บางจากใช้2เวทีปลุกธุรกิจ“จากยั่งยืนสู่การฟื้นฟู”
แชร์2โปรเจกต์ “เปลี่ยนผ่านน้ำมันพืช-ปั๊มชุมชน”

เรื่องโดย...#เพ็ญรุ่งใยสามเสน #gurutourza #รายการรวยด้วยข่าวเสาร์อาทิตย์FM97 #TAT #เที่ยวกับกู๋ #บางจาก #จากยั่งยืนสู่ฟื้นฟู
ผู้บริหาร “บางจาก” ใช้ 2 เวที อินเตอร์-กนอ.” ถ่ายทอด DNA“จากความยั่งยืนสู่การฟื้นฟู” ปลุกอุตสาหกรรมไทยเร่งเครื่องนำธุรกิจเปลี่ยนผ่านสู่ยั่งยืน
โชว์เคส 2 โปรเจกต์ “แปลงน้ำมันพืชใช้แล้ว” สู่ไบดีเซล น้ำมันอากาศยาน
SAF “ปั๊มชุมชนหน้าร้านสินค้าเกษตร”
นางกลอยตา
ณ ถลาง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ งานบริหารความยั่งยืนและสื่อสารองค์กร บริษัท
บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า เมื่อเร็ว
ๆ นี้ ได้เป็นวิทยากรบรรยายแบ่งปันแนวคิด “จากความยั่งยืนสู่การฟื้นฟู” ใน 2
เวที ได้แก่ 1.การประชุม International CSR &
Sustainability Summit (ICS 2025) จัดโดย Enterprise Asia และหลักสูตร Sustainable & Green Industrial Leadership
(SGIL) รุ่นที่ 1 -ของสถาบันวิทยาการอุตสาหกรรม
การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) โดยได้สะท้อนบทบาทของกลุ่มบริษัทบางจากในการขับเคลื่อนการเปลี่ยนผ่านธุรกิจพลังงาน
และเสริมสร้างแนวคิดฟื้นฟูระบบเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคมอย่างยั่งยืน
ในงาน ICS 2025 ได้บรรยายในฐานะวิทยากรหลัก (Keynote
Speaker) หัวข้อ “From Sustainability to Regeneration:
Leading the Green Transition” นำเสนอการเปลี่ยนผ่านธุรกิจสู่อนาคตที่สมดุลและยั่งยืน
ผ่านแบรนด์ไอเดีย “Greenovate to Regenerate - สมดุลธรรมชาติ
สรรค์พลังไม่สิ้นสุด” ช่วยต่อยอดจากแนวคิดความยั่งยืน (Sustainability) ไปสู่การฟื้นฟู (Regeneration) พร้อมยกตัวอย่างการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรมของกลุ่มบริษัทบางจากทำอย่างต่อเนื่องไฮไลต์
2 โครงการ
โครงการที่ 1 “แปรรูปน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว”
เป็นไบโอดีเซล ขณะนี้ต่อยอดสู่น้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานยั่งยืน (SAF) ภายใต้โครงการ “ทอดไม่ทิ้ง” การพัฒนา Greenovative Destination ยกระดับสถานีบริการเป็นจุดหมายปลายทางของผู้คนทุกรุ่น ทุกเพศ ทุกวัย
ด้วยผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
โครงการที่ 2 สร้างคุณค่าและโอกาสร่วมกับชุมชน ปั๊มชุมชนหรือสถานีบริการสหกรณ์การเกษตร
การก่อตั้งเครือข่ายสหกรณ์ลดโลกร้อนติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในสหกรณ์
การสนับสนุนสินค้าชุมชน การสร้างงานและธุรกิจเพื่อสังคมรอบพื้นที่ปฏิบัติงาน
ไปจนถึงการฟื้นฟูธรรมชาติและระบบนิเวศ เช่น
ศูนย์เพาะเลี้ยงหญ้าทะเลที่ศรีราชาและเกาะหมาก และการสร้างระบบนิเวศคาร์บอนต่ำ
ผ่าน Carbon Markets Club โดยบางจาก เป็นผู้ร่วมก่อตั้งผลักดันตลาดคาร์บอนภาคสมัครใจอย่างโปร่งใส
เชื่อถือได้ และเชื่อมโยงสู่กรอบ ASEAN Common Carbon Framework
ส่วนการ
“อบรมหลักสูตร SGIL” บรรยายในหัวข้อ
“ลดคาร์บอน เพิ่มโอกาส : ปรับอุตสาหกรรมไทยสู่อนาคต” นอกจากจะแบ่งปันประสบการณ์เปลี่ยนผ่านกลุ่มบริษัทบางจากและบทบาทการขับเคลื่อน
Carbon Markets Club แล้ว ยังเน้นถึง “โอกาสใหม่” ในภาคอุตสาหกรรมไทยเปลี่ยนผ่านสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
ไม่ใช่เพียงเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม แต่ได้เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน
โดยได้นำเสนอ
1.แนวทางที่สามารถลงมือทำได้จริง เช่น เริ่มต้นจากตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน
2.การเข้าถึงเครื่องมือสนับสนุนจากภาครัฐและสถาบันการเงิน
เช่น การยกเว้นภาษีเพื่อสิ่งแวดล้อม เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำโครงการสีเขียว
หรือกองทุนสนับสนุนธุรกิจที่ดำเนินตามหลักสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
การชวนผู้จัดหาวัตถุดิบและคู่ค้าทางธุรกิจให้เข้าร่วมพัฒนาตามมาตรฐานด้านความยั่งยืน
และการพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและตอบโจทย์ความต้องการของตลาดโลก
นางกลอยตา
ได้สรุปทั้ง 2 เวทีว่า
“ความยั่งยืนอาจไม่เพียงพออีกต่อไปในโลกปัจจุบันที่เผชิญกับวิกฤตหลายด้าน
ไม่ว่าจะเป็นภาวะโลกร้อน ทรัพยากรที่เสื่อมโทรม ความเหลื่อมล้ำทวีความรุนแรงขึ้น
สิ่งที่จำเป็นคือธุรกิจไม่เพียงลดผลกระทบ แต่จะต้องเร่งฟื้นฟูให้กลับคืนมากกว่าที่ใช้ไป
รวมถึงต้องอาศัยความร่วมมือทุกภาคส่วนสร้างระบบนิเวศคาร์บอนต่ำ ให้เอื้อกับการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน
พร้อมทั้งเชิญชวนให้ทุกภาคส่วนร่วมกันสร้างระบบเติบโตไปพร้อมกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
ให้ได้มากกว่าความยั่งยืน นั่นคือคืนคุณค่ากลับสู่โลกอย่างแท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น