บพท.ผนึกธนาคารโลกปั้นเมืองต้นแบบทั่วไทย5แห่ง
ชูโมเดล“ขอนแก่น-เชียงใหม่-ภูเก็ต-ระยองนครสวรรค์”
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #บพท #บริษัทพัฒนาเมือง
“บพท.”สบช่องผนึกธนาคารโลกกับมหาวิทยาลัยในพื้นที่ นำบริษัทพัฒนาเมืองปลุกกระแสสร้างเมืองต้นแบบเปิดโมเดลนำร่อง 5 แห่ง “ขอนแก่น-เชียงใหม่-ภูเก็ต-ระยอง-นครสวรรค์” ดึงท้องถิ่นเร่งปลดล็อกปัญหางบหนุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน แปลงโฉมเมืองอย่างมีทิศทาง ลดความเหลื่อมล้ำทำให้สังคมน่าอยู่
นายกิตติ สัจจาวัฒนา
ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่า การวิจัยเพื่อพัฒนาเมือง
ภารกิจหนึ่งของ บพท. ให้ความสำคัญควบคู่กับการแก้ไขความยากจนครัวเรือนและการสร้างธุรกิจชุมชน
โดยได้ร่วมกับสถาบันการศึกษาและภาคีทั่วประเทศเดินหน้าวิจัยจนสามารถจัดตั้ง บริษัทพัฒนาเมือง
ขึ้นในเมืองหลักทั่วประเทศไทยแล้วกว่า 19 แห่ง
ล่าสุด บพท.ร่วมมือกับธนาคารโลก
และมหาวิทยาลัยในพื้นที่ แสวงหานวัตกรรมและกลไกด้านทุน
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระดับเมืองของประเทศไทย 5 เมือง คือ
ขอนแก่น-เชียงใหม่-ภูเก็ต-ระยอง-นครสวรรค์ โดยมีแกนนำในพื้นที่คือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ร่วมกับมหาวิทยาลัยเครือข่าย อีก 4 แห่ง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การจัดตั้ง บริษัทพัฒนาเมือง ถือเป็นกลไกใหม่ในการขับเคลื่อนและพัฒนาเมือง
ด้วยกลไกการประสานความร่วมมือทางสังคมอย่างมีทิศทาง เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรม
โดยเน้นวิธีการแก้ปัญหาและตอบโจทย์เมือง (City
Solution) ที่ใช้ชุดข้อมูลและความรู้ (Data & Knowledge)
ประการสำคัญการพัฒนาเมืองและท้องถิ่นจะรองบประมาณจากรัฐอย่างเดียวไม่ได้
จึงต้องการเสริมพลังให้ท้องถิ่นและกลไกพัฒนาเมืองด้วยอีกทาง
และหลักการสำคัญเพื่อกระตุ้นให้ภาคส่วนต่าง ๆ
ในพื้นที่ร่วมกันศึกษาและวางแผนพัฒนาอย่างตรงความต้องการของประชาชนหลากหลายมิติ
เช่น ขอนแก่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ภูเก็ตเมืองสุขภาพ
และนครราชสีมาเมืองคาร์บอนต่ำ
แต่ขณะนี้เมืองต้นแบบเหล่านี้ พบข้อจำกัดเรื่องงบประมาณที่จะนำมาพัฒนา จึงจะต้องหาแนวทางแก้ไขให้ก้าวต่อไปได้ในอนาคตต่อไป
รวมทั้งจากรายงานด้านประชากรของไทย
แสดงให้เห็นถึงประชากรในเขตเมืองเพิ่มขึ้นจนเกิน 50% ของประชากรทั้งหมด
และยังจะเพิ่มต่อไปตามการศึกษาของธนาคารโลกปี 2593 เอเชียจะมีประชากรในเมืองกระจุกตัวกันอยู่มากถึง
61%
นายกิตติย้ำว่า ถ้าหากประเทศไทยแก้จุดนี้ได้
จะเกิดระบบทุนเพื่อพัฒนาเมือง ช่วยให้เมืองต่าง ๆขยายตัวอย่างมีประสิทธิผล
และมีประสิทธิภาพ แทนการสะสมปัญหามากมาย ดังนั้นการวิจัยของ บพท.ครั้งนี้อาจจะเป็นต้นแบบขยายสู่ประเทศอื่น
ๆ สามารถประยุกต์ใช้ต่อไปได้
รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม
รองผู้อำนวยการฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร
หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) กล่าวว่า บพท.ได้เห็นว่าที่ผ่านมาแต่ละพื้นที่มีข้อจำกัดด้านงบประมาณและศักยภาพ
ปิดกั้นโอกาสการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้เมือง ต่าง ๆ ขยายตัวแบบไร้ทิศทาง
จากนี้ไปจึงพร้อมจะเป็นองค์กรหัวหอกหลักผลักดันให้เกิด
“ความสามารถในการลงทุนในระดับพื้นที่” ต่อเป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญเติมเต็มภาพกลไกใหม่การขับเคลื่อนเมือง
เพื่อสร้างเมืองน่าอยู่ เกิดการกระจายศูนย์กลางความเจริญ
ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น
บพท.ตั้งความหวังจะงานวิจัยครั้งนี้ เข้าไปช่วยปลดล็อคการพัฒนาพื้นที่ต่าง
ๆ ให้ประเทศเติบโตทั่วถึงไปพร้อมกัน แล้วความเหลื่อมล้ำจะลดลง
เพื่อนำความสุขใกล้ตัวกลับคืนมาสู่ประชาชนให้ได้มากที่สุดในเร็ววันนี้ เพื่อนำพาประเทศไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างเข้มแข็งทั้งทางด้านวิถีชีวิตท้องถิ่น
สังคม และเศรษฐกิจที่ยั่งยืน
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น