“สนธยา คุณปลื้ม”นายกเมืองพัทยา ถอดรหัส Old Townนาเกลือ(ตอนจบ) ผนึกEECผุด6โปรเจ็กต์หลักแปลงโฉมเมืองประมงสู่ท่องเที่ยวรับตลาดสากล
“สนธยา คุณปลื้ม”นายกเมืองพัทยา ถอดรหัส Old Townนาเกลือ(ตอนจบ)
ผนึกEECผุด6โปรเจ็กต์หลักแปลงโฉมเมืองประมงสู่ท่องเที่ยวรับตลาดสากล
หลังจาก
“สนธยา คุณปลื้ม” นายกเมืองพัทยา เปิดใจให้สัมภาษณ์อย่างละเอียดถึงแผนยุทธศาสตร์ “NEO เกาะล้าน” ครั้งนี้จะมาอธิบายต่อเนื่องการยกเครื่อง
“Old Town นาเกลือ” แปลงโฉมแต่ละพื้นที่ภายใต้ร่มใหญ่ NEO
PATTAYA ปี 2564-2566
ต้อนรับการท่องเที่ยวอนาคตเปลี่ยนเศรษฐกิจเมืองตามแบบวิถีใหม่เทียบชั้นมาตรฐานสากลโลก
นายสนธยา
คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา เปิดเผยว่า ตามแผนยุทธศาสตร์พัฒนา “เมืองเก่า นาเกลือ : Old Town นาเกลือ” ปี 2564 มี 6
โครงการหลัก ๆ ที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ประกอบด้วย โครงการแรก
“การก่อสร้างอาคารจอดรถสำหรับขายของฝากและส่งเสริมการท่องเที่ยว” ขนาด 5
ชั้น จอดได้ 239 คัน รถมอเตอร์ไซด์ 90 คัน ทำให้บริเวณลานโพ นาเกลือ
เพียงพอรองรับรถของนักท่องเที่ยวซึ่งปัจจุบันไม่มีจุดจอดรถ ต่อไปจะได้สะดวกมากขึ้น
ขณะนี้ทำประชาพิจารณ์ใช้ที่ดินกรมธนารักษ์ผ่านเรียบร้อยแล้ว คาดจะแล้วเสร็จปี 2565
ที่ได้นำงบประมาณต่อเนื่องปี 2563-2564 ราว 90
ล้านบาท มาใช้จัดซื้อจัดจ้าง
โดยมีกรมธนารักษ์เจ้าของพื้นที่ให้เมืองพัทยาเช่าใช้ 1.1 ไร่ ราคาเช่า 300,000 บาท/ปี ส่วนสำนักงานการคลังเมืองพัทยาเป็นผู้บริหารจัดการ
โครงการที่ 2 พัฒนาตลาดอาหารทะเลสดเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว
ตรงลานโพ ใช้งบ 4.5 ล้านบาท
จะทำอาคารชั่วคราว มีบริการครบวงจร ปรุงอาหารและจัดที่นั่งให้รับประทานได้
มีร้านค้าขายของ 650 ร้าน ต่อไปจะจัดระเบียบใหม่เป็นโซนเลือกซื้อ
โครงการที่ 3 ปรับภูมิทัศน์สวนเฉลิมพระเกียรติ (ติดตลาดและลานจอดรถ นาเกลือ ลานโพ) เป็นโซนสีเขียว ใช้งบ 30 ล้านบาท เพื่อให้ประชาชนได้ใช้ออกกำลังกายและพักผ่อน พื้นที่ประมาณ 3-4
ไร่ สร้างเส้นทางธรรมชาติ ใช้งบ 30 ล้านบาท
สร้างทางเดินชมคลองนกยางซึ่งยื่นไปในทะเล โดยมีจุดชมวิวสะพานยาว
โครงการที่ 4 ปรับปรุงทัศนียภาพและลานกิจกรรม คลองนกยาง-คลองนาเกลือ ใช้งบ 10 ล้านบาท (อยู่ในงบประมาณบูรณาการ EEC)
โครงการที่ 5 เส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าโกงกาง คลองนกยาง บูรณาการร่วมกับ EEC ใช้งบ 15.5 ล้านบาท
จัดทำป่าโกงกางที่เหลืออยู่จุดเดียวของพัทยาอนุรักษ์ไว้ ประมาณ 1 ไร่ จะทำทางเดินและการรักษาสภาพป่า
โครงการที่ 6 สร้างท่าเทียบเรือประมงคลองนาเกลือ ความยาว 800 เมตร จากลานโพ ปัจจุบันใช้แพพลาสติก ส่วนของใหม่กำลังออกแบบ ตั้งงบประมาณปี
2564 รอใช้เงินจริงปี2566 ทำเป็นท่าเรือประมงพื้นบ้าน
และท่าเรือท่องเที่ยว
ส่วนที่เหลือเป็นโครงการตามแผนงาน
เช่น โครงการก่อสร้างประตูน้ำคลองนาเกลือ ป้องกันน้ำทะเลหนุนเมื่อต้องระบายน้ำ
หลังจากศึกษาพบว่าช่วงน้ำทะเลหนุนไม่สามารถระบายจึงต้องทำประตูกับปั๊มน้ำระบายออกสู่ทะเลในอนาคตต่อไป
โครงการอนุรักษ์อาคารไปรษณีย์เก่า ตรงเชิงสะพานยาว (ที่ดินของกรมธนารักษ์
ต้องขอใช้พื้นที่ ทุกวันนี้ปล่อยทิ้งไม่ได้ดำเนินการใช้ประโยชน์)
โดยภาพรวมแล้วปี
2564 จะใช้งบประมาณเพื่อพัฒนาบริเวณนาเกลือค่อนข้างมาก
โดยเฉพาะโครงการที่ใช้งบประมาณบูรณาการ EEC ได้อนุมัติงบให้เมืองพัทยาใช้บูรณาการร่วมกันปี
2564 รวมกว่า 120 ล้านบาท
นั้นทางคณะกรรมการ EEC กับทางกระทรวงการคลัง
ลงพื้นที่มาดูแล้ว
นายสนธยากล่าวว่า การจัดเก็บรายได้ของเมืองพัทยา
ปี 2562 ต่อเนื่องปี 2563 ลดลงไปแล้วกว่า
30 % จึงต้องตั้งงบประมาณลดตามไปด้วยจากเดิมปีละ 2,000
ล้านบาท ปี 2564 เหลือ 1,600 ล้านบาท
ตามยุทธศาสตร์เมืองพัทยาจะทยอยทำตามยุทธศาสตร์
อีก 2 ปีหน้าจะได้เห็น “NEO PATTAYA :พัทยา
โฉมใหม่” จากนั้นอีก 2 ปีถัดไปจะได้เห็น “หาดจอมเทียน”
กว้างขึ้นกว่าเดิม ส่วนการก่อสร้างท่าเรือ “NEO เกาะล้าน :
เกาะล้าน โฉมใหม่” จะต้องทำสัญลักษณ์บริเวณท่าเรือหน้าบ้าน
ระยะทางยาวกว่า 400 เมตร เช่นเดียวกันกับตรงท่าเรือหาดตาแหวน
ช่วงมรสุมเรือไม่สามารถเทียบท่าได้
สำหรับสถิตินักท่องเที่ยวเดินทางเข้าพัทยา
จากปี 2562 ตลอดทั้งปี 14 ล้านคน
แตกต่างจากปี 2563 ช่วงครึ่งปีแรกรัฐบาลประกาศล็อกดาวน์
นักท่องเที่ยวแทบเป็นศูนย์ ตลอดปีนี้ทำได้ 4 ล้านคน
ก็ถือว่าดีที่สุดแล้ว
ขณะที่ห้องพักโรงแรมทั้งหมดทุกรูปแบบในพัทยามีอยู่ประมาณเกือบ 200,000 ห้อง จำนวน 2,000 แห่ง จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย 536
แห่ง
การจัดทำสถานีรถไฟฟ้ารางเบา
เพิ่มสถานีใหม่ 60 ล้านบาท ของเดิม 70
ล้านบาท เพราะขยายพื้นที่หน้าสถานีเมืองพัทยา ปลายทางสถานีห้วยขวาง
(พัทยา) ระยะทางอีก 12 กม.จึงต้องตั้งงบศึกษาโดยขออนุมัติจากที่ประชุมคณะกรรมการเมืองพัทยา
ถึงการใช้งบศึกษาก่อสร้างนอกเขตพื้นที่เมืองพัทยา ตรงตำบลห้วยใหญ่
แต่อย่างไรก็ต้องทำเพราะศึกษาไว้แล้ว
ด้วยอาณาเขตบริหารเมืองพัทยามีพื้นที่
54 ตารางกิโลเมตร ดังนั้นการขยายเส้นทางรถไฟฟ้าไปประมาณ
7 กม.ต้องศึกษาเพิ่มเติมจากห้วยขวางเข้าสู่เมืองพัทยา
เดิมศึกษาไปแล้วมี 3 สาย คือ สีเขียว สีม่วง สีแดง ซึ่งสาย “สีเขียว”
จากพัทยาเหนือ ปลายทางบาลีฮาย เป็นสายหลัก แต่พอย้ายไปเป็นปลายทางห้วยขวาง
ก็ต้องเพิ่มเส้นทางผ่านเทพประสิทธิ์ปรับจากเฟส 2 เป็น เฟส 1 แทน
ส่วนรูปแบบการลงทุนจะให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ
Public Private Partnership : PPP
เอกชนที่ได้รับสัมปทานลงเงินพัฒนาส่วนเมืองพัทยาให้เช่าใช้ที่ดินส่งมอบแล้วตรงจุดที่ตั้งและโครงสร้าง
เมื่อแล้วเสร็จเอกชนจะได้สิทธิ์บริหารพื้นที่การก่อสร้างทั้งหมด
นายสนธยากล่าวว่า
การจัดทำโมเดลหลัก นำเข้านักท่องเที่ยวต่างชาติด้านการป้องกันควบคุมโควิด-19 ได้หารือกับทางผู้ประกอบการเอกชนท่องเที่ยวพัทยา
โดยจะขอให้ทางรัฐบาลทำภูเก็ตโมเดล เมื่อสำเร็จก็จะนำมาปรับใช้กับเมืองพัทยา
เพราะตอนนี้ถ้าจะผลักดันไปก็ยังไม่มีผลแต่อย่างใด
รวมทั้งขณะนี้ต่างชาติกลุ่มนักลงทุนจีนให้ความสนใจเข้ามาพัฒนา
“สำนักงานให้เช่า :Office Building”
ตะเวนหาที่ดินก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่สไตล์ใช้ประโยชน์ร่วมแบบครบวงจร หรือ Mix
Use เพราะปัจจุบันส่วนใหญ่ในพัทยาจะมีแต่ที่อยู่อาศัย ทาวน์โฮม
ต่อไปโซนบ้านเก่า ๆ
และโซนเลียบทางรถไฟฟ้าอาจจะโดนกว้านซื้อเปลี่ยนไปทำสำนักงานให้เช่าต่อไป
ปัจจุบันเมืองพัทยาอาศัยรายได้จากการท่องเที่ยว
70 % ต่อไปก็จะหันไปพึ่งพารายได้เพิ่มจากส่วนอื่นเข้ามาทดแทน
ลดความเสี่ยงเมื่อเกิดผลกระทบจากท่องเที่ยวจะได้มีธุรกิจอื่น ๆ รองรับได้
ทั้งหมดเป็นแผนยุทธศาสตร์พัฒนาโครงการ
“เมืองเก่า นาเกลือ” ภายใต้ร่มใหญ่ NEO PATTAYA ที่นายกเมืองพัทยาจะแปลงโฉม “พัทยา”
และพื้นที่รอยต่อให้กลายเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีโครงสร้างพื้นฐาน ระบบสาธารณูปโภค
บริการสาธารณะ ท่าเรือ รถไฟฟ้า บริการแบบครบวงจร สร้างเศรษฐกิจวิถีใหม่
สอดคล้องกับสถานการณ์ในประเทศและโลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น