TCEBดันธุรกิจไมซ์ไทยเพิ่ม3มาตรฐานTMVS+AMVS+TSEMS
ปี’65ตั้งเป้าเพิ่มยอด140ผู้ประกอบการ20องค์กรจัดไมซ์ยั่งยืน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
#TCEB #มาตรฐานไมซ์TmvsAmvsTsems
“TCEB” เร่งเครื่องหลังโควิด-19 นำทัพธุรกิจไมซ์ไทยเร่งยกระดับด่วน 3 มาตรฐาน “TMVS-TSEMS-AMVS” ตั้งเป้าปี’65 ดึงผู้ประกอบการรับมาตรฐานเพิ่มอีก 140 แห่ง+องค์กร ปูพรมไมซ์ในประเทศและอาเซียน หันใช้มาตรฐานการจัดงานอย่างยั่งยืนตอบโจทย์ตลาดหลังโควิด-19เข้าสู่ยุคนิวนอร์มอล ดันไทยผงาดผู้นำไมซ์อาเซียนสร้างรายได้และยอดจ้างงานพุ่ง
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า ทีเส็บได้จัดงาน MICE Standards Day 2022 ขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยมีผู้ประกอบการไมซ์ไทยจากทั่วประเทศเข้าร่วมทั้งในรูปแบบออนไลน์และออนไซต์กว่า กว่า 250 ราย ผนึกกำลังกันเร่งเดินหน้ายกระดับมาตรฐานสถานที่จัดงานประเทศไทย (Thailand MICE Venue Standards หรือ TMVS) ควบคู่การขับเคลื่อน มาตรฐานการบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืน-Thailand Sustainable Event Management Standard : TSEMS ตอบรับกระแสโลกที่มุ่งเน้นธุรกิจใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม สอดคล้องแนวคิด BCG Economy Model ของรัฐบาล
โครงการเร่งเพิ่มเครือข่ายยกระดับ “TMVS และ TSEMS” เป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยเพิ่มความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจไมซ์ และตอกย้ำเป้าหมายของทีเส็บซึ่งต้องการผลักดันให้ประเทศไทยก้าวสู่การเป็นชาติผู้นำอุตสาหกรรมไมซ์ของโลกต่อไป หลังสถานการไวรัสโควิด-19 ผ่อนคลายลง แล้วทั่วโลกประกาศเปิดประเทศทำให้เกิดการเดินทางเพิ่มมากขึ้น แต่ยังคงปฏิบัติภายใต้ความปลอดภัยด้านสุขอนามัยอย่างเข้มแข็ง
นายจิรุตถ์ย้ำว่าทีเส็บพร้อมเดินหน้าบูรณาการการทำงานร่วมกับผู้ประกอบการภาคเอกชนเพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปิดประเทศ
และเร่งกระตุ้นให้เกิดการจัดกิจกรรมไมซ์ทั่วประเทศ
ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ภายในปี 2565 ตั้งเป้าจะมีสถานประกอบการได้รับการรับรองมาตรฐานได้การรับรองเพิ่มขึ้นอีกรวมกัน
140 แห่ง บวกกับอีก 20 องค์กร จาก 3
มาตรฐานหลัก ประกอบด้วย
มาตรฐานแรก “TMVS- Thailand MICE Venue Standards” จะผ่านตรวจประเมินครอบคลุมทั้ง 3 ประเภท เพิ่มขึ้นอีก 120 แห่ง จากปัจจุบันมีสถานประกอบการผ่านเรียบร้อยแล้ว 3 ประเภท ได้แก่ 1.ประเภทห้องประชุม (Meeting room) 341 แห่ง 1,299 ห้อง 2.ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue) 15 แห่ง 28 ฮอลล์ 3.ประเภทสถานที่จัดกิจกรรมพิเศษ (Special Event Venue) 55 แห่ง 59 จุด (Holding Areas)
มาตรฐานที่ 2 AMVS -ASEAN MICE Venue Standards สถานประกอบการที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสถานที่จัดงานอาเซียนจะต้องผ่านการตรวจประเมินทั้ง 2 ประเภท เพิ่มขึ้นอีก 20 แห่ง จากปัจจุบันผ่านรับรองเรียบร้อยแล้ว 1.ประเภทห้องประชุม (Meeting Room) 91 แห่ง 2.ประเภทสถานที่จัดงานแสดงสินค้า (Exhibition Venue) 5 แห่ง
มาตรฐานที่ 3 “TSEMS -การบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืน-Thailand Sustainable Event Management Standard” ภายในปี 2565 ตั้งเป้าจะต้องมีผู้ได้รับรองมาตรฐานเพิ่มอีก 20 องค์กร ซึ่งเป็นมาตรฐาน TSEMS ที่ทีเส็บจัดทำขึ้นเพื่อให้ผู้ประกอบการไมซ์ไทยใช้เป็นแนวทางพัฒนาศักยภาพการบริหารการจัดงานอย่างยั่งยืน เข้ากับบริบทของสังคมไทย โดยมีทีเส็บเป็นผู้สนับสนุนค่าใช้จ่ายเรื่องการฝึกอบรม การตรวจประเมินและการรับรอง
ปัจจุบันมีผู้ประกอบการได้รับรองมาตรฐาน TSEMS รวม 35 องค์กร
กระจายครบทุกภูมิภาคและครอบคลุมผู้ประกอบการทุกประเภทในอุตสาหกรรมไมซ์ ได้แก่
สถานที่จัดงาน (MICE venue) ผู้จัดงาน (Organizer) ผู้จัดงานแสดงสินค้า (Professional Exhibitor Organizer) ผู้ผลิตสินค้า (Suppliers) ผู้รับเหมา (Contractors)
ผู้ให้บริการจัดการเดินทาง (Destination Management Company)
รวมถึงหน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องการจัดงานไมซ์ทั้งภาครัฐ
รัฐวิสาหกิจ และเอกชน
เช่น โรงแรม โซ แบงคอก
โรงแรมแกรนด์ ริชมอนด์ สไตลิส คอนเวนชั่น โฮเทล โรงแรม อังสนา ลากูน่า ภูเก็ต
ศูนย์การค้าอยุธยาซิตี้พาร์ค บริษัทพอลล่าแอนด์โค ดีเอ็มซี (ประเทศไทย) จำกัด
บริษัท อิมเมจ คอร์ปอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ (Energy Complex) ของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
และส่วนการจัดงานประชุมของ บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
นายจิรุตถ์กล่าวว่า ทีเส็บยังเป็นตัวกลางนำกลุ่มผู้จัดงานที่เป็นสมาชิกของสมาคมธุรกิจสร้างสรรค์การจัดงาน
(EMA) เยี่ยมชมสถานที่จัดงานที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน TMVS ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกเดือน ภายใต้กิจกรรม “TMVS Partnership Program” เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการสร้างเครือข่ายผู้ให้บริการด้านการจัดงานและผู้ให้บริการสถานที่แบบบูรณาการ
เพื่อให้เกิดพันธมิตรทางธุรกิจและสร้างโอกาสทางธุรกิจโดยตรง
เนื่องจากการจัดงานอีเวนต์สามารถสร้างผลบวกต่อเศรษฐกิจประเทศ (Economic Impact) รวมปีละกว่า 500,000 ล้านบาท เกิดการจ้างงานถึง 300,000 อัตรา
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น