บพท.ผนึกสถานศึกษาทั่วไทยต่อยอดแก้จนเพิ่ม4หมื่นคนปี’65 ลุยขยาย300ตำบลนวัตกรรมพึ่งตนเอง-ธุรกิจชุมชน300กลุ่ม
บพท.ผนึกสถานศึกษาทั่วไทยต่อยอดแก้จนเพิ่ม4หมื่นคนปี’65
ลุยขยาย300ตำบลนวัตกรรมพึ่งตนเอง-ธุรกิจชุมชน300กลุ่ม
เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97
#บพท #แก้จนทั่วไทย20อำเภอ
บพท.ผนึกสถาบันการศึกษาทั่วประเทศรุกปี’65 ตั้งเป้าต่อยอดแก้จนเพิ่มอีก
40,000 คน กระจาย 20 อำเภอ ในจังหวัดต้นแบบ 20 แห่ง สร้าง
300 ตำบลนวัตกรรมพึ่งตนเอง และธุรกิจชุมชนท้องถิ่นอีก 300 กลุ่ม
นายกิตติ สัจจาวัฒนา ผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) เปิดเผยว่า บพท. ได้วางกลยุทธ์ส่งเสริมงานวิจัยเพื่อแก้ปัญหาความยากจนให้เป็นวาระสำคัญโดยเพิ่มความเข้มข้นมากขึ้น สอดคล้องกับความต้องการของประเทศและสังคม ซึ่งได้รับผลกระทบอย่างมากจากการระบาดของโควิด-19 และแนวโน้มการชะลอตัวของเศรษฐกิจ จากวิกฤตการความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครน
ปี 2565 บพท.ต่อยอดทำโครงการแก้จนตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้นในโครงการ 20 อำเภอ 20 โมเดล แก้จน 20 จังหวัด จะครอบคลุมคนจนอย่างน้อย 40,000 คน ให้ได้รับความช่วยเหลือผ่านกระบวนการเชิงนวัตกรรม ได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ในการพัฒนาอาชีพ และเพิ่มรายได้
เพื่อยกระดับการแก้ปัญหาความยากจนให้มีคุณภาพ และประสิทธิภาพที่ดีขึ้น สนับสนุนให้คนจนหลุดพ้นจากความยากจนอย่างยั่งยืน
เป้าหมายปี 2565 นอกจากโครงการ 20 อำเภอแก้จนแล้ว บพท. ยังส่งเสริมงานวิจัยในที่อื่น ๆ กว่า 60 จังหวัด พร้อมเป้าหมายจะพัฒนา 300 ตำบลนวัตกรรมพึ่งตนเอง และผู้ประกอบการธุรกิจชุมชนเพิ่มขึ้นอีก 300 กลุ่ม เน้นความร่วมมือจากในพื้นที่ที่มีปัญหาเป็นหลัก แล้วส่งเสริมนวัตกรรมในหลายมิติที่สามารถต่อยอดได้ ทั้งเรื่องทุนวัฒนธรรม ธุรกิจชุมชน
โดย บพท.จะได้นำงานวิจัยมาทำให้ช่วยรับมือกับปัญหาวิกฤตซ้อนวิกฤตที่เป็นอยู่ รวมถึงให้ความช่วยเหลือคนยากจนได้เข้าถึงสวัสดิการแล้ว จะต้องต่อยอดงานเดิมให้ชุมชนเข้มแข็ง พึ่งตนเองได้ยั่งยืนในระยะต่อไป
ตลอด 2 ปีที่ผ่านมา บพท.ร่วมกับภาคีเครือข่ายมหาวิทยาลัยและชุมชน ค้นพบประชาชนยากจนที่เข้าไม่ถึงสวัสดิการของรัฐ กว่า 850,000 คน และส่งเข้าระบบสวัสดิการแล้วกว่า 550,000 คน
จากการค้นหาผู้ยากจน ทำให้ บพท.สามารถพัฒนาระบบข้อมูลครัวเรือนยากจนระดับพื้นที่ (Practical Poverty Platform-PPP Connext) ขึ้นมาเป็นเครื่องชี้วัดความยากจนหลากมิติ ได้แก่ ด้านทุนมนุษย์ ทุนเศรษฐกิจ ทุนธรรมชาติ ทุนกายภาพ และทุนสังคม เพื่อช่วยออกแบบการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับสถานะความยากจนรายครัวเรือน
นายกิตติเปิดเผยว่าการแก้ปัญหาความยากจนเบ็ดเสร็จแม่นยำแล้ว
บพท.ยังร่วมงานวิจัยกับสถาบันการศึกษาด้านอื่น ๆ ตามยุทธศาสตร์สำคัญ 3 ด้าน คือ
1.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาคนและกลไกจากฐานทุนทรัพยากรพื้นถิ่นและทุนทางวัฒนธรรม
2.ยุทธศาสตร์พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ
3.ยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองน่าอยู่และเมืองแห่งการเรียนรู้
สิ้นปี 2564 บพท.กับ 99 สถาบันการศึกษาได้พัฒนาพื้นที่ต่าง ๆ จนสามารถสร้างวิสาหกิจเชิงวัฒนธรรม 6,000 ราย สร้างนวัตกรรมพร้อมใช้ 763 นวัตกรรม พัฒนาให้เกิดธุรกิจชุมชน 995 กลุ่ม และพัฒนาให้เกิดชุมชนนวัตกรรม 546 ชุมชน ใน 48 จังหวัด ครอบคลุม 276 อำเภอ
ทาง “ด้านความรู้” พบว่ามีนวัตกรชาวบ้านเกิดขึ้นกว่า 2,700 คน ที่จะเป็นผู้นำการพัฒนาต่อไป ตลอดจนงานพัฒนาเมืองเพื่อสร้างสังคมน่าอยู่รองรับอนาคตจนเกิดบริษัทพัฒนาเมืองขึ้น 20 แห่ง ความรู้ในการบริหารจัดการเชิงพื้นที่ 16 ชุด แนวทางการลงทุนระดับพื้นที่ 5 พื้นที่ และหลักสูตรที่สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ 20 หลักสูตร
ตลอดปี 2565 บพท.มีพื้นที่เป้าหมายยกระดับการแก้ปัญหาความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ ใช้เป็นโมเดลต้นแบบ
20 จังหวัด ประกอบด้วย กาฬสินธุ์
ชัยนาท ปัตตานี มุกดาหาร
แม่ฮ่องสอน ยโสธร ศรีสะเกษ
สกลนคร สุรินทร์ อำนาจเจริญ
บุรีรัมย์ นครราชสีมา เลย
ร้อยเอ็ด ลำปาง พิษณุโลก
พัทลุง ยะลา นราธิวาส
อุบลราชธานี
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น