การบินไทยไตรมาส1ปี65ขาดทุน3.2พันล้าน+หนี้2.36แสนล้าน เดินหน้าลุยเพิ่มความถี่จุดบิน22เส้นทางทั่วโลกช่วงเม.ย.-ก.ค.65
การบินไทยไตรมาส1ปี65ขาดทุน3.2พันล้าน+หนี้2.36แสนล้าน
เดินหน้าลุยเพิ่มความถี่จุดบิน22เส้นทางทั่วโลกช่วงเม.ย.-ก.ค.65
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
#การบินไทย
“การบินไทย”แจงไตรมาส 1 ปี’65 ยังขาดทุน 3,247 ล้านบาท
พร้อมแบกหนี้สินรวม 236,909
ล้านบาท ขอยังขอไปต่อหลังโควิด-19 คลายตัว ธุรกิจ
“ขนส่งผู้โดยสารกับคาร์โก้” ระหว่างประเทศโตวันโตคืน
ลุยเปิดเส้นทางและความถี่เที่ยวบินใหม่ทั่วโลกและบินตามฤดูช่วง เม.ย.-ก.ค.65
รวม 22 เส้นทาง
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) ประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 1 ปี 2565 ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม 11,181 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 6,797 ล้านบาท เพิ่ม 155 % ดังนี้
1.มีรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารและสินค้าเพิ่มขึ้น
6,719 ล้านบาท เพิ่ม 255.7%
2. มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวรวม
14,348 ล้านบาท สูงกว่าปีก่อน 2,967
ล้านบาท จากปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้น
รวมถึงราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น
3.ขาดทุนจากการดำเนินงานก่อนต้นทุนทางการเงินไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว
3,167 ล้านบาท ขาดทุนลดลงจากปีก่อน 3,830
ล้านบาท ลดลง 54.7%
ที่นั่งชั้นเฟิร์สคลาสการบินไทยฝูงบินโบอิ้ง B777-300ER
ขณะที่ภาพรวมของบริษัทฯ และบริษัทย่อย
มีผลการดำเนินไตรมาส 1 ปี 2565
1.ขาดทุนสุทธิ 3,243
ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันปีก่อน 8,962 ล้านบาท
เป็นการขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 3,247
ล้านบาท ขาดทุนต่อหุ้น 1.49 บาท ดีกว่าไตรมาสที่ 1 ปี
2564 ขาดทุนต่อหุ้น 5.59
บาท
2.มีสินทรัพย์รวม
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2565
บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีทั้งสิ้น 162,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากวันที่ 31
ธันวาคม 2564 จำนวน 1,204
ล้านบาท
3.หนี้สินรวมมี 236,909 ล้านบาท
เพิ่มขึ้น 4,439 ล้านบาท โดยมีส่วนของผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ
และบริษัทย่อยติดลบ 74,486 ล้านบาท ติดลบเพิ่มขึ้น 3,235
ล้านบาท เป็นผลจากการขาดทุนจากการดำเนินงานของบริษัทฯ และบริษัทย่อย
แต่สถานการณ์ตลาดการเดินทางและการขนส่งสินค้าทางอากาศตอนนี้กำลังฟื้นตัว
บมจ.การบินไทย ยืนยันว่า ส่งผลดีทำให้บริษัทฯ มีรายได้เติบโตต่อเนื่อง กระทั่งปัจจุบันมีสภาพคล่องทางการเงินอยู่ในระดับสูงที่สุดนับตั้งแต่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งเห็นชอบด้วยแผนฟื้นฟูกิจการของ
เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2564 เป็นต้นมา
สถานการณ์ช่วงไตรมาสที่ 1
ต่อเนื่อง 2 เดือนแรก (เมษายน-พฤษภาคม) ไตรมาส 2 ปี
2565 มีปริมาณผู้โดยสารเติบโตต่อเนื่องอย่างมีนัยสำคัญ
เป็นผลจากรัฐบาลยกเลิกมาตรการ Test and Go จึงส่งผลดีต่อ
“จำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยรวม” ของการบินไทย และสมายล์ช่วง 10
วันแรกเดือนพฤษภาคม 2565 เปรียบเทียบกับตุลาคม 2564 ทั้งเที่ยวบินในประเทศเพิ่มขึ้นเป็นวันละ
10,238 และระหว่างประเทศ 10,870 คน
จากเดิมเคยมีตามลำดับเพียงแค่วันละ 4,929 และ 269 คน กับ “ปริมาณการขนส่งสินค้าทางอากาศ”
(cargo)
เฉลี่ยต่อวันขยับเป็น 50 % ของปี 2562 ซึ่งเป็นช่วงก่อนเกิดโควิด-19
โดยเฉพาะไตรมาส
2 ปี 2565
เป็นต้นไป การบินไทยกับไทยสมายล์ได้เพิ่มความถี่เที่ยวบินไป-กลับในเส้นทางต่างๆ
เพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารทั่วโลกที่มีแนวโน้มฟื้นตัวอย่างรวดเร็วเพราะโควิด-19 แพร่ระบาดคลี่คลายลง
รัฐบาลประเทศต่าง ๆ
ทั่วโลกทยอยยกเลิกหรือผ่อนคลายมาตรการควบคุมและจำกัดการเดินทางเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับประเทศไทยที่ได้ยกเลิกก
Test& Go การตรวจหาเชื้อโควิดของคนทั่วโลกเข้าไทย เริ่มตั้งแต่
1 พฤษภาคม 2565
ดังนั้นการบินไทยกับไทยสมายล์
จึงเพิ่มเส้นทางและเที่ยวบินใหม่ดังนี้
1.เพิ่มเส้นทางบินและความถี่ไป-กลับ ทยอยเปิดบินตั้งแต่เมษายน-กรกฎาคม
2565 รวม
14 เส้นทาง
ประกอบด้วย
เส้นทางที่เริ่มกลับมาบินใหม่อีกครั้งตั้งแต่เดือนเมษายน
-พฤษภาคม 2565 รวม
6 เส้นทาง
ได้แก่
1.1
กรุงเทพฯ-อินเดีย ตั้งแต่ 1 เมษายน 2565 ไปยัง 5 เมือง เชนไน
5 เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์ เบงกาลูรู จาก 5
เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์ นิว เดลี จาก 7 เป็น 14
เที่ยว/สัปดาห์ มุมไบจาก 5
เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์
1.2
กรุงเทพฯ-ปากีสถาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565
สู่ 3 เมืองหลวง คือ ละฮอร์ จาก 3 เป็น 4
เที่ยว/สัปดาห์ การาจีจาก
2 เป็น 3 เที่ยว/สัปดาห์ สลามาบัด จาก 2 เป็น 3
เที่ยว/สัปดาห์
1.3
กรุงเทพฯ-เวียดนาม ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ฮานอยจาก 7
เป็น 14 เที่ยว/สัปดาห์ และโฮจิมินห์ จาก 7
เป็น 14 เที่ยว/สัปดาห์
1.4กรุงเทพฯ-
พนมเปญ (กัมพูชา) ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 จาก 7
เป็น 14 เที่ยว/สัปดาห์
1. 5
กรุงเทพฯ- เมลเบิร์น ออสเตรเลีย ตั้งแต่ 17 พฤษภาคม 2565 จาก 4
เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์
1.6
กรุงเทพ-ลอนดอนด (อังกฤษ) ตั้งแต่ 29 พฤษภาคม 2565 จาก 11 เป็น 14
เที่ยว/สัปดาห์
เส้นทางที่จะเริ่มบินตั้งแต่เดือนมิถุนายน
2565 เป็นต้นไป รวม 3 เส้นทาง
ได้แก่
1.7 กรุงเทพฯ-จาการ์ต้า (อินโดนีเซีย) ตั้งแต่ 1
มิถุนายน 2565 จาก
3 เป็น 7 เที่ย/สัปดาห์
1.8
กรุงเทพฯ-ธากา (บังคลาเทศ) ตั้งแต่ 1 มิถุนายน 2565 จาก 7
เป็น 10 เที่ยว/สัปดาห์
1.9
กรุงเทพฯ-แฟรงก์เฟิร์ต (เยอรมัน) ตั้งแต่ 25
มิถุนายน 2565 จาก
10 เป็น 14
เที่ยว/สัปดาห์
เส้นทางจะเริ่มบินตั้งแต่
1 กรกฎาคม 2565
เป็นต้นไป รวม 5 เส้นทาง
ได้แก่
1.10
กรุงเทพฯ-ไทเป (ไต้หวัน) ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 จาก 4
เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์
1.11 กรุงเทพฯ - สิงคโปร์ ตั้งแต่ 1
กรกฎาคม 2565 จาก
10 เป็น 14
เที่ยวบินต่อสัปดาห์
1.12
กรุงเทพฯ-โคเปนเฮเกน (เดนมาร์ก) ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 จาก
5 เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์
1.13
กรุงเทพฯ-มิวนิก (เยอรมัน) ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 จาก 5
เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์
1.14
กรุงเทพฯ-ซูริก (สวิตเซอร์แลนด์) ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม 2565 จาก 5
เป็น 7 เที่ยว/สัปดาห์
2.เส้นทางบินที่เปิดบินเพิ่มเติมเป็นบางช่วงอีก 8 เส้นทาง
ได้แก่
2.1 ปีนัง(มาเลเซีย)
4 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่ม 1
พฤษภาคม 2565
2.2 เวียงจันทน์
(สปา.ลาว) 3
เที่ยว/สัปดาห์ เริ่ม 1 พฤษภาคม 2565
2.3 บาหลี
(เดนปาซาร์) 4 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่ม 1
พฤษภาคม 2565 และจะเพิ่มเป็น
7 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่ม 18
มิถุนายน2565
2.4 ไฮเดอราบัด
(อินเดีย) วันละ 1
เที่ยว เริ่ม 13 พฤษภาคม 2565
2.5 ย่างกุ้ง(เมียนม)
วันละ 1 เที่ยว เริ่ม 1 มิถุนายน 2565
2.6 โตเกียว
(สนามบินฮาเนดะ ญี่ปุ่น) วันละ 1
เที่ยว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2565
2.7 เกาสง
(ไต้หวัน) วันละ 1
เที่ยว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2565
2.8 บรัสเซลส์(เบลเยี่ยม) 3 เที่ยว/สัปดาห์ เริ่ม 2 กรกฎาคม ถึง 30 สิงหาคม 2565
โดยมี "ไทยสมายล์" เป็นเสาหลักบินบริการภายในประเทศและใช้สนามบินหลักทั้งที่สุวรรณภูมิ
และเริ่มใช้ "สนามบินดอนเมือง" บินไป-กลับ เช่น ดอนเมือง(กรุงเทพฯ)-ภูเก็ต 14
เที่ยวบิน/สัปดาห์ เริ่ม 20 พฤษภาคม 2565
ส่วน “บมจ.การบินไทย”
เองได้ปรับปรุงการบริการเพื่อมอบประสบการณ์เหนือระดับให้ลูกค้าอย่างต่อเนื่อง
เช่น ให้บริการ “ผู้โดยสารชั้นหนึ่ง /First Class” เที่ยวบิน TG910/911
เส้นทางลอนดอน และ TG600/601 ฮ่องกง ด้วยเครื่องบินแบบโบอิ้งลำใหม่
B777-300ER มีที่นั่งกว้างขวางขึ้น จอภาพขนาดใหญ่ขึ้น
และระบบสื่อสาระบันเทิงที่ครบครันกว่า 1,000 รายการ พร้อมเมนูอาหารนานาชาติ ผลิตจากวัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง
รสเลิศ รายการเครื่องดื่มหลากหลายมากขึ้น
รวมทั้ง
“ปรับปรุงเมนูอาหารชั้นธุรกิจ/Business Class”
เช่น เพิ่มอาหารเรียกน้ำย่อย
(Amuse-bouche) กับเมนูของว่างระหว่างเที่ยวบิน (All
Day Dining) โดยนำเมนูสตรีทฟู้ดยอดนิยมของไทย อย่าง ผัดไทยเส้นจันท์ ข้าวเหนียวมะม่วง มาให้บริการในเส้นทางยุโรป
สำหรับผู้โดยสารชั้นหนึ่ง ชั้นธุรกิจ
และสมาชิกบัตรแพลทตินัม สมาชิกบัตรทอง รอยัล ออร์คิด พลัส
สามารถเลือกอาหารล่วงหน้าได้ก่อนเดินทางผ่านบริการ Pre Select Meal จองได้ทางเว็บไซต์ thaiairways.com
นอจากนี้
“การบินไทย” ยังได้คัดเลือกสินค้าแบรนด์ไทยและเกษตรกรชาวไทยนำมาใช้วัตถุดิบภายในประเทศ
เพื่อช่วยสร้างงานสร้างอาชีพ เช่น ร่วมมือกับโครงการพัฒนาดอยตุงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
นำกาแฟดอยตุงคั่วเป็นพิเศษ โดยการบินไทยนำมาให้บริการชั้นหนึ่ง และชั้นธุรกิจ
และยังสนับสนุนผู้ประกอบการรายย่อยผลิตสินค้าที่มีคุณภาพ เช่น นำช็อคโกแลต กานเวลา
ช็อคโกแลตแบรนด์ไทยที่ได้รางวัลระดับโลกมาให้บริการในชั้นหนึ่งและชั้นธุรกิจด้วย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น