TCEBเทงบปี66เร่งเครื่องทำ4เรื่องต.ค.-ธ.ค.โกยไมซ์เข้าไทย7งาน ต.ค.อัดฉีดประชุมเมืองไทยสร้างเศรษฐกิจไทย-พ.ย.รุกเอ็กซ์โปเฟส2
TCEBเทงบปี66เร่งเครื่องทำ4เรื่องต.ค.-ธ.ค.โกยไมซ์เข้าไทย7งาน
ต.ค.อัดฉีดประชุมเมืองไทยสร้างเศรษฐกิจไทย-พ.ย.รุกเอ็กซ์โปเฟส2
ทีเส็บทุ่มใช้งบปี’66 เร่งเครื่องลุยโกยรายได้ 4 เรื่อง “IT &CMA”เพิ่มสัญญาณดี4เทรนด์ใหม่ “จัดไมซ์ระดับประเทศและระดับโลก” 3เดือนหน้า ต.ค.-ธ.ค.65 กระหึ่ม 7 งาน “ลุยเฟส 2 ชิงเจ้าภาพจัดExpo 2028 Phuket Thailand 2028” ที่ภูเก็ต 28 พ.ย.นี้ยกทีมบุกฝรั่งเศสนำเสนอ Country Presentation รอบ 2 มิ.ย.66 เสนอรอบ 3 พร้อมลุ้นฟังผลประเทศเจ้าภาพ “จัดโครงการประชุมเมืองไทย สร้างเศรษฐกิจไทย” ขยายฐานเพิ่มอุดหนุนเงินธุรกิจไมซ์กลุ่มคอนเวนชั่นขนาด 300-500 คน เตรียมออกแพกเกจใหญ่ 15 ต.ค.นี้
นายจิรุตถ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)
“TCEB” เปิดเผยว่า
วางแผนขับเคลื่อนตลาดอุตสาหกรรมไมซ์ต้อนรับปีงบประมาณใหม่ 2566 เริ่มตุลาคม 2565 เป็นต้นไป เดินหน้าพันธกิจระดับประเทศและนานาชาติที่จะเป็นประโยชน์ทั้งต่อการฟื้นและสร้างเศรษฐกิจไทยในมิติใหม่ให้กลับมาเฟื่องฟูอีกครั้งอย่างยิ่งใหญ่
โดยได้เริ่มทำแล้ว 4 เรื่องหลัก คือ
เรื่องที่ 1 ความสำเร็จการจัดแบบจริงและไฮบริดจ์ออนไลน์งาน IT&CMA and CTW
2022 ปีที่ 20
ทีเส็บได้นำเอกชนไทยจับคู่ธุรกิจนำงานต่าง ๆ พร้อมรายได้เข้าประเทศปี 2566 ซึ่งทาง TTG Asia ได้เลือกไทยเป็นฐานหลักการจัดงานเต็มรูปแบบอีกครั้ง
และจากการหารือกับทางเจ้าของงานช่วงกันยายน 2566 ปีหน้าไทยจะยังคงเป็นสถานที่จัดงานนี้ต่อไป
เนื่องจากไทยเป็นฐานใหญ่หรือเมืองหลวงไมซ์เอเชีย
ผนวกกับไทยเป็นจุดศูนย์กลางเครือข่ายการบินสู่อาเซียนและเอเชีย รวมถึงมีบริษัทอินเตอร์ขนาดใหญ่รับจัดงานระดับสากลย้ายฐานจาก
ฮ่องกงและประเทศอื่น ๆ มายังไทยเป็นจำนวนมากเป็นอันดับต้น ๆ ของเอเชีย
ส่วนผลลัพธ์จากงานไทยได้เห็นสัญญาณเชิงบวก
4 เทรนด์ใหม่ เทรนด์แรก-ไทยสามารถดึงงานไมซ์เข้าสู่ประเทศได้มากถึง
สร้างรายได้กว่า 683 ล้านบาท เทรนด์ที่สอง-สร้างเทรนด์ตลาดใหม่ต้องการขยายพื้นที่จัดงานจากเมืองหลักไปยังเมืองรองของไทยจากอีสานที่เข้าร่วมภายใต้โครงการ
ISAN MICE 3 ไมซ์ซิตี้ ได้แก่ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี
เจาะลูกค้าให้หันมาจัดไมซ์ได้ประมาณ 60 กลุ่ม
สร้างรายได้เบื้องต้น 118 ล้านบาท ส่วนภูเก็ต กระบี่
ยังครองใจไมซ์ต่างชาติมากขึ้นกว่าเดิม
เทรนด์ที่สาม-ลูกค้าให้ความเชื่อมั่นเลือกไทยเป็นจุดหมายปลายทางไมซ์
โดยเฉพาะจีนกลุ่ม ฮ่องกง ไต้หวัน กับตลาดเอเชียเรียงตามอันดับคือ อินเดีย
สิงคโปร์ กับทวีปไกล สหรัฐอเมริกา ยุโรป
ส่วนกลุ่มอุตสาหกรรมยังคงเป็นกลุ่มธุรกิจยาและเวชภัณฑ์ ไอทีสารสนเทศ ยานยนต์
ประกันภัย
เทรนด์ที่สี่-ไมซ์ทั่วโลกแสดงความสนใจสถานที่จัดประชุมของไทยได้พัฒนาสู่โลกยุคใหม่หลังโควิด-19 อย่างศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ และอื่น ๆ
รองรับคนจำนวนมากครั้งละหลักพันถึงหมื่นคนขึ้นไป และการจัดประชุมนอกสถานที่ทางธรรมชาติ
เรื่องที่ 2 ไทยเตรียมต้อนรับการจัดไมซ์ขนาดใหญ่ระดับประเทศและนานาชาติเฉพาะช่วง 3 เดือนหน้า ตุลาคม-ธันวาคม 2565 แต่ละงานมีผู้เข้าร่วมงานหลักพันคนถึง 1 ล้านคน ไม่ต่ำกว่า 7 งาน ได้แก่
งานแรก International Master Course on Aging Science (IMCAS Asia 2022) จัดเรียบร้อยแล้วเมื่อ 29 กันยายน – 1 ตุลาคม 2565 ที่กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้าร่วมกว่า 2,000 คน
งานที่ 2 Food Ingredients Asia 2022 จัดแล้วเช่นกันมีความสำคัญกับอุตสาหกรรมอาหาร สินค้าพลังงาน จัดไปเมื่อ
5 – 7 ตุลาคม 2565 ที่กรุงเทพมหานคร
คาดการณ์จานวนผู้เข้าร่วมงาน 12,865 คน
งานที่ 3 The International Conference on
Family Planning 2022 (ICFP 2022)
การประชุมวิชาการวางแผนครอบครัวนานาชาติ เพื่อหารือด้านสุขภาพอนามัย
และการเจริญพันธุ์เพื่อคุณภาพชีวิตของประชากรโลก ระหว่างวันที่ 14 – 17 พฤศจิกายน
2565 ที่พัทยา จ.ชลบุรี คาดมีผู้เข้าร่วม 5,000 คน แนวโน้มจะสร้างรายได้ 315
ล้านบาท
งานที่ 4 Travel
Blog Exchange Asia 2022 (TBEX Asia 2022) ระหว่าง
15 – 18 พฤศจิกายน 2565 ที่จังหวัดภูเก็ต คาดจะผู้เข้าร่วมงาน
400 คน ทางทีเส็บร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.)
รวมบล็อกเกอร์ด้านท่องเที่ยวรายการใหญ่สุดแห่งเอเชีย
งานที่ 5 L’Etape Phitsanulok by Tour de France 2022
ระหว่างวันที่ 2 – 4 ธันวาคม 2565 ที่จังหวัดพิษณุโลก
คาดการณ์จานวนผู้เข้าร่วมแข่งขัน 1,500 และจานวนผู้ติดตาม 5,000 คน
เป็นเมกะอีเวนต์ระดับโลก ทีเส็บดึงงานมาจัดในไทยตั้งแต่ 5 ปีก่อน
สนามแรก จังหวัดกระบี่ ปีนี้จัดสนามสามที่ภาคเหนือ
งานที่ 6 Chiangmai
Design Week ระหว่างวันที่ 3-11 ธันวาคม 2565 ที่จังหวัดเชียงใหม่
คาดจะมีผู้เข้าร่วมงาน 80,000 คน ซึ่งทาง
สำนักงานเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA เป็นเจ้าภาพหลักร่วมกับทีเส็บยกระดับงานให้ยิ่งใหญ่มากขึ้น
งานที่ 7 BAB 2022 : The Bangkok Art Biennale 2022 : เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ บางกอก อาร์ต เบียนาเล่” ระหว่างวันที่ 22 ตุลาคม – 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่กรุงเทพมหานคร คาดการณ์จะผู้เข้าร่วมชมมากที่สุดตลอดงานกว่า 1 ล้านคน โดยมี มูลนิธิ บางกอก อาร์ต เบียนาเล่ ในเครือบริษัท ไทยเบพเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ตลอดงานนักท่องเที่ยวจะได้สัมผัสความมหัศจรรย์นิทรรศการแสดงของ 73 ศิลปิน พร้อมศิลปะชั้นนำทั่วโลกจาก 35 ชาติ ศิลปะไทยและศิลปะร่วมสมัยมากกว่า 200 ผลงาน
เรื่องที่ 3 ทีเส็บเดินหน้าเตรียมประมูลเฟสที่ 2 เจ้าภาพจัดงาน Expo 2028 Phuket Thailand (Specialised Expo 2027/2028) ตามนโยบายนายอนุทิน ชาญวีระกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ประธานคณะกรรมการ ล่าสุดมีมติเห็นชอบเรื่อง “แนวทางของประเทศไทยในการหาเสียง” กับ 171 ประเทศ ซึ่งเป็นสมาชิกองค์การนิทรรศการนานาชาติ BIE :Bureau International des Expositions ซึ่งมอบหมายกระทรวงการต่างประเทศเป็นแกนหลักทำงานร่วมกับ กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดภูเก็ต และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ
พร้อมทั้งมีไฮไลต์สำคัญขับเคลื่อนร่วมพันธมิตรตามข้อกำหนดของ BIE อีก 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 เตรียมนำเสนอความพร้อมของประเทศไทย หรือ Country Presentation ครั้งที่ 2
ระยะที่ 2 ระหว่างมกราคม-มิถุนายน 2566 เตรียมจัดทำ Symphosia หรือการนำเสนอทัศนะการทำงานไปในแนวทางเดียวกันของไทย ที่ฝรั่งเศส ควบคู่การประชาสัมพันธ์แนวคิดการจัดงาน วางแผนจัด Small Seminar (Future of Life Statement) ความพร้อมที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงานด้วยการสร้างนวัตกรรมความร่วมมือด้วยมิติใหม่เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างประโยชน์ระดับประเทศ ภูมิภาค และประชาคมโลก
ระยะที่ 3 เดือนมิถุนายน 2565 นำเสนอ Country Presentation ครั้งที่ 3 การการเตรียมความพร้อมของประเทศไทย พร้อมรับฟังประกาศผลประเทศที่จะได้รับเลือกให้เป็น “เจ้าภาพจัดงาน Specialised Expo 2027/2028
ขณะนี้ทางทีเส็บกับทางจังหวัดเปิดโอกาสให้เด็กเข้ามามีส่วนร่วมงานนี้ด้วย
โดยได้คัดเลือกเยาวชนอายุไม่เกิน 15 ปี เป็นตัวแทนประเทศไทยไปร่วมนำเสนอในวันที่
28
พฤศจิกายน 2565
เรื่องที่
4 การวางกลยุทธ์กระตุ้นตลาดไมซ์ในประเทศปีงบประมาณใหม่
2566 ชูโครงการ
“ประชุมเมืองไทย สร้างเศรษฐกิจไทย” ต่อยอดจากจุดเริ่มเมื่อปี 2563 จัดโครงการ
“ประชุมเมืองไทย ภูมิใจช่วยชาติ” ปี 2564 จัดโครงการ “ประชุมเมืองไทย
ปลอดภัยกว่า”
เนื่องจากเป็นช่วงรณรงค์เรื่องความปลอดภัยด้านสุขอนามัยด้านสาธารณสุขช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19
ส่วนรายละเอียดการสนับสนุนภาคธุรกิจไมซ์ปี
2566 ในโครงการ
“ประชุมเมืองไทย สร้างเศรษฐกิจไทย” จะสามารถประกาศได้วันที่ 15 ตุลาคม 2565 เป็นต้นไป
เรื่องแพกเกจสนับสนุนเงินอย่างชัดเจน ระหว่าง 15,000-30,000 บาท/งาน
หรือสนับสนุนได้มากกว่านี้ ซึ่งอยู่ระหว่างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและความเหมาะสม
ทีเส็บเตรียมขยายเป้าหมายทำแพกเกจพิเศษ
สนับสนุนเงินกับกลุ่มจัดงานไมซ์ขนาดใหญ่เพื่อตอบโจทย์การสร้างเศรษฐกิจ เพิ่มกลุ่ม
“การประชุมระดับนานาชาติหรือ Convention” จำนวนผู้เข้าร่วมหลักพันคน
เดิมสนับสนุนเงินเฉพาะประชุม สัมมนาในประเทศงานละ 30-50 คน/ครั้ง
เนื่องจากต้องการกระตุ้นและดึงงานด้านพลังงาน อุตสาหกรรมขนาดใหญ่สำคัญ ๆ เพื่อเสริมสร้างไมซ์ของไทยผงาดเป็นผู้นำรายได้เข้าประเทศอีกครั้งในอนาคตอันใกล้นี้
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น