“TCEB”ยึดงานIMEX2022ปั้นแบรนด์ไมซ์ไทยบุกตลาดโลกหลังโควิด ก.ต่างประเทศลั่นชิงใช้ไทยเจ้าภาพAPEC2022ฟื้นเศรษฐกิจท้ายปี’65
“TCEB”ยึดงานIMEX2022ปั้นแบรนด์ไมซ์ไทยบุกตลาดโลกหลังโควิด
ก.ต่างประเทศลั่นชิงใช้ไทยเจ้าภาพAPEC2022ฟื้นเศรษฐกิจท้ายปี’65
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TCEB #ไทยเจ้าภาพAPEC2022
TCEB โชว์พลัง “New Chapter of Thailand MICE” นำไมซ์ไทยขานรับเปิดประเทศหลังโควิด ลุยเปิดแผนสื่อสารแบรนด์ไมซ์ไทยครั้งแรกในงาน IMEX Frankfurt 2022 รุกทั่วโลกรับรู้ 25 ล้านราย 31 พ.ค.65 ที่แฟรงเฟิร์ต พร้อมปลุกภาคธุรกิจเร่งพลิกโฉมตามพฤติกรรมผู้บริภาคใหม่ 5 เทรนด์ ย้ำปี’65 ทำตลาดไทย/ต่างชาติเข้าเป้า 28,400 ล้านบาท ขณะที่ “กระทรวงต่างประเทศ” ประสานเสียงใช้โอกาส “ไทยเจ้าภาพ “APCE 2022” ชิงจัดประชุมตลอดปีดึงแสงนานาชาติส่องไทยสว่างบนจอเรดาห์โลก ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านแบรนด์แนะใช้ 3 กลยุทธ์โกยไมซ์ในและต่างประเทศเข้าไทย
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา
ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) “TCEB” เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ ได้นำเสนอเทรนด์ใหม่หลังรัฐบาลประกาศเลิกใช้ TEST & Go ให้นักเดินทางจากทั่วโลกเข้าไทยได้โดยลดเงื่อนไขให้เหลือน้อยที่สุด จึงได้ใช้โอกาสที่ดีวัน MICE DAY หรือเนื่องในวันจัดประชุมและนิทรรศการแห่งชาติ เปิดมุมมองบนเวทีเสวนาพิเศษหัวข้อ “New Chapter of Thailand MICE” (MICE Day) โดยได้คาดการณ์ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 จะมีนักเดินทางต่างชาติเข้ามามากขึ้น ทีเส็บจึงได้นำผลวิจัยความต้องการและพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปของผู้บริโภคหลังโควิด
19 มาเป็นกลไกหลักเร่งการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ไทยสู่อนาคต
ทีเส็บวางแผนสื่อสารแบรนด์อุตสาหกรรมไมซ์ของไทยในตลาดต่างประเทศ เตรียมจะเปิดตัวครั้งแรกในงาน
IMEX Frankfurt 2022 วันที่ 31 พฤษภาคม 2565 สร้างการรับรู้กลุ่มเป้าหมายต่างประเทศ 25 ล้านคน เพื่อกระตุ้นตลาดทั่วโลกถึงนโยบายรัฐบาลไทยพร้อมเปิดประเทศต้อนรับทุกคน
ส่วน “สถิตินักเดินทางไมซ์” 2 ไตรมาสแรกปี 2565 เป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้คือ “ตลาดภายในประเทศ” ทำได้ทั้งหมด 2.3 ล้านคน สร้างรายได้ 7,598 ล้านบาท ขณะที่ช่วง 2 ไตรมาสสุดท้ายปีนี้ คาดจะมีนักเดินทางไมซ์ต่างชาติเข้ามาไทย 130,000 ราย ส่งผลให้ยอดรวมไมซ์ทั้งไทยและต่างชาติปีนี้จะมีถึง 6,130,000 ราย สร้างเป็นรายได้ 28,400 ล้านบาท สอดคล้องตามเป้าหมายระดับดีที่สุด (Best Case) ของทีเส็บในปีงบประมาณ 2565
นายจิรุตถ์กล่าวว่า ผลศึกษาจากงานวิจัยในต่างประเทศระบุถึงเทรนด์ความต้องการของผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไปยุคชีวิตวิถีใหม่
(New Normal) จะเกิดปรากฏการณ์ใหม่ที่ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมไมซ์จะต้องเร่งพัฒนานำเทคโนโลยี
กับแอพลิเคชั่น
เข้ามาอำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการเข้าถึงตามพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปใน 5 แบบ คือ
1. Phygital (Physical + Digital) ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมงานที่ต้องการเชื่อมโยงการจัดงาน
ณ สถานที่จริงและออนไลน์ทั้งสองรูปแบบเข้าด้วยกัน
2. A Safe Space ความคาดหวังด้านความปลอดภัยและสุขอนามัยที่สูงขึ้นตลอดการเข้าร่วมงาน
เพราะถึงแม้จะมีการผ่อนคลายมาตรการต่าง ๆ เพิ่มขึ้น
แต่ผู้คนก็ยังคงกังวลกับการกลับมาแพร่ระบาดของโรค
3. Embedded Wellness ความคาดหวังให้ผู้ประกอบการใส่ใจและตระหนักถึงสุขภาพกายและใจของผู้เข้าร่วมงานเป็นหลัก
4. Omnibility ความคาดหวังของผู้เข้าร่วมงานถึงความเสมอภาค
โดยผู้ประกอบการควรต้องออกแบบด้วยแนวคิดอารยสถาปัตย์ เช่น
สถานที่ที่อำนวยความสะดวกสำหรับผู้ใช้วีลแชร์
5. Brand Butlers ความคาดหวังที่จะได้รับประสบการณ์ที่ตรงใจและดียิ่งขึ้น จากการเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดจากการเข้างานหรือใช้บริการในอดีต
“นายธานี แสงรัตน์” อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า ไมซ์ถือเป็นอุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศ ในเดือนพฤศจิกายน 2565 ไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพจัด APEC เวทีสำคัญทางด้านการจัดประชุมหลัก ๆ คือ การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานต่างๆ
มากกว่า 60 ครั้ง มีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 20,000 คน แบ่งเป็นการประชุมที่สำคัญด้านต่าง ๆ ทั้งการพาณิชย์ อุตสาหกรรม การค้า
การลงทุน ควบคู่กับการประชุมของภาคธุรกิจ และการประชุมผู้นำทางเศรษฐกิจทั้ง 21
เขตเศรษฐกิจ ประเทศไทยจึงวางแผนจะจัดการประชุมตลอดทั้งปีให้สอดคล้องกับนโยบายเปิดประเทศ
และกระจายสถานที่จัดประชุมไปตามภูมิภาคต่าง ๆ
การประชุม APEC 2022 ถือเป็นงานจัดทางกายภาพเป็นครั้งแรกหลังโควิดเริ่มคลี่คลาย จึงทำให้ประเทศไทยเป็นจุดสนใจบนแผนที่โลกอยู่บนบนจอเรดาร์ของประเทศต่าง ๆ เนื่องจากการรวมตัวของเขตเศรษฐกิจแถวหน้ารวมกันแล้วมีGDP มากถึงครึ่งหนึ่งของโลกเลยทีเดียว
อีกทั้งการเป็นเจ้าภาพจัดประชุม APEC ของไทย มีเป้าหมายเด่น ๆ ที่จะขับเคลื่อนภูมิภาค APEC สร้างภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกหลังโควิด 19 เน้นการเปิดกว้าง เชื่อมโยง สู่สมดุลยั่งยืน ด้วยแนวคิด BCG Economy Model เป็นพื้นฐาน ส่งเสริมการค้า การลงทุน เพื่อสื่อสารถึงกลุ่มเป้าหมายให้เห็นถึงศักยภาพและโอกาสทางธุรกิจพร้อมจะตัดสินใจเลือกเดินทางมาเมืองไทย
“นายดลชัย บุณยะรัตเวช”
ผู้เชี่ยวชาญการสร้างแบรนด์และผู้วางแผนภาพลักษณ์ไมซ์ไทย กล่าวว่า การนำไมซ์ไทยเดินไปข้างหน้าด้วยก้าวใหม่ที่ยิ่งใหญ่กว่าเดิมและมีความยั่งยืน
เริ่มต้นจะต้องวางกลยุทธ์ “สร้างแบรนด์” ให้ชัดเจน แบรนด์อุตสาหกรรมไมซ์ประเทศไทยในตลาดต่างประเทศ
“THAILAND MICE: Meet the Magic” มีผลศึกษาถึงความคาดหวังของกลุ่มเป้าหมาย
ซึ่งพบว่าผู้บริโภคยุคนิวนอร์มัลต่างคาดหวังจากไมซ์ไทย 3 ประการ คือ 1.ความน่าเชื่อถือ (Trustworthy) 2.ความจริงใจ (Sincerity)
และ 3.ความเป็นไทย (Authenticity)
ดังนั้นการ “สร้างแบรนด์ไมซ์ประเทศไทย” ให้ชัดเจนในความรู้สึกโดนใจ “กลุ่มตลาดนักเดินทางต่างชาติ”
จะต้องทำ 3 เรื่อง คือ
เรื่องที่ 1 ยกระดับคุณค่าที่มีอยู่ให้สูงขึ้น โดยเฉพาะโดดเด่นของประเทศ และคุณค่าที่โดนใจกลุ่มเป้าหมาย ไมซ์ไทยเป็นนักประสานความคิดที่ดีมาก ด้วยพรสวรรค์ ทรัพยากรอันหลากหลาย ความยืดหยุ่นในการทำงานของไทยที่สามารถประสานตามความต้องการของนักเดินทางไมซ์จากธุรกิจได้อย่างหลากหลาย และส่งต่อคุณค่าที่โดนใจให้คู่ค้าได้เป็นอย่างดี รวมทั้งเมื่อนักเดินทางไมซ์ต่างชาติเดินทางเข้ามาแล้วสามารถสร้างเสน่ห์ที่แตกต่างให้กับธุรกิจของตัวเองได้ในไทย ซึ่งหาไม่ได้จากประเทศอื่น
เรื่องที่ 2 ทำให้ไทยเป็นจุดหมายปลายทางไมซ์ระดับโลก โดยมีสิ่งอำนวยความสะดวก บริการ ได้มาตรฐานครบวงจร
เรื่องที่ 3 ประเทศไทยมีพลังทั้งซอฟต์พาวเวอร์
(Soft Power) ไม่เฉพาะแค่เรื่องวัฒนธรรม อาหาร ศิลปะแต่ยังรวมถึงอุปนิสัยความเป็นธรรมชาติของคนไทย
และมีฮาร์ดพาวเวอร์ (Hard Power) ได้แก่
โครงสร้างสาธารณูปโภคที่ดีมีมาตรฐาน ระบบโลจิสติกส์ เทคโนโลยีทัสมัย และอื่น ๆ ผสมผสานกันได้อย่างสมดุลอยู่ในเมืองไทย
ทำให้สามารถสร้างสรรค์งานตอบโจทย์ความต้องการของนักเดินทางไมซ์แต่ละธุรกิจได้อย่างมีเอกลักษณ์
ซึ่งเป็นเสน่ห์ของไทย
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น