ททท.ดึง700รายรับรู้แผนอนาคตท่องเที่ยว5ปีหน้า2566-70 หลังโควิดรุก3SO+ฟื้นเที่ยวทุกมิติ+คุณภาพมีมูลค่า+โตยั่งยืน
ททท.ดึง700รายรับรู้แผนอนาคตท่องเที่ยว5ปีหน้า2566-70
หลังโควิดรุก3SO+ฟื้นเที่ยวทุกมิติ+คุณภาพมีมูลค่า+โตยั่งยืน
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza ,www.facebook.com/penroongyaisamsaen
ดร.ยุทธศักดิ์
สุภสร ผู้ว่าการ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยว่า ททท. ได้จัดเสวนาออนไลน์ “อนาคตท่องเที่ยวไทย
: Strategic
Leader Talk” ในหัวข้อ “TOURISM
ONWARD : Moving Together” ผ่านช่องทาง Zoom และ
Youtube โดยมีผู้เข้าร่วมถึง 700 ราย
ร่วมแลกเปลี่ยนการขับเคลื่อนแผนแม่บทฉบับใหม่ ททท. ที่ได้ศึกษา “ถอดบทเรียน” และระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภายใต้แนวทาง
“การบริหารความเสี่ยง” ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่จะนำไปใช้จัดทำแผนวิสาหกิจ
ททท. หรือแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2566-2570
แผนแม่บทตลาดการท่องเที่ยวฉบับ 5 ปีหน้า จะจัดทำขึ้นเพื่อเป็นกรอบดำเนินงานขององค์กร ทั้งด้านการตลาดการท่องเที่ยว และการบริหารจัดการองค์กร ให้สอดรับกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ-หมุนเวียน-สีเขียว BCG Economy Model และ Happy Model ของรัฐบาล และความท้าทายทางเศรษฐกิจและสังคมที่เพิ่มขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่
ททท.จึงได้เปิดเวทีเสวนาเพื่อ 3 เป้าหมายหลัก คือ 1.สื่อสารทิศทางของแผนวิสาหกิจ 5 ปีหน้าของ ททท.ระหว่างปี 2566-2670 2.สร้างความเข้าใจอันดีร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 3.นำสู่ความสำเร็จตามวิสัยทัศน์ของ ททท. ในฐานะ Strategic Leader ซึ่งเน้นเดินหน้าสร้างการท่องเที่ยวคุณภาพอย่างยั่งยืน ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง จัดเสวนาเป็น 3 ช่วง ประกอบด้วย
ช่วงที่ 1 The Trendsetter มี นายกล้า ตั้งสุวรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไวซ์ไซท์ ประเทศไทย จำกัด มานำเสนอข้อมูลแลกเปลี่ยนถึงประเด็นพาเรียนรู้ทิศทางและแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลก สร้างความเข้าใจและสร้างโอกาสเป็นผู้นำเทรนด์
ช่วงที่ 2 The Future of Tourism ดร.ยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการ ททท. ได้สะท้อนอนาคตท่องเที่ยวไทยและทิศทางการดำเนินงานของ ททท. ในฐานะ Strategic Leader
ช่วงที่ 3 Panel Discussion : Co-creation in Tourism Ecosystem นางน้ำฝน บุณยะวัฒน์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน ททท. พร้อมด้วยพันธมิตร ได้แก่ นายอรุษ นวราช นายกสมาคมผู้บริโภคอินทรีย์ไทย (TOCA) กรรมการผู้จัดการสามพราน ริเวอร์ไซต์ นายปริวรรต วงษ์สำราญ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม (NIA) ร่วมกันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นมุมมองใหม่ด้านท่องเที่ยว เพื่อร่วมกันส่งมอบประสบการณ์ทรงคุณค่าแก่นักท่องเที่ยวในมุมมองของผู้เกี่ยวข้องกับระบบนิเวศน์ทางการท่องเที่ยวภาพรวม (Tourism Ecosystem)
ดร.ยุทธศักดิ์ ย้ำว่า การส่งเสริมการท่องเที่ยวไทยภายใต้แผนวิสาหกิจ ททท. พ.ศ. 2566-2570 ททท.จะเดินหน้า ในฐานะ Strategic Leader “ททท. เป็นผู้ขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวไทยในการสร้างประสบการณ์ทรงคุณค่าและมุ่งสู่ความยั่งยืน” ทั้งด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม สะท้อนทิศทางและเป้าหมายการท่องเที่ยวไทย มุ่งเน้นการเติบโตอย่างยั่งยืนของอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ตามที่ ททท. ได้กำหนดวัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์สำคัญ
(SO : Strategic
Objective) ด้วยไฮไลต์การเดินหน้า 3 SO ประกอบด้วย
SO1 Drive Demand : มุ่งเน้นการท่องเที่ยวเชิงคุณภาพอย่างยั่งยืน
SO2 Shape Supply : สร้างคุณค่าและยกระดับอุตสาหกรรมท่องเที่ยว
SO3 Thrive for Excellence : ยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง
มุ่งเน้นดึงดูดนักท่องเที่ยวกลุ่มคุณภาพผ่านการสร้างเรื่องราว ทำให้เกิดการส่งมอบคุณค่าประสบการณ์เหนือระดับ (Storytelling and Experience-based) ผลักดันให้ผู้เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายผ่านการยกระดับคุณภาพสินค้าและบริการทางการท่องเที่ยว
ททท.พร้อมนำพาทั้งองคาพยพร่วมกันขับเคลื่อนระบบนิเวศน์การท่องเที่ยว
(Tourism
Ecosystem) ให้พร้อมรองรับนักท่องเที่ยวคุณภาพอย่างยั่งยืน มุ่งสร้างรายได้จาก
4 กลุ่มหลัก ได้แก่ 1.กลุ่มรายได้สูง 2.กลุ่มใช้จ่ายสูง 3.กลุ่มนักท่องเที่ยวความสนใจพิเศษ 4.กลุ่กนักท่องเที่ยวที่รักและยินดีจ่ายเพิ่มให้กับการท่องเที่ยวอย่างรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
ควบคู่การยกระดับองค์กรสู่องค์กรสมรรถนะสูง (High Performance Organization) โดยกำหนดแนวทางการดำเนินงานไว้ 3 ระยะ หรือ 3 เฟส คือ
เฟสที่ 1 ระยะสั้น 1
ปี พ.ศ. 2566 ยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยว
เพื่อฟื้นฟูอุตสาหกรรมในทุกมิติ
เฟสที่ 2 ระยะกลาง 2 ปี พ.ศ.2567-2568 เดินหน้าเปลี่ยนสู่การท่องเที่ยวที่มีคุณภาพและมีมูลค่า
เฟสที่ 3 ระยะยาว 2 ปี
พ.ศ. 2569-2570
มุ่งให้การท่องเที่ยวของประเทศไทยเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไป
นางน้ำฝน
บุญยะวัฒน์ รองผู้ว่าการด้านนโยบายและแผน ททท. กล่าวว่า ในฐานะหน่วยงานภาครัฐ พร้อมสร้างความร่วมมือให้เกิดขึ้นในระบบนิเวศน์การท่องเที่ยวด้วยกลยุทธ์
ส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน
และขยายผลส่งแรงกระเพื่อมไปทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
ให้เติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ผ่านการสร้างต้นแบบการท่องเที่ยวคุณภาพที่ตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มนักเดินทาง (Customer Journey) ก้าวสู่การท่องเที่ยวที่มีความสมาร์ต
(Smart Tourism) ให้สำคัญกับการใช้ข้อมูล เทคโนโลยี
และนวัตกรรม
การระดมความเห็นและกระตุ้นความร่วมมือจากทุกภาคส่วนครั้งนี้
ก็เพื่อผนึกพลังกันสร้างเอกลักษณ์ของแหล่งท่องเที่ยว พัฒนาคุณภาพสินค้าและบริการ
สิ่งอำนวยความสะดวก ให้พร้อมจะส่งมอบประสบการณ์ทรงคุณค่าแก่นักท่องเที่ยวทั้งในประเทศและทั่วโลกที่เดินทางเข้าไทย
เพื่อทำให้อุตสาหกรรมท่องเที่ยวของประเทศประสบความสำเร็จตามแผนอนาคต 5 ปีหน้าอย่างมั่นคงแข็งแรง
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น