เปิดใจ“สนธยา คุณปลื้ม” นายกเมืองพัทยา (ตอนที่1)
เนรมิต“นีโอเกาะล้าน”โฉมใหม่ดันรายได้ท่องเที่ยวโต15%
เรื่องและภาพโดย...เพ็ญรุ่ง ใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
“สนธยา คุณปลื้ม” นายกเมืองพัทยา ดันยุทธศาสตร์แปลงโฉม
“นีโอ เกาะล้าน-โอลด์ ทาวน์ นาเกลือ” ลงทุนยกเครื่องครั้งใหญ่ “ท่าเรือ-น้ำ-เตาเผาขยะ-ถนน-จุดชมวิว”
ตั้งเป้า 2ปีหน้า
2565 ปั๊มรายได้ท่องเที่ยวโตเพิ่มปีละ
15 % ปูพรมเศรษฐกิจชุมชนยั่งยืน
นายสนธยา
คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เดินหน้าการพัฒนาเมืองพัทยาตามยุทธศาสตร์ใหญ่
“NEO PATTAYA : พัทยา
โฉมใหม่ ใส่ใจไม่ทิ้งกัน”
โดยมีไฮไลต์ยุทธศาสตร์ “เกาะล้านโฉมใหม่ : NEO เกาะล้าน” และ
“เมืองเก่านาเกลือ :
Old Town นาเกลือ” เป็นหัวใจสำคัญรวมอยู่ด้วย
เพราะโดยสภาพแล้วเกาะล้านเป็นพื้นที่สำคัญของเมืองพัทยาก่อนสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
ช่วงปี 2562 มีนักท่องเที่ยวใช้บริการปีละ
5
ล้านคน เฉลี่ยวันละ 10,000
คน
สร้างรายได้รวมมากกว่าปีละ 1,200 ล้านบาท
(จากภาพรวมพัทยามีรายได้ท่องเที่ยวปีละกว่า 240,000 ล้านบาท)
ตามยุทธศาสตร์
“NEO PATTAYA : พัทยา
โฉมใหม่ ใส่ใจไม่ทิ้งกัน” จัดทำโครงสร้างพัทยาใหม่ประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนที่
1 ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจ
ผนวกสังคม สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม การบริหารจัดการ (การสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน)
ส่วนที่ 2 ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตชุมชน
ตลอด 2
ปีที่ผ่านมาจะเห็นการเปลี่ยนแปลงต่อเนื่อง
เรื่องที่
1 ปรับภาพลักษณ์เมืองพัทยาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขัง
เดิมไม่สามารถแก้ไขได้เลย
นับจากนี้ไปจะปรับปรุงลดปัญหาการระบายน้ำได้รวดเร็วขึ้นภายในไม่เกิน 1 ชั่วโมง
เช่นชายหาดเคยต้องใช้เวลา 2
ชั่วโมง
ตอนนี้ก็ทำได้ภายในเวลา 45
นาที
การทำ “นีโอ
พัทยา” ทางเมืองพัทยาได้คำนวณการดำเนินงานระยะยาวด้านการระบายน้ำ
จับมือกับกรมโยธิการและผังเมือง
ได้ดำเนินการออกแบบเห็นชอบจากกระทรวงมหาดไทยเรียบร้อยแล้ว อนุมัติให้ใช้งบประมาณ 17,800 ล้านบาท
ประกอบด้วย 5 เฟส
ในพื้นที่อำเภอบางละมุงและเมืองพัทยา
ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ให้เดินหน้า เฟสที่ 1 นำร่อง
3 โครงการหลักจัดลำดับตามความสำคัญ
วงเงินประมาณ 3,800 ล้านบาท
ได้แก่ 1.โครงการระบายน้ำพัทยาเหนือ-พัทยากลาง
ใช้เงิน 1,300 ล้านบาท
2.พัทยาใต้
1,800 ล้านบาท
3.เทพประสิทธิ์
กว่า 700 ล้านบาท
เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมขังเมืองพัทยาในเบื้องต้นได้
ประกอบกับเมืองพัทยาจัดทำระบบระบายน้ำตลอดเส้นทางรถไฟกระจายน้ำไปทางนาจอมเทียน
บางละมุง (คลองกระทิงลาย กับคลองนาเกลือ)
ผมมั่นใจเมื่อทุกโครงการแล้วเสร็จจะแก้ไขน้ำท่วมขังทั่วเมืองพัทยาทั้งใต้ กลาง
เหนือ นาเกลือ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เรื่องที่
2 การรับมือเร่งด่วนเหตุการณ์เฉพาะหน้า
ต่อความกังวลเบื้องต้นการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19
หลังจากเพื่อนบ้านเมียนมาส่งผลให้หลายพื้นที่ในประเทศต้องเตรียมการณ์รับมือหลังเชียงราย
เชียงใหม่ ได้รับผลกระทบโดยตรง ทางพัทยาเองก็มอบหมายให้สาธารณสุขทำแผน สำรวจ
รับมือการแพร่ระบาดรอบใหม่ด้วยเช่นกัน
แม้แต่เครื่องมืออุปกรณ์ทางการแพทย์ก็จะนำแผนครั้งแรกมาใช้ ควบคู่สร้างการรับรู้สู่ประชาชน
รณรงค์ไม่ให้การ์ดตกตามมาตรการสาธารณสุข ปี 2564 เมื่อมีวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19
สถานการณ์ต่าง ๆ ก็อาจจะดีขึ้น
เรื่องที่
3 การเตรียมความพร้อมของเมืองพัทยาหลังผ่านสถานการณ์ไวรัสโควิด-19
จากการดำเนินงานตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาต้องปรับแผนด้านสาธารณูปโภค เมื่อรัฐบาลประกาศเปิดน่านฟ้าระหว่างประเทศพัทยาก็พร้อมจะต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศได้
ตอนนี้ทยอยปรับปรุง ตัวอย่าง โครงการแรก ขยายซ่อมแซมพื้นที่ชายหาดจากพัทยาเหนือ-ใต้
ระยะทาง 2.8 กิโลเมตร
กว้าง 35 เมตร
คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 98,000
ตารางเมตร
ทำให้ชายหาดกว้างขวางเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวใช้จัดกิจกรรมความสนุกต่าง ๆ
เพิ่มขึ้นได้ โครงการที่ 2
ชายหาดจอมเทียน
ใช้เงินทั้งหมดเกือบ 1,200 ล้านบาท ซ่อมเสริมทรายความยาว 7 กิโลเมตร กว้าง 50
เมตร ระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ระหว่าง 2563-2566
ขณะนี้ทางเมืองพัทยากับกรมเจ้าท่า
กระทรวงคมนาคม เจ้าของโครงการ เริ่มดำเนินการแล้วโดยร่วมกันทำโครงการซ่อมสร้างชายหาดเฟสแรกยาว
3.5 กิโลเมตร ใช้เงิน 586 ล้านบาท
และทำต่อเนื่องเฟสสองอีก 3.5 กิโลเมตร ทำให้ชายหาดจอมเทียน(ทางเทศบาลเมืองนาจอมเทียนเป็นเจ้าของ)
ได้รับการซ่อมเสริมทรายที่ถูกกัดเซาะกลับสู่สภาพสวยงาม เพื่อให้นักท่องเที่ยวใช้พักผ่อนและทำกิจกรรมต่าง
ๆ ได้
เนรมิต“นีโอเกาะล้าน”
ท่าเรือ-ประปา-เตาเผาขยะ-ถนน-จุดชมวิว
ทางเมืองพัทยาเตรียมเนรมิต
“นีโอ เกาะล้าน : เกาะล้าน โฉมใหม่” แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1
การพัฒนาสาธารณูปโภค ส่วนที่ 2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานปรับภูมิทัศน์รอบเกาะทั้งหมด
เริ่มต้นจากตอนนี้บนเกาะใช้ประโยชน์จาก 2 ท่าเรือหลัก ถึงเวลาจะต้องปรับปรุงใหม่
คือ
1.ท่าเรือหน้าบ้าน สร้างมากว่า 26 ปี
ขณะนี้ออกแบบเสร็จเรียบร้อยแล้วกำลังศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
เตรียมใช้เงินปรับปรุง 128 ล้านบาท ทำให้มีพื้นที่ 4,000
ตารางเมตร
2.ท่าเรือหาดตาแหวน
ให้บริการนักท่องเที่ยวมา 20 ปี
ตั้งงบประมาณปรับปรุงซ่อมแซม 30 ล้านบาท เริ่มปี 2564
อยู่ระหว่างออกแบบ เพื่อทำเป็นท่าเรือท่องเที่ยวหลักอีกแห่ง ส่วนที่
2 ท่าเรือขนส่ง เดิมใช้ท่าเรือหน้าบ้านทั้งบริการนักท่องเที่ยวและขนสินค้า
จึงขอความร่วมมือแก้ไขเบื้องต้นเมื่อมีเรือโดยสารเข้าขอให้เรือขนวัสดุหยุดบริการชั่วคราว
อีกทั้งยังมีแผนพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์
“จุดชมวิว หาดตาแหวน” ตั้งงบประมาณหาผู้รับจ้างดำเนินการ
และเพิ่มจุดชมวิวตรงลานกิจกรรม “ร่มร่อน” เคยจัดแข่งขันระดับนานาชาติมาแล้ว
ตอนนี้ศึกษาเพิ่มอีก
2 พื้นที่ คือ พื้นที่แรก ท่าตลิ่งชัน อยู่บริเวณทางทิศเหนือของเกาะเลยศูนย์สาธารณสุขเกาะล้าน
พื้นที่ 2 ท่าไร่
อยู่ทางทิศใต้เกาะล้าน ปัจจุบันใช้ขนส่งวัสดุขนาดใหญ่เมื่อมีการก่อสร้างเกาะล้าน
ขณะนี้อยู่ระหว่างการคัดเลือกจะใช้ท่าเรือใด
ระหว่างรอการก่อสร้างท่าเรือแห่งใหม่บนเกาะล้าน
จะนำแพพลาสติกเป็นทุ่นลอยน้ำเหมือนกับท่าเรือบาลีฮาย
เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้ใช้งานตามปกติควบคู่กันไป สรุปแล้วจะมีท่าเรือใช้งานได้ 3 จุด คือ ท่าเรือหน้าบ้าน หาดแสม
และบริเวณหน้าสถานีอนามัยเกาะล้าน ซึ่งมีสะพานเดิมใช้งานอยู่ได้
ทำให้เกาะล้านมีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
เรื่องที่ 2 “โครงการบำบัดน้ำเสียเกาะล้าน” ตอนนี้มี 2 แห่ง ที่หาดตาแหวน
หาดแสม จะเพิ่มพื้นที่อีกแห่งในชุมชนเกาะล้าน รวมแล้วจะใช้กรอบวงเงินไม่เกิน 1,000
ล้านบาท ดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นจุดรับน้ำเสียบนเกาะ
ขณะนี้สำรวจพื้นที่เรียบร้อยแล้ว อยู่ในขั้นตอนการออกแบบ
สามารถรองรับน้ำเสียจากชุมชนเกาะล้านที่มีความหนาแน่นมาก อีกทั้งระบบบำบัดน้ำเสียเดิมค่อนข้างล้าสมัย
เรื่องที่ 3 การกำจัดขยะมูลฝอย ปี 2562 ที่มีนักท่องเที่ยวปีละ 5 ล้านคน
เฉลี่ยวันละ 20,000 คน มีขยะเกิดขึ้น 20-30 ตัน โดยช่วงเทศกาลวันหยุดพิเศษจะมีขยะมากทวีคูณ ใช้วิธีเก็บขนขึ้นเรือไปกำจัดบนฝั่ง
แต่ประสบปัญหาการดำเนินงานขนส่งข้ามทะเลต้องเจอน้ำขึ้นน้ำลง เรือขนส่ง
จึงมีขยะตกค้างบนเกาะอยู่มากถึง 50,000 ตัน
กองอยู่ทางไปเกาะแสม ผมมีนโยบายฝังกลบคลุมด้วยแผ่นเอสจนมองไม่เห็นแล้ว
ถือเป็นการจัดการได้ระดับหนึ่งที่ดี พร้อมทั้งติดตั้งท่อระบายแก๊สไว้ด้วย
ปัจจุบันดำเนินการจนแล้วเสร็จทำประชาพิจารณ์กับประชาชนลงความเห็นขอทำเตาเผาขยะบนเกาะ
เงินลงทุน 400 ล้านบาท
มีขีดความสามารถเผาขยะได้ 50 ตัน/วัน
เป็นการเผาขยะใหม่บวกกับทยอยนำขยะเก่ามาเผาด้วย สามารถใช้งานได้ภายในปี 2564
เรื่องที่ 4 “น้ำ” ปัจจุบันชุมชนเกาะล้านใช้น้ำฝนกับน้ำบาดาลเป็นหลัก
มีบางส่วนซื้อจากเรือบรรทุกน้ำขนน้ำประปามาจากฝั่ง ราคาเกินกว่า 150 บาท/ลูกบาศก์เมตร และซื้อจากอีสต์ วอเตอร์
ซึ่งมีกำลังการผลิต 300 ลูกบาศก์เมตร/วัน ราคา 71 บาท/ลูกบาศก์เมตร จึงเป็นปัญหาที่ชาวเกาะล้านขอให้เข้ามาช่วยแก้ไข
โดยได้ดำเนินการแก้ไข 2 ช่องทาง คือ ช่องทางแรก ประสานกับประปาส่วนภูมิภาคสร้างท่อประปาลอดทะเลขึ้นเกาะล้าน
อยู่ระหว่างประมาณการณ์คาดจะสรุปได้เร็ว ๆ นี้
เบื้องต้นทางประปาภูมิภาคจะลงทุนเดินท่อ
600 ล้านบาท ระยะทาง 7 กิโลเมตร
เดินสายคู่มากับสายเคเบิ้ลไฟฟ้าต้นทางจากชายหาดจอมเทียน หาดพะยอม มาขึ้นตรงท่าไร่
ช่องที่ 2 ประสานงานให้ทางอีสต์ วอเตอร์
ขยายกำลังการผลิตจากวันละ 300 เป็น 3,000 ลูกบาศก์เมตร ผลสำรวจพบชุมชนและนักท่องเที่ยวใช้น้ำรวมกันวันละเกือบ 3,000
ลูกบาศก์เมตร ตกลงเรื่องราคาขายปลีกเหลือเพียง 50 บาท/ลูกบาศก์เมตร เนื่องจากเมื่อผลิตเพิ่มต้นทุนก็จะถูกลง
แต่สุดท้ายก็จะต้องเลือกใช้เพียงช่องทางเดียวเท่านั้นที่จะต้องประกาศในปี 2564
เรื่องที่ 5 การปรับปรุงระบบจราจร ถนน บนเกาะ ได้รับงบประมาณเรียบร้อยแล้ว จัดทำถนนให้ได้มาตรฐาน
เพราะหลายจุดแคบและมีความลาดชัน จำเป็นจะต้องปรับปรุงให้ปลอดภัยแก่นักท่องเที่ยว
รวมถึงจัดทำเส้นทางจักรยาน และจุดชมวิวบนเขาสัญญาณ (โทรศัพท์) หรือเขาเรดาห์
ตอนนี้ทางขึ้นรถแคบแต่รถวิ่งได้ใช้วิธีสับหลีกกัน
ต่อไปจะพัฒนาเป็นเส้นทางกิจกรรมท่องเที่ยวเชิงกีฬา เช่น ปั่นจักรยานเสือภูเขา
และวิ่งเทรล
ขณะนี้ได้งบประมาณแล้วเพื่อสร้าง
“ศูนย์ปลอดภัย” กระจายครอบคลุมทั้ง 8 หาด ติดตั้งตู้แจ้งเตือนฉุกเฉินรวม 29 เครื่อง
พร้อมกล้องวงจรปิด 189 ตัว
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุบนเกาะล้าน
ปัจจุบันมีปริมาณสูงเพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ลาดชัน จึงต้องปรับภูมิทัศน์
กล้องเตือนภัย
สร้างความมั่นใจให้นักท่องเที่ยวคนไทยและต่างชาติชื่นชอบเดินทางมาเกาะล้าน
เรื่องที่ 6 การศึกษาออกแบบเขื่อนกั้นคลื่นบริเวณท่าเรือหน้าบ้าน
กับออกแบบลานกิจกรรมเอนกประสงค์ริมทะเล ตรงบริเวณวัดท่าใหม่สำราญ ตั้งงบประมาณศึกษาออกแบบแล้ว ภายในปี 2564 จะสรุปเพื่อเดินหน้าก่อสร้างให้แล้วเสร็จ
ป้องกันคลื่นช่วงฤดูมรสุม
และเพื่อความสะดวกของนักท่องเที่ยวและประชาชนที่เดินทางเข้า-ออก
“เกาะล้าน”
ตั้งเป้าเพิ่มรายได้ท่องเที่ยวหลังปี’65โตแรงปีละ15%
นายสนธยากล่าวว่า
ปัจจุบันเกาะล้านมีผู้ประกอบการท่องเที่ยวจำนวน 100 ราย มีโรงแรมห้องพักขนาดเล็กรวมกว่า 2,000 ห้อง
สามารถรองรับนักท่องเที่ยวได้ระดับหนึ่ง ห้องพักสูงสุด 2-3 ดาว
จากคนในพื้นที่ลงทุนเองขนาดแห่งละ 5-40 ห้อง/ราย ทางเมืองพัทยามีนโยบายเน้นการปรับมาตรฐานรองรับนักท่องเที่ยวให้ได้หลายระดับ
ปัจจุบันคนพื้นที่ลงทุนเองโดยนำบ้านชาวประมงมาบริการห้องพักไม่ได้สร้างโรงแรมหรูหรา
ส่วนใหญ่เปิดโฮมสเตย์ หรือที่พักชุมชน แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นนักลงทุนจากส่วนอื่นเข้ามาลงทุน
เพราะที่ดินเกาะล้านเมืองพัทยาดูแล 300 ไร่
สัดส่วนนักท่องเที่ยวปี 2562 เฉลี่ยวันละ 15,000 คน เป็นชาวต่างชาติ 70 % หรือกว่า 10,000 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนเดินทางไปเช้าเย็นกลับ
ส่วนที่เดินทางอิสระตามลำพังจึงจะพักค้างคืน และคนไทย 30 %
เมื่อปรับโฉมเกาะล้านเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ตั้งเป้าจะเพิ่มรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวเข้าเกาะล้านเติบโตขึ้นเฉลี่ยปีละ 10-15 % จากเดิมปีละ 1,200 ล้านบาท
แต่อาจจะต้องใช้เวลาฟื้นฟูเพื่อให้นักท่องเที่ยวกลับสู่ภาวะปกติได้ต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า
2 ปี ที่นักท่องเที่ยวจะทำได้เหมือนเดิมปีละ 5 ล้านคน
ปลายปี’63ทุกเทศกาลหยุดยาวห้องพักเต็มเคาน์ดาวน์คึกคัก
ส่วนสถานการณ์ล่าสุดช่วงวันหยุดยาวต้นเดือนธันวาคม
2563 มีนักท่องเที่ยวมาเกาะล้าน 30,000 คน เป็นคนไทย 80 % เช่นเดียวกับงานเทศกาลพลุนานาชาติพัทยาเต็มไปด้วยคนไทยแทนที่ต่างชาติ
จากเดิมมีคนไทย 1,000 คน ต่างชาติ 4,000 คนขึ้นไป
ขณะนี้สัดส่วนมีคนไทยเป็นหลักนิยมจองห้องพักล่วงหน้าแบบกระชั้นชิดสัปดาห์ต่อสัปดาห์
อัตราเข้าพักเต็มตลอด ต่อเนื่อง “เดินกินถิ่นนาเกลือ” จัดทุกเสาร์-อาทิตย์
เริ่มสัปดาห์ 19-20 ธันวาคม 2563 จัดทั้งหมด
8 สัปดาห์ แนวโน้มงานเคาน์ดาวน์ พัทยา ก็จะคึกคักอย่างแน่นอน
ตอนนี้ก็ยังมีชาวจีนพำนักในไทย
(Expat) จำนวนหลายร้อยคน รวมทั้งมีชาวต่างชาติอื่น ๆ
ยังคงอยู่ในพัทยา เช่น ชุมชนอินเดีย นอร์เวย์ เดินทางนำสิ่งของมาบริจาคชาวเกาะล้าน
และพัทยา ทำต่อเนื่องมาตลอด
ถือเป็นความร่วมมือที่ดีของเมืองพัทยากับทุกฝ่ายทั้งชาวไทยและต่างชาติ
ติดตามตอนต่อไปเปิดแผนลงทุนยกระดับ “เมืองเก่า นาเกลือ : OLD TOWN นาเกลือ” เรื่องราวอันหลากหลายของชุมชนประมงพื้นบ้าน
และป่าชายเลนที่ยังคงเหลืออยู่แห่งเดียวในพัทยา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น