประเทศที่เหมาะสมจะได้เป็นเจ้าภาพ Specialised Expo 2028 ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ
ส่วนที่ 1
หลังเสร็จสิ้นการจัดงานแล้ว ประเทศที่ได้รับเลือกเป็นเจ้าภาพ
มีแผนบริหารจัดการพื้นที่จัดงานขนาดใหญ่เพื่อใช้ประโยชน์อย่างไรต่อไป
“ประเทศไทย” ได้นำเสนอจุดแข็ง 2 ปัจจัยบวก ได้แก่
ปัจจัยที่ 1 -เลือกใช้พื้นที่ที่จะลงทุนพัฒนาเป็นศูนย์กลางบริการสุขภาพองค์รวม : Wellness Center อยู่แล้ว เป็นของโรงพยาบาลวชิระภูเก็ต กระทรวงสาธารณสุข ขณะนี้อยู่ระหว่างเลือกแนวทางจะร่วมทุนกับเอกชนรายอื่นหรือลงทุนเองทั้งหมด เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในอนาคตต่อไป
ปัจจัยที่ 2 ทางสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม (สศช./สภาพัฒน์) ประกาศสนับสนุนภูเก็ตเป็นเมืองสุขภาพยั่งยืนเป็นศูนย์กลางสุขภาพโลก : World Medical Hub
ส่วนที่ 2 สังคมชุมชนรอบพื้นที่จัดงานเอ็กซโปได้เข้ามามีส่วนร่วมเป็นอย่างไรบ้าง
“ประเทศไทย” ได้นำเสนอเรื่องพื้นที่เตรียมจัดงาน Specialised Expo 2028 ครั้งนี้เกิดขึ้นจากแรงผลักดันของคนในพื้นที่จังหวัดภูเก็ตโดยตรง ระดมสมองแล้วนำโครงการมาเสนอรัฐบาลเริ่มตั้งแต่เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา จากนั้นทีเส็บได้เข้าไปทำงานร่วมกับ นายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต องค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต (อบจ.) ดำเนินการเตรียมทำข้อเสนอก่อนเดินทางไปร่วมประมูลงานรอบแรกที่กรุงปารีส ฝรั่งเศส ช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2565 ส่วนธีมจัดงานมีทีมบริษัทที่ปรึกษามืออาชีพเข้ามาวิเคราะห์จนตกผลึกด้วยคอนเซ็ปต์ “Future of Life- living in harmony, sharing prosperity”
ทาง “จังหวัดภูเก็ต” ทั้งภาครัฐ เอกชน และพันธมิตรเกี่ยวข้อง ตั้งเป้าจะใช้งาน Specialised Expo 2028 พลิกโฉมสร้างเศรษฐกิจในพื้นที่เพิ่มมากกว่าหนึ่งเสา จากปัจจุบันมีรายได้จากเพียงเสาเดียวคือ “การท่องเที่ยว” ต่อไปจะขยายฐานจุดขายใหม่เรื่องอาหาร และบริการสุขภาพองค์รวม หรือ Medical Wellness Hub สามารถมีรายได้จากทางอื่น ๆ เพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า
ส่วนที่ 3 จำนวนชาวต่างชาติที่จะเข้าร่วมงาน Specialised Expo 2028 ด้วยศักยภาพของภูเก็ตเป็นจังหวัดท่องเที่ยวมีชื่อเสียงติดอันดับโลก จึงมีโอกาสสูงดึงดูดคนทั่วโลกซึ่งต้องการจะเดินทางมาร่วมงาน
จากผลการศึกษาหากไทยจัดที่ภูเก็ตจะมีผู้เข้าร่วมไม่ต่ำกว่า 9 ล้านคน-ครั้ง หนึ่งคนอาจจะมาเยี่ยมชมงานมากกว่าหนึ่งครั้ง
นายจิรุตถ์ย้ำว่า ประเมินผลการนำเสนอแผนตอนร่วมประมูลงานรอบแรกแล้ว ประเทศไทยชูธีม “Future of Life- living in harmony, sharing prosperity” มีโอกาสที่ดีไม่เป็นรองประเทศคู่แข่งทั้ง อเมริกา เซอร์เบีย สเปน อาร์เจนตินา เพราะเนื้อหาสามารถตอบโจทย์องค์การสหประชาชาติเรื่อง SDGs และ Human Capility สิ่งที่ต้องเร่งทำงานอย่างหนักต่อไปคือ “ล็อบบี้หรือหาเสียง” กับสมาชิกกว่า 171 ประเทศ เฉพาะในทวีปแอฟริกามี 54 ประเทศ ทางสาธารณรัฐประชาชนจีนสนับสนุนไทย โดยมีกระทรวงการต่างประเทศกับทางเอกอัครฑูตไทยกรุงปารีส ฑูตพาณิชย์ไทยในฝรั่งเศส เข้ามาช่วยอย่างเต็มที่ โดยได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมารับผิดชอบเรียบร้อยแล้ว
สำหรับธีมหลัก “Future of Life” ของประเทศไทย ได้สื่อความหมายอย่างลึกซึ้งผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างลงตัวตามแนวคิดหลัก 2 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 มนุษย์จะต้องปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกับธรรมชาติ หรือ Living in Harmony
ส่วนที่ 2 มนุษย์ต้องแบ่งปันทรัพยากร ความอุดมสมบูรณ์ทั้งทางกายและทางใจ เพื่อให้ทุกชีวิตดำรงอยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างเท่าเทียม หรือ Sharing Prosperity ซึ่งหลอมรวมกันเป็นหนึ่งเดียวกัน อันเป็นที่มาของแท็กไลน์โครงการที่ว่า living in harmony, sharing prosperity
ควบคู่กับมีแนวคิดรอง จะทำให้งาน Specialised Expo 2028, Phuket Thailand สามารถนำเสนอมุมมองตอบโจทย์ Future of Life ครอบคลุมทุกมิติ 3 เรื่อง ดังต่อไปนี้
เรื่องที่ 1 Life & Well Being ในอนาคตสุขภาพและการดำเนินชีวิตที่ดีคือแนวทางการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางสาธารณสุขได้ในราคาเหมาะสม ทั้งบริการแพทย์ทางเลือก วิทยาการแพทย์สมัยใหม่ ขอแค่เพียงมนุษย์รู้จักเลือกใช้เทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านสุขภาพท้องถิ่นให้เหมาะกับตัวเอง แล้วแบ่งปันองค์ความรู้นี้กระจายไปยังประเทศอื่น ๆ ได้ด้วย
เรื่องที่ 2 Humans & Nature มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างลงตัวได้ทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ การบริโภคอย่างมีสติ การดูแลสิ่งแวดล้อม การใช้พลังงานทางเลือก การดูแลโลกใต้น้ำ ทำทุกอย่างโดยไม่เอาเปรียบธรรมชาติ ซึ่งถือเป็นจุดร่วม จุดยื่น ของมนุษย์ทั่วโลกที่จะดำรงชีวิตอยู่กับธรรมชาติอย่างยั่งยืน
เรื่องที่ 3 Matual
Prosperity มนุษย์ทุกคนบนโลกใบนี้สามารถเริ่มต้นด้วยการแบ่งปัน
ด้วยการช่วยกันเติมเต็มช่องทางระหว่างขั้วตรงข้ามเพื่อดำรงชีวิตอยู่ ทั้งเรื่อง
คุณภาพชีวิต การศึกษา รายได้ การเข้าถึงสุขภาพ ซึ่งเป็นประเด็นที่ทั่วโลกต่างก็นำเสนอถึงเรื่อง
New Model of Sharing Economy, Balanced Prosperity, inclusion and
Diversity
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น